หูหนู เห็ดสู้ฝน


เกษตรกรน่าจะลองเปลี่ยนมาเพาะเห็ดหูหนูในฤดูฝนชุกอย่างนี้

             ระยะนี้ฝนตกชุก (จนแฉะ) ได้ยินเสียงบ่นจากคนปลูกเห็ดหลายคน ฝนมากๆอย่างนี้อากาศมีความชื้นสูง ช่วยให้ไม่ต้องรดน้ำเห็ดก็จริง แต่กระนั้น เห็ดก็ยังเน่าเสียอยู่ ส่วนหนึ่งคงเกิดจากน้ำฝน แต่อีกส่วนหนึ่งคงเกิดจากการระบาดของเชื้อบักเตรีที่ทำให้ดอกเห็ดเน่า ก็เป็นอย่างนี้เองทุกปี แม่ค้า หรือ พ่อค้าคนกลางก็ถือโอกาสกดราคา อ้างว่าเห็ดออกเยอะมั่ง เห็ดเปียกเก็บไว้ไม่ได้นานมั่ง สารพัดจะอ้าง

             แต่ก็มีข้อดีอยู่บ้าง ก้อนเห็ดหูหนูที่ปล่อยไว้โรงเรือนตั้งแต่ปลายเมษายนแห้ง จนจะทิ้งอยู่แล้วก็กลับมาออกดอกให้ได้กิน ได้เก็บเยอะทีเดียว เห็ดหูหนูนี้เป็นทางเลือกที่ดีของเกษตรกรอีกอย่างหนึ่งทีเดียว เพราะ ชอบน้ำ และให้น้ำหนักดอกเห็ดต่อถุงมาก กว่า 4-5 ขีด นอกจากนั้นยังสามารถนำมาตากแดดเป็นหูหนูแห้ง ไม่เสียเหมือนเห็ดอื่นๆ และที่ดีกว่านั้นการเลี้ยงดอกเห็ดหูหนูในฤดูฝนยังปลอดภัยจากไร่ไข่ปลา เกษตรกรน่าจะลองเปลี่ยนมาเพาะเห็ดหูหนูในฤดูฝนชุกอย่างนี้แทนเห็ดอื่นๆบ้างก็จะดี 

                                                    

 

  การออกดอกของเห็ดหูหนูในฤดูฝน แม้ว่าโรงเรือนจะไม่มิดชิดนักก็ยังให้ผลผลิตดี

หมายเลขบันทึก: 458645เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ว้าว เห็ด เห็ด ชอบมากๆ ค่ะ ตอนเด็กๆ ชอบเรียกเจ้านี่ ว่า เห็ดหูลิง ค่ะ ยำเห็ดหูหนูอร่อยเหาะ เลย ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • ผัด-ใส่แกงผัก อร่อยมากครับ

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาชมบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาทำความรู้จัก

กับเห็นหูหนูให้มากขึ้นกว่าเดิมค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่มีคุณค่าบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ^^

ใช่ๆอย่างที่น้องปูบอก "เห็ดหูลิง"

ขอบคุณน่ะค่ะที่นำมาแบ่งปัน

ตกลงว่ามีสองชื่อหรือเปล่าครับ

ขอบคุณ คุณ ปู คุณสิงห์ป่าสัก น้องเฟิร์น คูณหนูรี อ โสภณ ที่แวะมาเยี่ยมครับ

เห็ดหูลิงของปักษ์ใต้ หูหนูของภาคกลาง และหูลั๊วะของคนเหนือ ชื่อต่างกัน แต่ อร่อยเหมือนกันนั้นเอง

โชคดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท