เยี่ยมบ้าน ดร.ยุวนุช : น้ำท่วมปีนี้รุนเเรงนัก


ผมเองไม่ได้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำ อีกทั้งยังเป็นเด็กดอยที่ใช้ชีวิตบนดอย เมื่อมาที่ลุ่มเห็นความอุดมสมบูรณ์ของปากแม่น้ำ รู้สึกถึงความมั่งคั่งของทรัพยากร

เเต่ความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่งเหล่านั้นต้องแลกมาด้วย การรับมือน้ำท่วมในทุกปี ที่เรียกว่า ฤดูกาลน้ำท่วม

เราไม่ปฏิเสธว่า ส่วนหนึ่งของการถูกน้ำท่วมคือความทุกข์ที่รุนเเรงต่อการใช้ชีวิตปกติของชุมชน เเละยังมีอีกชุมชนส่วนหนึ่งที่ปรับตัวตามวิถี ตามภูมิสังคม ตามสภาพภูมิศาสตร์

บ้านเรือนภาคกลางที่ถูกน้ำท่วมเป็นประจำในทุกปี ใต้ถุนสูง เตรียมการเก็บเกี่ยวก่อนหน้าน้ำหลาก เตรียมเสบียงอาหาร รวมถึงเตรียมเรือใช้ในการสัญจรคราน้ำหลาก...เหล่านี้คือวิถี

เเต่ภัยธรรมชาติที่เอาเเน่เอานอนไม่ได้ รวมไปถึงประเด็น "โลกร้อน" ที่ทุกคนต่างก็มีส่วนทำให้โลกใบเล็กๆของเราร้อนมากขึ้น เเละเราทั้งหมดก็ร่วมรับผลที่เกิดขึ้นนั้นอย่างดุษฏี  

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำชาก ไม่ว่าจะเป็น บางระกำโมเดล หรือ จะมีโมเดลเกิดขึ้นที่ไหนอีกหลายแห่งของรัฐบาล เป็นความพยายามในการแก้ไขปัญหา เเต่หากเรามองย้อนไปยังเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุต้องใช้เวลาที่ยาวนาน แล้วไม่รู้จะทันเยียวยาอยู่หรือไม่..


ชาวบ้านไม่ได้ต้องการเพียงเเต่เงินเยียวยา เเต่ต้องการมาตรการ นโยบายที่ชัดเจนเรื่องการจัดการน้ำจากผู้ที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งหมดเมื่อเกิดเหตุก็คงต้องช่วยกันในสถานการณ์เดือดร้อนให้ผ่านพ้นไปก่อน เเน่นอนว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาของทุกคน ต้องระดมความคิดอย่างจริงจังว่า เราจะมีมาตรการในการป้องกันเเละแก้ไขอย่างไรบ้างในอนาคต 

ปัญหาอาจยังคงอยู่ เเต่บรรเทาความรุนเเรงของอุทกภัยลงไปบ้าง ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี

จริงๆเเล้ว ข้างต้นเป็นการบ่นไปตามเรื่องตามราว ของคนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการจัดการน้ำ แต่ก็ขอส่งกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยทุกท่านด้วยครับ

วันก่อนมีโอกาสไปเยือน พี่อาจารย์ยุวนุช ถึงที่บ้าน เพื่อไปให้กำลังใจเเละถือโอกาสไปเยี่ยมบ้านในช่วงน้ำท่วม ผมเองก็อยากเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่...

อาจารย์ยุวนุช เธอยังมีความสุข เเละกำลังใจที่ดี รวมไปถึงคนไปเยี่ยมอย่างผมยังรบกวนขอให้อาจารย์ทำผัดหมี่อร่อยๆให้ทานด้วย

มาชมภาพกันครับ...ว่าน้ำท่วมขนาดไหน กำลังใจคนอยู่บ้านริมน้ำเป็นอย่างไร

เรือที่ป้าน้อยมารับผมเข้าไปบ้าน อ.นุช

แฟชั่นหน้าน้ำ

ออกเดินทาง

สภาพทั่วไป

บ้าน อ.ยุวนุช ท่ามกลางสายน้ำ

อ.ยุวนุชกับบริวาร ที่เป็นน้องหมา น่ารักๆ

แม่น้ำป่าสักริมบ้าน ที่เอ่อท่วม

องค์พระที่เป็นมาตรวัด ระดับน้ำไปด้วย

 

ชีวิตของหมายามน้ำท่วม

ป้าน้อยพายเรือ

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 460550เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

แวะมาเยี่ยมค่ะคุณเอก และฝากส่งกำลังใจให้พี่นุชด้วยน่ะค่ะ

^__^

ได้บรรยากาศเลยครับ ธรรมชาติ

ดีที่มีบ้านแบบเก่า สองชั้น

เป็นกำลังใจให้ดร.ยุวนุชด้วยนะคะ

น้ำมากมายนะคะปีนี้

ที่บ้านกำลังปริ่มๆจะท่วมค่ะ

ขอมาเยี่ยม ดร.ยุวนุชผ่านบันทึกของคุณเอกนี้ด้วยนะครับ

....มาเป็นกำลังใจ..ให้กันและกัน.(คุณนุช).เจ้าค่ะ..."คนอยุธยาสมัย..ยายธียังเป็นเด็ก..มีเรือนแพ..และเรือนใต้ถุนสูง..อยู่อาศัยกัน...มารุ่นยายธีเติบโตร่ำเรียน.มหาวิทยาลัย...ลอกเรียนชีวิตกับโฆษณา...บ้านเรือนแพถูกซื้อด้วยราคาถูกๆมาปลูกกันในกรุงเทพเป็นส่วนใหญ่..ผู้ซื้อคือคนต่างชาติและคนที่เรียกว่า..มีเงินและวาสนา..สามารถกำเมืองไว้ในมือ...สถาปัตยกรรม..ที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมหายไป...ช่างฝีมือหายไป..เรือพายหายไป...กลายเป็น..ก๋วยเตี๋ยวเรือบก..จอดอยู่แถวๆรังสิต..อิอิ..เดี๋ยวนี้เรือผุพังไป..หรือไม่ก็เป็นสิ่งประหลาดตั้งอยู่ในพิภิทภัณฑ์..เราคิดกันว่า..รถและถนนดีกว่า.."..เล่าผ่านคุณวิศิษฐ์ไว้นิดหนึ่ง..บ่นไปตามภาษาคนแก่รุ่นใหม่..ที่เคยหลงทางไปกับคำว่าวิวัฒณาการใหม่ๆเมื่อหกสิบปีก่อน....ปัญหาแก้ได้..ถ้าเรารู้จักกับคำว่า"สิ่งแวดล้อมของเรา"เรียนรู้ด้วยกัน..และเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมนั้นๆ..ด้วยตัวเราเอง..ที่จะนำมาใช้ได้คือ..ปัญญา..."ยายธีแอบคิด"ผ่านมาตรงนี้เจ้าค่ะ..สวัสดีค่ะ...คุณวิศิษฐ์...

...ขอโทษค่ะคุณจตุพร..เขียนชื่อผิดไป..เพราะความรีบร้อน..อ้ะ..ยายธี

ตามมาอ่านต่อจากบันทึกคุณนุชค่ะ..เธอมีกำลังใจและเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าแล้ว

ส่งกำลังใจให้พี่นุชด้วยค่ะ ว้าว เห็นภาพพี่น้อยพายเรือ แบบทะมัดทะแมงมากๆ ฝากความคิดถึงนะคะ ขอบคุณภาพงามๆ ค่ะคุณไข่นุ้ย :)

แวะมาให้กำลังใจครับ

ยายธี เปลี่ยนชื่อผมซะเเล้ว :)

ผมชอบความคิดเห็นของยายธีครับ

ภาพบรรยายได้ดี ส่งกำลังใจมาให้นะคะ

คนที่อยู่บ้านริมน้ำ..ต้องเตรียมตัว  เตรียมการณ์ไว้เสมอ
บ้านคนอยุธยา  หน้าแล้ง  จะดูสูงมากๆ

ท่วมกันทั่วถึง ตอนนี้นครสวรรค์น้ำกำลังขึ้นเพิ่มอีก บางคนเหลือแต่เสื้อผ้าที่ติดตัวมา น่าสงสารมากๆ

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมให้กำลังใจกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งค่ะ และขอบคุณคุณเอก คุณเก๋อีกครั้งที่ไปเยี่ยม

ที่บ้านไม่เดือดร้อนนักเพราะเราไม่ได้ทำเกษตร เตรียมตัว เตรียมใจพร้อมค่ะหลังจากอยู่ที่บ้านหลังนี้มาเกือบสิบปี พบน้ำท่วมใหญ่สองครั้งที่ท่วมชั้นล่างสูงถึงคอ จึงตั้งหลักว่าเลิกเสียดายพื้นที่ชั้นล่าง ต่อครัวและห้องทานอาหารยกขึ้นชั้นบนหมด

น้ำท่วมที่บ้านไม่น่ากลัว เพราะบ้านแข็งแรงและเรามีแนวต้นไม้ใหญ่ริมตลิ่งและที่ท่าน้ำกระจายเพื่อรับแรงปะทะของกระแสน้ำ เป็นภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่เราได้นำมาใช้รักษาตนค่ะ ช่วงที่มีน้ำล้อมบ้านสวยงามไปอีกแบบจึงชวนคุณเอก ชาวดอย และคุณเก๋ชาวกรุงมาชมน้ำท่วมภาคกลางที่มีความปลอดภัย สวยงาม ให้แง่คิดเรื่องวิถีชีวิตที่เข้าใจภูมิศาสตร์แห่งตนค่ะ

 

สงสารชาวบ้านที่ทำเกษตร และผู้คนที่อยู่ในทางน้ำที่มาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวเสียหายหนักมาก ทั้งชีวิตและทรัพย์สินนะคะ

น้ำท่วมกับบรรยากาศบ้านในรูปเข้ากันได้ดีทีเดียวนะครับ อ.เอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท