นางนาคให้การว่าเขมรไม่ใช่ขอม (ขอม สยาม เขมร..ทฤษฎีใหม่ ๗)


หลักฐานประวัติศาสตร์บิดเบือนกันได้ ตีความกันได้ แต่นิทานปรัมปรานั้นมันแน่นอนกว่าเพราะมันถูกส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่มีการบิดเบือน และไม่มีมหาอำนาจใดมาแทรกแซงให้เป็นอื่นได้

เขมรยอมรับเองว่า...เขมรไม่ใช่ขอม

 

ผมได้เสนอแนวคิดหลากหลายเกี่ยวกับขอม เขมร สยาม อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ  วันนี้ได้หลักฐานใหม่ที่สนุกน่าสนใจ  มีทั้งนิทาน และ พงศวดารเขมรมาเล่าให้ฟัง ..อย่าดูถูกนิทานนะครับ บ่อยครั้งผมว่ามันแน่นอนกว่า”หลักฐาน” ทางประวัติศาตร์เสียอีก

 

ผมได้เสนอทฤษฎีว่า เขมร ปัจจุบันนี้มีเผ่าพันธุ์มาจากชาว “จาม” ซึ่งเป็นประชากรของอาณาจักรจำปาที่เคยรุ่งเรืองอยู่ทางตอนใต้ของเวียตนาม ซึ่งเราชาวสยามมักเรียกว่า “แขกจาม”  วันนี้ผมมีนิทานมาสนับสนุน

 

นิทานกล่าวว่า ต้นกำเนิดของชาวเขมรมาจากการเสพสมกันระหว่างเทพเจ้ากับลูกสาวของพญานาค  ชื่อ โสมา (หรือนางนาค ภาษาเขมรเรียก เนียงเนียก)  นิทานนี้เป็นที่รู้กันดีสำหรับชาวเขมรทั่วไป แต่ในส่วนของชาวจามเราไม่ค่อยรู้กัน  แต่ผมอ่านเจอในหนังสือ “วัฒนธรรมขอม” ของ ...(จำชื่อผู้แต่งไม่ได้ อ่านเมื่อวานนี้เอง เฮ้อ...ความจำ)  หนังสือนี้ระบุว่าชาวจามก็มีนิยายเรื่องนี้เป็นต้นกำเนิดของตนเช่นเดียวกัน ...อะไรมันจะบังเอิญขนาดนั้น? 

 

ผมว่าหลักฐานประวัติศาสตร์บิดเบือนกันได้ ตีความกันได้ แต่นิทานปรัมปรานั้นมันแน่นอนกว่าเพราะมันถูกส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่มีการบิดเบือน และไม่มีมหาอำนาจใดมาแทรกแซงให้เป็นอื่นได้

 

นิทานที่เหมือนกันยังกับรูปแกะนางอัปสรที่กำแพงนครวัดและปราสาทพิมาย จึงพิสูจน์ว่าเขมรไม่ใช่ขอม แต่คือ จาม ต่างหาก ส่วนกษัตริย์ขอมผู้สร้างนครวัดนั้นมีหลักฐานระบุว่าไปจากพิมาย และ ลพบุรี ซึ่งเป็นพวกเดียวกับชาว เสียม

 

ยังมีหลักฐานสำคัญมากอีกชิ้นที่มาสอดรับนิทานนี้พอดีคือ  พงศาวดารเขมรที่เขียนโดยกษัตริย์เขมรเอง ซึ่งแต่งในสมัยรัชกาลที่ 1  ซึ่งตอนนั้นเขมรยังไร้เดียงสา ยังไม่รู้จักบิดเบือนประวัติศาสตร์โดยการยุยงของฝรั่งเศสเหมือนเช่นวันนี้

 

พงศาวดารเขมรระบุว่า ต้นธารชาวเขมรมีมาแต่พระเจ้าแตงหวาน (หรือโตรสกเปรียม = trosoak pream) ซึ่งมีราชบุตรสืบบังลังภ์ต่อ นามว่า นิพพานบท (Nippean bat) ซึ่งสองชื่อนี้ตรงกับข้อมูลใน Wikipedia ที่ผมได้วิเคราะห์แล้วเอามาอ้างบ่อยๆ ว่า โตรสกเปรียม นี้เป็นรอยต่อสำคัญมากของการครองราชย์ที่นครวัดเมื่อปีคศ. 1336 (14 ปีก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยา โดยพระเจ้าอู่ทอง ที่มาจากนครวัด?)

 

..เพราะกษัตริย์ก่อนหน้านี้ 500 ปีผ่านมามีพระนามลงท้ายด้วย “วรมัน” ทั้งสิ้น ประเพณีนี้มาสิ้นสุดลงที่ โตรสกเปรียม หรือ พระเจ้าแตงหวานนี่เอง ทั้งนี้ผมเชื่อว่าเป็นเพราะมันเป็นการเปลี่ยนเชื้อชาติจากเดิมที่เป็นขอมปกครอง มาเป็นเขมรปกครองนั่นเอง  

 

อนึ่งคำว่า “วรมัน” ที่ต่อท้ายชื่อกษัตริย์นี้มีใช้มาก่อนยุคนครวัดแล้วในดินแดนสยาม เช่น ที่เมืองอู่ทอง  ลพบุรี  และ พิมาย

 

พงศาวดารเขมรยอมรับเองว่า ไม่ใช่ลูกหลานของ สุริยวรมันและ ชัยวรมัน สองวงศ์กษัตริย์ขอมผู้สร้างนครวัด แต่เป็นลูกหลานของ โตรสกเปรียม (ซึ่งน่าจะเป็นชาวจาม) เขมรจะอ้างว่าไม่รู้ก็ไม่ได้ เพราะอาณาจักรขอมนั้นยิ่งใหญ่นัก มีจารึกประวัติศาสตร์เป็นอย่างดี ถ้าเป็นลูกหลานกันจริงก็ต้องสืบต่อข้อมูลกันมาจน “จำได้” สิ

 

ตรงกันข้าม ทั้งสุริยวรมัน และ ชัยวรมัน นั้นมีหลักฐานว่ามาจาก ลพบุรี และ พิมาย ตามลำดับ เป็นหลักฐานที่จารึกในแผ่นหิน

 

พงศาวดารที่เขียนโดยกษัตริย์เขมรเองนี้จึงคือการยอมรับของเขมรเองว่า  “เขมรไม่ใช่ขอม” แต่คือจาม  ...ซึ่งหลักฐาน ทางนิยาย พงศาวดาร และ ความจริง สอดคล้องกันหมด อย่างเหลือเชื่อ!!!

 

...ทวิช จิตรสมบูรณ์  (๒ กันยายน ๒๕๕๓)

หมายเลขบันทึก: 456510เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 01:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"...นิทานกล่าวว่า ต้นกำเนิดของชาวเขมรมาจากการเสพสมกันระหว่างเทพเจ้ากับลูกสาวของพญานาค ชื่อ โสมา (หรือนางนาค ภาษาเขมรเรียก เนียงเนียก) นิทานนี้เป็นที่รู้กันดีสำหรับชาวเขมรทั่วไป แต่ในส่วนของชาวจามเราไม่ค่อยรู้กัน แต่ผมอ่านเจอในหนังสือ “วัฒนธรรมขอม” ของ ...(จำชื่อผู้แต่งไม่ได้ อ่านเมื่อวานนี้เอง เฮ้อ...ความจำ) หนังสือนี้ระบุว่าชาวจามก็มีนิยายเรื่องนี้เป็นต้นกำเนิดของตนเช่นเดียวกัน ...อะไรมันจะบังเอิญขนาดนั้น? ..."

Folklores are hardly 'reliable' evidence that lawyers and judges would present to 'layperson jury'.

Around the world, folktales about 'man' and 'snake' are abundant.

In a Buddhist tradition, a man dresses up as a white 'naga' (snake/serpent?) before he becomes a man then a monk.

In a western tradition, a bribe wears a white dress with long tail (looking from afar like a white snake?) to become a woman then a wife (--the long tail is taken off after the vow--).

The snake-marrying-man folktale is alive and well today in many parts of the world.

So, this folktale is hardly 'good' or convincing piece of history.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท