เบื้องหน้า–เบื้องหลังบทเรียน KM กรมอนามัยปี 49 ที่ดิฉันถูกสามีพาส่งโรงพยาบาล


แผนการจัดการความรู้ ที่ดิฉันกำหนดในปฏิทินการทำงาน ดูไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อชีวิตจริงนัก เมื่อดิฉันคิดได้อย่างนั้น ตารางการทำงานในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา คือ กค.–สค.49 จึงมีกำหนดเวลาการทำงานที่แน่นเอียด

 

แผนการจัดการความรู้ ที่ดิฉันกำหนดในปฏิทินการทำงาน ดูไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อชีวิตจริงนัก เมื่อดิฉันคิดได้อย่างนั้น ตารางการทำงานในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา คือ กค.–สค.49 จึงมีกำหนดเวลาการทำงานที่แน่นเอียด

ตั้งแต่

  • การเตรียมต้อนรับแขกดูงาน จากกลุ่มพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ... ตามมาด้วย การเตรียมการจัดตลาดนัดความรู้ KM กรมอนามัย ที่โรงแรมเฟลิกซ์ รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี
  • ... ต่อมาด้วย การเตรียมการเป็นวิทยากรในงาน KM ของหลายๆ หน่วยงาน ที่กำลังอุ่นหนาฝาคั่ง ทั้งที่มาเชิญเป็นวิทยากร ทั้งปรึกษาทางโทรศัพท์ ที่เป็นหน่วยงานของกรมอนามัยเอง และหลายๆหน่วยจากต่างสังกัด ต่างกระทรวง

... ทั้งลุ้นหน่วยงานตัวเอง ให้งานตลาดนัด KM มีจุดเรียนรู้ที่สมบูรณ์ที่สุด ในเวลาที่ทำได้  ดิฉันมีงานในสมองมากมาย ทั้งในเวลาราชการที่ต้องประสานสิบทิศ พูดกับหลายๆ คน และทุกๆ หน่วยงานที่จะมาร่วมเป็นทีมในการนำเสนองาน ต้องเป็นที่ปรึกษา ให้กำลังใจ และรับฟังเรื่องราว KM ของแต่ละหน่วย ช่วย clear ให้ KM Team นั้นคมชัดขึ้น และชัดขึ้น

... คงไม่ใช่สิ่งแปลกหรอกค่ะ ... สำหรับการเริ่มต้น KM ในระยะตั้งไข่ เพราะจริงๆ แล้วกรมอนามัย จุดประทุ KM มาเพียง 1 ขวบกับ 2 เดือน การรักษาสัญญาที่เราจะเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน กับหน่วยงานต้นแบบ จึงเป็นสิ่งที่ดิฉันได้พยายามทำในบทบาทเลขาฯ ให้ดีที่สุด ซึ่งคุณหมอนนทลี ก็ปรามๆ อยู่เสมอว่า เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนสมัยก่อนแล้ว อายุพวกเราก็ปาเข้าไปเท่าไหร่ ... แต่ก็ยังเป็นศรีวิภา ... คนหัวรั้นคนเดิม ที่จะข้างๆ คูๆ ว่า ... คุณหมอก็รู้ เวลาทำอะไร ... เราก็อยากให้มันออกมาดี ... หมอก็บอกว่า ... แล้วเวลาเหนื่อย ก็อย่ามาบ่นให้ฟังนะ … คุณหมอจะบอกเสมอว่า ... ทำได้เท่าที่ทำ ที่ดีที่สุด แต่ไม่ต้อง complete ซัก 1 เรื่อง ทำเป็นมั๊ย ...

แล้วดิฉันก็โทรศัพท์ติดต่องานพูด และพูด และคิดสารพัด ไอ้โน่นก็ยังไม่ได้ทำ ไอ้นี่อีก แวะเวียนช่วยกันหาสถานที่จัดประชุม ทั้งทางอินเตอร์เนตบ้าง เอารถราชการไปตะลอนดูสถานที่จัดประชุมกับพี่ เล็ก ... จารุพา และพอกลับถึงบ้านตอนค่ำหลังทานอาหาร ก็รีบโทรคุยงานต่อ สำหรับหลายท่านที่ไม่สามารถติดต่อกัน ได้ทันในเวลาราชการ และมีความสำคัญมากๆ ที่ต้องเอาใจใส่ เพื่อให้งานเบื้องหลังออกมาดี หนังสือเชิญประชุม หนังสือยืมสื่อ โสตฯ หนังสือขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ราชการ และอีกบานเบอะ ตามระเบียบราชการ สมองมันคงคิด และคิดตลอดเวลา กลางคืน นึกงานได้ ก็ลุกขึ้นมาจด แล้วก็บอกตัวเองว่า ต้องรีบไปแต่เช้า มีงานอีกหลายเรื่อง  พอเหนื่อยหนักๆ ก็เริ่มนอนไม่หลับ นอนน้อยมานานร่วม 3 สัปดาห์ กว่าจะหลับเอาเกือบตี 2 ถึง ตี 4

... เช้าตี 5 กว่าๆ ก็ต้องรีบลุก ทำอาหารให้ลูก เสาร์ – อาทิตย์รับส่งลูกไปเรียนพิเศษ รวมถึงงานบ้านอีก ... พอดีลูกชายเริ่มป่วย นอนเฝ้าลูก คนนี้เริ่มหาย คนนั้นเริ่มป่วยต่อ

พอใกล้งานตลาดนัด KM กรมอนามัย ดิฉันยิ่งลุ้นหนัก เพราะบางหน่วยยังแผ่วๆ อยู่ ... งง และ งง ...บางหน่วยก็จูงมือไปเคลียร์กัน กับ CKO บ้าง คุณเอื้อบ้าง ทีมงานบ้าง ไม่ต่ำท่านละกว่า 3 รอบ 10 บู๊ท ก็พูด...และพูดกับคนนั้นที คนนั้นที ทั้งตามขั้นตอนบ้าง บางหน่วยต้องพูดกับหลายระดับชั้นมาก บางหน่วยเดี๋ยวชัด เดี๋ยวมีสัญญาน ... งง ... อีกแล้ว  บางหน่วยส่ง paper ให้อ่าน โอ๊ย !! ต้องเคลียร์กันใหม่ ... สุดท้ายตัดสินใจปรึกษา ... ประธาน อาจารย์หมอสมศักดิ์ ขอนัดประชุมด่วน ซึ่งอาจารย์ก็รีบมาเป็นเป็นประธานให้ทันที ... ก็พอได้ลุ้นกันหืดขึ้นคอนะคะ

ความสำเร็จของงาน จึงมาจากการวางแผน และเตรียมการ ... เกือบใจขาด ... เป็นสำคัญ ไม่มีอะไรได้มาแบบฟลุ๊คๆ หรือเป็นของฟรีเลย ...

แล้วพอมาอีกงานที่ต่อๆ กันมาคือ การสรุปบทเรียน KM ปี 49 ดิฉัน ก็ไปตะลอนหาสถานที่อีกกับพี่เล็กจารุพา เพราะการจัดงานสถานที่ดี อาหารดี มีชัยไปกว่าครึ่งนะ สาระของงานเราก็พอควบคุมได้แต่ถ้าสถานที่ไม่ดี อาหารแย่ บริการห่วย ถูกโจมตีไม่คุ้มเลย ... เราก็เลยลงทุนไปตะลอนๆ ถึงปากช่อง จ.นครราชสีมา

ต้องประสานกันอย่างเข้ม กับกรมธนารักษ์ โดยผ่านศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์ ซึ่งขอมาดูงานตลาดนัดเราด้วย

เสร็จกลับมาก็เตรียมงานควบคู่ไปพร้อมๆ กับการเตรียมต้อนรับคนขอมาดูงาน KM กรมอนามัย ในวันที่ 29 สค.49 นี้  เพราะอานิสงส์ของงานมหกรรม KM สู่ LO

โอ้โห !!! ดิฉันรับโทรศัพท์มือเป็นมันเลย ร่วม 10 กว่าหน่วยงาน ได้เชิญเป็นวิทยากรบ้าง ขอดูงานกรมฯ บ้าง ในใจก็ยังสู้นะ เพราะ ถือเป็นโอกาสทองของเรา ... ชาวกรมอนามัย ก็จะรับแต่พองาม เพื่อกระตุ้นให้คนกรมอนามัยตื่น กับ KM และถือเป็นการสร้างความมั่นใจ ในทีมงานของกรมฯ ให้เข้มแข็งขึ้น และถือเป็นกลยุทธ์ Social Marketing ที่สำคัญอย่างหนึ่งด้วย

การเตรียมการ สำหรับผู้มาดูงานมีรายละเอียด หรือ process ไม่น้อยนะค่ะ เพราะเราต้องพยายามจัด Group process เพื่อให้คนของเรา และผู้มาดูงานได้แบบ win–win แม้งานนี้อาจจะบอกว่าเคยมี กพร.สป. มาดูงานครั้งหนึ่งแล้ว เอาเหมือนๆ เดิมก็ได้

แต่เราในฐานะ ผู้จัด / ผู้ประสาน ต้องจำประสบการณ์การดูงานครั้งที่แล้ว มาพัฒนางานต่อ เพราะครั้งที่แล้วมีเพียง 1 ท่าน เป็นผู้ประสาน สำหรับครั้งนี้มี 4 หน่วยงาน ที่จะมาดูงานกรมฯ ตั้งแต่ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประมาณ 25 คน ซึ่งถือเป็นที่ปรึกษา KM ให้กับสำนักงานกพร. มีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 20 คน ที่ผู้ประสานออกตัวเสมอว่าที่กรมฯ เพิ่งเริ่ม ยังไม่ค่อยชัดนัก มีสำนักงานจังหวัดสุโขทัย 20 คน ซึ่งเป็นทีมที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดส่งมา 20 คน และอาจารย์หมอสุทัศน์ จากโรงพยาบาลเลิศสิน 1 ท่าน  Gap ระหว่างผู้มาดูงาน ก็เป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึง และต้องประสานให้แต่ละหน่วย เตรียมตัวผู้มาศึกษาดูงาน ด้วยการอ่านเอกสาร / ตำรา KM มาด้วย การเตรียมแบ่งรายชื่อ การส่งประเด็นคำถาม ที่อยากเรียนรู้ จาก KMกรมอนามัย และ เรื่องอื่นๆ อีกจิปาถะ อาหาร อาหารว่าง หนังสือเชิญ กำหนดการ ล้วนแต่เป็นรายละเอียดที่ต้องเขียน หรือลิขิตเป็นข้อปฏิบัติ

เพราะครั้งที่แล้วบางท่านมาดูงานยังไม่ชินกับศัพท์ KM หลายๆ คำที่เราคุ้นๆ กัน บางคนอาจคิดว่าการมาดูงาน คือ มาฟัง lecture หากเป็นเช่นนั้น กระบวนการแลกเปลี่ยนรู้ก็จะไม่เกิดพลัง อันเป็นพลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเติมเต็มให้แก่กัน และกัน ... กรมอนามัยจึงต้องประสาน และให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ควบคู่ไปด้วย เพราะKM Team เมื่อได้รับประเด็นคำถาม ก็จะเตรียมตัวเองให้ดีขึ้น และดีขึ้นต่อไปเรื่อยๆ

สำหรับอีกหลายหน่วยงานที่ติดต่อขอมาดูงาน แต่ทางเราไม่สามารถรับได้ ก็ขออภัยจริงๆ และคาดว่าคงเป็นปีงบประมาณหน้า ซึ่งบางแห่งก็ขอให้เราจัดคิวให้ ก็ขอขอบคุณจริงๆ ค่ะ รวมถึงขอบคุณ ทีมงานอาจารย์หมอวิจารณ์อีกเช่นเดิม ที่ช่วยเชียร์กรมอนามัยเสมอมา

ระหว่างนี้ก็มีสำนักควบคุมโรค กรมควบคุมโรค ขอดูงาน KM กองแผนงานบ้าง ... การประสานเตรียมเป็นวิทยากรในการ Train Fa / Note taker ของศูนย์อนามัยพื้นที่สูง จ.ลำปาง ... การจัดประชุมสร้างการมีส่วนร่วม ในงานส่งเสริมสุขภาพของศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี และ Train Fa / Note taker ของสำนักควบคุมโรคที่ 4 จ.ราชบุรี เป็นอีกงานที่ทำคู่ๆกันไป ....

แล้วดิฉันก็มีอาการแย่หนักขึ้น เมื่อไปงานสรุปบทเรียน KM กรมอนามัย  เพราะไออย่างหนัก ไอจนสงสารคนนอนด้วยกัน คือคุณหมอนนทลี จะแยกห้อง คุณหมอก็ไม่ยอม แต่บอกให้ดิฉันงด ไม่ให้ใช้เสียง

เรื่องขำๆ ก็คือ ดิฉันจึงต้องพยายามจะพูด เพื่อถ่ายถอดเรื่อง “แกะรอยแผน KM กรมอนามัย” ซึ่งเดิมดิฉันต้องเป็นคนเล่าเองให้กับ KM Team ที่ไปร่วมประชุมทั้งหมดฟัง แต่ต้องเล่าให้หมอนนทลี Capture เพื่อเล่าต่ออีกที โดยดิฉันนั่งฟังข้างๆ

ทีมงานให้กำลังใจมาก แม้รู้ว่าดิฉันป่วย ตั้งแต่งานตลาดนัด KM กรมอนามัย ก็มีหลายคนแซว โดยเฉพาะคุณอัณชิษฐา ศูนย์อนามัยที่ 1 ว่า เอาน้ำเกลือสักถุงไหมตัวเอง ... พี่เปี๊ยกกองคลัง คุณหมอณัฎฐา แต่ละท่านบอกหน้าดิฉันซีดดูไม่ได้

พอมางานสรุปบทเรียน พี่ติ๊ก สร้อยทอง ก็บอกไม่รู้จักดูแลตัวเองเลยนะ ... มานั่งตากลมอยู่ (ดิฉันจัดทานอาหารค่ำบริเวณลานกว้าง ที่บรรยากาศรอบๆ สวยงาม เพื่อให้สดชื่นกับธรรมชาติ มากกว่าในห้องอาหาร ของรีสอร์ท)  ก็รู้ว่าทุกคนห่วง แต่พอเป็นเจ้าภาพ ก็กลัวบกพร่องนะค่ะ บางทีอดรนทนไม่ได้ ก็พยายามอธิบายอีก เสริมประเด็นนั้น ประเด็นนี้ ช่วยอธิบายหน่วยงานน้องใหม่

แล้วคุณวิมล พิธีกรของงานก็ต้องทำหน้าที่ประกาศเชิญวิทยากรหัวข้อ "แกะรอยแผนการจัดการความรู้"  โดยคุณศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล ให้เสียงโดย คุณหมอนนทลี วีรชัย นี่แหละค่ะ น้ำใจของทีมงาน (ได้ยินคุณคุณหมอสมศักดิ์หัวเราะ บอกเออ...ทีมงานดีแฮะ)

พอกลับถึงบ้าน คราวนี้ไม่ต้องพูดเลย พูดคำไอไม่หยุด คุณสามีเลยพาไปโรงพยาบาล ไม่รู้ยังไง อีท่าไหนหมอสั่ง admit ให้พักยาว ให้น้ำเกลือ 5 ถุง ทั้งเจาะเลือด ตรวจเสมหะ ให้ยาฆ่าเชื้อทั้งฉีด ทั้งกิน หมอบอก ผมให้ยาอย่างแรงนะ (ดิฉันยังแซวคุณหมอ ในคืนที่ 2 ว่า กลัวเป็นไข้หวัดนกหรือคะ)  คุณหมอบอกงดใช้เสียง เพราะพูดจะไอจนเจ็บร้าว ดิฉันนอนไม่หลับติดๆ กันอีก 3- 4 คืน เรียกว่า นอนตาลอย ดูคนเฝ้าไข้หลับ อาการเลยแย่ค่ะ เพราะไม่หลับเลย แต่ก็ดีใจเพราะที่สุด ทั้งคุณมนทกานติ์ ... เธอหอบผ้ามานอนเฝ้า ในวันที่รู้ทันที คุณหมอนนทลี พอรู้ก็รีบมาเยี่ยม แม้จะบอกว่า ... อย่ามาบ่นให้ฟัง  พี่เล็กก็ตามมาติดๆ อาจารย์หมอนันทา และอาจารย์หมอสมศักดิ์ท่านก็ถามไถ่ และให้พักให้หาย

จะเรียกว่าอย่างไรดีค่ะ

สรุปบทเรียน KM กับบทเรียนคนทำ KM ดูไม่เป็นคำตอบตามที่ดิฉันขึ้นไตเติ้ลไว้ว่า ... แผนการจัดการความรู้ ที่ดิฉันกำหนด ในปฏิทินการทำงานปี 49 ... ดูไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อชีวิตจริงนัก ....

เพราะแท้จริงแล้ว... ชั่วโมงนี้... มันไม่ใช่เลย

 

หมายเลขบันทึก: 46417เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตอนนี้อาการทุเลาแล้วหรือยังคะ พี่ศรีขา....
  • ดื่มน้ำอุ่นอย่างเดียวเลยนะคะ....น้ำผึ้งด้วย...มะนาวด้วย...ฟ้าทะลายโจรมีไหมคะ เด็ดใบมาล้างน้ำแล้วเคี้ยวๆๆๆๆสักวันละสองสามใบก็ดีนะคะ....
  • อ่านแล้วเข้าใจอารมณ์พี่ศรีเลยค่ะ ตอนที่อยากจะพูดแต่พูดไม่ได้เนี่ย..... คงอึดอัดน่าดูเลย.....
  • ด้วยความห่วงใยนะคะ....
  • คุณศรีวิภาเล่าได้ละเอียดและถ่ายทอดได้เยี่ยมมาก ๆ เลยครับ จนเวลาอ่านผมเห็นภาพตามไปด้วยเลยครับ
  • ใช่สิครับ ทุกอย่างทำแล้วเกิดความรู้ทั้งนั้นเลยครับ
  • ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ หรือว่าจะไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นคะแนนหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ ก็มีคุณค่าทางจิตใจและปัญญาครับ
  • ขอขอบพระคุณคุณศรีวิภาอีกครั้งครับ ที่นำความรู้มาให้ผมและพวกเราในครั้งนี้ครับ
  • ตอนนี้อาการทุเลาแล้วหรือยังครับ
    ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

ขอชื่นชมมากๆเลยคะ  เจอกันทุกงานของกรมอนามัยขอบอกว่า "สุดยอดของคนทำงานเลยคะ" แม้ตัวตาย.. ก็ไม่เสียดายชีวิต ใช่ไหมคะ... ขอให้หายดีนะคะ  .....

ขอบคุณทุกกำลังใจค่ะ

- พี่เม่p น้อแงชายขอบ... จะฟ้าทะลายโจร ตะขาบ 5 ตัว น้ำอุ่น ยาสารพัดจะอม อาการตอนนั้นมันเอาไม่อยู่เลยค่ะ ยิ่งทะลายโจรเข้าปากใกล้หมดหล่ะ ไอจนตัวงอ... จะดูแลตัวเองดีๆตามที่ทุกท่านแนะนำค่ะ เพราะเดี๋ยวเราต้องเจอกันในงานKM ไบเทค ...ถึงตอนนั้นคงไม่ต้องนั่งฟังคุณหมอนนทลีคุยแล้ว เราคงได้ร่วมวงเสวนาชาวK-Fcop - บ้านผู้หว่าน...

- ขอบคุณ...คุณปภังกร  ที่ชมมาค่ะ เข้าใจว่าคนทำงานKM มักมีอารมณ์ร่วมแบบเนี๊ย...ที่มันวุ่นๆเสมอ เมื่องานไม่สามารถจัดเวลาได้ลงตัวใช่มียค่ะ

- น้องโจ้... คนดี ยามนี้พี่เริ่มคิดแล้วหล่ะ.... เพราะลูกชายคนโตมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล เธอโอดว่า...แม่ผมสงสัยจะแย่แน่...บ้าแต่งาน... ฟังแล้วสะเทิ้นนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท