มาตรฐานและการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าสนามบิน2


Barrier การบอกแนวเขตก่อสร้าง มิใช่ใช้เพื่อสกัดกั้นอากาศยาน

การทำสัญญลักษณ์โดยการกั้นกรวยยางและติดไฟสีแดง รวมถึงทาสีเครื่องหมายกากบาทบนพื้น มีไว้เพื่อ บอกแนวเขตก่อสร้าง มิได้มุ่งหวังการสกัดกั้น(อากาศยาน)มิให้เข้าเขตก่อสร้าง โดยการการกั้นด้วย Barrier ปูนหรือไฟเบอร์กลาสใส่น้ำ แต่อย่างใด (visual aids for denoting unservice area)

         หลายครั้งผู้ตรวจทางวิ่งพบว่า งานก่อสร้างต่างๆในทางวิ่งทางขับ ลานจอด มีการกันพื้นที่ส่วนที่ก่อสร้าง โดยใช้ Barrier กั้นแนวเขตลักษณะทำด้วย ไฟเบอร์กลาสใส่น้ำ แล้วนำมาวางขวางจุดที่ไม่ต้องการให้อากาศยานเลยถลำเข้าไปยังพื้นที่ก่อนสร้าง ซึ่งมีเครื่องมือเครื่องจักรขนาดใหญ่อาจทำอันตรายอากาศยาน อย่างหนักกรณีอากาศยานวิ่งเลยไปชนเข้ากับเครื่องจักรเหล่านั้น

         ซึ่งตามมาตรฐานแล้ว การทำเครื่องหมายบนสัญญลักษณ์ ให้จัดหาติดตั้งเพื่อใช้บอกแนวเขตก่อสร้างเพียงเท่านั้น ไม่ได้เจตนาให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำหน้าที่สกัดกั้นอากาศยานให้ช้าหรือหยุดแต่อย่างใด  เพราะถ้าต้องการสกัดกั้น อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งจะต้องติดตั้งมั่นคงแข็งแรงฝังลงไปในพื้นผิว ซึ่งความแข็งแรงนี้เอง เมื่ออากาศยานชนกระแทกเข้า ก็จะทำให้อากาศยานเสียหาย ล้อเสียหาย ไม่สามารถควบคุมทิศทางได้อีกเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายขั้นรุนแรงต่อไป นั่นคือสาเหตุที่เราป้องกันได้ โดยกำหนดให้อุปกรณ์ที่จะนำมาติดตั้งเพื่อบ่งชี้ บอกแนวเขตนั้น ต้องเป็นวัสดุที่สามารถยืดหยุ่น แข็งแต่เปราะแตกหักได้โดยง่ายเมื่อถูกชนกระแทก (ICAO กำหนดค่าแรงการกระแทกไว้ว่าเท่าไร วัตถุนี้จะต้องแตกหักพังไป ซึ่งต้องทำการทดสอบค่าแรงที่กระทำให้ผ่านค่ามาตรฐาน)

           ดังนั้นต้องทำความเข้าใจเรื่อง การรักษาความปลอดภัย กับ การบ่งชี้จุดอันตราย เสียใหม่ แบบแรก การรักษาความปลอดภัย เราต้องการสกัดกั้นให้เข้ามาได้ลำบาก ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่แข็งแรงมั่นคง ทนแรงกระแทกได้ยิ่งสูงยิ่งดี แต่แบบหลัง การบ่งชี้จุดอันตรายนั้นเราต้องการเตือน ชี้ชัด บ่งบอกแนว เขตอันตราย ต้องการความมั่นคงแต่แข็งแรงระดับหนึ่งมีจุดเปราะแตกหักได้ในระดับแรงกระแทกค่าหนึ่ง มีลักษณะแบบ ยืดหยุ่นได้เช่นกรวยยาง แตกหักได้ง่ายแบบมี จุดแตกหัก (Breakable Coupling) ลักษณะองค์ประกอบแบบมีความแข็งแต่มีมวลเบา (Low Mass) เช่น อลูมิเนียม ไททาเนียม ไฟเบอร์กลาส คาร์บอนไฟเบอร์ ไม่ใช่แบบมวลแข็ง (Rigid) แบบนี้ที่เรานำมาใช้ในภาคพื้นสนามบิน เพราะจะไม่เพิ่มความเสียหายให้หนักขึ้นเมื่ออากาศยานพลาด หรือไถลออกนอกทางวิ่งมากระทบเข้ากับวัสดุเหล่านี้

ในต่างประเทศการกั้นพื้นที่บอกแนวเขตก่อสร้างนั้น ใช้ Barrier แต่เป็นชนิดที่มีส่วนสูงไม่ควรเกิน 30 เซนติเมตร ทำจากไฟเบอร์กลาส สีแดง/ส้ม สลับขาว มีหลอดไฟสีแดงติดสว่างในเวลากลางคืน เป็นระยะห่างไม่เกิน 3 เมตร ตลอดความยาวที่กั้นไว้

การนำวัสดุพิเศษนี้มาใช้ทำอุปกรณ์ภาคพื้นก็มีอยู่มาก ดังเช่น โคมไฟสนามบินเป็นอลูมิเนียมหล่อ เสาอากาศบอกมุมร่อน Shelter สำหรับติดตั้งวิทยุเครื่องช่วยเดินอากาศ โครงเสาถุงกระบอกทิศทางลม สายอากาศบอกแนวกึ่งกลางทางวิ่ง ป้ายบอกข้อมูล/ทิศทางอากาศยาน เป็นต้น


เราได้แนะนำให้ผู้รับจ้างทำการแก้ไขทำให้เรียบและเพื่อไม่ ให้เป็น FOD ในภายหลัง โดยการใช้ไฟเป่าให้ร้อนและร ถกระแทกให้แน่นมากขึ้น เฉพาะส่วนที่ยังไม่เรียบ
สุรสิทธิ์ จิตรเอื้อตระกูล ควรลาดยางเพิ่มเพื่อไม่ให้ห ินเกล็ดหลุดลอกออกมาเป็น FOD

Km Dca Airport รูปแสดงการตัด Joint เพื่อรอเทคอนกรีตให้เสมอขอบ ของแอสฟัลติก

สุรสิทธิ์ จิตรเอื้อตระกูล น่าจะลึกกว่านี้ หน่อยจะทำให้คอนกรีตหนาพอจะ รับนำหนักได้ 

Km Dca Airport เห็นด้วยครับ เพราะความหนาจะทำให้พื้นผิวรอบดวงโคมแข็งแรงขึ้น ไม่แตกง่าย

Km Dca Airport ขอบกำแพงสูง Frange Ring ที่เป็นสาเหตุให้บาดยาง เพราะตามมาตรฐาน ANSI 146 ให้ใช้เป็น Mold เหล็กหล่อ แต่ที่เห็นในรูปเป็นเหล็กเห นียวรีดเรียบนำมาเชื่อต่อเป ็นวงแหวน ซึ่งรอยต่อคือจุดอ่อนที่ขาด ออก เป็นเหล็กเส้นบาง ยาวเท่ากันเส้นรอบวงของโคมว งนอก นั่นเอง
Km Dca Airport อุปกรณ์ประกอบโคมไฟฟ้าสนามบ ินในรูปนี้ ที่แตกต่างจากมาตรฐานที่กำห นด ใน ANNEX และใน แบบแสดงคุณลักษณะ
 
Km Dca Airport การวางแนวเขตพื้นที่ก่อสร้าง วัตถุที่นำมาทาสีติดไฟเพื่อบ่งชี้ ตัวมันจะต้องไม่เป็นสิ่งกีดขวาง ที่จะชนกระแทกและทำให้อากาศยานเสียหายมากขึ้นเอง กรณีอากาศยานพลาดไถลไปชนเข้า ซึ่งตามมาตรฐานให้ใช้ cone หรือกรวยยางวางห่าง 3 เมตร และมีไฟสีแดงติดสว่างชนิด Stedy หรือแบบติดค้างไม่กระพริบ ตลอดแนวความยาวของพื้นที่ทางเข้า
 
 
หมายเลขบันทึก: 458649เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท