รอบรู้เรื่อง "เมืองอุบลราชธานี"


มารู้จักอุบลราชธานีกันเถอะ

คุณรู้หรือไม่ว่า ....เจ้าคำผง.... เจ้าแห่งเมืองอุบล ผู้ก่อตังเมืองอุบลเป็นคนแรก   

   จากหยาดเหงื่อหยาดหยดรดดินแล้ง
จากเรี่ยวแรงแกร่งกล้าพาฮึกเฮิม
จากแววตาที่จดจ่อการต่อเติม
จากสองมือถือเพิ่มคมอาวุธ
   

   จากความสามัคคีมีในชาติ
 
จากความใสพิลาสบริสุทธิ์
จากความเจิดจรัสหัตถยุทธ
จากความใฝ่วิมุติพุทธคุณ
   

    จึงเกิดบ้านลานดินถิ่นประจักษ์
จึงเกิดรักโอบเอื้อก่อเกื้อหนุน
จึงเกิดอู่อุบลวิมลบุญ
เทิดการุณเจ้าคำผงสร้างธงชัย    
                 

นพดล จันทร์เพ็ญ (ประพันธ์)  

สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์

<p>
จังหวัดอุบลราชธาน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 16,112 ตารางกิโลเมตร หรือ 10 ล้านไร่ ที่ตั้งสัมพันธ์ของจังหวัด ติดต่อกับ 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ กัมพูชาประชาธิปไตย ส่วนภายในประเทศ ติดต่อกับ 3 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ หรือรวงผึ้ง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นลอนตื้น ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล มีเทือกเขาดงรัก เป็นพรมแดนธรรมชาติทางด้านทิศใต้ </p>
<p>ลำน้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำโขง ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมน้อยและลำโดมใหญ่ </p><p>ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่านช่วงฤดูฝน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านช่วงฤดูหนาว และพายุดีเปรสชั่นเข้ามามีอิทธิพลช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน</p><p>สภาพโดยทั่วไปอุบลราชธานี เป็นจังหวัดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 629 กม. สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบสูงและภูเขา มีหน้าผาหินทรายและแม่น้ำโขง อันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและลาว

ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขตจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดหนึ่งใน 19 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 14 องศา 13 ลิปดาเหนือ ถึง 16 องศา 6 ลิปดาเหนือ และลองติจูดที่ 104 องศา 23 ลิปดาตะวันออก ถึง 105 องศา 38 ลิปดาตะวันออก พื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย</p><p>ลำน้ำสายสำคัญลำน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่จะไหลมาจากที่สูงทางทิศเหนือ ซึ่งหมายถึงเทือกเขาภูพาน ทางทิศใต้เทือกเขาพนมดงรัก และทางทิศตะวันตก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ไหลลงมารวมกันที่แอ่ง อันเป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูล ชี่งก็เปรียบเสมือนทางระบายน้ำขนาดใหญ่ ที่รองรับน้ำอยู่กลางพื้นที่ ก่อนที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป</p><p> เทือกเขาที่สำคัญเทือกเขาดงรัก ต้นกำเนิดที่ช่องตะโก อยู่ระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์ กับจังหวัดปราจีนบุรี และเทือกเขาภูพาน ก่อตัวขึ้นเป็นทิวยาว อยู่ระหว่างแม่น้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีทำเลที่ตั้ง เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรหลากหลายชนิด มีแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบกัน ทำให้เหมาะสมแก่การพักพิงตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่อดีต ได้พบร่องร่อยการอยู่อาศัย ของคนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นปีมาแล้ว จากที่เคยดำรงชีพแบบสังคมล่าสัตว์ ได้พัฒนาการเข้าสู่สังคมเกษตรกรรม เมื่อประมาณ 3,000-2,000 ปี ที่ผ่านมา พบหลักฐานกระจายอยู่หลายพื้นที่ ทั้งตะวันออกและตะวันตกของจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงได้พบภาพเขียนสี ตามเพิงผามากในบริเวณตะวันออกริมแม่น้ำโขงด้วย ร่องรอยชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น 1. แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสาวเอ้ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบเศษภาชนะดินเผาที่สำคัญ คือ มีการตกแต่งผิวภาชนะ ด้วยลายเขียนสีแดง เป็นลายเส้นหยักและลายคล้ายดอกไม้ ซึ่งอาจเป็นลักษณะเฉพาะ ของภาชนะลายเขียนสีในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2. แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากโนนสาวเอ้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร พบเศษภาชนะดินเผา ขนาดและรูปทรงต่างๆ ภาชนะดินเผาขนาดใหญ่เจาะรูตรงกลาง ซึ่งเชื่อว่าเป็นภาชนะบรรจุกกระดูก ในพิธีกรรมฝังศพครั้งที่สอง ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในระยะแรก จะฝังศพทั้งโครงรวมกับภาชนะดินเผา และเครื่องประดับต่างๆ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นการนำกระดูกขึ้นมา บรรจุลงในภาชนะแล้วฝังอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล - ชี 3. ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม เป็นกลุ่มภาพเขียนที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุด เขียนต่อเนื่องเต็มหน้าผา 4 แห่ง คือ ผาแต้ม ผาหมอน และผาหมอนน้อย ส่วนใหญ่เขียนด้วยสีแดง เป็นภาพมือคนมากที่สุด ภาพสัตว์ เช่น ช้าง ปลา เต่า สุนัขป่า วัน หรือ ควาย ภาพคล้ายตุ้มจับปลาแต่มีแขน และภาพสัญลักษณ์อื่นๆ รูปรอยแผ่นหินนี้ อาจเป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อพิธีกรรม ความอุดมสมบูรณ์ หรือภาพเล่าเรื่องราววิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้น ชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เริ่มขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 10-12 เมื่อชุมชนขนาดใหญ่ ได้รวมตัวกันหนาแน่น และพัฒนาสังคมขึ้น รวมทั้งชุมชนโบราณในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ในการติดต่อ ทั้งจากชุมชนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งผ่านมาทางลุ่มแม่น้ำมูล-ชี บริเวณที่ราบลุ่มริมทะเลสาบเขมร รวมถึงที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง </p><h2 style="margin: 0in 0in 0pt"> คำขวัญจังหวัดอุบลราชธานี </h2><p>"เมืองแห่งดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์งามล้ำเทียนพรรษา ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์" </p><p>ธงประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ด้านบนของธง จะมีรูปดอกบัวสีชมพูบาน ปักอยู่บนพื้นสีชมพู

ด้านล่าง จะมีอักษรสีขาว คำว่า "อุบลราชธานี" ปักอยู่บนพื้นสีเขียว

ตราประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ตราประจำจังหวัดอุบลราชธานี เป็นรูปดอกบัวตูม และดอกบัวบาน ชูช่อก้านใบเหนือหนองน้ำ
</p><p>ผ้ากาบบัว ผ้าประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผ้ากาบบัวนี้ พบในวรรณกรรมโบราณอีสานของเมืองอุบลฯ มีความหมายเหมาะสมกับชื่อจังหวัด จึงได้นำมาเป็นชื่อผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีที่ทอขึ้นใหม่ เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นดินแดนกว้างใหญ่ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเป็นแหล่งทอผ้าสำคัญในอดีต ผ้ากาบบัวนี้ จึงเป็นการรวบรวมเทคนิควิธีดั้งเดิม ของอุบลฯ ที่สะท้อนให้เห็นฝีมือเชิงช่าง ที่พร้อมจะสืบสานพัฒนาผ้าทอมือนี้ต่อไป

</p><p> </p>

คำสำคัญ (Tags): #อุบลราชธานี
หมายเลขบันทึก: 46348เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คำขวัญจังหวัดอุบลฯ พิมพ์ซ้ำค่ะตรง "งามล้ำเทียนพรรษา"และไว้หลังคำว่า "ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม" ค่ะ

ขอบคุณครับ จากลูกหม้อเมืองอุบล่ฯ คนหนึ่ง ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท