ประวัติศาสตร์กับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ประวัติศาสตร์กับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะหลักฐานที่สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ มีทั้งในส่วนของการตรวจสอบภายนอกและภายใน ซึ่งในที่นี้ยังมีในส่วนของภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการสร้างสรรค์งานทางศิลปะ ซึ่งก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย

การวิเคราะห์ตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราต้องการค้นหาคำตอบ เกี่ยวกับหลักฐานชิ้นนั้นๆ

แต่ ในอีกมุมหนึ่งของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็สามารถที่จะนำมาใช้เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการ ที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็คือไม่จำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์อะไรกันมาก แต่เกิดจากประสบการณ์ และคำสอนของคนสมัยก่อนที่สอบสืบต่อๆกันมาจนปัจจุบัน แต่นักวิทยาศาสตร์ ก็ได้นำมาศึกษาวิเคราะห์จนสามารถทราบถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

 

อย่างเช่นจิตรกรรมฝาผนังไทยโบราณ ซึ่งในหลายๆขั้นตอนสามารถที่จะอธิบายถึงขั้นตอนของเทคนิคการวาดและการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการสร้างจิตรกรรมฝาผนัง ตามที่คนสมัยก่อนได้ทำสืบต่อกันมา

จิตรกรรมฝาผนังไทยนั้นคือ ภาพที่เขียนบนฝาผนังของโบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลา ถ้ำ และสิ่งก่อสร้างของวัดและวัง โดยส่วนใหญ่จิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องราวของพระพุทธประวัติ ตลอดจนชาดกเรื่องต่างๆ เรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตของไทยไว้มากมาย

เทคนิคทางภูมิปัญญาชาวบ้าน อาทิเช่น ทำไมช่างไทยโบราณจึงล้างผนังปูนด้วยน้ำใบขี้เหล็กก่อนลงมือวาดภาพจิตรกรรมบนผนัง ทั้งนี้เพราะว่าในใบขี้เหล็กนั้นมีสารที่มีคุณสมบัติที่เป็นกรด สารกรดที่ละลายในใบขี้เหล็กมี กรดพาราคูมาริก(I p-curamic â(acid)) โดยก่อนที่ช่างจะลงมือเขียนสี ช่างก็จะล้างปูนจนหมดความเค็ม (ความเค็มในที่นี้ก็คือว่า ในสมัยก่อนเรียกว่ามันเค็ม แต่จริงๆแล้วมันคือความด่างของปูน ซึ่งสารเคมีในใบขี้เหล็กนั้นสามารถที่จะกำจัดความด่างของปูนได้ และถ้าจะถามว่า ด่างกับเค็มต่างกันอย่างไรนั้น คือด่างจะมีรสฝาดๆ มีส่วนผสมของไฮดรอกไซด์ (-OH) ส่วนความเค็มนั้น คือ เกิดจาก กรดเปรี้ยว กับความด่าง ผสมกัน ก็คือ NaOH+HCl à NaCl+H2O เจ้า NaCl นั้นแหละคือเกลือนั่นเอง

ในส่วนของกระบวนการอื่นๆในทางวิทยาศาสตร์นั้น จริงๆแล้วมีมากมายหลายวิธีมากที่จะใช้ในการบูรณะ หรือ รักษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น

 

เรื่องของพระปรางค์สามยอด ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ผมได้อ่านอีกคอลัมน์หนึ่งของหนังสือศิลปวัฒนธรรม ซึ่งได้กล่าวว่า พระปรางค์สามยอดกำลังจะพัง และยังได้บอกถึงสาเหตุของการพังของพระปรางค์สามยอด อันเกิดมาจากแรงสั่นสะเทือนของรถยนต์และรถไฟ ซึ่งมีทั้งถนนและทางรถไฟ อยู่ใกล้ๆกับพระปรางค์สามยอด โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือ AIT ได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาเอาไว้อยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ

  1. ให้ลดความเร็วของรถที่จะแล่นผ่านพระปรางค์สามยอด รวมทั้งรถไฟด้วย
  2. ปรับปรุงสภาพพื้นถนนและรางรถไฟให้เรียบมากยิ่งขึ้น
  3. ก็คือการปรับปรุงโครงสร้างฐานชั้นดินของโบราณสถานให้ดีขึ้นมา

ซึ่งตรงนี้ก็ต้องใช้ความรู้ในด้านวิศวกรรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญซึ่งใช้เครื่องมือวัดค่าความสั่นสะเทือนของพระปรางค์สามยอด

แต่จากการที่ข้าพเจ้าเคยไปเที่ยวพระปรางค์สามยอดมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะว่ามีทั้งทางคร่อมทางรถไฟ และ ถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟ ซึ่งก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอย่างหนักมาก โดยเฉพาะตอนที่รถไฟวิ่งมา แรงสั่นสะเทือนนั้น ข้าพเจ้าอยู่ห่างจากพระปรางค์ประมาณ 3-4 ร้อยเมตรยังได้ยินถึงเสียงกระทบรางเลย

หนังสือที่ข้าพเจ้าค้นคว้ามาเขียนในบทความนี้

1.ศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 11 ปี 2528 หน้า 77 และ 85

p-Coumaric acid can be found in a wide variety of edible plants such as peanuts, tomatoes, carrots, and garlic. It is a crystalline solid that is slightly soluble in water, but well soluble in ethanol and diethyl ether.

ตรงนี้จากwikipedia ที่กล่าวถึง สาร p-Coumaric ที่สามารถหาเจอได้กับพืชหลายชนิด เช่น ถั่วลิสง มะเขือเทศ แครอท กระเทียม ซึ่งมันเป็นผลึกแข็งในนั้น แต่มันสามารถละลายในน้ำได้ แต่จะละลายได้ดีมากในเหล้าหรือ Ethanol หรือ ไดเอทธิล อีเธอร์

p-Coumaric acid has antioxidant properties and is believed to reduce the risk of stomach cancer  by reducing the formation of carcinogenic nitrosamines.

กรดพาราคูมาริก นั้นมีสารแอนตี้ออกซิเดนท์เป็นส่วนประกอบและยังเชื่อได้ว่าสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึ่งมันจะไปลดตัวสารก่อมะเร็ง (Carcinogenic) และไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงาม

หมายเลขบันทึก: 465777เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2011 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท