การเมืองในชุมชน: สิทธิชุมชนและวัฒนธรรม


“Traditional Knowledge is inherited. Intellectual Property is invented.”

ผู้เขียนได้เข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการประจำปี ๒๕๕๔ "การเมืองในชุมชน"  เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  โดยมีหัวข้อสำคัญที่เป็นประเด็นในการถกเถียงทางวิชาการดังนี้

 

๑. "กระบวนทัศน์การผังเมืองกับความยุติธรรมระหว่างรัฐ ชุมชน พลเมืองและปัจเจก" โดย คุณพลพฤทธิ์ พนาสถิตย์  อภิปรายโดย ผศ. ดร. พนิต ภู่จินดา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

๒. "สิทธิทางวัฒนธรรมในภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กรอบแนวิดทางกฎหมายและมานุษยวิทยา" โดย คุณภิรัชญา  วีระสุโข  อภิปรายโดย ดร. Alexandra Denis ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

 

๓.  "ความพยายามฟื้นคืนอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่เหมืองโปแตช จังหวัดอุดรธานี โดย คุณศักดิ์ณรงค์ มงคล  อภิปรายโดย รศ. ดร. โสภารัตน์ จารุสมบัติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

๔. "การเมืองภาคประชาชนบนทางแพร่งกรณีเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก" โดย คุณศรัณยุ หมั้นทรัพย์ อภิปรายโดย ผศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จบหัวข้อประเด็นสัมมนาทั้งสี่หัวข้อ เป็นรายการเสวนาวิชาการเรื่อง "การเมืองชุมชนในบริบทไทย : ประเด็นศึกษาและวิธีการ" โดย

๑. ผศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๒. ผศ. ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย ดร. วิศรุต พึ่งสุนทร

ขอนำเสนอสไลด์ที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ

 

 

 

ประเด็นสัมมนาดังกล่าวข้างต้นร้อยเรียงกันเพื่อที่จะนำเสนอให้เห็นถึงกระแสการศึกษา "ชุมชนท้องถิ่นนิยม" และการจัดการตนเองของชุมชน

ผศ. ประภาส ปิ่นตบแต่ง กล่าวถึง

 

ฐานคิดสำคัญคือ มองในมิติการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐกับชุมชนท้องถิ่น

•การศึกษาเริ่มต้นที่ท้องถิ่น VS ส่วนกลางควรกระจายอำนาจแค่ไหน อย่างไร

•การกระจายอำนาจ VS การคืนอำนาจ Reclaim)  การรับรองอำนาจของท้องถิ่น (Recognition)การให้อิสระแก่ท้องถิ่น

•มองมิติการกระจายอำนาจมากไปกว่าการเมืองและการบริหารจัดการ

  (ทรัพยากร วัฒนาธรรม การหลุดออกจากการครอบงำของรัฐชาติ ฯลฯ)

 

ส่วนประเด็นที่ผู้เขียนนำเสนอเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรมในภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กรอบแนวคิดกฎหมายและมานุษยวิทยานั้น มาจากฐานความคิดคู่ตรงข้ามที่ว่า

 “Traditional Knowledge is inherited.

                                               Intellectual Property is invented.”

                                                                      (โดย ภิรัชญา วีระสุโข)

 

โดยชี้ให้เห็นถึงการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนานนับร้อยปีมาอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็น "สิทธิบัตร" "ลิขสิทธิ์" "ความลับทางการค้า" หรือ "สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" แล้วผลจะเป็นอย่างไร เนื่องจากโดยสภาพของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการคุ้มครอง "ความรู้" ที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ แต่ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็น "ความรู้" ที่เป็น "วัฒนธรรม"   สิ่งที่คุ้มครองอาจจะไม่ใช่แค่องค์ความรู้ แต่คือจิตวิญญาณ แล้วจะใช้กฎหมายมาบัญญัติเพื่อการส่งเสริม อนุรักษ์ และหรือคุ้มครองได้อย่างไร

 

หากท่านใดสนใจประเด็นหัวข้อสัมมนาใด ๆ ดังกล่าวข้างต้น ติดต่อขอข้อมูลบทความได้ค่ะ โดยเฉพาะหัวข้อที่สอง ผู้เขียนยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

         

 

หมายเลขบันทึก: 459888เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณค่ะ ทุกแนวคิดที่ช่วยลดความเหลื่อมลำ้ของชนชั้นในสังคม ย่อมนำมาซึ่งการตอบรับจากทุกภาคส่วนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมนะคะ :)

  • ความเห็นของพี่นงนาท Ico48  อ่านแล้วประทับใจมากค่ะ เชื่อว่าผู้มีส่วนส่งเสริมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมให้เกิดกระแสชุมชนท้องถิ่นนิยมทุกท่านจะมีกำลังใจมากยิ่งขึ้น หากหลายท่านคิดแบบพี่นงนาทค่ะ

ทุกแนวคิดที่ช่วยลดความเหลื่อมลำ้ของชนชั้นในสังคม ย่อมนำมาซึ่งการตอบรับจากทุกภาคส่วนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมนะคะ

ผมชอบวิธีการเรียนแบบนี้ ...

"หากมหาวิทยาลัยเราอยู่ใกล้ ฉันคงได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วกระมัง"

แต่ ... ในความเป็นจริง แถวนี้ (เชียงใหม่) ไกลจัง ;)...

อาจารย์นพลักษณ์ ๙ เก่งมาก ๆ เลยครับ ;)...

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๑๐ Ico48 มากค่ะที่กรุณาแวะมาเป็นกำลังใจให้ทุกครั้ง
  • ขนาดหายไปเป็นช่วง ๆ นานบ้าง สั้นบาง ก็ยังกรุณาไม่ลืมเลือนกัลยาณมิตรคนนี้
  • หายไปทำการศึกษาประเด็นหัวข้อสัมมนานี้แหละค่ะ และกำลังตั้งใจทุ่มเทหัวข้อนี้อย่างจริงจัง ให้เป็นของขวัญอันมีค่าและยิ่งใหญ่ที่สุดของตนเองค่ะ เป็นการบูรณาการประเด็นกฎหมายและมานุษยวิทยา
  • ชอบมากค่ะคำนี้

"หากมหาวิทยาลัยเราอยู่ใกล้ ฉันคงได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วกระมัง"

  • แม้อยู่ไกล แต่ก็มีโลกออนไลน์เชื่อมไว้ ทำให้เข้าใจลึกซึ้งถึงคำว่า "มิตรแท้ ไม่แพ้ระยะทาง" ค่ะ
  • ถ้าอย่างไรแล้ว หากว่ามีพื้นที่น่าสนใจบนดอยช่วยกรุณาแนะนำด้วยนะคะ ตอนนี้กำลังสำรวจพื้นที่ที่เป็นแหล่งภูมิปัญญา "ความหลากหลายทางชีวภาพ" หรือจะเป็นที่อื่นที่ไม่ใช่ภาคเหนือก็ได้ค่ะ
  • ขอบพระคุณอีกครั้งจากใจค่ะ
  • เป็นการตกผลึกประสบการณ์และพัฒนาระเบียบวิธีทางมานุษยวิทยา สำหรับการศึกษาความเป็นชุมชนให้มีนัยทั้งต่อสังคมและต่อการพัฒนาทางวิชาการ ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ๆที่น่าสนใจมากเลยนะครับ
  • ขอขอบพระคุณที่นำมาแบ่งปันให้ได้เห็นความเคลื่อนไหวดีๆไปด้วยครับ
  • วัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาครั้งนี้ เป็นอย่างที่ท่านอาจารย์วิรัตน์ Ico48 กล่าวมาค่ะ คือเป็นการติดตามความเคลื่อนไหวกระแสการเมืองในชุมชน หรือชุมชนท้องถิ่นนิยมในรอบสิบปีที่ผ่านมา และเป็นการตกผลึกทางวิชาการของอาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และมานุษยวิทยาที่ทำวิจัยร่วมกัน โดยให้นักศึกษาปริญญาเอกร่วมนำเสนอหัวข้อที่กำลังทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้เห็นทิศทางร่วมและแนวคิดหลากหลายที่จะนำไปสู่การศึกษาเรื่องเดียวกันนี้ค่ะ
  • แต่ละประเด็นน่าสนใจมากค่ะ โดยทุกคนจะต้องมีพื้นที่ชุมชนเพื่อการศึกษาของตนเองและฝังตัวกับชุมชนเพื่อถ่ายทอดให้เห็นการเมืองภายในชุมชนนั้น ๆ ค่ะ
  • หากว่ามีความก้าวหน้าของผลงาน ก็จะนำมาเสนอเป็นระยะ ๆ ค่ะ
  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมชมค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Sila Phu-Chaya

  • น่าติดตามมากค่ะ แต่ละประเด็นที่เชื่อมโยงกัน
  • โดยเฉพาะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นวัฒนธรรม จิตวิญญาณ

แล้วจะใช้กฎหมายมาบัญญัติเพื่อการส่งเสริม อนุรักษ์ และหรือคุ้มครองได้อย่างไร

  • ก็ยังไม่น่าพอ  เหมือนกฎหมายจราจรน่ะค่ะ  มีแต่ใช้ไม่ได้การทั้งหมด
  • น่าจะควบคู่กับกระแสต้องแรงพอ  ที่คนในท้องถิ่นต้องเห็นคุณค่า  ลุกขึ้นมาทำอะไร ๆ ด้วยตนเอง
  • ทำอะไร ๆ  นี่ละค่ะ....ต้องช่วย ๆ กันทำ

 

 

 

ไม่ทราบว่าจะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายนะครับว่า ... ลูกศิษย์ผมทำงานอยู่บนดอยสูง แถวอมก๋อย ... น่าจะมีประเด็นที่ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ Sila Phu-Chaya ให้ความสนใจอยู่บ้าง

ติดต่อผมผ่านเมล์ก่อนนะครับ เรียกว่า คุยกันหลังไมค์ นั่นเอง ;)...

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาเรียนรู้กับบันทึกนี้ค่ะ

เป็นบันทึกที่มีคุณค่ีา และน่าจดจำค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณคุณหมอธิรัมภา Ico48 ที่ช่วยกรุณาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น กรณีกฎหมายจราจรเจตนารมณ์ก็เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม ทั้งนี้ก็เป็นการป้องกันอุบัติเหตุให้กับเราและผู้อื่น ในกรณีนี้ เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนมีหน้าที่ต่อกัน
  • ส่วนกรณีสิทธิชุมชนและวัฒนธรรม เป็นการ "คุ้มครอง" ให้ชุมชนมีสิทธิบางประการที่กฎหมายรับรองให้ โดยการจะกำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สิทธิของชุมชนกลุ่มหนึ่ง ต้องนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่รัฐบอกว่า "เพื่อประโยชน์สาธารณะ" ค่ะ
  • สุดท้ายนี้ ก็เห็นด้วยค่ะ "คนในท้องถิ่นต้องเห็นคุณค่า  ลุกขึ้นมาทำอะไร ๆ ด้วยตนเอง"  เราต้องเห็นคุณค่าของชุมชนเรากันเองก่อนค่ะ คนอื่น ๆ จึงหันมาเห็นตามและให้ความสำคัญ ช่วยเหลือ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๑๐ Ico48 มากค่ะ ทันทีที่ทราบว่าเป็นอมก๋อยก็กำลังหาข้อมูลทุติยภูมิทั่วไปเพื่อศึกษาก่อนค่ะ ว่ามีประเด็นอะไรที่จะเชื่อมโยงกับ literature review ที่เตรียมไว้ไหม ขอเวลาทำความเข้าใจเพื่อตั้งประเด็นคำถามก่อนนะคะ แล้วจะขออนุญาตรบกวนติดต่อหลังไมค์ค่ะ (เหมือนขอติดต่อดารายังไง ยังงั้นนะคะ ตื่นเต้นค่ะ)
  • ขออนุญาตให้ข้อมูลแถมอีกนิดนะคะ นอกจากจะมีความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว จะต้องมีประเด็นการเรียกร้องสิทธิวัฒนธรรมอยู่ด้วยค่ะ อันนี้แหละลำบากพอสมควร เพราะลองเลือกตัวอย่างพื้นที่มาสองสามพื้นที่ ยังต้องชั่งน้ำหนักพอสมควร บางพื้นที่ยังมีความรุนแรง ไม่เป็นที่ยุติ บางพื้นที่ ยุติไปแล้ว  (ชาวบ้านต้องยอม) แต่ก็จะอยู่กันอย่างไร หลังจากนั้น เป็นต้น
  • ฟังแล้วอาจจะยังงง ว่าเรื่องอะไรกันเนี่ย สรุปก็คือจะติดต่อไปเร็ว ๆ นี้นะคะ โปรดเตรียมตัวค่ะ  

ผมคิดว่า เรื่อง "การเรียกร้องสิทธิวัฒนธรรม" น่าจะมีคนช่วยอาจารย์ได้ ผมจะลองสอบถามให้เป็นการเบื้องต้นก่อนครับ ;)...

ขณะนี้ที่บ้านฝนตกหนัก กำลังจะขี่รถเครื่อง ฝ่าฝนไปสอนช่วงบ่ายครับ ;)...

แวะมาอ่านได้ความรู้ดีครับ.....

ขอบคุณที่ให้ความรู้ดีๆครับ.....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.....พรหมมา

  • ขออนุญาตเรียกว่า น้องต้นเฟิร์น Ico48 นะคะ  ยินดีที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • บันทึกเกี่ยวกับความน่าสงสัย น่าสนใจนะคะ เวลาเราสงสัยในระดับที่พอเหมาะ เป็นพลังทำให้เกิดการแสวงหาความรู้  หากมากเกินไป กลายเป็นความกังวลได้ จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เกิดขึ้นบ่อยน่ะค่ะ
  • แล้วแวะมาเยี่ยมอีกนะคะ
  • หลังอ่าน comment ล่าสุดของท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๑๐  Ico48 ก็ส่งแรงใจขอให้เดินทางไปกลับโดยสวัสดิภาพค่ะ ช่วงนี้ฝนตกบ่อย ถนนก็แฉะและลื่นด้วยค่ะ รักษาตัวด้วยนะคะ หวัดก็เป็นโรคฮิตหน้าฝนนี้ด้วยค่ะ
  • จะขอหารือเป็นระยะ ๆ ค่ะ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
  • ขอบพระคุณคุณลุงหนาน Ico48 ค่ะ  ทั้งที่กรุณาแวะมาเยี่ยมและสำหรับความรู้ที่ได้มากมายเมื่อเข้าไปอ่านบันทุกของคุณลุงหนานค่ะ

เพราะระบอบมอบอำนาจผ่านนายทุน        ผู้ตักตุนอำนาจวาสนา

ประชาธิปไตยให้เผด็จการพาลนำพา        ผลประโชน์ชาวประชาหาไม่เจอ

 นักวิชาการอาจไม่เห็นประเด็นชัด             เดินเลี้ยวลัดอัดความรู้อยู่เสมอ

พวกชาวบ้านไม่เข้าใจไงเล่าเออ               ผู้เสนอกฎหมายใช้ปกครองสนองใคร

ชนชั้นไหนออกกฎหมายให้ชั้นนั้น             เป็นมานานแปดสิบปีนี้ใช่ไหม

ให้เศษเนื้อโยนลงมาประชาไทย                เนื้อก้อนใหญ่ใครกี่คนปล้นโกงกิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท