ศาสตร์การบริหารงาน 25 ข้อ นำ อบจ.นครราชสีมาพัฒนาก้าวไกล


ศาสตร์การบริหารงาน 25 ข้อ ที่ได้ทำมาต่อเนื่องยาวนานในการก้าวสู่เส้นทางการเมืองท้องถิ่น

         วันนี้ได้ศึกษาดูงานการบริหารโรงเรียนที่ถ่ายโอนให้ท้องถิ่น ณ ดินแดนโคราชเมืองใหญ่ ไปที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา นับว่า อบจ.ทำให้โรงเรียนเป็นระดับแนวหน้า จัดหลักสูตรสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา และเทคโนโลยี  อันมีวิสัยทัศน์ สำนึกรักบ้านเกิด เป็นเลิศวิชาการ สร้างสรรค์คุณธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี ด้วย อบจ.มีความพร้อมในการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้นายก อบจ. ยังมีศาสตร์การบริหารงาน 25 ข้อ ที่ได้ทำมาต่อเนื่องยาวนานในการก้าวสู่เส้นทางการเมืองท้องถิ่น จึงได้นำศาสตร์ของ นายก อบจ.นครราชสีมา นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก มาให้ผู้สนใจได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดังนี้

1 เข้าใจธรรมชาติคน

1.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล

1.1.1 ความคิดเห็นแตกต่างกันได้ (individual difference)

1.1.2 ความต้องการของมนุษย์ 5 ขั้นของ Maslow

1.2 คนมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี

1.2.1 พุทธทาส

1.3 ทุกคนสำคัญต่องาน ไม่ยึดต่อวิชาชีพไม่ยึดปริญญายึดปวงประชาเป็นสำคัญ

1.4 บริหารต้องได้ทั้งคนทั้งงาน

1.4.1 เป็นผู้บริหารแบบ (9,9) Managerial Grid ของ Blake และ Mouton

1.5 อย่าเข้าใกล้นายเกิน อย่าห่างนายเกิน

1.5.1 เข้าใจธรรมชาติของนาย

1.5.2 ไม่เข้าใกล้ประจบประแจงเกินไป

1.5.3 ไม่ห่างเหินจนนายไม่รับรู้อะไร

2 ผู้นำ

2.1 ผู้นำ 5 ใจ

2.1.1 ใจถึง (conceptual , human , technical )

2.1.2 ใจกล้า (Make Decision)

2.1.3 ใจกว้าง( Sport)

2.1.4 ใจจริง( Ideal)

2.1.5 ใจร่าเริง Work While You Work Play While You Play.

2.2 มีสายตากว้างไกลตามระดับผู้นำ

2.3 คิดสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา

2.4 ยึดสายกลาง

2.4.1 ทางสายกลางคือทางแห่งการลดความขัดแย้งโต้เถียงและได้ข้อสรุปที่ถูกต้องตรงตามผู้บริหารต้องการ

2.4.2 ยึดหลักนิติศาสตร์ผสมรัฐศาสตร์

2.5 รุกเข้าไปเห็นปัญหาด้วยตนเอง

2.5.1 อย่าเชื่อแต่เพียงรายงาน

3 ผู้มีวิชาการ

3.1 ต้องคิดครบวงจร

3.1.1 คิดตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนงาน

3.1.2 เป็นการคิดรอบด้าน360 องศา

3.2 ทำงานต้องมีข้อมูล

3.3 ต้องอ่านหนังสือเป็นประจำ

3.3.1 รับรู้ข้อมูลข่าวสารทุกด้าน

3.3.2 อ่านหนังสือทุกสาขา

3.4 ต้องบริหารดวลาให้เป็น

3.4.1 เวลาคือทรัพยากรที่ทุกคนมีเท่ากัน

3.4.2 การพักผ่อนคือการเปลี่ยนงานไม่ใช่หยุดงาน

3.4.3 ตรงต่อเวลา-มีวินัย

3.5 ยิงนกทีเดียวได้หลายตัว

3.5.1 ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

3.5.2 คิดให้ครบทุกงานก่อนลงพื้นที่แล้วทำไปพร้อมๆกัน

4 ผู้มีบารมี

4.1 ต้องสร้างศรัทธามากกว่าใช้อำนาจบังคับ

4.1.1 ศรัทธา เท่ากับ. ความรัก นับถือ

4.1.2 ศรัทธา มิใช่อำนาจ แต่เป็นการปฏิบัตินอกระบบ

4.2 ต้องเอาใจเขาใส่ใจเรา (จงรักษาคนอื่นเหมือนรักษาตนเอง)

4.3 ต้องเปิดหน้าต่างดวงใจ

4.3.1 Johari Window

4.4 ต้องทำงานแบบองค์รวม อย่าแยกเป็นส่วนๆ

4.5 มอบงานต้องมอบอำนาจและทรัพยากรไปด้วย

5 มีปรัชญาและอุดมการณ์

5.1 ยึดประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจที่สอง(สมเด็จพระราชบิดา)

5.2 ชาวบ้านถือเป็นเป้าหมาย

5.3 กัดไม่ปล่อยจะทำอะไรต้องมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ

5.3.1 จิตมุ่งมั่นสำเร็จ Crusading Spirit

5.3.2 เจอปัญหาอุปสรรคต้องคิดหากลวิธีใหม่จนกระทั่งสำเร็จ

5.4 อุปสรรคคือชีวิต ถ้าเราเจออุปสรรคจงยิ้มสู่กับมัน

5.5 ความสุขคือความพอใจที่เรามี

 

หมายเลขบันทึก: 455740เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ถ้านายก อบจ. มีวิสัยทัศน์อย่างนี้ ก็คงสนับสนุนการศึกษาให้ก้าวหน้า
         ในส่วนของโรงเรียนที่ถ่ายโอนให้ท้องถิ่นนั้น เห็นว่ามีทั้งที่เป็นแบบ "หนีเสือปะจระเข้" และมีทั้งที่ดี
         องค์กรท้องถิ่นไหนที่มีรายได้มาก เมื่อเขาถมไปที่โครงสร้างพื้นฐานเต็มแล้ว เขาก็จะสนับสนุนการศึกษากันมาก แต่ถ้าท้องถิ่นไหนยังถมโครงสร้างพื้นฐาน ( พวกถนนหนทาง ) ไม่เต็ม ก็สนับสนุนการศึกษาไม่มาก

ถ้าคน กศน.เราทำได้อย่างนี้บ้าง น่าจะพัฒนางานได้อย่างดีเยี่ยมจริง ๆ น่าเอาอย่าง

ผม นายภัทรสุรัตน์ ชมวิชา ครู ศรช.ตำบลลาดบัวหลวง ได้ปฏิบัติงานในพื้นที่กศน.ตำบล ลาดบัวหลวง แทนครูอาสาฯ เรียบร้อยแล้วครับ และได้สร้างบล็อกเรียบร้อยแล้ว ขอความกรุณาท่านผอ.นำ www.gotoknow.org/blog/ladbualuang035 เข้าแพล็นเน็ตด้วยครับ ขอบคุณครับ

วันนี้ กศน.ตำบลมารวิชัย อำเภอเสนา ร่วมกับ รพสต.มารวิชัย ตำบลมารวิชัย เปิดฝึกทักษะกลุ่มอาชีพการสานตระกร้าด้วยเชือกปอกระเจา เป็นวันที่ ๗ แล้ว มีความคืบหน้าของงานดำเนินไปตามการปฏิบัติของการเรียนรู้ในแต่ละวัน ส่วนเรื่องการฝึกอาชีพนั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ดังภาพที่นำมาแสดงในแต่ละวัน

ขอขอบพระคุณท่าน ผอ.กศน.อย.ได้นำศาสตร์การบริหารงาน 25 ข้อ ดี..ดี..ดีมากคะ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราชาว กศน.นำมาปรับใช้กับงาน กศน. สักครึ่งหนึ่ง 12 - 13 ข้อ การเข้าใจคน ถ้าได้ใจจะได้งานตามมาเกินร้อย งาน กศน.ก็จะมีศักยภาพ ประสบความสำเร็จ ตามตัวบ่งชี้ ของมาตรฐานการศึกษา กศน.

ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลชายนา

ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลชายนาเป็นศูนย์การเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเสนา ซึ่งได้มาขอใช้อาคารที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านที่อยู่ในวัดแก้วสุวรรณท่านพระครูพิศฺษฐ์ประชาทร เจ้าอาวาสวัดแก้วสุวรรณ ได้อนุญาตให้ใช้อาคารที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา อาคารที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านเดิมเป็นอาคารเก่าๆ มีแต่พื้น และหลังคาเวลาฝนตกไม่สามารถเรียนได้เนื่องจากหลังคารั่ว ในปี พ.ศ. 2548 ครูประจำศูนย์การเรียนนางสายรุ้ง กรวยทอง ได้พัฒนาศูนย์การเรียนโดยวิธีจัดทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อปรับปรุงตัวอาคารเรียน ครั้งที่ 1 และได้ดำเนินการดังนี้

- จัดทำโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งเรียนจำนวน 6 ตัว

- จัดทำเหล็กดัดรอบตัวอาคารเพื่อป้องกันวัสดุและครุภัณฑ์สูญหาย

- จัดหาทีวี และวีซีดี เป็นสื่อการเรียนการสอน

- จัดทำบอร์ดให้ความรู้เรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐาน

- จัดหาตู้ใส่วัสดุ และครุภัณฑ์

- จัดหาพัดลมโคจร และพัดลมแบบขาตั้ง

- ติดไฟฟ้าในตัวอาคาร

- ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จาก อบต.ชายนา จำนวน 101,700 บาท

- จัดซื้อโต๊ะ 4 ตัว เก้าอี้ 30 ตัว

- จัดซื้อคอมพิวเตอร์โน๊คบรุ้ค

- จัดซื้อโปรเจคเตอร์พร้อมจอ

- จัดซื้อเครื่องเสียงแบบกระเป๋าหิ้ว

- จัดซื้อเครื่องพิมพ์งาน

- จัดปูกระเบื้องพื้นอาคาร

ต่อมาในเดือนตุลาคม 2552 ได้ดำเนินการปรับปรุงศูนย์การเรียนเป็นครั้งที่ 2 โดยขยายศูนย์การเรียนให้มีความยาวเพิ่มอีก 1 ห้อง ตีฝ้าเพดาน ติดบานเกร็ด ทำประตูทางเข้า ทำห้องน้ำ 2 ห้อง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 276,300 บาท ซึ่งได้จากการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาครั้งที่ 2

ความภาคภูมิใจของ กศน.ตำบลชายนา

1. ได้รับหนังสือพิมพ์ประจำ ศูนย์การเรียนชุมชนดีเด่น ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2. ได้รับคัดเลือกเป็น ศูนย์การเรียนดีเด่นระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3. ได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์การเรียนดีเด่น เพื่อประกวดระดับภาค

4. ได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์การเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

5. เป็นศูนย์ตำบลแห่งแรกที่จัดการศึกษาต่อในระดับ ปวส. จนถึงปริญญาตรี

6. เปิดสอนวิชาชีพ การทำผลิตภัณฑ์จากกระดาษ,การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ,การนวดแผนไทย ทำให้ประชาชน

ในตำบลชายนาได้รวมกลุ่มในการประกอบอาชีพเป็นการเพิ่มรายได้

ปัจจุบัน มีนายสมชาย ปุ่นอุดม ปฏิบัติหน้าที่ ครู กศน.ตำบลชายนา(วัดแก้วสุวรรณ) อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

ความแตกต่างของบุคคล มีตัวแปรหลายอย่าง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เรายอมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเราเองหรือไม่ บางคนยึดถืออำนาจเป็นหลักลืมนึกถึงใจเขา บางคนยึดติดและมีอคติเดิม คนเราต้องมองโลกให้กว้าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และความแตกต่างของคนเรา คนเราจะมีบารมีได้ต้องมีปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะการรู้จักธรรมชาติของคน และอย่าหลงตัวเอง

ศูนย์ กศน.อำเภอบ้านแพรก

วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2554 ศูนย์ กศน.อำเภอบ้านแพรก ได้จัประชุมประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2554 (ครั้งที่ 2)

ภาพการประชุมและเนื้อหาหัวข้อการประชุม http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,2177.0.html

ชมภาพกิจกรรมปีงบประมาณ 2554 ย้อนหลังได้ที่ http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/board,27.0.html

อ่านสาระที่มีประโยชน์และความรู้ต่างๆได้ที่ http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php

  • เป็นหลักการที่น่านำไปปฏิบัติทุกข้อเลยค่ะผอ.มีข้อคิดที่ดีมากๆ เลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท