สมมติฐาน


สมมติฐานการวิจัยเป็นสิ่งสำคัญช่วยทำให้มีทิศทางในการศึกษา

สมมติฐาน (Hypothesis)

สมมติฐานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สมมติฐานทางสถิติและสมมติฐานการวิจัย หลักการตั้งสมมติฐานทั้ง 2 แบบ คือ แบบอุปมาน (Inductive logic) และแบบอนุมาน (deductive logic)

การตั้งสมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis)
สมมติฐานการวิจัยเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก เพราะผู้วิจัยความคาดหวังผลที่เป็นคำตอบจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีหรือผลงานวิจัยมาทำนาย การเขียนสมมติฐานการวิจัยจะนำคำถามการวิจัยมาให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาอย่างมีเหตุผล การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานที่เน้นการสังเกต และการอนุมานเน้นการให้เหตุผลวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ สมมติฐานสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่งข้อหรืออาจมากกว่าได้

คุณลักษณะของสมมติฐาน

  1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
  2. ข้อความชัดเจน
  3. สามารถทดสอบได้

ความสำคัญของสมมติฐาน

  1. เป็นการชี้ให้เห็นปัญหา ทำให้มีการตรวจสอบอย่างละเอียด
  2. ช่วยกำหนดและรวบรวมสิ่งที่ต้องการเพื่อแก้ไขปัญหา
  3. บ่งบอกการออกแบบวิจัย
  4. ช่วยอธิบายปรากฏการณ์
  5. กำหนดขอบเขตของข้อยุติ
  6. ช่วยขยายขอบเขตความรู้

สมมติฐานการวิจัยเขียนใน 2 ลักษณะ

  1. แบบมีทิศทาง คาดคะเนคำตอบการวิจัยว่ามีทิศทางบวกหรือลบ หรือความแตกต่างมากขึ้น น้อยกว่า เช่น ผลการเรียนรู้วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาโดยใช้โครงงานสูงกว่าก่อนใช้โครงงาน
  2. แบบไม่มีทิศทาง เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์กับความมุ่งมั่น

สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

       สมมติฐานทางสถิติ เป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ

1.สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระ  H0 : µ1 = µ2

2.สมมติฐานเลือก เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 และมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
      2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง เช่น                   H1 = µ1 ¹ µ2

         2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น

H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2

  การทดสอบทางสถิติของสมมติฐานนี้เรียกว่าการ ทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One - tailed test)

 

หมายเลขบันทึก: 462189เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2011 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท