ความคลาดเคลื่อนในการทำงานวิจัย (Error)


     ในการวิจัย เรามักจะพบความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากอีกประการหนึ่งที่นักวิจัยจะต้องคำนึงถึงให้มาก  แล้วมีวิธีอย่างไรจะทำให้ความคลาดเคลื่อนนั้นให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

     ในการทำงานวิจัยแต่ละครั้ง เราจะพบว่า ผลการวิจัยที่ได้มานั้น คือ ความจริง (Truths) + ความคลาดเคลื่อน (Error)

ที่มา : http://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re1_2.htm

     ความคลาดเคลื่อนที่เราพบนั้น ถ้าแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ จะจำแนกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน (ดังภาพที่ 1)

- ความคลาดเึคลื่อนเชิงระบบ (Systematic Errors) หรืออคติ (Biases)

- ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม (Random Errors)

เรามาดูความแตกต่างระหว่างความคลาดเคลื่อน 2 ชนิดนี้ และพยายามวินิจฉัยผลที่มีต่องานวิจัยของเรา 

ภาพที่ 2

ที่มา : http://www.watpon.com/Elearning/mea14.htm

-  ความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ หรือ systematic Error เป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากความลำเอียง (Bias) ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกกระบวนการวิจัย  มีโอกาสเกิดได้เท่ากันในทุกกลุ่มประชากร และมีโอกาสเกิดความแปรปรวน ไปในทิศทางใดทางหนึ่งได้มากกว่า ความคลาดเคลื่อนเชิงระบบนี้ถือว่าร้ายแรงมาก เพราะเกิดจากคลามลำเอียงของผู้วิจัยเอง และจะให้ผลที่ผิดไปจากความจริง อย่างแน่นอน  (อาจจะศึกษาภาพที่ 3 เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น) 


ภาพที่ 3 

ที่มา : http://www.watpon.com/Elearning/mea14.htm

Bias ของผู้วิจัย  โดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม  แต่ส่งผลต่อผลสรุปการวิจัย  การป้องกัน คือ ผู้วิจัยต้องมีจรรยาบรรณ โดยเริ่มตั้งแต่

**ความคลาดเคลื่อนจากการระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัย  เกิดจากความเข้าใจหรือตีความในปัญหาการวิจัยผิดพลาด   ทำให้ผลสรุปการวิจัยไม่ตรงกับประเด็นปัญหา  แนวทางป้องกันคือ พิจารณาปัญหาให้ถ่องแท้และระบุวัตถุประสงค์ด้วยภาษาที่รัดกุมและตรวจสอบหลายๆครั้ง

**ความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากการกำหนดตัวแปร  แนวทางการป้องกันคือ  การวางแผนการวิจัยที่รอบคอบ พิจารณาอย่างถี่ถ้วน

**ความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากการใช้รูปแบบการวิจัยไม่เหมาะสม แนวทางป้องกันคือ ศึกษารูปแบบการวิจัยให้ถ่องแท้และเลือกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย

**ความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากการวัดตัวแปร  แนวทางป้องกันคือ เลือกใช้หรือสร้างเครื่องมือที่มีความคลาดเคลื่อนแบบมีระบบ(เกิดจากความตรงของเครื่องมือ)และความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม(ส่งผลต่อความเที่ยงของเครื่องมือ)ให้น้อยที่สุด  หรือให้มีความตรงและความเที่ยงสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

**ความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากการรวบรวมข้อมูล เป็นการใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลไม่เหมาะสม  แนวทางป้องกันคือ ศึกษาเครื่องมือแต่ละประเภทให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนกำหนดเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

**ความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ  การเลือกใช้สถิติผิดพลาด  แนวทางป้องกันคือ ศึกษาสถิติให้เพียงพอสำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูลหรือปรึกษาผู้รู้

**ความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากการแปลความหมายและการสรุปผลการวิจัย  เช่น สรุปเกินข้อมูลที่กำหนดไว้ในรูปแบบการวิจัย  แปลความหมายค่าสถิติผิดพลาด  แนวทางป้องกันคือ ระมัดระวังในการใช้ภาษาในการรายงานผล หรือปรึกษาผู้รู้

- ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม หรือ Random Error หรือ สิ่งรบกวน (Noise) เป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นโดยบังเอิญ (chance) ไม่มีทิศทางที่แน่นอน อาจจะเป็นทางด้านบวกหรือด้านลบ  ความคลาดเคลื่อนประเภทนี้ขึ้นอยู่กับ  แบบแผนการสุ่ม  ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง  สูตรในการประมาณค่า  และความผันแปรในของคุณลักษณะที่ศึกษาภายในกลุ่มตัวอย่างนั้น  เ็ป็นความคลาดเคลื่อนที่ไม่ร้ายแรงมากนัก เพราะความคลาดเคลื่อน ด้านสูง และต่ำ อาจจะหักล้างกันไปเอง (ศึกษาภาพที่ 4 ประกอบ) แนวทางป้องกันคือ  กำหนดขอบเขตประชากรให้ถูกต้องชัดเจน  กำหนดขนาดดกลุ่มตัวอย่างและแบบแผนการสุ่มให้เหมาะสมตามหลักการสุ่มตัวอย่าง


ภาพที่ 4


หมายเลขบันทึก: 462292เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2011 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท