จิตวิญญาณ..มุมที่ลี้ลับของการดูแลองค์รวม


อะไรคือ จิตวิญญาณ (spiritual)?
เมื่อข้าพเจ้าถามนักศึกษาว่า การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมเป็นอย่างไร
คำตอบที่ได้รับฉับพลัน โดยพร้อมเพรียงกัน คือ "การดูแล Bio-Psycho-social-spiritual"
แต่เมื่อถามว่า spiritual คืออะไร...เงียบ
 ( ถ้าข้าพเจ้าถูกถาม ก็คงเงียบเหมือนกัน..)
เปลี่ยนคำถาม spiritual ดีไม่ดีดูจากอะไร..
99% ของนักศึกษา ตอบว่า ดี คือ "คนไข้ชอบทำบุญสุนทาน ไปวัด"
(แปลว่าตอนนี้ ข้าพเจ้า spiritual กำลังแย่ เพราะไม่ได้ทำบุญ ไม่ได้ไปวัด)
...
แต่ละวิชาชีพที่มาทำงานร่วมกัน เป็นทีม Palliative
เป็นการนำจุดเด่น วิธีคิด ความถนัด มาประสานกันเป็น จิ๊กซอว์
เหมือนกันเกินไปก็ต่อไม่ติด...ไม่มีอะไรเหมือนกันเลยก็ต่อไม่ติด
บางเรื่อง แพทย์ไม่ถนัด ก็ควรยอมรับว่า ไม่ถนัด
ให้คนที่ทำได้ดีกว่าเป็น Leader เรื่องนั้น แล้วเป็นฝ่ายสนับสนุน
เป็นการสร้างความเท่าเทียมในทีม
แบบไม่ใช่เรียงหน้ากระดาน แต่.. ผลัดกันนำหน้า
Spiritual care ข้าพเจ้าขอออกตัวก่อนว่า"ไม่ถนัด"
ต้องใช้เวลาอีกระยะ เรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญจากการปฎิบัติ
สิ่งที่นำมาเล่าจึงเป็น พื้นฐาน ที่วิชาชีพใดพิจารณาไปใช้ก็ไม่เสียหาย
..
..บันทึกจากการสอนของ Dena ผู้เป็น Chaplain ประจำโรงพยาบาล
หมายเหตุ :  คำว่า Chaplain (แชป-ปลิน) มีรากจากศาสนาคริสต์ แปลว่า อนุศาสนาจารย์
แต่ chaplain ในโรงพยาบาลคือผู้ดูแลทางจิตวิญญาณ โดยไม่จำกัดศาสนา 
การได้ใบประกอบอาชีพ chaplain ใช้เวลาเรียน 6 ปี พอๆ กับเรียนปริญญาเอกทีเดียว
.
.
อะไรคือ Spiritual

 

ภาพ แสดงให้เห็นว่า ศาสนา (faith)เป็นส่วนหนึ่งของ จิตวิญญาณ(spiritual)  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม (culture)
การมีหรือไม่มีศาสนา ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่า spiritual ดีไม่ดี
ขณะเดียวกัน แต่ละวัฒนธรรม ก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่า ผู้นั้นมี spiritual แบบไหน


มนุษย์ มีความต้องการทางจิตวิญญาณ -Spiritual need
เราคอยเช็คกับสิ่งรอบข้างตลอดเวลาว่า -- ชีวิตเรามีความหมายต่อโลก ( คน, ธรรมชาติ, พระเจ้า)ไหม..
Relationships with the world
 ทำไมเมื่อมีคนช่วยเหลือเรา   หรือ เมื่อเราช่วยเหลือผู้อื่น             เราจึงสุข
 ทำไมเมื่อคนที่รักเราจากไป   หรือ เมื่อเราจะจากคนที่เรารัก       เราจึง "ทุกข์" - suffering


Suffering ที่เกิดจากจิตวิญญาณนี้ แสดงออกมาผสมปนเปกับ อาการ ปวด, เหนื่อย ที่ต้นกำเนิดทางกาย
หากแพทย์ ให้ยาแก้ปวด อย่างเดียว ก็บรรเทาได้เพียงส่วนหนึ่ง
เป็นเหตุให้ การประเมินเพื่อให้  Spiritual care มีความสำคัญขึ้นมา..
.

spiritual care ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย (แบบเบื้องต้น)
.
หลักการคือ สร้างความเชื่อมั่นในความหมายของตัวเขาต่อโลก (คนรอบข้าง หรือ ธรรมชาติ  หรือ พระเจ้า)
"Affirmative ralationship to the world"
เป้าหมาย สามระดับคือ
1)  ทำสิ่งสำคัญไม่ให้ค้างคาใจ - Resolve unfinished bussiness task
  เช่น คุณพ่อรายหนึ่งเป็นมะเร็งตับ ลูกสาวเพิ่งตั้งท้องหลาน แต่โอกาสเสียชีวิตใน 3- 6 เดือนมีสูง จึงให้เตรียมของขวัญพร้อมจดหมายสำหรับหลานเอาไว้ล่วงหน้า

2) ร่ำลาด้วยถ้อยคำที่มีคุณค่า - Dena กล่าวว่า เป็นการยากที่จะกว่าคำว่า "Goodbye" ตรงๆ จึงแนะนำสี่ถ้อยคำ ( มีเขียนในหนังสือของคุณหมอ Byok เล่มนี้คะ)
หนูรักพ่อ/แม่, ผมรักคุณ -“I love you”
ขอบคุณสำหรับทุกสิ่ง -“Thank you”
ขออโหสิกรรมให้กันและกัน - “I forgive you,”“Will you please forgive me?”
 
3) ค้นพบสันติสุขในใจ -  transcendent ( ไม่รู้ว่าตรงกับศัพท์คำใดดี ข้าพเจ้าขอแปลว่า "ค้นพบสันติสุข" ไปพลางๆ ก่อนคะ)
ผู้ป่วยจะแสดงออกว่ารู้สึกชีวิต "เต็ม" ได้มาพอแล้ว ไม่ต้องการสิ่งใดแล้ว ขอบคุณโลก ขอบคุณที่ได้เกิดมา
ข้าพเจ้าเคยพบผู้ป่วยที่ Dena พูดถึง  เมื่อทีมแพทย์เข้าไป เธอกลับเป็นฝ่ายถามสารทุกข์  "พวกคุณสบายไหมคะ" -- "ฉันเพิ่งรู้ว่า มีผู้คนรักและห่วงใยฉันมากมายถึงเพียงนี้.."
Dena กล่าวว่า จากประสบการณ์เธอ มีผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต ประมาณ 5% ที่ สุขภาพทางจิตวิญญาณแข็งแกร่งเข้าถึงระดับ โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ..
แต่มีผู้ป่วยเกินครึ่ง ที่ช่วยเหลือเพียงไรก็ไม่สามารถมาถึงระดับนี้ได้
...
Dena ยังได้เสนอ วิธีง่ายๆ ในการประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ด้วยการถามผู้ป่วย
" อะไรที่คุณรู้สึกหนักหนามากที่สุด -what is the hardest for you"
"คุณจะผ่านช่วงที่ยากลำบากนี้ได้อย่างไร - How do you cope this situation"
ผู้ป่วยที่จิตวิญญาณอ่อนกำลัง มักแสดงอาการวิตก กลัวถูกทอดทิ้ง ออกมาให้เห็น

###

โดยสรุป  ข้าพเจ้าได้แนวทางพูด หากนักศึกษาแพทย์ถามว่า "spiritual care" ทำอย่างไร
คงจะตอบว่า
" การคุยสัพเพเหระกับผู้ป่วย ก็เป็นการช่วยทางหนึ่งแล้ว
..น่าจะดีกว่า คาดคั้นถาม ไปวัดหรือเปล่า เพียงเพื่อให้ได้ตามเช็คลิสต์นะคะ"

.

ฝากไว้ด้วยสมการจากคนช่างคิด (จริงๆเลย)

 

#####

Update 5 พ.ย. 2554:

1. สำหรับผู้ต้องการศึกษาเรื่องของจิต (ที่ข้าพเจ้ากังขาว่า วิทยาศาสตร์หรือไม่ ?) คุณ Sr ได้แนะนำ หนังสือ Cetasikas-เจตสิกขา โดย Nina van Gorkom ซึ่งสามารถ อ่านในรูปเวบ หรือ ดาวน์โหลด pdf (openlibrary) ..ขอบคุณมากคะ 

2.บทความฉบับเต็มของท่านอาจารย์วิรัตน์ จิตวิญญาณ : สุขภาวะและการพัฒนาออกจากด้านในของมนุษย์

หมายเลขบันทึก: 467038เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2011 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

Perhaps, "transcendent" : going through/beyond "ordinary"/mundane/worldly normality could also mean "understanding" the way or dhamma of phenomena. Once people transcend certain events, they become more at peace with consequences of the events.

But this is "purely human" convention/fixation. It is used to make excuses -- ;-)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณบทความที่ทำให้ได้ข้อคิด...ในการดำเนินชีวิต และเข้าใจคนป่วย ที่อยู้ใกล้ตัวมากขึ้นค่ะ จะได้ดูแลจิตใจกันและกัน

พี่หมอคะ

หนูได้มีโอกาสอ่านหนังสือ ชีวิตสอนอะไรเราบ้าง ซึ่งเป็นหนังสือแปลน่ะค่ะ หนูคิดว่าใครก็ตาม หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้ น่าจะช่วยให้ได้ปลดล๊อคอะไรบางอย่าง เพราะมันสามารถยกระดับจิตใจให้เข้มแข็งและมองเห็นมุมมองใหม่น่าสนใจมากเลยทีเดียว

และถ้าจำไม่ผิด ผู้เขียนหนังสือทำงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายน่ะค่ะ

ดูแลกายด้วยการรักษาโรค และสร้างภูมิคุ้มกัน

ดูแลใจด้วยการ "หยุดคิด หรือ คิดเพียงเรื่องเดียว" 

...

แปะไว้ให้หยุดคิด
เพราะชีวิตมีทางเดิน
จิตวิญญาณยังผิวเผิน
คงต้อง Learn อีกเนิ่นนาน

...

กะแปะแหละ เดี๋ยวไปสอนก่อนครับ ;)...

  • ตามมาศึกษา "Spiritual Factor" ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของมนุษย์ ค่ะ อาจารย์หมอป. พอดีภาคเรียนนี้ คณะได้จัดให้รับผิดชอบสอนวิชา "พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน (Human Behaviors and Self Development)" ซึ่งมีเรื่องของ องค์ประกอบของพฤติกรรมมนุษย์รวมอยู่ด้วย ค่ะ 
  • ในองค์ประกอบของพฤติกรรมมนุษย์ "Spiritual Factor" เป็นเรื่องที่ตนเองมีองค์ความรู้ในหัวน้อยค่ะ ทั้งที่คู่มือการเรียนรู้วิชานี้ก็พัฒนามาตั้งแต่ปี 2542 แล้วนะคะ 
  • ขอบบคุณมากนะคะที่ช่วยขยายความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวในบริบททางการแพทย์
  • เอกสารเกี่ยวกับ "Whole Person Wheel" ดังภาพข้างล่าง ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับ "Spirit" ไว้น่าสนใจเหมือนกันค่ะ

              Tiny_whole_person_wheel

  • เขาอธิบายไว้ว่า "The Spiritual Experience is where we find that which is one with us and also extends beyond us.  It is the realm of the mystic, the shaman, the artist and the everyday person connecting with the mundane, present “beingness” of life.  We come into contact with the more expanded aspects of life through prayer or meditation.  We experience it in nature; watching a sunset or marveling at the unfolding of a single flower.  The expanded realm is touched when we experience a birth or sit with a loved one as s/he dies.  We can feel its impact whether we are in ecstatic joy or deep grief.  One’s experience and access to the spiritual is often first defined by familial and social constructs; collective thought.  As one grows and evolves, the individuated Soul may find resonance with the given constructs.  However, one might  find that s/he is experiencing something that requires questioning of given constructs and have the need to investigate the nature of the Spirit. Transpersonal psychology recognizes the spiritual realm of life and its formative substance in the life of human existence.  Acknowledging expanded realities provides the opportunity to live fully and authentically.  Spiritual expansion can often leave one feeling ungrounded and confused. The old, safe constructs of ”reality” crumble as Spirit offers experiences leading to a redefined and expanded ”reality.”  Psychodynamic approaches can offer us the tools we need to integrate the expanded realities into our human experience.  Through the physical, mental, emotional and systemic experiences of earthly life, the Soul knows the Spiritual realm in  new and ever evolving ways.  If psyche means Soul, psychotherapy can be understood as attending to the Soul’s work and evolution.  The Soul is part of the Greater Spirit and strives to fully experience that union.   Soul and Spirit work with and through the physical, the thoughts, the emotions, and systems to bring into  consciousness the ever present union of All That Is."  (http://www.carolynzahner.com/whole-person-philosophy/spirit/)

  • ลืมบอก "อาจารย์หมอป." ไปว่า ภาพที่ชัดเจนของ "Whole Person Wheel" ดูได้ที่  http://www.gotoknow.org/media/files/767837 ค่ะ
  • 

ผมมีประสบการณ์การทำงานในสถานการณ์อย่างนี้ทั้งโดยตั้งใจและโดยการเผชิญกับสถานการณ์เฉพาะหน้าซึ่งต้องทำทันทีอยู่หลายครั้งเหมือนกันครับ รวมทั้งเคยร่วมเป็นคณะทำงานในนามประชาคมวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อขั้นหลักคิดใหม่ของกระบวนทัศน์ทางสุขภาพ เสนอะแนะต่อเครือข่ายทำงานปฏิรูประบบสุขภาพในยุคแรกเริ่ม ก่อนแนวคิดเรื่องการสร้างนำซ่อมหรือการสร้างสุขภาพ จะมีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆจนพอดำเนินการขึ้นได้ในทางปฏิบัติการ ก็พบว่ามิติสุขภาพทางจิตวิญญาณนี้ ยังมีเรื่องที่สามารถทำได้อีกเยอะเลย

  • เวลาอยู่ในวงการคนทำงานศิลปะแขนงต่างๆนั้น การบอกว่า 'ผลงานชิ้นนี้มีหรือไม่มีจิตวิญญาณ' ก็สื่อกันได้อย่างเป็นคำสามัญ รวมทั้งเป็นมิติที่จะต้องดูและกล่าวถึงอีกด้วย เหมือนกับเป็นเกณฑ์สูงสุดที่จะมอบให้งานนั้นๆเลยทีเดียว เมื่อลองแลกเปลี่ยนทรรศนะและสะท้อนสิ่งที่กล่าวว่ามีจิตวิญญาณ ก็มักจะกล่าวถึงการมีเส้นและทีแปรงที่แม่นยำ เด็ดเดี่ยว ไม่ลังเล สีสันมีชีวิตเลือดเนื้อ น้ำเสียงและลีลาเป็นหนึ่งกับอารมณ์ที่สะท้อนออกจากด้านใน ซึ่งรวมความแล้ว ก็ไม่ได้อยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะสามารถดึงสิ่งนั้นออกไปเป็นเกณฑ์เอาไปใช้กับกรณีทั่วไปอื่นๆ ต้องเป็นภาวะเฉพาะเรื่องของงานชุดนั้นๆ อีกทั้งเมื่อเป็นคนทำงานศิลปะด้วยกัน เมื่อได้เห็นงานต่างๆ และมีคนบอกว่างานชิ้นใดมีหรือไม่มีจิตวิญญาณ ก็มักจะสามารถเห็นสิ่งที่ไม่สามารถบอกให้ตายตัวได้อย่างนั้น ไปด้วยกันได้
  • ผมเคยเป็นพี่เลี้ยง นำอาสาสมัครไปช่วยวัดพระบาทน้ำพุในยุคแรกที่สังคมไทยและทั่วโลกเกิดปัญหาผลกระทบจากเอชไอวี ตอนนั้น สังคมทอดทิ้งผู้ป่วยจากเอชไอวี บางวันตื่นเช้าขึ้นมาก็เจอผู้ป่วยถูกนำมาปล่อยทิ่้งอยู่ที่ลานวัด ทางวัดและพระ นอกจากยิ่งมีกำลังไม่พอแล้ว ชุมชนโดยรอบก็ยังกลัวเอดส์แล้วพาลไปกลัวกิจกรรมที่พระและวัดพระบาทน้่ำพุ(ถูกสังคมคาดหวังให้)ทำจนหาทางขับไล่และต่อต้านด้วย เลยหนักหนาสาหัสไปทั้งผู้ป่วยและคนที่ต้องให้การดูแลแก่คนที่ถูกทอดทิ้งซ้ำเติม ผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องตกอยู่ในสภาพอย่างนี้แทบจะกอบกู้ชีวิตขึ้นมาอีกไม่ได้ ข้าวปลาไม่กิน ปิดการสื่อสารและไม่ปฏิสัมพันธ์กับทุกคน รวมทั้งทีมอาสาที่ผมดูแล ให้นั่งอยู่ตรงไหนก็นั่งอยู่ตรงนั้นเป็นวันๆ สภาพตอนนั้น ต้องเรียกว่า พวกเขาอยู่ในสภาพที่ 'ขาดทั้งชีวิตและจิตวิญญาณ'
  • ผมและทีมอาสาสมัคร(ในนี้มีอาจารย์ณัฐพัชร์อยู่ด้วย ขออนุญาตกล่าวถึงเพื่อเป็นเครดิตของคนที่ปิดทองวหลังพระในยุคที่สังคมทอดทิ้งกันมากๆนะครับ) ขอไปกินนอนอยู่ที่วัดกับกลุ่มผู้ป่วยเลย แล้วก็ทำงานและค่อยๆช่วยกันพัฒนาระบบต่างๆเพื่อให้วัดและท่านพระอาจารย์อลงกต ซึ่งตอนนั้นท่านไม่ได้หลับได้นอนเลย สังคมภายนอก ในขณะที่ทอดทิ้งกันมากนั้น ก็กลับต้องการไปศึกษาดูงานกันมาก เหมือนไปดูสิ่งประหลาด เห็นแล้วก็ยิ่งเจ็บปวดแทนผู้ป่วยและทุกข์ใจไปกับความยากเข็ญของพระที่ผู้คนไม่ช่วยแต่กลับยิ่งเพิ่มภาระให้อย่างหนักหน่วงทุกทาง พวกเราทำงานทั้งกลางวันกลางคืน กินข้าวหม้อเดียวกันกับผู้ป่วย นอนบ้านบ้านเดียวกัน ทำงานด้วยกัน ที่สุดก็ค่อยๆเกิดระบบที่จัดวางตนเองไปตามแต่จะถนัดและริเริ่มสิ่งต่างๆกันได้ สิ่งต่างๆในวัดเริ่มมีกรอบกระจายการระดมพลังปฏิบัติ มีคนดูแลเรื่องอาหารการกิน มีคนเตรียมสื่อและการนำเสนอเพื่อจัดระบบการศึกษาดูงาน มีคนช่วยจัดระบบการเยี่ยมชมและศึกษาดูงานให้พระอลงกต มีระบบเยี่ยมเยือนกัน มีแนวทำกิจกรรมกลุ่มพบปะและนั่งคุย และอีกหลายอย่าง รวมไปจนถึงเริ่มนึกถึงการระดมทุนและความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งต่อมาค่อยๆมีพื้นฐาน เป็นแหล่งให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีบทบาทสำคัญในการพาสังคมไทยก้าวข้ามวิกดฤตปัญหาเอชไอวีได้เป็นอย่างดีที่สุดแหล่งหนึ่ง
  • พอมีกิจกรรมหลากหลายมากมาย ซึ่งเหมือนกับเป็น 'พื้นที่การปฏิบัติ' เพื่อใช้ชีวิตด้วยกันและแบบเสมอกันอย่างคนมีชีวิตจิตใจ ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งก็เริ่มเปลี่ยนไป กระทั่งที่สุดเราก็เป็นเพื่อนกัน เก้าอี้และพื้นปูนหน้าที่พักผมเลยเป็นที่สุมหัวทำงานและทำกิจกรรมต่างๆเพื่อเป็นเครือข่ายลงมือช่วยพระ ต่อมาก็เป็นกลุ่มนั่งคุย จัดกิจกรรมในโอกาสพิเศษให้กัน จัดงานวันสงกรานต์ให้กัน ทำขนมและซื้อขนมมานั่งกินด้วยกัน กระทั่งคุยเรื่องราวชีวิต ปรับทุกข์ ต่อมาก็กลายเป็นนั่งเล่นดนตรีด้วยกัน ผมเล่นกีตาร์ได้ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยอีกสองสามคนแสดงตนว่าเขาเป็นนักดนตรี และบางคนก็พอเล่นกล้อมแกล้มได้
  • หลังจากนั้นอีกไม่ถึงปี ท่านพระอาจารย์อลงกต (ก่อนท่านจะได้สมณศักดิ์เป็นพระครูและพระราชคณะดังในปัจจุบัน) กับผม ก็สามารถนำเอาวงดนตรีกลุ่มหนึ่ง ไปเล่นบนเวทีประชุมชนระดับชาติ ของการประชุมประจำปี สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เล่นเพลงสื่อสะท้อนชีวิตของผู้ป่วย และเล่น 'กล่อมจิตวิญญาณ' ของกลุ่มผู้ประชุมซึ่งมาจากทั่วประเทศ การพากลุ่มผู้ป่วยเดินออกจากวัดและไปขึ้นเวทีสาธารณะอย่างนั้น อีกทั้งการจัดวางองค์ประกอบทั้งมวล ให้จิตใจผู้เคนเปิดออก ก่อนเปิดประตูห้องประชุมได้และเปิดรับให้กลุ่มผู้ป่วยก้าวเข้าไปในสังคมของคนทั่วไปอย่างนั้นได้ เป็นเรื่องที่ยากแสนสาหัส หลังจากเหตุการณ์นั้นแล้ว กลุ่มผู้ป่วยก็กลับมา 'มีชีวิตและจิตวิญญาณ' ทั้งดูแลตนเอง ให้ความร่วมมือกับคนที่เข้าไปดูแล และกลายเป็นเครือข่ายพี่เลี้ยง ที่ช่วยกันเป็นกลุ่มทำงานให้กับทางวัด ดูแลผู้ป่วยด้วยกันเองอย่างคนที่รู้ใจเขาใจเราอย่างดี
  • อีกเรื่องหนึ่ง : เมื่อตอนเป็นทีมบริหารของหน่วยงานที่เคยทำงาน ลูกน้องคนหนึ่งเป็นมะเร็งและพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ชีวิตการงานกำลังไปได้ดี ลูกเต้ากำลังเติบโต เลยขวัญเสีย ทำอะไรไม่ถูก มีหมอดีที่ไหนไปหมด หัวหน้าผมและผมได้ไปเยี่ยม ก็รู้สึกได้ถึงความตื่นกลัว เคว้งคว้าง เราก็เลยดูแลจิตใจกันอย่างเป็นญาติ ผ่านไปหลายเดือน ก่อนที่จะถึงแก่กรรมในระยะสุดท้าย เพื่อนร่วมงานผมไปเยี่ยมในสภาพที่ผู้ป่วยไม่ได้สติแล้ว เขากลับมาเล่าให้ผมได้ทราบว่า ตอนลากลับ ผู้ป่วยเพ้ออกมาว่านั่นอาจารย์ม่อย(ผม)ก็เพิ่งกำลังเดินกลับออกจากบ้านของเขาไป ผมจะเพิ่งเดินกลับได้อย่างไร ในเมื่อผมได้ไปดูแลเขาตั้ง ๒-๓ เดือนผ่านไปแล้ว ผมได้ยินแล้วก็ให้สะเทือนใจว่า ข้างในของเขาต้องเคว้งคว้าง และยึดเหนี่ยวได้กับห้วงความรู้สึกบางอย่างที่ผ่านไปตั้งนานแล้ว
  • อีกเรื่องหนึ่ง : ผมได้ดูแลวาระสุดท้ายพ่อของเพื่อนร่วมงานโดยไม่ได้คาดหมาย ผู้ป่วยต้องการกลับบ้านและญาติพี่น้อง ลูกหลานก็พร้อมจะนำกลับ แต่จากสภาพที่วิกฤติแล้ว หมอกับพยาบาลแนะนำไม่ให้กลับ (สิ่งที่ไม่ได้พูดตรงๆนักก็คือ คงจะกลับไม่ทันแล้ว หากเป็นอะรไไประหว่างทางก็จะดูแลได้ไม่ดี) ลูกหลานและคนรอบข้างทำอะไรไม่ถูก ผมเลยให้ไปยืนอยู่ด้วยกันที่ข้างเตียงผู้ป่วยและพูดให้มีจิตใจที่สงบ มีสติ รวบรวมกำลังใจและกำลังแห่งสติที่ดีที่สุดของตนเองไว้อยู่ตลอดเวลา แล้วก็บอกว่าอย่ร้องให้และพูดส่งเสียงตื่นตระหนก หากต้องการสัมผัสก็ให้กำหนดใจตนเองให้มีสติแล้วสัมผัสที่นุ่มนวล ผู้ป่วยมีครอบครัวอยู่ข้างวัด ผมก็ขอให้ลูกหลานไปหาซาวด์เบ๊าและเทปพระสวดมนต์มาเปิด วางหูฟังไว้ข้างหู เพราะสำนึกครั้งสุดท้ายผู้ป่วยต้องการกลับบ้าน เสียงพระสวดมนต์และการพูดคุยของญาติผู้คุ้นเคยแบบปรกติรอบข้าง จึงควรจะเป็นบรรยากาศที่ผู้ป่วยรู้จักและฝังแน่นเป็นส่วนหนึ่งของ 'ชีวิตและจิตวิญญาณ' เมื่อทำและเตรียมทุกอย่างเรียบร้อย ภรรยาของผู้ป่วยซึ่งผมเคารพนับถือและเรียกว่าแม่ด้วย ก็พูดว่า 'ไปเถอะ ไม่ต้องเป็นห่วงหรอก' ก่อนที่จะร้องไห้ตามมาและกล่าวว่า 'สงสารเหลือเกิน ไปเหอะ ไปสา' ผู้ป่วยรู้จักผมและลูกหลานบอกว่ามักพูดถึงผมเหมือนรำลึกถึง ผมจึงได้เอาสองมือจับที่เท้าและบีบอย่่างการบับนวดกันของคนบ้านนอก ชีพจรผู้ป่วยลดลงทันที หลังจากนั้นไม่กี่นาทีก็สงบราบเรียบ
  • อีกเรื่องหนึ่ง : ผมเคยลงทำงานในพื้นที่ หาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของชุมชนเพื่อพัฒนาระบบดูแลเบื้องต้นในบ้าน สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ มีประเด็นพูดคุยเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องการจัดระบบบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ ๒๔ ชั่วโมง การพัฒนาคนที่เชี่ยวชาญให้การดูแลที่ดีที่สุด และพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนระบบสวัสดิการเพื่อการดูแลต่างๆ แล้วจัดเป็นหน่วยบริการในจังหวัด ชาวบ้านจะมองว่าอย่างไร ผู้สูงอายุเกือบทั้งหมดบอกว่า จะดีอย่างไรก็ไม่ไป หรือไปแล้วจะให้อยู่นานๆก็ไม่ไปหรอก คำอธิบายซึ่งไม่เดี่ยวกับเรื่องสุขภาพในความหมายทั่วไปเลยก็คือว่า "... อยู่มาจนป่านนี้แล้ว จะตายวันตายพรุ่งก็ไม่รู้ ไกลลูก ไกลหลาน ไกลวัด ไกลพระสงฆ์องคเจ้า ไกลบ้าน อยู่บ้านดูแลกันเองนี่แหละ ได้อยู่กับลูกกับหลาน....."   
  • อีกเรื่องหนึ่ง : คราวนี้เป็นญาติผู้ใหญ่ผมเอง ป่วยหนักและอยู่ในโรงพยาบาลกรุงเทพฯ ลูกหลานบอกว่าผู้ป่วยอยากกลับบ้าน ลูกหลานปรึกษาผมว่าจะทำอย่างไรดี จะพากลับบ้านได้อย่างไร ขนาดอยู่โรงพยาบาลยังแย่ขนาดนี้ ผู้ป่วยอายุกว่า ๘๐ ปีแล้ว ผมถามดูแล้วก็รู้ว่ายังมีสติสัมปัชชัญญะดีมาก จากประสบการณ์เท่าที่ผ่านมา ก็เลยทำให้ตัดสินใจแนะนำไป โดยบอกลูกหลานผู้ป่วย ซึ่งก็คือลูกหลานผมเองด้วยว่าให้พากลับบ้านได้เลย

เล่าหลายเรื่องเลย เผื่อจะมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ตุนเอาไว้ใช้ประโยชน์ได้นะครับ สรุป....

  • มีแนวโน้มว่า ต้องสร้างเกณฑ์และบทสรุปเป็นการเฉพาะกรณีๆไป แต่ละสถานการณ์ไม่เหมือนกันเลย แต่สอดคล้องกันอย่างหนึ่งว่า สุขภาพทางจิตวิญญาณเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ผูดขึ้นท่ามกลางหลายเหตุปัจจัย สร้างเกณฑ์แยกส่วนจากกรณีหนึ่ง เอาไปใช้ในอีกกรณีหนึ่งในบริบทที่ต่างออกไปก็ไม่ได้ ดังนั้น เข้าถึงโดยตรงแบบแยกส่วนคงไม่ได้ จำเป็นต้องดูเงื่อนไขแวดล้อม เรียนรู้ความเป็นทั้งหมด และให้น้ำหนักไปตามบริบทของกรณีนั้นๆ
  • เป็นภาวะที่อยู่ด้านในจิตใจของคนทุกคนมาก ดังนั้น ใช้เกณฑ์ภายนอกอย่างเดียววัด หยั่งประเมิน เพื่อเข้าใจและดูแลได้ เห็นจะไม่เพียงพอ จึงต้องใช้การหยั่งด้วยเครื่องมือวัดและเครื่องมือในการประเมินมิติเดียวกัน คือ 'ใจ' และจิตวิญญาณของเราเองต่อเรื่องนั้น เหมือนที่มักกล่าวว่า 'ใจเขาใจเรา'
  • แต่การสร้าง 'จิตใจให้ละเอีอยดอ่อนและลึกซึ้ง' เพียงพอที่จะเป็นเครื่องมือเพื่อหยั่งและประมาณความพอเหมาะพอดีออกมาจากใจนั้น หากเดินไปตามแนวนี้ ก็จำเป็นต้องทำได้มากกว่าสร้างรายการประเมินซึ่งเป็นเครื่องมือภายนอก  (Check lest) คือ ทั้งคนทำงานแนวนี้ ซึ่งควรจะรวมถึงคนทั่วไปด้วย จึงจำเป็นมากครับที่จะต้องมีประสบการณ์ด้านในด้วยตนเอง เพื่อรู้จักในสิ่งที่เข้าใจได้แต่สื่อด้วยการอ้างอิงเกณฑ์ภายนอกอย่างเดียวไม่ได้ เหมือนกับเรากินอาหารอร่อย หากคนอื่นก็ได้กิน(มีประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง หรือการศึกษากล่อมเกลาตนเองให้เป็นเครื่องมือประเมินสิ่งต่างๆได้ด้วย) และบอกว่าอร่อย สอดคล้องกับประสบการณ์ของเรา เราก็รู้จักและเข้าใจแบบรวมๆว่า ได้กำลังร่วมกันพูดถึงองค์ประกอบใดของอาหารนั้นๆ โดยก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าแต่ละคนใช้ส่วนไหนของลิ้นสัมผัส อร่อยถูกปากที่ส่วนประกอบชนิดใดของอาหาร เหมือนและแตกต่างกันโดยรวมอย่างไร
  • ที่มหิดลเลยมีเรื่องหนึ่งที่ให้ความสนใจกัน คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาออกจากด้านใน คือ 'จิตตปัญญาศึกษา' ในส่วนผมเองนั้น ก็ให้ความสนใจกับการจัดการระบบสังคม หน่วยองค์กรจัดการชุมชนปฏิบัติที่สะท้อนเชื่อมโยงกับเรื่องจำเป็นต่างๆทั้งของเราเองและของสังคมที่อยู่อาศัย  เครื่องมือสร้างความรู้ วิธีริเริ่มและทำกิจกรรม การสะสมกรณีตัวอย่างที่แตกต่างหลากหลาย กับเรื่องที่จะเป็นพื้นฐานการทำงานในแนวนี้อีกหลายอย่าง เช่น การทำและถอดบทเรียนไปเรื่อยๆแบบสร้างความรู้คู่ไปกับการพัฒนาวิถีปฏิบัติที่ผสมผสานไปกับการทำงานให้กับสังคมและการดำเนินชีวิต
  • แต่การที่จะสร้างคนทำงาน ให้มีเครื่องมือกำกับใจออกจากใจตนเองอย่างนี้ได้ หรือ 'มีประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ' ก็คงต้องอาศัยเวลาทำความเข้าใจและต้องผ่านบทเรียนภาคปฏิบัติไปอีกเยอะครับ อันที่จริงมีอยู่สังคมไทยอยู่มากครับ แต่เราทิ้งรอยเท้าตนเองไปไกล จะลงเรื่องแนวนี้อย่าสงเป็นตัวของตัวเองโดยมีทุนทางสังคมวัฒนธรรมอยู่ด้วยนั้น ต้องมีบางส่วนที่ช่วยกันหาวิธีเดินกลับบ้านให้ได้น่ะครับ หลายอย่างที่เป็นสังคมและสภาพแวดล้อมเพื่อกล่อมเกลาวโลกด้านในของสังคม ก็ต้องสร้าง ต้องพัฒนา ต้องลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งพอมาถึงตรงนี้ ก็ต้องเลื้อยไปหาเรื่องการต้องสร้างดุลยภาพกับกระแสส่วนใหญ่ของสังคมอีกว่า ต้องเพิ่มโลกทางจิตใจให้มีสัดส่วนมากขึ้น ไม่อย่างนั้น คนก็จะไม่มีพื้นฐาน 'ใจเขาใจเรา' ให้สื่อถึงความ 'เห็นใจ' กัน จะให้พยายามเห็นและเข้าถึงสิ่งที่อยู่ด้านในด้วยเกณฑ์ด้านนอกอย่างตายตัว จากตัวอย่างที่ยกมาประกอบด้วยนี่ ก็สงสัยจะเอาไม่อยู่ละครับ
  • ผมเคยพยายามสอนวิชา 'ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมกับสุขภาพ' ให้กับกลุ่มแพทย์และคนทำงานสุขภาพที่จะออกไปเป็นผู้บริหารงานสาธารณสุขที่มุ่งชุมชนด้วย แบบลงลึกถึงการวิเคราะห์บริบททางสังคมวัฒนธรรม ก็หืดขึ้นคอครับ ต้องยอมไปก่อน จะเรียกร้อง จะผลักดัน ว่าสำคัญมากสำหรับคนที่จะออกไปเป็นผู้ันำการพัฒนาสุขภาพ รวมทั้งใช้เรื่องสุขภาพเป็นประเด็นนำการเปลี่ยนแปลงเรื่องอื่น ก็เหมือนกับเรียกร้องให้ความสำคัญกับตนเองและเรื่องของตัวกูของกู งั้นของพูดตอนนี้อีกครับ เพราะเป็นการพูดไม่ได้เป็นความดีแก่ตนเองแล้วว่า เรื่องสุขภาพทางจิตวิญญาณนี้ เป็นกระบวนทัศน์และความหมายใหม่ของสุขภาพที่ถูกสร้างขึ้นร่วมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมด้วย ดังนั้น แพทย์และคนสุขภาพยุคใหม่ ต้องเรียนรู้ศาสตร์ที่เป็นสหวิทยาการ และเรื่องที่มีศาสตร์ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพิ่มให้มากๆอีกครับ ไม่อย่างนั้น ก็จะสร้างประสบการณ์ชุดหนึ่งที่ข้างไหน ที่สร้างขึ้นมาจากภูมิปัญญาด้านอื่นของชีวิต ได้ไม่สอดคล้องกับประสบการณ์ของคนที่อยู่ในสังคม ก็จะไม่สามารถเข้าถึง 'ชีวิตและจิตวิญญาณ' ในลักษณะที่ใช้ทำงานและปฏิบัติต่อกันได้ในชีวิตจริง อย่างนั้นหรือเปล่านะครับ
  • ตอนนี้ ตัวหนังสือของ เล๊กเล็กนะครับ กว่าจะพิมพ์พรรณามาได้ถึงนี้นี่ ตาแทบถลนเลยละครับ เข้าใจว่าคงผิดพลาดแหลกราญมากยิ่งกว่าเดิมอีกนะครับ เพราะมองไม่ค่อยออกเลย ต่องคลำและพิมพ์ด้วย'จิตวิญญาณ'นะครับเนี่ย
  • อ่านบันทึกอาจารย์แล้วผมนึกถึงท่านอาจารย์หมอสกล หมอเต็มศักดิ์
  • อีกท่านคือ พระไพศาล ครับ
  • การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม...

โห ... ท่านพี่อาจารย์ วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ;)...

เอา "บันทึก" มาเขียนลง "ความคิดเห็น" ได้ไงครับ 555

มันเป็น "จิตวิญญาณ" จริง ๆ ;)...

  • อาจารย์ Wasawat Deemarn ให้ข้อสังเกตตรงกับที่กำลังนึกอยู่พอดีครับ ว่าจะเข้ามาขออนุญาตอาจารย์หมอปัทมา นำเอาไปทำเป็นบันทึกรวบรวมไว้ของตนเองด้วย เพราะเรื่องนี้ มักคุยสืบทอดไว้ก็แต่ในหมู่คนที่เคยทำงานในห้วงนั้นด้วยกัน อีกทั้งคุยถึงแบบรำลึกถึงอดีตกันเฉยๆ กำลังความเพียรไม่เคยพอที่จะทำให้อยากบันทึกถ่ายทอดไว้สักที
  • มาต่อยอดอีกแง่มุมหนึ่งในประเด็นของอาจารย์หมอปัทมาไว้ ก็กะว่าสุมรวมกันไว้ในหัวข้อนี้ ก็คงเพิ่มให้เป็นแนวใช้ความคิดของคนที่ต้องทำงานและเจอกับสถานการณ์อย่างนี้ ที่ต้องดูแลกันทางจิตวิญญาณ  ซึ่งเมื่อต้องเจอกับตรงหน้าตรงเองแล้ว จะรู้ว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งและเดิมพันสูงมาก หากมีโอกาสสะสมตัวอย่างปฏิบัติต่างๆไว้เยอะๆไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาต้องใช้แล้วก็จะรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก
  • แต่ก็เป็นด้านที่เชื่อมโยงกับเรื่องสุขภาพที่เริ่มหลังจากการเจ็บป่วยแล้ว เรื่องจิตวิญญาณที่มีบทบาทต่อชีวิต ต่อสังคมวัฒนธรรม ก่อนเรื่องความเจ็บไข้ได้ป่วย และนอกเหนือมิติสุขภาพนี่ก็เยอะนะครับ

สวัสดี อาจารย์ ป. ครับ

จิตวิญญาณ "รากเหง้าแห่งตัวตนบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ที่ไม่ได้ถูกจำแนกด้วยสิ่งใดๆ" สิ่งที่ผมเชื่ออย่างหนึ่งในเรื่องจิตวิญญาณของมนุษย์ก็คือ "ความใฝ่ดี" ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนครับ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะดึงสิ่งนี้ออกมาเป็นพลังในการสร้างการกระทำ จนเป็นพฤติกรรมให้กับตนเองได้ เนื่องจากเป็นส่วนที่ลึกที่สุด และมักถูกปิดกั้นด้วยความโหยหาทางจิตใจ ด้วยสิ่งที่เป็นกิเลส ตัณหาต่างๆ เพราะเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ และจะสัมฤทธิ์ผลได้นั้นต้องเกิดจาการลงมือปฏิบัติจริงเท่านั้น ครับผม

ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับผม

ขอบคุณคะคุณ Sr. ทำให้เห็นความหมายของคำว่า "Transcendent" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การเข้าใจธรรมะ (คือธรรมชาติ) เมื่อเข้าใจ จึงสามารถรับทุกสิ่งที่เกิดในความสงบ..

คนที่มีการฝึกฝนจิตใจมายาวนาน เมื่อเผชิญวิกฤติของชีวิต สงบได้ด้วยตนเอง คือ 5% ที่ Dena หมายถึง  

 

สวัสดีคะคุณครูปอ 
การดูแลผู้ป่วยหนัก เป็นงานที่ใช้กำลังกาย กำลังใจ มหาศาล
แต่ก็มีรางวัล คือ การเห็น "บทสรุป" ความหมายที่แท้จริงของชีวิตคะ

ข้อสังเกต..ไม่เห็นใครบอก Unfinished business task คือ ต้องซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้..
มีแต่ อยากเห็นหน้าคนนั้นคนนี้.. 

  ขอบคุณน้องมะปรางเปรี้ยว แนะนำหนังสือที่น่าสนใจมากคะ คือ

  ซึ่งแปลจาก

ต้องไปเสาะหามาอ่านบ้างแล้ว
หนังสือเล่มนี้เขียนก่อนท่านผู้เขียน Elizabeth Kubler-Ross เสียชีวิตไม่นาน
ท่านเป็นบุคคลที่ศึกษาวิจัย 5 ปฎิกริยาต่อความโศกเศร้าจากการสูญเสีย (grief)
: denial, anger, bargaining, depression, and acceptance ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้คะ

 

  • ดีจังเลยครับ..นักศึกษาแพทย์ คุณหมอ เรียนรู้ที่จะดูแลผู้ป่วยไปจนถึงระดับจิตวิญญาณเลย ปกติแค่เห็นพัฒนาการในการรักษาคนไข้และการจัดการตามโรงพยาบาลของผู้ที่มีหน้าที่ต่างๆ ตัวเองก็รู็สึกชื่นชมมากๆอยู่แล้วครับ..
  • ขอบคุณความรู้ครับ

ดูแลใจด้วยการ "หยุดคิด หรือ คิดเพียงเรื่องเดียว" 

ขอบคุณคะอาจารย์

ทำให้นึกถึง โรคจากอาหาร
ในอดีต มนุษย์เป็นโรคขาดอาหาร
ปัจจุบัน มนุษย์เป็นโรคอ้วน เพราะอาหารมีเหลือเฟือ ต้องเลือกรับประทาน

ในอดีต มนุษย์ทุกข์เพราะขาดข้อมูล
ปัจจบุัน มนุษย์ทุกข์เพราะข้อมูล มีให้คิดมากเกินไป 

 

ยังผิวเผิน และยังต้อง learn อีกนานจริงๆคะ

ขอเพียงให้ตั้งต้น และไม่หลงทิศ ก็พอ  :-)

ภาพและคำบรรยายของอาจารย์ช่วยจุดประกายบางอย่างขึ้นมาเลยคะ

เท่าที่แปลความจากภาพ
"soul" (=mind/psyche) เป็นจุดศูนย์กลาง คือ "จิต" ส่วนประกอบของบุคคลที่ไม่ใช่วัตถุ คนแต่ละคน เกิดมามีจิตที่แตกต่างกัน...และยิ่งเมื่อเติบโต มีประสบการณ์ ทางกาย (physical) ทางความคิด (mental) ทางอารมณ์ (emotion) และสังคม สิ่งแวดล้อม? (system) จึงพัฒนา (evolve) เกิดเป็น "spirit" ความหมายชีวิต.

ทำให้คิดว่า ส่วนประกอบของ นามธรรม นั้นซับซ้อนเกินกว่าจะประเมินแบบผิวเผิน..
หากนักศึกษา สับสนแต่แรก จะเกิดทัศนคติไม่ดี แล้วไม่อยากประเมินอีกเลย..

เราน่าจะให้เขามีวิธี ประเมิน "ภาพรวม" ก่อนจะลงรายละเอียด สิ่งใดเกินความสามารถก็ปรึกษา ส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ 

เปรียบเหมือนการตรวจระบบประสาท.. เราดูภาพรวม คนไข้เดินได้ ให้ประวัติปะติดปะต่อดีไหม..ถ้าผิดปกติ ค่อยตรวจแยกย่อยไปทีละส่วน

การประเมินจิตใจ เช่นกัน น่าจะมีวิธีดูภาพรวม เช่น เขามีสติ รับรู้ Reality ได้อย่างสงบไหม..ถ้าผิดปกติ ค่อยประเมินลงลึกไปทีละส่วน

I am definitely wading in muddy water here. But what life is without blindly going forth --risking all we have ;-p

1) There are, perhaps, 2 extreme views of transcendent (...ไม่รู้ว่าตรงกับศัพท์คำใดดี ข้าพเจ้า[Dr Patma] ขอแปลว่า "ค้นพบสันติสุข" ไปพลางๆ...) one is by "proper understanding" (or knowing?) [การเข้าใจธรรมะ (คือธรรมชาติ) เมื่อเข้าใจ จึงสามารถรับทุกสิ่งที่เกิดในความสงบ..คนที่มีการฝึกฝนจิตใจ"มายาวนาน"(? have transcended?) เมื่อเผชิญวิกฤติของชีวิต สงบได้ด้วยตนเอง คือ 5% ที่ Dena หมายถึง...]; another is "complete ignorance" (or innocence?). Either lets people be "happy". To them, one may be preferred, but the resultant happiness is the same ;-)

2) "...เปรียบเหมือนการตรวจระบบประสาท.. เราดูภาพรวม คนไข้เดินได้ ให้ประวัติปะติดปะต่อดีไหม..ถ้าผิดปกติ ค่อยตรวจแยกย่อยไปทีละส่วน

การประเมินจิตใจ เช่นกัน น่าจะมีวิธีดูภาพรวม เช่น เขามีสติ รับรู้ Reality ได้อย่างสงบไหม..ถ้าผิดปกติ ค่อยประเมินลงลึกไปทีละส่วน..."

We can say "at any one time" that some lotus flowers are blooming in the sun, some are about to bloom, some will soon bloom and some will not progress further (but will die and never see the light). In "dhamma" ways, we will be looking to identify the last category and to find way to let them reach out to bloom in the sunlight. [Other categories can progress to "finality" in natura -- why waste resources to achieve the inevitable? But we know, people ask doctors for medicine to cure colds that would run the full course and go away in 7-10 days.] Corrective services (and justice systems) should have some data to help in developing a 'measure' of spiritual 'desperation'.

3) Reading Dr วิรัตน์ คำศรีจันทร์ comment, I had on 2 occasions held hands with dying persons. I was 12 and I held my mother and asked her not to let go. Then 5 years ago, I held a lady friend to keep her company when she was passing away. I still don't know if I helped spiritually both times. Personally, I was shaken with mixed emotions including fear and anger (of things beyond my wish/control). Another time, I held a goat while it was slaughtered. There was no joy but haunting questions about existence of the gods that let Man take animal lives (to celebrate a birthday).

  • ขอบคุณคะอาจารย์ เสน่ห์ของการเขียนบล็อก อยู่ตรงที่มีความเห็น ช่วยเติมเต็ม เสริมคุณค่า เก็บเป็น "wiki" เล็กๆ คะ :-)
  • ประทับใจเรื่องเล่าประสบการณ์จริง ที่อาจารย์ยกมา ซึ่งนักศึกษา รวมทั้งอาจารย์มือใหม่อย่างหนู ต้องการมากเลยคะ..ชื่นชมด้วยใจจริงว่า เป็นการปิดทองหลังพระ ที่สมควรนำมาบอกกล่าวเป็นวิทยาทานอย่างยิ่งคะ
  • ผู้ป่วยเอชไอวี  ที่สังคมตีตราบาป ครอบครัวยังรังเกียจ เขาเองรู้สึกตนเองไม่มีความหมาย ไม่อยากดูแลตัวเอง..เมื่ออาจารย์และคณะ ได้เข้าไป "confirm" คุณค่าความเป็นเพื่อนมนุษย์ของเขา เขาจึงได้ จิตวิญญาณ กลับมา
  • กรณีผู้ร่วมงานที่เจ็บป่วย เป็นตัวอย่าง มนุษย์เงินเดือน อย่างเราๆ ที่ตอนสุขภาพปกติ ก็ดูเหมือนไม่ขาดอะไร จนเมื่อวันที่เรารู้ว่า "จะไม่มีปีหน้า"..จิตใต้สำนึก ความเคว้งคว้างลึำๆ ที่เก็บซ่อนไว้ก็ปรากฎ
  • เรื่องถัดมา ทำให้นึกถึง effectiveness ของ "ท่ามาตรฐาน" ชาว Palliative care คือ การจับมือคะ..ว่ากันว่า ประสาทรับรู้สุดท้ายที่จะดับ คือ หู กับ ผิวสัมผัส 
  •  'ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมกับสุขภาพ'  น่าจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตคะ  ในขณะนี้ก็มีแนวโน้ม ดูจากนักศึกษาแพทย์ปีหนึ่ง ในสมัยหนูนั้น ยังเรียน ชีววิทยาสัตว์ผ่ากบ กระต่าย ( รุ่นก่อนหน้านี้ ผ่าไปถึงไส้เดือน) แต่ รุ่นใหม่เรียนสังคมศาสตร์..โดยความเห็นส่วนตัว เห็นด้วยกับทิศทางนี้คะ เพราะ ความเชี่ยวชาญวิชาทางเทคนิคนั้น เรียนเมื่อใดก็ได้ ขอแค่อย่าตกม้าตาย ในวิชาชีวิตก่อนก็แล้วกัน

ขอบคุณมากมาย ในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อครับอาจารย์

สวัสดีครับอาจารย์

- ได้เข้ามาอ่านบันทึกของอาจารย์ช่างโชคดีแท้....และความคิดเห็นจากท่านผู้รู้ทุกคน ทำให้ผมเห็นว่า เสน่ห์ของผู้คนแห่งนี้ช่างงดงามนับ ทำให้ผมเข้าใจความหมายของคำว่า จิตวิญญาณ...องค์รวม ในมุมมองที่เคยรู้ และไม่เคยรู้ครับ

- ผมว่า จิตวิญญาณ ในความหมายของคนที่ทำงานด้านสุขภาพ เป็นตัวหนึ่งนิยามหนึ่ง (ที่คนกำหนดให้) ใน 4 ตัว ในการดูแลแบบองค์รวม คือ กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ แต่ก็เป็นข้อถกเถียงว่า ตัวสุดท้ายจะวัด (เชิงปริมาณ หรือหลักวิทยาศาตร์) ออกมาอย่างไงดีครับ ?

- ผมว่ามองว่า มันมีดีกรีเพิ่มขึ้นของตัวเอง

1 = กาย

2 = ใจ

3 = สังคม

4 = จิตวิญญาณ

- เมื่อผู้ป่วย มีกาย จิต และสังคมในการดำรงชีวิตต่อไปนับเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามีจิตวิญญาณด้วย ประมาณว่า ต้องมีและใช้ชีวิตอยู่ในโลกของตนเอง และโลกของผู้อื่น และโลกแห่งความจริงได้ โดยมีศรัทธาและคุณค่าของความดีของตนเอง เชื่อในความดีของตนเอง

-หรือกรณีผมมองเห็นอาจารย์ แต่อาจารย์มองไม่เห็นผม และผมก็มีความปรารถนาดีกับอาจารย์ ผมก็รู้ว่าอาจารย์มีความปรารถนาดีกับผม แต่อยากจะไม่ใช่ แต่ผมเชื่อว่ามันใช่

- ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า จิตวิญญาญ คือ ความเชื่อหรือเปล่า แต่แน่ ๆ ต้องไม่ใช่ไสยศาสตร์ครับ

แสดงความคิดเห็นเล็ก ๆ ไปตามประสา แค่ได้มาเยี่ยมก็รู้สึกดีและหายง่วงแล้วครับอาจารย์

อยู่โรงพยาบาลมาสิบสามวันครับ...รู้สึกเข้าใจเลยว่าทำไมคนเราอยากกลับไปตายที่บ้านครับ...

อาหารมีผลมากครับ..ย้ายโรงพยาบาลไปที่ศรีนครินท์ อาหารอร่อยมากๆ อร่อยแบบไม่น่าเชื่อ มีให้เลือก จะเป็นอาหารพื้นเมืองก็มีให้..ความรู้สึกตอนแรก ว่าเราเหมือนถุงใส่สารเคมี โยงด้วยสายน้ำเกลือสยอง หมดไปทันที รู้สึกเป็นคนขึ้นครับ...

....

รู้สึกสงสารคนเผ้าไข้...ต้องคอยปลอบไม่ให้ซึมเศร้าไป...

...

อยากฟังธรรมะ...แต่คนรอบข้างจัดการให้ไม่ค่อยได้...ดาวน์โหลดเองก็เบลอๆ...เลยคิดว่าถ้าป่วยหนักกว่านี้คงแย่..แอบสงสารคนที่ป่วยกว่า..เจอป่วยเดินฝ่าน จะอวยพรทันที

....

ชื่นชมคุณหมอและพยาบาลมากๆ...บอกพวกเขาว่า พวกเขาคือเทวดา และนางฟ้าชัดๆ...เอาใจใส่..เต็มที่ เต็มใจ...

...

ไม่แปลกที่คนชื่นชม...

...

โลกของคนไข้ เป็นอีกโลกจริงๆ ครับ..ต้องการทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ สังคม...

...

และไม่ใช่ของคนไข้อย่างเดียว...คนรอบตัวด้วย..มันโยงใยไปหมดครับ...

...

ท่านพระอาจารย์ไพศาล อาจารย์สกล อาจารย์เต็มศักดิ์  ท่านทั้งสาม นับถือเป็น ปรมาจารย์ การดูแลแบบองค์รวม และ บุคคล "ต้นแบบ" ทางความคิดคะ..
ทางสายวิชาการ ความคิดที่แตกหน่อ อาจไม่เหมือนต้นแบบเสียทีเดียว แต่หากปราศจาก ร่มเงา ของไม้ใหญ่ ต้นไม้เกิดใหม่ก็เติบโตได้ยาก...

ขอบคุณอาจารย์ขจิต ผู้ดูแลศิษย์แบบองค์รวม คะ :-) 

สวัสดีค่ะ

ดีใจมากที่ได้มาอ่านบันทึกนี้

รวมถึงอ่านข้อคิดจากทุกท่าน

การดูแลด้านจิตใจสำคัญมากจริงๆค่ะ

ขอบคุณคุณหมอสำหรับบทความดีๆ ครับกระตุ้นให้ได้คิดครับ

 "ความใฝ่ดี" ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะดึงสิ่งนี้ออกมาเป็นพลังในการสร้างการกระทำ จนเป็นพฤติกรรมให้กับตนเองได้..เพราะมักถูกปิดกั้นด้วยความโหยหาทางจิตใจ ด้วยสิ่งที่เป็นกิเลส ตัณหาต่างๆ

  นิยามของคุณครูธนากรณ์ ทำให้รู้สึกมีความหวังได้เป็นอย่างดีคะ..ว่า ลึกๆ ในความแตกต่างของจิตใจมนุษย์นั้นคือ "ความใฝ่ดี" (เข้าใจว่า หมายถึง ใฝ่ที่จะดีขึ้น ใฝ่ที่จะอิสระ หรือเปล่าคะ)

   หากมีโอกาสขอเชิญมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกบ่อยๆ นะคะ

ขอบคุณคะ คนทำงานได้ฟังเช่นนี้ มีกำลังใจ และอยากทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น..

การดูแลทางจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่อาสาสมัคร
อย่าง นักเรียนมัธยมก็ช่วยได้เป็นอย่างดี หากโรงเรียนมีโครงการอาสาสมัครดูแลจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง (อบรมความรู้เกี่ยวกับโรคเพิ่มสักเล็กน้อย) คงช่วยสร้างทักษะชีวิต ไปพร้อมๆ กับ ช่วยเหลือสังคมด้วยคะ 

ยินดีที่ได้รับความเห็นอีกรอบคะ คุณ Sr อ่านละเอียดลึกซึ้ง และตีความน่าสนใจคะ

  why waste resources to achieve the inevitable?
But we know, people ask doctors for medicine to cure colds that would run the full course and go away in 7-10 days.] Corrective services (and justice systems) should have some data to help in developing a 'measure' of spiritual 'desperation'.

  จุดที่เรียกว่า พอเหมาะพอดี ของบริการสุขภาพอยู่ตรงไหน ?
อย่างเรื่องยาแก้หวัด ที่คุณ Sr ยกมานั้น แม้มีข้อมูลชัดเจนเพียงไรว่า ถ้าทอนซิลไม่เป็นหนอง ไม่จำเป็น เพราะร่างกายรักษาตัวเองได้ อาจใช้ยาลดอาการ ลดน้ำมูก แก้อาการได้..แต่เมื่อคนไข้ มาหาหมอ "ความคาดหวัง" คือได้ยาปฎิชีวนะแรงๆ (ที่ซื้อไม่ได้ตามร้านขายยา)..
   กระตุกให้คิดว่า ระดับความเข้มข้นของ spiritual care  บางครั้งไม่ได้ขึ้นกับ สิ่งที่เป็น objective จากมุมมองผู้ให้บริการการแพทย์อย่างเดียว ยังขึ้นกับความคาดหวังของฝ่ายผู้ป่วยด้วยคะ 

  ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์ใกล้ชิดกับความตาย ทั้งสามกรณีให้พวกเราฟังคะ..เห็นภาพแล้ว สะเทือนใจตามไปด้วย..สิ่งที่อยู่นอกการควบคุมของเรา สร้างความกลัว โกรธ ให้กับมนุษยชาติ แม้เราต่างรู้ว่า มีน้อยสิ่งเหลือเกินที่เราควบคุมได้

 

ยินดีคะคุณหมอสีอิฐ รอฟังเรื่องเล่าจากคิวบา อยู่นะคะ :-)

เชื่อคะว่าทรัพยากรให้เรียนรู้เรื่อง จิตวิญญาณ มีในบริบทปฐมภูมิมากมาย

หลงเสน่ห์ของผู้คนแห่งนี้เช่นกันคะ
ที่มีน้ำใจ ความเห็นสั้นหรือยาวต่างงดงาม มีความปรารถนาดีให้กันและกัน
ช่วยกันเติม สิ่งที่ตัวเองไม่เคยคิด ไม่เคยรู้ ได้เป็นอย่างดีคะ

- เรื่องการวัด..น่าคิดคะ มีเครื่องมือที่พยายามวัดนามธรรม อย่างความรู้สึก ขึ้นมาไม่น้อย..แต่คำถามหนึ่งที่เกิดในใจคือ  หากวัดว่า นาย ก. มีความสุข 4/10  นาย ข. มีความสุข 8/10 แปลว่า สุข "แบบนาย ก." มากกว่า สุข "แบบนาย ข." จริงๆ หรือ
น้ำหนัก ส่วนสูง มี "แบบเดียวกัน" เพราะมันมีรูป
โดยส่วนตัว จึงกังขา เรื่องการวัดความรู้สึกเปรียบเทียบประชากรกลุ่มหนึ่ง กับ กลุ่มหนึ่งอยู่คะ...เชื่อในการเปรียบเทียบ ดีกรี ภายในตัวบุคคลเดียวกันมากกว่า

..เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ ? หากวิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ที่ได้มาจากกระบวนการที่"พิสูจน์" ได้..ขึ้นกับมุมมองคะว่าการพิสูจน์นั้นจำเป็นต้องวัดให้เป็นตัวเลข หรือ ดูที่ภาพรวม

- คนที่ศรัทธาและคุณค่าของความดีของตนเอง เชื่อในความดีของตนเอง อย่างคุณหมออดิเรก เป็นผู้ที่จิตวิญญาณเข้มแข็งคะ..และคนที่เชื่อเช่นนี้ สิ่งที่เชื่อก็มักจะเป็นจริงเสียด้วย :-)

 

ได้ประโยชน์สำหรับพยาบาลมากค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่มาต่อยอดความรู้ไว้ในบันทึกนี้

ดร ภิญโญ มานอน รพ ศรีนครินทร์ตอนไหน ไม่ได้ไปเยี่ยมเลย หายดีหรือยังคะ

 

ขนาดป่วย อาจารย์ยังมีมุมมองแง่บวกและสร้างสรรค์อยู่เสมอนะคะ

เห็นผู้ป่วย นอนมองเพดาน ใส่น้ำเกลือ คนเผ้าไข้ จนเจนตา
อาจารย์เล่าความรู้สึกออกมา ทำให้เข้าใจและเห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนคะ 
.

ขอบคุณคะ ที่มองอย่างชื่นชม
บางคน อาจแปลกใจ แพทย์ที่ CPR ผู้ป่วยไม่ขึ้น เสร็จแล้วก็บอกญาติผู้ป่วยเสียแล้วนะเดินหน้าตาเฉย ไปราวน์ต่อ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น..
นี่อาจเป็น "protective mechanism" ทางจิตใจ ต่อการสูญเสียรอบตัว
ว่าไป ทางคลินิก ปกครองกันคล้ายทหาร (Hierachial system) เพื่อความฉับไวในการรักษา...อารมณ์ถือเป็นสิ่งรบกวน จึงไม่เป็นที่ยอมรับนักคะ

อย่างที่อาจารย์ว่าคะ.. 

โลกของคนไข้ เป็นอีกโลกจริงๆ ครับ..ต้องการทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ สังคม...

...

และไม่ใช่ของคนไข้อย่างเดียว...คนรอบตัวด้วย..มันโยงใยไปหมดครับ...

...

 

"การดูแลจิตใจ"

ชอบคำนี้คะ เมื่อพิจารณาดีๆ แล้ว

 

 

 

ขอบคุณคะพี่แก้ว

อาจารย์ภิญโญ มาเล่าเรื่องต่อยอด (หลังหยอดน้ำเกลือ) ได้แล้วคะ

Hi Doctor Patama,

Glad to see you question "the value of the gift" (I often say a gift has a value by its receiver).

คุณหมอทิมดาบ's "...แต่ถ้ามีจิตวิญญาณด้วย ประมาณว่า ต้องมีและใช้ชีวิตอยู่ในโลกของตนเอง และโลกของผู้อื่น และโลกแห่งความจริงได้ โดยมีศรัทธาและคุณค่าของความดีของตนเอง เชื่อในความดีของตนเอง..." captures much of our "spiritual" views of ourselves. And then "...ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า จิตวิญญาญ คือ ความเชื่อหรือเปล่า แต่แน่ ๆ ต้องไม่ใช่ไสยศาสตร์ครับ..." sums it up nicely ;-)

May I ask you to read:

6. A sense to connect, match, think and know.

< http://www.gotoknow.org/blogs/posts/385770 >

I like ดร.ภิญโญ's "...รู้สึกสงสารคนเผ้าไข้...ต้องคอยปลอบไม่ให้ซึมเศร้าไป..." and "...โลกของคนไข้ เป็นอีกโลกจริงๆ ครับ..ต้องการทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ สังคม...และไม่ใช่ของคนไข้อย่างเดียว...คนรอบตัวด้วย..มันโยงใยไปหมดครับ..."

I think the good ดร.ภิญโญ has transcended his condition and very much at peace with the whole world within and without.

We have a perfect patient to learn more about palliative care but it would be rude to barge in and change his transcendent world, How do we resolve this dilemma?

น่าดีใจที่นักศึกษาแพทย์สมัยใหม่  ได้เรียนพื้นฐานสังคมศาสตร์ตั้งแต่ปีแรก ๆ

หลงทิศทางเปรียบชีวิตเป็นระบบ-กลไกแยกส่วนอยู่ตั้งนาน

มิต้องพูดถึงการเรียน "ทันตแพทย์"  แยกส่วน-ลดทอน สุด ๆ

ซึ่งก็ยังจำเป็นในลักษณะ....เชี่ยวชาญอย่างเดียวเถิดจะเกิดผล

ในกรณีการรักษาบางอย่าง  ก็ต้องรู้ลึก  รู้จริงในสาขานั้น ๆ

แต่ก็ต้องไม่ทิ้งการเรียนการสอนพื้นฐานที่จะออกมาอยู่ร่วม "ชีวิต" กับคนอื่น ๆ ในสังคม

การจะจบมาเป็นบุคลากรที่เข้าใจคน  เข้าใจความเป็นอยู่  คนรอบข้าง  รอบตัวและสังคมที่จะไปใช้ชีวิตทำงาน  เห็นผู้คนทั้งตัว  หัวใจ  ครอบครัว  ญาติมิตร  เชื่อมโยงกับสิ่งที่เขาคิด  ให้คุณค่า  ให้ความหมาย  เป็นสิ่งที่ต้องถูกสอน  ปลูกฝัง  หล่อหลอมและกล่อมเกลามาเรื่อย ๆ

แพทย์  ทันตแพทย์  ใกล้เคียงกัน  ส่วนใหญ่มักจะเรียนเก่งมาตั้งแต่เด็ก ๆ  ถ้าถูกสอนให้เป็นที่หนึ่งเสมอ  โดยไม่สนใจคนรอบข้างอื่น ๆ  ก็ยากที่จะเห็นใจคนอื่น 

แต่หากครอบครัวที่เป็นสถาบันกล่อมเกลาแรก  จนจบลงที่โรงเรียนแพทย์ (มหาวิทยาลัย)  ให้ความสำคัญเนื้อหาหลักสูตร  มีบุคลากรที่มีจิตวิญญาณความเป็นคน  และความเป็นครู  ที่จะต่อเติมเสริมความเป็น "คน" ให้แพทย์  ทันตแพทย์  ว่าตนเองก็ไม่ได้แตกต่างจากผู้คนอื่น ๆ  มีสุข  ทุกข์ร้อน  หนาวเย็น  เจ็บป่วยได้  ตายก็เป็น

เมื่อนั้น  การปฏิบัติต่อผู้อื่น  จะมากหรือน้อย  ก็จะคำนึงถึงความเป็น "คน" ที่เหมือนกับเรา  ไม่ใช่ผู้เคราะห์ร้ายจากโรคภัยที่มาให้เรารักษา  แนวทางการพูดจาก็จะเปลี่ยนเป็นการปรึกษาหารือ  ร่วมรับผิดชอบการกระทำและชีวิตของตน  ได้มากน้อยแค่ไหน  นั่นแหละ คือ จิตวิญญาณของตัวเขาเอง  ที่จะดูแลสุขภาวะตนเอง  หรือจิตวิญญาณของชุมชน  ที่จะดูแลสุขภาวะชุมชนถิ่นฐานบ้านตนเอง

ดีใจที่ได้อ่านข้อเขียนดี ๆ จากอาจารย์หมอ ป. ผู้ที่จะนำและสืบทอด "จิตวิญญาณ" เพิ่มเติมสู่แพทย์น้องใหม่และวงการแพทย์เมืองไทยต่อไป

ขอบคุณค่ะ

 

ขอบคุณสำหรับบทความแนะนำ ช่วยอธิบายเรื่อง ขันธ์ 5 ที่สับสนมานานคะ 
เท่าที่ตนเองเข้าใจคือ

สิ่งที่เราเรียกขาน ทั้งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้(ความ...)  = รูป 

ประสาทรับรู้ = เวทนา

ระลึก ( ด้วยการจับกับฐานข้อมูลในสมอง) = สัญญา

ประมวลผล คาดการณ์ = สังขาร

ภาวะตื่นรู้ ( concious)  = วิญญาณ = สติ ?

ถึงจุดนี้ขอคิดต่อคะว่า

สิ่งที่จับต้องได้ (หมายถึงคนอื่น รับรู้ได้) เช่น รูปภาพ เสียง กลิ่น = "Objective" หรือ Sign 

สิ่งที่จับต้องไม่ได้ (ดังนั้น มีตัวเองเท่านั้นที่รับรู้ได้) เช่น ปวด เบื่อ = "Subjective"- หรือ Symptom 
....

เรื่องจิตวิญญาณ น่าจะกล่าวได้ว่า เป็น Subjective คะ 
สิ่งที่ทำให้ถกเถียง ว่า จิตวิญญาณเป็นวิทยาศาสตร์ หรือไม่อยู่ตรง
Scientific inquiry is generally intended to be as "objective" as possible, to reduce biased interpretations of results.

เห็นด้วยกับคุณหมอทิมดาบว่า ไม่ใช่ไสยศาสตร์แน่ๆ แต่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ยังกังขา
เรื่อง Bias ( เมื่อเราพยายามเดินตรง ในโลกเอียงๆ )
....

ขอบคุณที่เตือน เรื่อง "Barge" คะ  :-)  มิได้เจตนาเปลี่ยนโลกทัศน์ 
กลับไปอ่านอีกที ก็แปลกใจว่า เขียนไปได้อย่างไร
..อาจมาจากสิ่งที่คั่งค้างในใจเมื่อวาน  เกี่ยวกับ "Hierachy" 

ประทับใจข้อความนี้คะ

"...การปฏิบัติต่อผู้อื่น  จะมากหรือน้อย  ก็จะคำนึงถึงความเป็น "คน" ที่เหมือนกับเรา  ไม่ใช่ผู้เคราะห์ร้ายจากโรคภัยที่มาให้เรารักษา.."

อ่านแล้ว นึกถึงภาพ เจดีย์ ขึ้นมาคะ

การที่ เจดีย์ จะดำรงอยู่ได้

ต้องการทั้งฐานที่แข็งแกร่ง
อาจเปรียบได้กับ ทักษะชีวิตพื้นฐาน การอยู่ร่วมกับมนุษย์ สิ่งแวดล้อม

และต้องการยอดที่ต่อสูงขึ้นไป เพื่อดำรงหน้าที่
เปรียบได้กับการเรียน ให้เชี่ยวชาญ ก็ต้องรู้ลึก  รู้จริงในสาขานั้น ๆ

...

สะท้อนให้คิดไปถึงบุคลากรการแพทย์ แม้แต่ใน field primary care
มิอยากให้มองว่า ความเชี่ยวชาญ (expertise) เป็นสิ่งตรงข้ามกับ Holistic care
.
เราต่างมี "ความใฝ่ดี" ที่จะเป็น Expert เรื่องใด เรื่องหนึ่ง
เพียงแต่ อย่าลืม ทีจะมองเห็น "ความใฝ่ดี" ของผู้อื่น ด้วยคะ

We are learners. In our quest to learn, we do often 'barge in' so we can learn what goes on inside. But doing so, we add ourselves (and what come with the package) to (and change) the 'holistic' environment. Thus, we change.

I added an answer to your question on measurement of 'subjective' matter in

6. A sense to connect, match, think and know.

< http://www.gotoknow.org/blogs/posts/385770 >

I think simplistically, 'subjectivity' is a subjective view (like 'intangible' value in economics - what we have yet to define).

As happened in the past, once we go into details, differences often emerge and lead us to define characters for discernment, and then measurement.

I think a study of citta and the 52 cetasikas (mental characters) in the Tipitaka may help.

At present, we are... as คุณหมอทิมดาบ said -- we don't know enough about it but it is not 'in the dark' (anymore). The more we look at this 'in the light' (buddhistically), the more we will learn and the more we can do.

;-)

[NB. I have not read many books on 'citta-cetasika' but this book (in English) may help:

Cetasikas by Nina van Gorkom first edition published in 1999 by Zolag

< http://www.vipassana.info/cetasikas.html >

and how [Thai] 'happiness' is measured is mentioned in

Prof. Vicharn Panich's ชีวิตที่พอเพียง : 1426. เรียนรู้เรื่องความสุข

< http://www.gotoknow.org/blogs/posts/467355 > ]

ได้แรงบันดาลใจเรื่องการวัด "ความสุข" ด้วยครับ..

จะเขียนเรื่องนี้ต่อไปเลยครับ

อ่านบทความของคุณหมอ และผู้ที่เข้ามาตอบทุกท่าน ได้แง่คิดและแรงบันดาลใจมากๆครับบ

"..once we go into details, differences often emerge and lead us to define characters for discernment, and then measurement."

 ชักรู้สึกเป็นเรื่องน่าศึกษาจริงๆคะ  ขอบคุณที่แนะนำหนังสือ cetasika ขออนุญาตเพิ่มเติมไว้ในบล็อก เผื่อมีคนสนใจอ่านแล้วมา ลปรร. กันต่อไปนะคะ

สิ่งที่สะท้อนมาจากใจอาจารย์ เพียงไม่กี่ประโยค

ก็ช่วยให้ได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นอย่างดี ยิ่งหากได้อ่าน

การวัดความสุข..จะเป็นเวทีต่อยอด จนเกิดการสร้างสรรค์ที่คาดไม่ถึงก็ได้นะคะ

เป็นคนหนึ่งที่จะปูเสื่อรออ่าน

สวัสดีค่ะคุณหมอป.

คุณยายมาเยี่ยมด้วยความคิดถึงค่ะ

 

ขอบคุณสำหรับดอกกุหลาบ กำลังใจคะ :-)

คุณค่าความเป็นคน
สูงส่งสักแค่ไหน
ต้อยต่ำสักปานใด
ล้วนอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน

..

ขอบคุณสาระชีวิต-ปรัชญาชีวิต นะครับ

ขอบคุณคะ อาจารย์ที่บ่มเพาะการมองเห็น"คุณค่าความเป็นคน"
ให้กับคนรุ่นใหม่ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท