การแสดงความคิดเห็นหลังจากได้อ่านบนความเรื่อง “ระบบอุปถัมภ์ในกระบวนการรับสมัครคัดเลือกบุคลากร”


แต่อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมครับ ขาดความโปร่งใส (Transparency) โดยสิ้นเชิง อีกทั้งเป็นวิธีการที่สกปรกอย่างที่อาจารย์ได้กล่าวไว้จริง ๆ ผมคิดว่า น่าจะมีหน่วยงานอิสระที่คอยตรวจสอบ หรือรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต ในการรับสมัครบุคลากรเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ (อาจอยู่ในรูปของ State Audit หรือ People Audit : บรรณาธิการ)

 

 

 

 

 

 

การแสดงความคิดเห็นหลังจากได้อ่านบนความเรื่อง 

“ระบบอุปถัมภ์ในกระบวนการรับสมัครคัดเลือกบุคลากร”

 

ผมเห็นด้วยกับบทความนี้ครับ ในความคิดของผม ผมว่าระบบอุปถัมภ์นั้นอยู่แทบจะทุกที่ในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หรือแม้กระทั้งภาคเอกชนก็ตาม ซึ่งเหตุการณ์จำพวกที่ อาจารย์ ดร.จักษวัชร ศิริวรรณ ได้บรรยายไว้ในบทความฯ  ผมพบเห็นได้บ่อยในหน่วยงานของผมครับ เช่นว่า อยากเปิดตำแหน่งอะไรสักอย่าง ให้คน ๆ หนึ่ง ที่เขามีเส้นสาย อาจรู้จักกับผู้การฯ รองผู้การฯ หรือ เสธ. เขาก็จะทำโดยการเปิดสอบ (แบบจัดฉาก)  แต่คนในหน่วยก็รู้กันอยู่แล้วว่า ใครจะได้ คนหลายคนก็มาสอบครับ ยอมเสียเวลา เสียเงินค่าเดินทาง ค่าสมัคร และอื่น ๆ เพื่อหวังจะได้เข้าไปทำงานในส่วนราชการที่ตนเองต้องการ แต่หลายคนก็ต้องผิดหวังกลับไป เนื่องจากมีการกำหนดตัวไว้แล้ว  มีรุ่นพี่ของผมคนหนึ่ง ถึงกับต้องเสียเงินเป็นหลักแสน เพื่อที่จะได้บรรจุเป็นนายสิบครับ แต่ผมก็ไม่รู้ว่า คุ้มหรือเปล่านะครับ เพราะเงินเดือนก็น้อย ทำงานตัวเป็นเกลียวเลยครับ ยศก็ขึ้นช้าด้วย (เพราะไม่ได้จบมากจากโรงเรียนนายสิบ)  แต่ผมว่าในแง่มุมของเขา หรือพ่อแม่ของเขา ก็อาจมองว่า อาชีพข้าราชการทหารเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง สามารถเลี้ยงตัวเองได้ พอตอนแก่ก็มีบำเหน็จ-บำนาญกิน ทั้งยังมีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้กับตัวเขาและพ่อแม่อีกด้วย  แต่อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมครับ ขาดความโปร่งใส (Transparency) โดยสิ้นเชิง อีกทั้งเป็นวิธีการที่สกปรกอย่างที่อาจารย์ได้กล่าวไว้จริง ๆ  ผมคิดว่า น่าจะมีหน่วยงานอิสระที่คอยตรวจสอบ หรือรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต ในการรับสมัครบุคลากรเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ (อาจอยู่ในรูปของ State Audit หรือ People Audit : บรรณาธิการ)  แต่ความเป็นจริงแล้ว จะมีข้าราชการชั้นผู้น้อยสักกี่คน ที่จะกล้าพูด กล้าร้องเรียน  สมมติว่า มีหน่วยงานที่ว่านี้จริง ๆ  คนที่ไปร้องเรียน ออกสื่อ มีการดำเนินการตามกฎหมาย ก็อาจได้เข้าทำงาน แต่ก็อาจโดนกดดันจากผู้บังคับบัญชา เกิดความยากลำบากในการทำงาน  และถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับกองทัพ หน่วยงานที่ว่านี้จะจัดการกับกองทัพอย่างไร  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดยาก เพราะนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน ยังยึดการปกครองรูปแบบอนุรักษ์นิยมอยู่   ดังนั้น หากจะจัดตั้งหน่วยงานนี้ ผมคิดว่า เป็นไปได้ยากมาก และถ้ามีหน่วยงานอิสระนี้จริง ๆ  ผมคิดว่า คงมีคนไปร้องเรียนน้อยครับ เนื่องจากผลกระทบดังกล่าว

ผลกระทบที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความสามารถของเด็กฝากนั้น ผมคิดว่าการที่หน่วยงานต่าง ๆ ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ส่วนหนึ่งนั้น อาจเป็นเพราะขาดบุคลากรที่มีความสามารถเข้ามาทำงาน แต่กลายเป็นเด็กฝาก ที่อาจมีความสามารถและประสบการณ์น้อย หรือไม่มีเลย เข้ามาทำงาน  ผมเองก็ได้เห็นตัวอย่างการปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน (Double Standard) จากที่ทำงานของผมเช่นกัน เช่นว่า มีคนสองคนไม่ได้ตัดผม คนหนึ่งเป็นเด็กของหัวหน้า แต่อีกคนไม่ใช่  คนที่จะโดนด่าก็คือ คนที่ไม่ใช่เด็กหัวหน้า  นี่แสดงให้เห็นถึง ความไม่เท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎระเบียบ  กรณีที่อาจารย์ได้กล่าวมาว่า คนที่เคยขยันทำงานตัวเป็นเกลียว โดนหัวหน้าตำหนิเมื่อเริ่มขี้เกียจ แต่คนที่เป็นเด็กของหัวหน้า ไม่ได้ทำงานอะไร วัน ๆ เอาแต่ขี้เกียจ กลับไม่โดนว่าอะไรเลย มิหนำซ้ำยังได้เงินเดือนเท่ากันอีก  ผมคิดว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การมีผลประโยชน์ระหว่างหัวหน้ากับเด็กของเขา ความอคติที่มีต่อลูกน้อง ไม่ยอมปล่อยวาง การอิจฉาริษยา เห็นคนอื่นหรือลูกน้องดีกว่าไม่ได้ หรือโดดเด่นกว่าไม่ได้ ซึ่งอาจเกิดจากการซึมซับจากระบบการปกครองเดิม ๆ สมัยที่เขายังเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยอยู่  ผมคิดว่า ทางแก้ไขที่สำคัญคือการผลักดันข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีความรู้ความสามารถ มีจิตใจดี มีคุณธรรม ให้ได้ขึ้นมาเป็นผู้บังคับบัญชา เพราะเขาจะมองเห็นปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองของคนระดับล่าง ที่ผู้บังคับบัญชาในระบบเก่าละเลย

 

 

ส.ท.ศิวา  อวยพรสวัสดิ์ 

ประชาชนเต็มขั้น


หมายเลขบันทึก: 465204เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2011 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • ระบบอุปถัมถ์ยังแฝงอยู่ในระบบราชการอยู่ และก็มิได้หนีหายไปไหน จึงทำให้ส่วนราชการมีคนที่มีความสามารถเหลืออยู่น้อยไงค่ะ ที่อยู่ก็ส่วนมากเป็นเด็กเส้น เด็กฝากเยอะแยะไปหมด ไม่สามารถหายไปจากระบบราชการไทยได้หรอกค่ะ
  • ในการทำงาน ผู้ที่ทำงานเรื่องบุคคล (บางคน) ลำบากใจมากเลย (เป็นเฉพาะคนที่ทำงานเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์นะคะ สำหรับผู้ที่ทำเรื่องบุคคลแล้วก็เป็นพวกของนายก็อีกแบบหนึ่งค่ะ คงไม่ลำบากใจ
  • อาจเป็นเพราะคนเป็นนายไม่เคยใช้หลักการ หลักคุณธรรมมาใช้ในการทำงานให้มาก ๆ ไงค่ะ จึงกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ที่อยู่ในกระบวนการรับสมัครคัดเลือกบุคลากรอยู่...เป็นเรื่องที่พูดยากและก็ไม่อยากพูดด้วยค่ะขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกของแต่ละคน ที่ตระหนักถึงความผิด ชอบ ชั่วดีไงค่ะ
  • ส่วนราชการไหนมีคนที่ทำงานบุคคลที่มีจิตสำนึกดีก็ดีไป ส่วนราชการไหนมีคนทำงานบุคคลที่มีจิตสำนึกไม่ดีก็แย่หน่อยค่ะ...

โดยส่วนตัวแล้ว ผมมีความเชื่อว่า ถ้าคนจำนวนมากในสังคม

ไม่นิ่งดูดายกับการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วยความประพฤติเช่นนั้น

รวมถึงไม่นิ่งดูดายพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐ และการให้บริการประชาชน

ในระยะต่อไป, คนไร้จริยธรรมเหล่านั้น จะเกิดความละอายต่อสายตาของประชาชนที่กำลังจับจ้องอยู่

จนทำให้ลด ละ เลิกไป

หรือหากจะมีการอุปถัมภ์พรรคพวกอยู่บ้าง ก็จะไม่เหิมเกริมจนถึงขนาดกระทำการจนเป็นที่สะดุด

ขัดสายตาของประชาชน และไม่เคารพกฎหมายโจ่งแจ้งอย่างทุกวันนี้ครับ

อย่างไรก็ดี,

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นของ ผอ.บุษยมาศ ครับ.

   เป็นเรื่องจริงที่การประพฤติการปฏิบัติอันมิชอบในการใช้หลักอุปถัมถ์คัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานในหน่วยงาน โดยการวางตัวผู้สมัครไว้ก่อนแล้ว ผู้ที่สมัครคนอื่นที่มีความรู้ความสามารถแต่ไม่มีเส้นสาย หรือรู้จักคนใหญ่คนโตก็หมดโอกาส เป็นการตัดโอกาสของคนที่มีความรู้ความสามารถ ทำให้ต้องเปลี่ยนอาชีพที่หวังเป็นราชการไปเป็นพนักงานของเอกชนแทน หรือไม่ก็ต้องหาพรรคพวกที่มีเส้นสายช่วยการเจรจาและตกลงเงินใต้โต๊ะ ( คนไม่มีเงินหรือเส้นใหญ่ เข้าทำงานระบบราชการยากขึ้นทุกวัน )

ผมก็เห็นด้วยอีกคนหนึ่งที่ไม่สนับสนุนในการใช้หลักอุปถัมถ์ เพราะมันเป็นการแซกแซงคนที่เขามีโอกาส แต่เราไปฉวยโอกาส

ระบบเหล่านี้มันน่าจะสูญสิ้นไปจากบ้านเมืองเราได้แล้ว สังคมเราสอนให้รู้จักบุญคุณหรือการตอบแทนบุญคุณกันมากเกินไป

โดยไม่แยกแยะเรื่องบ้างเรื่อง ในการที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยการตอบแทนกัน สิ่งเหล่านี้มีมากในระบบราชการ ติดสินบนกันด้วยเงิน ตอบแทนกันด้วยการช่วยงานต่างๆ หรือวิธีลัดบางวิธี ให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยไม่คำนึงถึงคนอื่นเขาเดือดร้อน

หรือหมดโอกาส ที่เห็นกันมากและใกล้ๆตัวเรา ก็คือเรื่องรับคนเข้าทำงาน พอเข้ามาแล้วก็อ้างศักดิ์ดาบารมี ฉันเป็นเด็กคนโน้น

ฉันเป็นเด็กคนนี้ ประสิทธิการทำงานก็ไม่มี คนอุปถัมถ์เข้ามาทำงานเคยนึกถึง ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรกันบ้างหรือปล่าว

ว่าถ้าเราได้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานองค์กรเราจะพัฒนาและก้าวหน้า แต่รับเด็กฝากเด็กเซ็นเข้ามาและไม่มีความสามารถที่ช่วยตัวเองได้ทำงาน องค์กรเราจะเจริญและมีประสิธิภาพไปได้อย่างงัย แค่เรื่องเล็กๆแค่นี้ คุณยังต้องใช้หลักอุปถัมถ์

แล้วบ้านเมืองเราจะได้คนที่เก่ง ดีๆ และมีฝีมือที่ไหนได้มาพัฒนาบ้านเมืองเรา หากเรายังคงยึดหลักการตอบแทนบุญคุณกันโดยการอุปถัมถ์ค้ำจุนกันตลอด บ้านเมืองเราคงไปไม่ใกล้กว่านี้แน่ (รักประเทศไทย)

น.ส.อัญชลี สมบูรณ์เหลือ

ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบความสัมพันธ์ที่บุคคลสองฝ่ายที่มีสถานสภาพทางสังคมไม่เท่าเทียมกันแต่อยู่ด้วยกันได้เพราะมีลักษณะต่างตอบแทนกันและกัน มีผลประโยชน์รวมกัน และมีความเป็นญาติพี่น้อง เพื่อนพ้องกัน

ระบบอุปถัมภ์ยังแฝงอยู่ในกระบวนการรับสมัครคัดเลือกบุคลากรของหน่วยงานหลายแห่งเป็นเรื่องจริงที่เราต้องยอมรับ หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนซึ่งประกาศรับสมัครงานโดยกำหนดขึ้นตอนไว้สวยหรู ดูน่าเชื่อถือ แต่มีการวางตัวผู้สอบคัดเลือกผ่านไว้แล้ว โดยใช้พวกเรา (ลูกตาสียายสา)เป็นองค์ประกอบที่ทำให้การสอบแข่งขันในครั้งนั้นดูขลังดูน่าเชื่อถือเนที่ยอมรับของสังคม โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการ ที่พยามสร้างความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส ความเสมอภาค ตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งต่างจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง

ในความคิดของดิฉัน

ระบบอุปถัมภ์ยังเป็นระบบที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอยู่เป็นประจำจนทำให้สถานะและสภาพทางสังคมไม่เท่าเทียมกันมีความแตกต่างกัน มีช่องว่างและความเหลื่อมลำ้ทางสังคมสูงมาก ซึ่งความจริงแล้วค่าของคนมันเท่าเทียมกัน แต่ระบบอุปถัมภ์ทำให้มีการแบ่งคนออกได้หลายประเภท เช่นคนรวยที่มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติ เครือข่ายก็จะสามารถสอบหรือเข้าทำงานได้เมื่อมีการเปิดรับสมัครงาน บางคนมีความรู้ความสามารถแต่ไม่มีเงิน ไม่ใช่เครือญาติ หรือเครือข่ายก็จะไม่ได้นี้คือระบบอุปถัมภ์ในสังคมปัจจุบันและจะอยู่อย่างนี้ไปในสังคมไทยอีกช้านานเพราะมันฝังรากลึกเสียแล้ว

ดิฉันเองเข้ามาอยู่ตรงนี้จึงได้รับรู้และทราบถึงระบบอุปถัมภ์และระบบเด็กฝากของพนักงานบางคนในองค์กรและแสดงบทบาทของเด็กฝาก เด็กเส้นออกมาให้เห็น ดดยไม่คำนึงถึงอะไร

ดิฉันเองยังเสียดายความรู้ความสามารถของเขาที่เป็นคนเก่งและมีความสามารถ แต่ไม่ใช้ความรู้ความสามารถให้คนในองค์กรและเพื่อนร่วมงานรักได้ แต่ใช้ความรู้ความสามารถของตังเองที่มีอยู่ทำร้ายเพื่อนร่วมงานเมื่อเวลาเพื่อนร่วมงานมีปัญหาหรือมีข้อผิดพลาดของงาน

ดิฉันคิดว่าสังคมไทยคงจะอยู่ในวัฏจักรของระบบอุปถัมภ์แบบนี้ไปอีกนาน หากยังมีผู้บังคับบัญชาบางคนยังมองระบบอุปถัมภ์เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการบริหารและรับบุคลากรเข้าทำงาน แทนที่จะมองถึงความรู้ ความสามารถของแต่ละคน แล้วประเทศไทยจะพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างไรในเมื่อมีแต่ข้าราชการและบุคลากรที่ไม่มีจิตสำนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมแต่กับมองแต่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากเห็นระบบอุปถัมภ์อยู่ในสังคมไทยเลย

เมื่อกล่าวถึงระบบอุปถัมภ์ในสังคมบ้านเรา ต้องยอมรับว่าไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้และผมคิดว่าไม่อาจที่จะกำจัดให้หมดไปในสังคมบ้านเราได้ แต่เราต้องหาวิธีที่จะทำให้ระบบนี้ลดลงน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า ระบบนี้มีอยู่ทั่วไปในทุกสังคมทั้งราชการ เอกชน ผมกล้าที่จะบอกว่ามีอยู่ในทุกหน่วยงาน แต่ถ้าการรับบุคคลเข้าทำงานมีการจัดโควต้า สัดส่วน เด็กฝากกับเด็กที่มีความรู้ในสัดส่วนที่เหมาะสมน่าจะดีกว่า หรือไม่ก็สอบเป็นสองรอบ ข้อเขียนและสัมภาษณ์ ข้อเขียนคัดคนที่มีความรู้เข้ามาก่อน (กรณีนี้ผมว่าผู้ที่สามารถสอบผ่านข้อเขียนเข้ามาได้ ความสามารถคงไม่แตกต่างกันมา)ส่วนรอบสัมภาษณ์ใครสามารถแค่ไหน เส้นเล็ก เส้นใหญ่ ก็ว่ากันได้เลยเต็มที่ แบบนี้น่าจะลดระบบนี้ได้น้อยลง เพราะคนที่ผ่านข้อเขียนเข้ามาคงมีไม่กี่คนหรอกที่เส้นใหญ่ อันนี้น่าจะทำให้หน่วยงานเสียหายน้อยลง แต่เมื่อคำว่า "กตัญญู" ยังกินใจคนไทยอยู่ระบบนี้คงยากที่จะหมดลง

นฤมล วัชระพงศ์ไพบูลย์

ระบบอุปถัมภ์กับการคัดเลือกบุคคลากรอยู่คู่กับสังคมไทยมานานแล้ว และจะคงอยู่ตลอดไปเหตุเพราะ เป็นทายาทหรือเครือญาติกัน เป็นลูกหรือญาติของผู้ที่เคารพนับถือ หรือรับเพราะความเกรงใจ หรือเห็นแก่ผลประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น เหตุผลต่างๆเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบการบริหารงาน เช่นในด้านความรู้ความสามารถซึ่งไม่ตรงต่องานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนา งานล่าช้า และขาดคุณภาพ ดิฉันคิดว่าผู้บริหารต้องให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานเป็นอย่างยิ่ง ควรพิจารณาอย่างรอบคอบและกล้าตัดสินใจที่จะรับเมื่อดูว่าเหมาะสมหรือกล้าที่จะปฏิเสธอย่างมีศิลปะ ถ้าบุคคลนั้นไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เพราะอย่าลืมว่าบุคคลากร 1 คนนั้นถึงจะเป็นฟันเฟืองเล็กๆตัวหนึ่งแต่ก็เป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนในการพัฒนาองค์กรด้านต่างๆ ไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

บุคคลากรที่มีคุณภาพ นอกจากมีความรู้ความสามารถแล้ว จะต้องรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบและมีคุณธรรม จริยธรรมด้วยค่ะ

ผู้บริหารถ้าได้คนดีมีคุณภาพมาช่วยงานก็ไม่เหนื่อย(ใจ)ถือเป็นโชคดีค่ะ

ดิฉันเห็นด้วยค่ะ เพราะระบบอุปถัมภ์ ในสังคมไทยในสมัยก่อน จะเป็นสังคมที่มีการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ถ้าเป็นสังคมไทยในปัจจุบันแล้ว ระบบอุปถัมภ์จะทำเพื่อผลประโยชน์มากกว่าให้การช่วยเหลือหรือใช้ความรุ้ความสามารถ จะเห็นได้ชัด จากระบบราชการ ไม่ว่าจะเป็น การบรรจุเข้ารับราชการ การขอโอนย้าย การสอบเปลี่ยนสายงานหรือแม้กระทั่งการรับพนักงานจ้างทั่วไปโดยการรับพวกพ้อง หรือเด็กฝาก ลูกหลานรวมถึงการทำงานในหน่วยงาน การนำระบบอุปถัมภ์ มาใช้ในการคัดเลือกบุคคลากรนั้นเป็นการปฏิบัติแบบสองมาตราฐานย่อมมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานหรือการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพอย่างแน่นอน ดิฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบระบบนี้เหมือนกัน เพราะเจอกับตัวเองมาบ้างแล้ว และเชื่อว่าข้าราชการหลายคนก็เคยเจอกับระบบแบบนี้มาบ้างเหมือนกัน

ถึงแม้ระบบอุปถัมภ์จะไม่มีวันหายไปจากสังคมไทย แต่ก็หวังว่า จะได้เห็นระบบอุปถัมภ์มีมีความยุติธรรมบ้าง

ดิฉันก็เห็นด้วยอีกคนหนึ่งค่ะที่ไม่สนับสนุนการใช้ระบบอุปถัมภ์ เพราะระบบอุปถัมภ์เป็นที่บุคคลสองฝ่ายที่มีสถานภาพทางสังคมไม่เท่าเทียมกัน แต่อยู่ด้วยกันได้เพราะมีลักษณะต่างตอบแทนกันและกัน มีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีความเป็นเพื่อนระหว่างอยู่ด้วยกัน ซึ่งภายใต้ระบบดังกล่าวจะมีผู้อุปถัมภ์คอยให้คุณให้โทษกับคนที่ติดตามให้การสนับสนุน ส่วนมากระบบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษจากผู้ใหญ่ หรือญาติมิตรของตน ดิฉันเป็นคนหนึ่งคะ ที่ไม่ชอบระบบนี้ เพราะว่าเคยเจอมากับตัวเอง และดิฉันอยากจะกำจัดระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยให้สิ้นซาก เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดในสังคมค่ะ

กระผมคิดว่าระบบอุปถัมภ์อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานมาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบราชการหรือระบบงานเอกชนต่าง จึงทำให้หน่วยงานราชการหรือองค์กรต่างๆ ขาดคนทำงานที่มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการพัฒนาองค์กร มีระบบเส้นสาย หรือระบบสืบทอดอำนาจเช่นจากพ่อสู่ลูก หรือเครือญาติและพวกพ้อง จึงทำให้หน่วยงานไม่มีการแต่งตั้งคนที่มีความรู้ความสามารถในตำแหน่งสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารองค์กร กระผมคิดว่าประเทศไทยคงขาดระบบอุปถัมภ์ไม่ได้อย่างแน่นอน ถ้าทุกคนผู้ที่มีส่วนบริหารองค์กรทุกองค์กรในประเทศ ยังใช้ระบบการสืบทอดตำแหน่งงานใช้ระบบเงินระบบอำนาจระบบพวกพ้องเครื่อญาติ ประเทศเรา ก็ต้องทนอยู่กับการไม่พัฒนาอย่างนี้ต่อไปอย่างยั้งยืน

บางครั้ง คิดว่า ถ้าระบบการศึกษาเข้มแข้ง และระบบการตรวจสอบดีขึ้น ทุกอย่างที่กล่าวมา หรือสิ่งที่ไม่สู้ดี จะค่อยๆหมดไป

การแสดงความคิดเห็นหลังจากได้อ่านบทความเรื่อง ระบบอุปถัมภ์กับการบริหารงานแบบสองมาตรฐาน ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบความสัมพันธ์ที่บุคคลสองฝ่ายที่มีสถานภาพทางสังคมไม่เท่าเทียมกัน แต่อยู่ด้วยกันได้เพราะมีลักษณะต่างตอบแทนกันและกันมีผลประโยชน์ร่วมกันและมีความเป็นเพื่อนระหว่างกันอยู่ด้วยกัน ซึ่งภายใต้ระบบดังกล่าวจะมีผู้อุปถัมภ์คอยให้คุณให้โทษกับคนที่ติดตามให้การสนับสนุนหรือเรียกว่าผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์

ระบบอุปถัมภ์ได้อยู่คู่สังคมไทยมานาน ในอดีตสังคมไทยเป็นการปกครองระบบเจ้าขุนมูลนายที่ส่งเสริมระบบอุปถัมภ์อย่างชัดเจน ระบบอุปถัมภ์ยังมีให้เห็นในสังคมไทยอยู่ทุกวัน และได้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนในระบบราชการไทย เช่น การฝากฝังลูกหลานเข้าทำงาน ความไม่ซื่อตรงในการเปิดสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการ ตราบใดที่ระบบอุปถัมภ์ยังเป็นกลไกลหลักสำคัญอันหนึ่งในระบบราชการก็จะนำไปสู่ความไม่เป็นธรรม การเลือกปฏิบัติ และ/หรือปรากฏการณ์สองมาตรฐาน

สังคมไทยมีการบริหารงานแบบสองมาตรฐานทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางกฎหมายและการเข้าถึงทรัพยากร กฎหมายและการประยุกต์ใช้กฎหมายมีอคติต่อคนจน ความขัดแย้งของคนในชาติเกิดจากการ แย่งชิงทรัพยากรที่รัฐเลือกปฏิบัติและไม่อำนวยความเป็นธรรมและความเสมอภาค

การบริหารงานแบบสองมาตรฐานมีให้เห็นในสังคมไทยในทุกเรื่องตั้งแต่เราลืมตาดูโลกใบนี้ก็ว่าได้นะค่ะ ตอนเราอยู่ในท้องแม่ ๆ ก็พยายามเลือกสถานนพยาบาลที่ดีโดยยอมจ่ายเงินค่าฝากท้องพิเศษเพื่อจะได้รับบริการที่ดีกว่า เร็วกว่า พอถึงวัยเข้าเรียนพ่อแม่ก็ต้องยอมจ่ายเงินทองอีกตามเคยเพื่อให้ลูกได้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง พอจบการศึกษาต้องเข้าทำงานก็จ่ายเงินเพื่อซื้อตำแหน่ง แหละนี้ก็คือการถูกฝึกให้เป็นคนที่มีความอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นโดยไม่รู้ตัวจนทำให้เกิดเป็นความเคยชิน

ความเป็นธรรม และ ความเสมอภาคไม่มีในสังคมของคนจน บริการภาครัฐยังคงเป็นสองมาตรฐานและเอื้อต่อผู้มีเงิน มีอำนาจ ตราบใดที่เรายังฝึกและสอนความเคยชินความเป็นอภิสิทธิชนให้กับบุตรหลานของเรารุ่นแล้วรุ่นเล่า

ตามที่อาจารย์ได้เขียนเสนอแนะว่าเราต้องทำให้สมการของการบริหารงานแบบสองมาตรฐานไม่สมบูรณ์ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา ไม่เลือกปฏิบัติ เห็นด้วยนะค่ะแต่หนูว่าเป็นไปได้ยาก เพราะอย่างที่มีคนกล่าวไว้ว่ากฎหมายและการประยุกต์ใช้กฎหมายมีอคติต่อคนรากหญ้า คนจนต้องปากกัดตีนถีบหาเช้ากินคำไม่มีเวลามาศึกษาในเรื่องตัวบทกฎหมายจึงถูกเอารัดเอาเปรียบ ประกอบกับเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าผู้บังคับใช้กฎหมายจะมีความเถรตรง ทางออกที่ดีสำหรับในความคิดของหนูเราคงต้องเริ่มจากตัวเรา และครอบครัวก่อน ครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดในสังคมแต่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่ดี หรือเป็นคนที่เลวได้ การฝึกสอนบุตรหลานให้รู้จักผิดชอบ ชั่วดี หล่อหลอมความเป็นมนุษย์ด้วยคุณธรรม จริยธรรม ไม่ประพฤติตนเป็นอภิสิทธิ์ชน การบริหารงานแบบสองมาตรฐานก็คงเบาบางลงไปบ้างแต่คงไม่หมดไปจากสังคมไทย หากเราพบเจอความไม่เป็นธรรม การเลือกปฏิบัติ เราต้องไม่วางเฉยเพราะถ้าเรานิ่งเฉยยิ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการบริหารงานแบบสองมาตรฐาน เราเป็นคนเหมือนกันต้องมีศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนเท่าเทียมกัน จึงต้องได้รับบริการในทุกด้านด้วยคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

เป็นเรื่องจริงที่การประพฤติการปฏิบัติอันมิชอบในการใช้หลักอุปถัมถ์คัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานในหน่วยงาน โดยการวางตัวผู้สมัครไว้ก่อนแล้ว ผู้ที่สมัครคนอื่นที่มีความรู้ความสามารถแต่ไม่มีเส้นสาย หรือรู้จักคนใหญ่คนโตก็หมดโอกาส เป็นการตัดโอกาสของคนที่มีความรู้ความสามารถ ทำให้ต้องเปลี่ยนอาชีพที่หวังเป็นราชการไปเป็นพนักงานของเอกชนแทน หรือไม่ก็ต้องหาพรรคพวกที่มีเส้นสายช่วยการเจรจาและตกลงเงินใต้โต๊ะ ( คนไม่มีเงินหรือเส้นใหญ่ เข้าทำงานระบบราชการยากขึ้นทุกวัน ) หลายหน่วยงานก็เป็นเช่นนี้ กลายเป็นเรื่องที่ปรกติ ที่ชาวบ้านรับทราบมานานแล้ว แต่ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์อะไรได้ ได้แต่ปล่อยให้ระบบอุปถัมภ์ดำเนินไปเรื่อยๆ นับวันยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้นทำให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจคัดเลือกบุคลากรเหิมเกริม คิดว่าตัวเองใหญ่โตที่สามารถจะรับหรือไม่รับบุคลากรก็ได้ จนลืมตัวเองไปว่า เราเป็นข้าราชการ ทำงานให้ความเป็นธรรมช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่ยุคสมัยขุนนางและทาสที่มีการแบ่งแยกชนชั้น เราควรตระหนักในเรื่องนี้

เห็นด้วยกับบทความนี้.. “ระบบอุปถัมภ์” ยังเป็นกลไกหลักสำคัญอันหนึ่งในระบบราชการ ซึ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้บริการพวกพ้องและเจ้านาย อันนำไปสู่ หรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ไม่ว่าทางหนึ่งทางใดแก่ผู้มีอำนาจหน้าที่ ย่อมได้รับการบริการตามสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้อย่างถูกต้องสมควรแก่เวลา ส่วนบุคคลอื่นที่ไม่มีสายสัมพันธ์ และ/หรือ ไม่เคยหรือไม่อาจอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้มีอำนาจหน้าที่ ย่อมได้รับสิทธิ์หรือการบริการช้ากว่าที่ควรเป็น หรืออาจไม่ได้รับสิทธิ์หรือการบริการเลยหากไม่มีการทวงถาม ซึ่งทำให้การบริหารงานราชการขาดความเป็นธรรม ระบบอุปถัมภ์ในทางที่ผิดควรหมดสิ้นไปจากระบบราชการไทยแต่ใครจะเป็นผู้ริเริ่มกำจัดระบบนี้ได้ นอกเสียจากผู้ที่มีความยุติธรรม มีศีลธรรม มีความกล้าหาญพอ แต่ก็หาได้ยากยิ่งในระบบราชการไทย

ดิฉันเห็นด้วยกับ "ระบบอุปถัมภ์" การบริหารแบบไทย ๆ เป็นเรื่องปกติในการใช้ระบบอุปถัมภ์ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาคธุรกิจหรือภาครัฐกิจ เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดิฉันก็เห็นระบบนี้จนรู้สึกปกติเสียแล้ว โดยส่วนตัวแล้วดิฉันก็คุ้นเคยกับระบบอุปถัมภ์มาตลอด อาจจะไม่ค่อยมีความยุติธรรมซักเท่าไหร่

ผมก็เห็นด้วยกับบทความนี้ที่ไม่สนับสนุนในการใช้หลักอุปถัมถ์ เพราะมันเป็นการแซกแซงคนที่เขามีโอกาส แต่เราไปฉวยโอกาสระบบเหล่านี้มันน่าจะสูญสิ้นไปจากบ้านเมืองเราได้แล้ว สังคมเราสอนให้รู้จักบุญคุณหรือการตอบแทนบุญคุณกันมากเกินไปโดยไม่แยกแยะเรื่องบ้างเรื่อง ในการที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยการตอบแทนกัน สิ่งเหล่านี้มีมากในระบบราชการ ติดสินบนกันด้วยเงิน ตอบแทนกันด้วยการช่วยงานต่างๆ หรือวิธีลัดบางวิธี ให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยไม่คำนึงถึงคนอื่นเขาเดือดร้อนหรือหมดโอกาส ที่เห็นกันมากและใกล้ๆตัวเรา ก็คือเรื่องรับคนเข้าทำงาน พอเข้ามาแล้วก็อ้างศักดิ์ดาบารมี ฉันเป็นเด็กคนโน้นฉันเป็นเด็กคนนี้ ประสิทธิการทำงานก็ไม่มี คนอุปถัมถ์เข้ามาทำงานเคยนึกถึง ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรกันบ้างหรือปล่า

คนดีมีความสามารถมักจะไม่ได้รับโอกาสที่ดีในการทำงานตราบใดที่หน่วยงานนั้น ๆ ยังใช้ระบบอุปถัมภ์ในการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน ซึ่งระบบอุปถัมภ์นั้นมักพบได้ในระบบราชการเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงานของระบบราชการ เนื่องจากบุคลากรที่รับเข้ามาทำงานด้วยระบบอุปถัมภ์นั้นมักจะไม่มีคุณภาพ ระบบอุปถัมภ์ทำให้กระบวนการในการรับคนเข้าทำงานเหมือนการเสี่ยงโชค กล่าวคือถ้าโชคดีก็จะได้คนที่มีความสามารถเข้ามาทำงาน แต่ความเป็นไปได้ก็มีอยู่น้อยนัก...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท