KM งดงามที่แม่ฮ่องสอน...ความประทับใจแรกที่ปางมะผ้า


KM ดี ๆ ...มีให้ค้นเจอ

ตลอด 4 วัน (14-17 ส.ค.49)ของการไปเยือนแม่ฮ่องสอน เราได้พบ การจัดการความรู้ที่ปรากฎออกมาให้เห็น ทั้งในแบบที่เป็นการจัดการความรู้ในตัวคน การจัดการความรู้ของกลุ่ม การจัดการความรู้ของเครือข่าย ทั้งในพื้นที่อำเภอปางมะผ้า และอำเภอปาย

                ที่ปางมะผ้า เราได้ไปดู ไปชิม ไปสัมผัสภาพแห่งความสำเร็จและไม่สำเร็จในการทำงานของกลุ่มเพื่อนเรียนรู้เพื่อการพัฒนานักวิจัยชาวบ้านในโครงการวิจัยเพื่อพัฒนากลไกการจัดการความรู้สู่ชุมชน อำเภอปางมะผ้า ที่ไปเชื่อมต่อเป็นกลุ่มก้อนกับชุมชนในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการจัดการทรัพยากร การจัดการด้านวัฒนธรรม การจัดการด้านการเกษตรและอาชีพ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และงานด้านสื่อเพื่อชุมชนการพยายามสร้างสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่ออธิบาย ทำความเข้าใจกับคนภายนอก และภายในชุมชนเอง สะท้อนให้เห็นการพัฒนาศักยภาพ คนในท้องถิ่น กับการจัดการกับฐาน ข้อมูล ความรู้ทั้งเก่า-ใหม่ เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชนได้เอง

                  ซึ่งองค์ความรู้ 5 ประเด็นหลักนั้นได้เกิดตัวอย่างรูปธรรมที่กำลังขยายผลทั้งแนวคิดและการปฏิบัติ จากตัวอย่างความสำเร็จ ของการ ทำให้ดู เรียนรู้จากความสำเร็จ ทำไปเรียนรู้ไป  ไม่ลงมือทำก็ย่ำอยู่กับที่  ตัวอย่างความสำเร็จ ก็เช่น การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบเครือข่าย 6 หมู่บ้าน และประสานต่อกับ CBT แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะช่วยจัดการและคัดเลือกนักท่องเที่ยวส่งมาให้อีกต่อหนึ่ง ,  การทำสวนผลไม้เมืองหนาวปลอดสารเคมีที่บ้านผาเจริญ ซึ่งเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ที่ผู้นำชุมชนเผ่าลาหู่แดง , การปลูกพืชเชิงเดี่ยวแต่ปลอดสารพิษของพ่อหลวงซัวหยี้ แซ่หัน ที่บ้านไร่ ของชนเผ่าม้ง  การทำเกษตรผสมผสานของพี่จอมจันทร์บ้านแม่ละนา  การสอนเกษตรทางเลือกเพิ่มเติมที่เป็นความต้องการของชุมชนที่กำลังได้รับความสนใจขณะนี้คือ การเลี้ยงหมูหลุม โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากพัฒนาการ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอำเภอปางมะผ้า  ด้านทรัพยากรก็เช่นการทำแนวกันไฟ (ดินน้ำป่า) การสำรวจพื้นที่ด้วยระบบ GPS การทำฝายแม้ว ปลูกป่า ,ด้านวัฒนธรรมก็สามารถฟื้นฟูวัฒนธรรม  ประเพณี การละเล่นที่เสื่อมสูญให้กลับคืนมาใหม่และเชื่อมโยงกับชุมชนและโรงเรียนถ่ายทอดสู่เยาวชนเข้ามาร่วมเป็นผู้สืบทอด

               ขณะที่ด้านสื่อก็ทำจดหมายข่าวความเคลื่อนไหวการทำกิจกรรมความคืบหน้าของแต่ละด้านเผยแพร่ในกลุ่มตัวแทนที่มาร่วมแลกเปลี่ยนกันเป็นประจำทุกเดือนให้ไปขยายต่อในพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ยังมีการทำ VCD  เก็บข้อมูลเรื่องราวเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว  เป็นต้น <p>พี่หน้อย "คุณอำนวย"หลัก พี่เลี้ยงผู้สร้างนักพัฒนาชนเผ่า</p>

ผลิตผลในตัวคนที่พยามเล่าให้บอกกับเราว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวเองอย่างไร และทำอะไรต่อ

</span>

คำสำคัญ (Tags): #ร่องรอย
หมายเลขบันทึก: 45670เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท