กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

SUPPLY CHAIN


SUPPLY CHAIN

เป็นคำศัพท์หนึ่งที่มาควบคู่กับ Cluster กล่าวคือ ถ้า Cluster จะเข้มแข็งได้จะต้องทำให้สมาชิกข่อง Cluster เกิดเป็น Supply Chain ของกันและกัน ผลของการเป็น Supply Chain ของกันและกันจะทำให้เกิดความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของกลุ่มธุรกิจนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถสร้างนวตกรรมใหม่ ๆ และลดต้นทุนธุรกิจได้ดี จากการศึกษา Supply Chain พบว่ามีองค์ประกอบหลักอยู่ 5 ด้านด้วยกัน ได้แก่

ด้านที่ 1 การไหลเวียนของผลิตภัณฑ์และบริการ ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการประกอบธุรกิจเรามีกิจกรรมย่อยอยู่หลายขั้นตอนที่ต้องกระทำต่อเนื่องกัน เริ่มตั้งแต่ การกำหนดตัวสินค้าที่จะผลิต (มั่นใจนะว่าขายได้ ) สู่การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การวางแผนสินค้าคงคลัง (ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป) การวางแผนการผลิต การควบคุมการผลิต การบริหารสินค้าคงคลัง การบริหารคลังสินค้า การกระจายสินค้า การขนส่ง (ทั้งในและนอกองค์กร) การส่งมอบ การเคลื่อนย้ายสินค้า (ทั้งวัตถุดิบ งานระหว่างผลิต สินค้าสำเร็จรูป) รวมทั้งการบริการหลังการขาย เป็นไงครับ !

กว่าจะเป็นสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ผ่านกระบวนการการกลั่นกรองของ Supply Chain ให้แก่กันและกันยาวมาก ถ้า Chain ใดเกิดมีปัญหา อะไรจะเกิดขึ้นครับ !

ด้านที่ 2 การไหลเวียนอย่างมีประสิทธิภาพของข้อมูลข่าวสาร จากความก้าวหน้าของระบบสารสนเทศ ก่อให้เกิดการสร้างระบบเชื่อมโยงข้อมูลธุรกิจต่อกันเพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิง โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นจริงจะสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพของทุก Supply Chain ต่อกัน ดังเช่นกระบวนการในด้านที่ 2 ที่นำข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาผ่านกระบวนการต่าง ๆ อย่างเป็นระบบของสารสนเทศจนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในที่สุด

ด้านที่ 3 การไหลเวียนของกระแสเงินอย่างมีประสิทธิภาพ หากเราจะดูว่าธุรกิจใดดีหรือไม่ก็ต้องพิจารณาจากงบเงินสดที่ไหลเวียน – เข้าออก อย่างสม่ำเสมอ อดีตที่ผ่านมาเราใช้ระบบ Munual แต่ยุคสารสนเทศ E – Commerce จะเข้ามีบทบาทมาก และยังทำให้ต้นทุนต่ำลง ลดการสูญเสียเวลาในการเดินทางติดต่อ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพแก่ธุรกิจสูงขึ้น เพราะมีเวลาในการทำธุรกรรมอื่น ๆ ได้อีกมาก นอกจากนี้ธุรกิจยังทำเฉพาะในสิ่งที่ตนเองถนัด จึงทำให้เกิดประสิทธิภาพมีความเก่งเฉพาะทาง แล้วต้นทุนจะไม่ลดลงได้อย่างไร

ด้านที่ 4 การไหลเวียนอย่างมีประสิทธิภาพของแผนงาน โดยการวางแผนร่วมกันของสมาชิกใน Chain ต่าง ๆ มีการไหลเวียนของข้อมูลและการกำหนดแผนปฏิบัติการข้ามองค์กร เริ่มจากการมองเห็นประโยชน์ร่วมกัน มีการเปิดใจยอมรับเข้าหากันของสมาชิก ความจริงใจส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น เป็นเครือข่ายกัน กลุ่มสมาชิกที่สามารถแบ่งบันผลประโยชน์อย่างลงตัว (ได้มากบ้าง น้อยบ้างไม่ว่ากัน แต่ได้ทุกคน ทุกครั้ง...ใช่ไหม ) ลดการสูญเสียจากการรอคอย การทำงานไม่เต็มระบบ เกิดการประหยัดในกระบวนการ Supply Chain เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดหา – จัดส่งวัตถุดิบ ผู้บริหารการผลิต ผู้บริการ Logestic ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก เป็นการส่งต่อสินค้าและบริการที่มีคุณค่าแก่ผู้บริโภค

ด้านที่ 5 การไหลเวียนขององค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างคนหรือทรัพยากรมนุษย์ (ปัจจุบันเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของบริษัท) ให้มีความรู้ต่อการปฎิบัติงานที่มีประสิทธภาพ เรียกว่า การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) นั้นคือใครจะประกอบการได้ผลประโยชน์กำไรยั่งยืนในระยะยาวได้จะอยู่ที่ความรู้ขององค์กรที่ดีกว่า มีเทคนิคมากกว่า และสามารถนำวความรู้ที่มีอยู่มาใช้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสม และเอื้อโอกาสให้ธุรกิจเกิดกำไรสูงสุด โดยการแชร์ความรู้มี 2 แนวทาง คือ การแชร์ในองค์กร เรียกว่า แนวนอน คือ ระหว่างแผนกต่าง ๆ และการแชร์ในแนวตั้ง คือ กลุ่มผู้ทำธุรกิจต่อกัน ได้แก่ Supplier ผู้บริการ Logistic ผู้รับช่วงการผลิต เป็นต้น

จะเห็นว่ากระบวนการของ Supply Chain เป็นการสร้างความแข็งแกร่งของกลุ่มอุตสาหกรรมลักษณะหนึ่งที่น่าจะส่งเสริมให้เกิดในระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้กระดาษหมดพอดีไว้ต่อในสัปดาห์ต่อไปนะครับ วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อนครับ แล้วฉบับหน้าพบกันใหม่ครับ สวัสดีขอจบก่อนครับ สวัสดีครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #supply#chain#sme
หมายเลขบันทึก: 46344เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท