น้ำเสียกับมูลฝอยหลังน้ำท่วมร่วมคิดชวนคุย


   น้ำเสียกับมูลฝอยหลังน้ำท่วมร่วมคิดชวนคุย

     
      ประเด็นที่อาจารย์หมออนุวัฒน์  ศุภชุติกุล ท่านช่างมองการณ์ไกล ฝากประเด็นไว้  เพื่อร่วมคิดชวนคุย  ใน Facebook ขอบพระคุณดร.กะปุ๋มที่ส่งข่าว หากท่านอื่นๆมีแนวคิดดีดีในการบริหารจัดการมูลฝอย เพื่อลดภาระด้านสาธารณสุข    เชิญชวนทุกท่านร่วมคิดร่วมแก้ไข ได้ในบันทึกนี้ได้นะคะ 
 

ที่มา 

 

Large_deda6
 

 

 

        Anuwat Supachutikul
 
       " ชาวเมืองชาวน้ำอยุธยา นั่งรอนอนรอน้ำลดเท่าไร น้ำก็ไม่ลด น้ำก็เน่าเสีย ขยะก็กองอยู่เต็ม แมลงวันก็เพิ่มจำนวนขึ้น เราน่าจะมาช่วยกันทำ R2R ว่าจะจัดการกับขยะเหล่านี้ได้อย ่างไร ลองช่วยกันคิดและทดลองปฏิบัติ แล้วเอามาแลกเปลี่ยนกัน ผู้ที่อยู่ชายขอบของเขตน้ำท่วม อาจจะหาแหล่งทรัพยากรที่สามารถเ ผาขยะได้ แล้วประสานงานจัดระบบเครือข่ายเ ก็บและลำเลียงขยะมาที่จุดเผา หาไม่ จะเป็น burden ต่อระบบบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้ นเนื่องจากโรคระบาดที่จะตามมา "
และบันทึกที่เกี่ยวเนื่อง
หมายเลขบันทึก: 465779เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2011 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

เห็นด้วยทั้งสองประเด็นเลยนะคะ น่าจะส่งผลถึงระบบสาธารณสุขเต็มๆ ในระยะอันใกล้นี้

แล้วจะส่งให้เครือข่าย IC ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ

 

There is a lot of information on the Net and GotoKnow.org for example

พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

แพทย์ โรงพยาบาลรัฐ [กระบี่)

has written a lot of pages on this subject. In particular (please see)

จัดการบ้านหลังน้ำลดยังไง...ที่ช่วยลดน้ำเสียให้น้อยลงได้

< http://www.gotoknow.org/blogs/posts/465400 >

in which suggestions how to 'manage' waste water in our home.

If we can follow this (at grassroot or bottom-up) approach,

the larger pool of waste water should look after itself.

สวัสดีค่ะ

หลังน้ำลด..คือน้ำเน่า...บ้านครูปอ..อยู่บางใหญ่มักเจอแบบนี้ทุกปีค่ะ..แต่ไม่มากเท่าปีนี้...

ตอนนี้ปัญหามันคงลุกลามไปถึงเมืองหลวงแล้วล่ะค่ะพี่

หลังน้ำลด คงมีการบูรณาการณ์ กันยิ่งใหญ่เกือบทั้งประเทศ

ขอบพระคุณค่ะ   Ico48คุณ sr 

  • จะเข้าไปศึกษาจากบันทึกอาจารย์หมอ
  • ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน  รอภาครัฐอาจช้าเกินไป...

พี่ครูปอ  Ico48  ค่ะ

จากประสบการณ์ตรงต้องทำอย่างบ้างค่ะ หรือจัดการเอง

หรือต้องการลงแขก ให้หน่วยงานอื่นๆช่วย

ขอบพระคุณนะคะที่แวะมา

น้อง Ico48   namsha  ที่คิดถึง

  • ปัญหา ภาระหนักที่ชาวเราสาธารณสุขจะต้องเผชิญต่อไป  คิดเล่นๆว่า หากหนึ่งคนป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษา  ไม่แค่ค่ารักษา เท่านั้นค่าเดินทาง อาหารญาติ ตกไปคนละเท่าไหร่  หากเกิดการระบาด มิใช่น้อยเลยนะคะ
  • มีข้อคิดดีดีเรื่องการจัดการมูลฝอย  น้ำเสียได้อย่างไรดีดีแวะมาแจ้งอีกได้นะคะ

 

 

ระดับประเทศเลยนะครับ ปัญหานี้

สวัสดีค่ะน้องอุ้มบุญ

  • พี่มีภาพเก็บตกจากวันพยาบาลที่ผ่านมา มาฝากค่ะ

คุณบีเวอร์  Ico48 คะ

หากมีไอเดียดีช่วยกันคนละไม้ละมือนะคะ  อาจได้แนวคิดดีดี นอกกรอบ จากการร่วมคิดร่วมคุยครั้งนี้ได้ค่ะ

พี่สาว Ico48 คนสวย

  • วันพยาบาลที่ป่าติ้ว มีกิจกรรมเช่นกัน  เลี้ยงอาหารผู้ป่วยนอก เยี่ยมผู้ป่วยใน
  • ทำบุญที่วัด
  • ตรวจสุขภาพฟันฟรี 
  • พี่สบายดีนะคะ  

ดีจังค่ะในประเด็นนี้ ต้องบูรณาการทั้งการบริหารจัดการขยะเดิมให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก และรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการลดจำนวนขยะในอนาคตอย่างเป็นกระบวนการทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชนนะคะ..

..พี่ใหญ่เองเริ่มมานานแล้วค่ะ กับเยาวชนในเครือข่ายโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการธนาคารขยะ

ขยะคือของดีมีประโยชน์แต่เมื่อไม่ต้องการใช้ก็กลายเป็นขยะ

ถ้านำมาใช้ใหม่ก็ไม่เป็นขยะนะครับ

  • วันนี้ รอบบ้านใครมีน้ำขัง
  • ถ้าหย่อนวัสดุที่มีรูพรุน
  • ซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้
  • เช่น ฟองน้ำ สกอตไบรท์
  • เส้นใยโพลีเอสเตอร์
  • ใส่ถุงดำที่เจาะเป็นรูๆให้น้ำเข้าได้
  • ลงไปห้อยไว้ในน้ำรอบตัว
  • จะช่วยลดกลิ่นเหม็น
  • ไล่ยุงรำคาญไปได้
  • ไล่หนูไปไกลได้ด้วย
  • ......
  • เจ้าถุงดำนี้จะทำหน้าที่
  • เป็นบ่อเพาะจุลินทรีย์
  • ที่ไม่ใช้ออกซิเจน
  • ให้เพิ่มจำนวนเร็วขึ้น
  • และทันเวลากับความต้องการ
  • จัดการกับสารอินทรีย์ที่มากับน้ำ
  • ลดความสกปรกได้เร็ว
  • ทำให้มีที่ว่างในน้ำ
  • จากตะกอนสกปรกที่ลดลง
  • .....
  • ตะกอนแขวนลอยลดลง
  • เพิ่มโอกาสให้อากาศที่สัมผัสน้ำ
  • และแสงแดดส่องลงไปในน้ำได้ลึกขึ้น
  • ทำให้พืชน้ำที่ตาเราไม่เห็น
  • หรือไม่รู้จัก.....ได้สังเคราะห์แสง
  • พืชน้ำสังเคราะห์แสงได้
  • ก็เท่ากับช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
  • ทำให้ก๊าซไข่เน่าลดลง

 

  • อากาศสัมผัสเนื้อน้ำได้มากเท่าไร
  • โอกาสที่น้ำจะได้ออกซิเจนเพิ่มก็มากเท่านั้น
  • ........
  • หาวัสดุที่บอกไว้ไม่ได้
  • ก็ยังสามารถใช้เสื้อผ้า
  • ที่นอนเปียกแทนได้นะคะ
  • ........
  • หย่อนลงในน้ำลึกๆ
  • จะได้ผลกว่าหย่อนลงตื้นๆ
  • ........
  • เรื่องของกองขยะ
  • ไม่ต้องการแมลงวัน
  • ไม่ต้องการกลิ่น
  • ให้หาปูนขาวไปโรย
  • ปูนขาวจะช่วยลดการวางไข่ของแมลงวัน
  • ........
  • บ่อน้ำชาวบ้านมีที่ไหน
  • ตามไปหยอดคลอรีนให้ทั่ว
  • ........
  • หาปูนขาว
  • หาคลอรีน
  • แล้วช่วยกันลงแขกได้เลย
  • จะช่วยลดโรคทางเดินอาหาร
  • ที่ตามมาหลังน้ำลดได้พอประมาณ
  • ปริมาณปูนขาวที่ใช้โรย
  • อยู่ในราว 25 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตร.เมตรของขยะ
  • ......
  • ในพื้นที่ที่น้ำลดแล้ว
  • มีสิ่งที่ควรทำ
  • เพื่อลดการระบาดของโรคสำคัญ
  • ฉี่หนู กับ โรคทางเดินอาหาร
  • ......
  • จุดสำคัญที่สุด คือ แหล่งแพร่โรค
  • ......
  • เรื่องการเผาขยะ
  • จัดการเบื้องต้น
  • หยุดการเพิ่มจำนวนของเชื้อ
  • ด้วยการใช้ปูนขาว
  • กับขยะเปียกน้ำที่เกลื่อน
  • ง่ายกว่าขนไปเผา
  • .......
  • ยานพาหนะมีจำกัด
  • ควรนำไปใช้ช่วยอพยพคนก่อนจะดีกว่า
  • .......
  • เก็บขยะใส่ถุงดำมัดแน่น
  • ไม่ให้อากาศเข้า
  • เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย
  • เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยจัดการขยะได้
  • ถุงดำพวกนี้ทิ้งไว้
  • เกิน 28 วันเชื้อก่อโรคที่ไม่ดื้อตายหมด
  • ......
  • เชื้อก่อโรคทางเดินอาหารส่วนใหญ่
  • หยุดเจริญในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน
  • รวมไปถึงเชื้อฉี่หนู
  • ......
  • เคลียร์ขยะให้ออกไปไกลบ้านคน
  • ให้เร็วที่สุด....เพื่อล่อให้หนู
  • ไปหาอาหารไกลบ้านคน
  • ......
  • ระบบงานเฝ้าระวังโรค
  • เพิ่มความไวของการเฝ้าระวัง
  • ให้ไวกว่าปกติหลายเท่า
  • และนานหน่อย....ควรเฝ้าหลังน้ำลดแล้ว
  • นานอย่างน้อย 3 เดือน
  • .....
  • กำหนดเกณฑ์ทำงานของ SRRT ใหม่
  • มีผู้ป่วยใหม่ เมื่อไรให้ลงพื้นที่
  • เป้าหมายไม่ใช่หา case
  • แต่ลงไปสำรวจขยะ-น้ำที่อาจเป็นแหล่งแพร่โรค
  • ......
  • ถ้าทำงานไวพอ ก็จะคุมโรคระบาดอยู่ค่ะ
  • มีอีกเรื่องที่ควรเตรียมความพร้อม
  • การให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
  • ในช่วงที่ชาวบ้านพากันลงแรง
  • จัดการรื้อฟื้นที่อยู่อาศัยค่ะ
  • .......
  • การใช้ถุงดำใส่ของมีรูพรุนที่แนะนำข้างบน
  • ช่วยลดแอมโมเนียในน้ำได้ด้วย

ผมกำลังคิดอยู่ครับ...เข้ามาอ่านตั้งแต่เช้า

เป็นประเด็นที่น่าสนใจ

ในการจัดการ

AAR น้ำท่วม

ทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังน้ำท่วม

ดีใจที่อาจรย์หมอเจ๊เข้ามาให้ความคิดเห็นด้วยครับ

พี่ใหญ่  Ico48 ที่คิดถึง

มูลฝอย เป็นปัญหา หนักเรื่องการจัดการในสภาวะปกติอยู่แล้ว แต่สภาวะน้ำท่วมหนักคราวนี้ เห็นทีต้องเร่งรัดช่วยกัน ส่งประเด็นให้ผู้รู้ช่วยจัดการ  เพียงให้ข้อคิด ในสภาวะนี้ก็เหมือนช่วยแบ่งเบาแล้วนะคะพี่ใหญ่ 

ช่วยกันอีกแรงนะคะ

ดีใจที่พี่ใหญ่แวะมา  ฝากเรียนปรึกษาคนเก่งท่านอื่นๆด้วยค่ะ

คุณครูใหญ่  Ico48 ที่นับถือ

การแยกสำคัญที่สุดนะคะ  ที่สำคัญน้ำท่วมคราวนี้  คงแยกไม่ทัน...จึงต้องช่วยกันร่วมคิดร่วมแก้ค่ะครู  ฝากท่านช่วยอีกแรงนะคะ หากรู้จักคนเก่งมาช่วยกันคิด

อาจารย์หมอ Ico48 ที่นับถือ

  •  เป็นความกรุณาจากท่านจริงๆที่แวะมาให้ความรู้
  • ✿อุ้มบุญ ✿ รู้สึกเป็นปิติยิ่งนัก ในความกรุณาครั้งนี้ 
  • ต้องขอบพระคุณท่าน Ico48 sr ที่ส่งข่าว ไปเรียนรู้จากบันทึก อาจารย์หมอ
  • แนวทางการแก้ไขข้างบนต้องเป็นประโยชน์ ในการจัดการของเสียทั้งสองประเด็น ได้มากมาย และครอบคลุม ทุกประเด็นเลยนะคะ
  • ขอบพระคุณ G2K ที่เป็นเวทีให้คนไกลได้ประชุมกันเหมือนอยู่ใกล้ๆ
  • แรกๆคิดไม่ออกค่ะอาจารย์  จึงเปิดประเด็นไว้ที่บันทึก เที่ยวตะเวนหาผู้รู้ ร่วมคิดชวนคุย 
  • ดีใจนะทิมดาบนะที่อาจารย์หมอช่วยครั้งนี้
  • หากมีข้อคิดดีแวะมาเติมได้อีกนะคะอาจารย์หมอ
  • ขอบพระคุณท่านอีกครั้ง

น้องพี่  Ico48 ทิมดาบ

  • ช่วยกันอีกแรงนะน้องพี่  เผื่อคิดนวัตกรรมใหม่ได้บ้าง ในการจัดการน้ำเสียและมูลฝอยหลังน้ำท่วม ครั้งนี้
  • ดีใจที่อาจารย์หมอและผู้รู้ท่านช่วยให้แนวคิด ในประเด็นดังกล่าว
  • ได้ฝึกการเป็น FA อีกครั้ง
  • สนใจ สรุปประเด็น ต่อยอดได้เลยนะจ๊ะ

มาช่วยกันปั้นก้อนจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียและฟื้นฟูสภาพดินกันดีกว่าครับ ส่วนขยะเป็นชิ้นๆ หากรีไซเคิลได้ก็เก็บมาแล้วแยกออกเป็นกลุ่มๆ ส่งขายสร้างรายได้ต่อไป

รายละเอียดชวนปั้นก้อนจุลินทรีย์ครับ ^_^ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/465865

Mr.green Ico48 ค่ะ

  • ดีใจจังที่แวะมา
  • ขอบคุณนะคะ แนวคิดดีดี...ช่วยกันแก้
  • จะลองฝึกทำจุลินทรีย์บอลล์ลองดูค่ะ
  • น้ำท่วมคราวนี้มีเรื่องน่าห่วงใย
  • เรื่องโรคติดเชื้อนะเป็นเรื่องจ้อย
  • หากเทียบกับเรื่องสารเคมีในน้ำเสีย
  • .......
  • เครื่องไฟฟ้าที่จมน้ำอยู่มากมาย
  • หลอดไฟฟ้าที่จมน้ำแล้วเสื่อม
  • เป็นอีกเรื่องของขยะอีกประเภท
  • ที่ควรหาทางออกกันไว้
  • .......
  • มีทางออกของ
  • การจัดการขยะประเภทหลอดไฟอยู่
  • ถ้าเป็นไปได้..ในฐานะที่อยู่ใกล้
  • ประสานงานไว้ก่อนเลย
  • .......
  • สึนามิบกคราวนี้ มีผลพวงตามมาเยอะนะคะ
  • .......
  • ตรงไหนมีน้ำขัง มีคนอยู่
  • จัดการด้วยปูนขาวด่วนนะคะ
  • ปูนขาวจะได้ช่วยตกตะกอน
  • โลหะหนักที่เป็นอันตรายให้
  • มันช่วยเพิ่มความปลอดภัย
  • ของน้ำจากพิษโลหะหนัก
  • ได้หลายตัวค่ะ
  • .......
  • โรย 300 กรัม ต่อน้ำสกปรก ขุ่นมาก 20 ลิตร
  • ถ้าน้ำใสพอประมาณก็ใช้น้อยลง
  • ใส่เพียงครั้งเดียวเลิกได้เลย
  • ฤทธิ์จะอยู่ได้นานราว 4-6 สัปดาห์
  • ถ้าน้ำนั้นมีสิ่งสกปรกลงไปปนอยู่ทุกวัน
  • .......
  • ถ้าเป็นไปได้ ควรลงไป
  • quick round พื้นที่บ่อย
  • ของจริงที่เห็นจะบอกว่า
  • อะไรควรทำก่อนหลัง
  • ที่สำคัญคือ ต้องรู้จักสะดุดกับสิ่งที่เห็น
  • เห็นความต่างของแต่ละวัน
  • .......
  • หาปูนขาวไม่เจอ
  • ใช้ปูนขาวที่เขาใช้ยากระเบื้องก็ได้ค่ะ
  • ยินดีช่วยคิดค่ะ
  • ......
  • ใครไปลงพื้นที่มาแล้ว
  • ถ่ายภาพมาให้ดูกันหน่อยนะคะ
  • จะได้ช่วยดูว่า
  • มีทางออกอะไรเพิ่มได้อีก
  • ......
  • ช่วงนี้คงมี 2 เรื่องซ้อน
  • หนึ่งคือ บำบัด ดูแลเบื้องต้นกับเรื่องเฉพาะหน้า
  • สองคือ เตรียมความพร้อม
  • เพื่อช่วยเหลือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน
  • ......
  • มีอีกเรื่องที่หากทำได้ก็ควรช่วยทำไว้
  • ......
  • ลงทะเบียนผู้ป่วยที่มาให้ดูแลให้ชัด
  • เผื่อพวกเขาแวะมาขอใบรับรองแพทย์ภายหลัง
  • เพื่อไปยืนยันว่าเป็นผู้ประสบภัยตัวจริง
  • จะได้ไม่วุ่นวายเกิดข้อขัดแย้งค่ะ
  • ......
  • ไปเยี่ยมบ้านก็ถ่ายภาพความเสียหายที่เกิดขึ้น
  • เก็บทุกช็อตเป็นรายคนไว้
  • เผื่อเชื่อมโยงความช่วยเหลือไปให้เช่นกัน
  • ......
  • เพราะว่าบางคนหลักฐานประจำตัว
  • อาจสูญหายไปกับน้ำจนหมด
  • ไม่มีหลักฐานแสดงตน
  • สำหรับใช้ยื่นขอความช่วยเหลือได้ทันเวลา
  • ......
  • ถ้ามีข้อมูลบันทึกไว้พอเชื่อถือได้
  • ก็เท่ากับได้ช่วยคนอีกรอบค่ะ

We have the technology (knowhow) on the Net, if only we can let the people see and do for themselves.

We see an example of how we can use this knowhow in

"จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย - อาสาปรับสภาพน้ำเสียที่ท่วมขังจากวิกฤตน้ำท่วม"

< http://www.gotoknow.org/blogs/posts/465865 >

We can see that we need to do more in many other areas like hazardous chemicals (including oil contamination), mosquitoes and rats and cockroaches and other vermins, building structure expansion and weakening (due to water), fungi (due to moistures and later due to sporing), food supply and food safety (how many people will be eating 'junks' or 'tummy fillers'?), toilet waste management, ...

The list is long but everything on the list is in our everyday life -- we can see and we can do -- if we are willing.

Let us try to get this off the Net and into people's everyday life.

อาจารย์หมอ  Ico48 ที่นับถือ

  • ขอบพระคุณในความกรุณาจากท่านอีกครั้ง
  • มูลฝอยสารเคมีเป็นประเภทอันตราย น่าสนใจยิ่งกว่า
  • งั้น PPE  และอุปกรณ์ ถุงรองรับ รวมทั้งนวัตกรรมการจัดการมูลฝอยการจัดการขยะประเภทหลอดไฟ จำพวกนี้ต้องพิจารณากันต่อไป  เพราะเป็นสิ่งจำเป็น รองเท้าบูท แบบสูง ถุงมือยาวพิเศษ รัดถึงโคนแขน ( ใช้ล้างเครื่องมือแพทย์ ) และ อื่นๆ....
  • ภาพบริบท ในสภาวะเป็นจริง จะช่วยได้มาก งั้นอาจเพิ่มอีกบันทึกนะคะอาจารย์หมอ ขอภาพเพื่อวางแผนช่วยกัน ดร.ขจิต อาจเก็บภาพไว้มาก
  • การลงทะเบียนก็เป็นสิ่งจำเป็น...
  • ดีใจที่ท่าน Sr แวะมาแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เพิ่ม  แวะมาเติมได้เรื่อยๆนะคะ

ขอบพระคุณอาจารย์หมออีกครั้งนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท