วิจัยเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณ:งานวิจัยคนละขั้วจริงหรือ


งานวิจัยเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณ

  เรามักเข้าใจกันว่าวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณเป็นเหมือนสีขาวกับสีดำที่ตรงกันข้ามและเข้ากันไม่ได้ หรือมันอยู่คนละขั้วกัน ความเข้าใจดังกล่าวน่าจะคลาดเคลื่อนหรือไม่ ตามความเข้าใจของผู้เขียนเห็นว่าวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณไม่ได้แยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่เป็นวิธีการที่มีคุณสมบัติที่เหลื่อมซ้อนกันอยู่ ซึ่งในการศึกษาวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุIภาพมักจะมีวิธีการเชิงปริมาณแทรกอยู่เสมอ หรือการวิจัยโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณก็มักจะมีวิธีการเชิงคุณภาพแทรกอยู่เสมอเช่นกัน  การที่จะจัดว่าวิธีการใดเป็นเชิงคุณภาพมากกว่าหรือวิธีการใดเป็นเชิงปริมาIมากกว่า ไม่ได้อยู่ที่ข้อมูลที่ใช้ในวิธีการนั้นว่า "เป็นตัวเลข" หรือ "ไม่เป็นตัวเลข" และถูกเก็บมาอย่างไรเท่านั้น แต่อยู่ที่ว่า นักวิจัยใช้ข้อมูลที่ได้มานั้นอย่างไร กล่าวคือ ถ้าใช้โดยนับจำนวนเป็นสถิติเพื่อมุ่งการอนุมาน (inference) ก็มีคุณสมบัติเป็นเชิงปริมาณมากกว่า ถ้าใช้โดยมุ่งการตีความหมาย (interpretation) ก็มีคุณสมบัติเป็นเชิงคุณภาพมากกว่า (Jessor,1996 อ้างถึงใน ชาย โพธิสิตา,2552:9) จริงๆ แล้วข้อมูลที่เราได้มาเราอาจทำให้เป็นจำนวนก็ได้ และข้อมูลเชิงปริมาณก็อาจใช้ตีความแบบเดียวกับข้อมูลเชิงคุณภาพได้เช่นกัน       ดังคำกล่าวของ Weisner(1996:316 อ้างถึง ชาย โพธิสิตา,2552:9) ที่กล่าวว่า "การวิจัยทุกชนิดล้วนมีส่วนเป็นเชิงคุณภาพอยู่ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น ถึงแม้จะไม่ได้ทำแบบเชิงคุณภาพเลยก็ตาม" 

     จากสิ่งที่นำเสนอมาแสดงให้เห็นว่าการวิจัยที่ใช้วิธีการเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวจะมีประโยชน์น้อยมากกว่า แต่หากใช้ข้อมูลที่ได้มาอธิบายทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณแล้วงานวิจัยนั้นจะเกิดประโยชน์อนันต์ และไม่ควรแยกค่ายการวิจัยทั้ง 2 ส่วนออกจากกันดังที่หลายคนเข้าใจค่ะ

หมายเลขบันทึก: 462290เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2011 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท