กรณีเด็กหญิงนุช


เด็กไร้สัญชาติกับยุทธศาสตร์ใหม่

กรณีศึกษา เด็กหญิงนุช

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว เด็กหญิงนุชซึ่งเกิดจากบิดามารดาที่เป็นชาวพม่าหลบหนีเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย  สถานะของเด็กหญิงนุชที่จะได้รับสิทธิที่จะเป็นราษฎรชาวไทย ซึ่งจำกัดโดยกฎหมายได้แก่ มาตรา 7 ทวิ ของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535

ดังนั้นสถานะของเด็กหญิงนุช จึงตกอยู่ในสถานะ บุคคลผู้ไร้สัญชาติ เนื่องจากประเทศที่เป็นเจ้าของสัญชาติของบิดามารดาไม่ได้ให้การรับรองสัญชาติของเด็กหญิงนุชและเนี่องจากการที่เด็กหญิงนุชเป็นเด็กกำพร้าทำให้ไม่สามารถที่จะส่งกลับประเทศต้นทางได้

สถานะของเด็กหญิงนุชในประเทศไทยจึงถือว่าเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดังเช่นบิดามารดา ถือว่ามีความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81

จะเห็นได้ว่าเด็กหญิงนุชนั้นถือว่ามีจุดเกาะเกี่ยวใกล้ชิดกับประเทศไทยมากที่สุดเนื่องจากได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน เพียงแต่ไม่มีเอกสารพิสูจน์สัญชาติของตนเองว่าเป็นคนสัญชาติไทย

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมืองจึงถือว่า เป็นคนต่างด้าว นอกจากนั้นการที่เด็กหญิงนุชมีผู้อุปการะเป็นคนสัญชาติไทย แต่จากข้อเท็จจริงดังนี้ก็ไม่ทำให้เด็กหญิงนุชได้รับสัญชาติไทย  และจากการที่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย ประเทศไทยจึงมีหน้าที่ที่จะการพิสูจน์สัญชาติของเด็กหญิงนุชได้เป็นดีที่สุด และเนื่องจากหลักความเสมอภาคของบุคคลและรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2544

ดังนั้นรัฐไทยจึงต้องให้สนัยสนุนให้มีการพิสูจน์สัญชาติ หรือให้การรับรองสัญชาติไทยแก่เด็กหญิงนุช แต่การที่เด็กหญิงนุชจะได้สัญชาติตามพระราชบัญญัติสัญชาตินั้นถือเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องมาจากเด็กหญิงนุชมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนของบุคคลที่จะได้รับสัญชาติไทย

ดังนั้นทางแก้ไขที่จะทำให้เด็กหญิงนุชได้รับสัญชาติไทยอีกทางหนึ่ง คือ การพิจารณาจาก ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล มติครม.เมื่อ 18 มกราคม 2548 โดยตามยุทธศาสตร์นี้ได้แบ่งบุคคลต่างด้าวออกเป็นหลายกรณี กรณีที่ใหล้เคียงที่จะสามารถที่จะปรับเข้ากับกรณีของเด็กหญิงนุชนั้น ได้แก่ กรณีเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถานศึกษาของประเทศไทยแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย กรณีบุคคลไร้รากเหง้า หรือกรณีบุคคลที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ เมื่อพิจารณาจากกรณีแรก คือ กรณีเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถานศึกษาของประเทศไทยแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย

หากจะพิจารณาให้สัญชาติแก่เด็กหญิงนุชตามกรณีนี้นั้น คุณสมบัติที่ใช้ในการพิจารณาให้สัญชาติแก่เด็กหญิงนุชนั้นไม่ครบถ้วน เนื่องจากข้อเท็จจริงที่เด็กหญิงนุชนั้น ยังไม่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เพราะเด็กหญิงนุชยังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในนนทบุรี และถ้าจะพิจารณากรณีเด็กที่ยังไม่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้น ก็ต้องพิจารณาตามกรณีบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ควบคู่กันไปด้วยแต่เนื่องมาจากการที่บิดามารดาเด็กหญิงนุชไม่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย ดังนั้น เด็กหญิงนุชจึงไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกรณีนี้ได้ ถัดจากนั้นก็มาพิจารณากรณีบุคคลที่ไร้รากเหง้า โดยหลักที่จะให้สัญชาติไทยแก่บุคคลเหล่านี้ต้องปรากฎว่า เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนของทางราชการ ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้นเด็กหญิงนุชไม่ปรากฎว่ามีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนทางราชการที่ใดเลย แม้ว่าจะอาศัยอยู่ในประเทศไทย เกิด 10 ปีแล้วก็ตาม หรือกรณีของเด็กหญิงนุชก็ไม่เข้ากรณีบุคคลที่ขาดบุพการี ถึงแม้ว่าเด็กหญิงนุชจะได้รับการอุปการะจากมารดาของคุณมุก แต่เด็กหญิงมุกก็ไม่ได้มีสถานะเป็นบุตรบุญธรรมตามคำสั่งของศาล เนื่องจากเป็นการอุปการะธรรมดาเท่านั้น ไม่ได้มีคำสั่งของศาลแต่อย่างใด

ดังนั้น การที่เด็กหญิงนุชจะได้รับสัญชาติไทย ตามกรณีก็คงไม่สามารถเป็นไปได้ มาถึงกรณีสุดท้ายที่สามารถที่จะพิจารณาให้สัญชาติแก่เด็กหญิงนุชได้ คือกรณีบุคคลที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ จากข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าเด็กหญิงนุชได้รับรางวัลการเรียนดีเด่น ในวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทย ข้อนี้ก็อาจเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เด็กหญิงนุชได้รับการพิจารณาให้รับสัญชาติไทย

ดังนั้นจากความคิดของข้าพเจ้าแล้วเด็กหญิงนุชนั้นน่าจะได้รับการพิจารณาได้รับสัญชาติไทย ตามกรณีที่เป็นบุคคลที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ เนื่องจากเด็กหญิงนุชมีผลการเรียนที่ดีในโรงเรียน เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศในด้านการศึกษา โดยเป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควร

หมายเลขบันทึก: 45961เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท