โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ( ๑ ) ... กลับมาเรียนรู้ คืนสู่ "รากเหง้า" ความเป็นล้านนา


ด้วยการมีส่วนร่วมของทีมงาน "โรงเรียนแห่งความสุข" ที่มีต่อคณะผลิตครู เรายังดำเนินการพัฒนาต่อไปข้างหน้าโดยเป็นจิตอาสาล้วน ๆ ที่ไม่พึงมีผลประโยชน์ใดเข้ามายุ่งเกี่ยว

ไม่มีเหตุผลใดที่จะมาหยุดเพื่อทำความดีของเรา ดังคำที่ว่า "อย่าเอาความชั่วของคนอื่น มาหยุดการทำความดีของเรา" ถึงด้วยความอะไรหลาย ๆ อย่างของคนที่คิดแต่ตัวเองเป็นหลักจะทำให้เราชะลอไปหลายครั้ง ผมคิดว่า เราคงทำไปเรื่อย ๆ จนไม่มีใครอยากให้เราทำ 

 

โครงการนี้เป็นโครงการที่อาศัยความร่วมมือร่วมกับทาง "โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา" แห่งเชียงใหม่ กับทางคณะผลิตครู เพื่อจัดหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรายวิชาสู่การลงปฏิบัติจริง อันที่เราจะมองเห็นภาพไปข้างหน้าว่า นี่คืออัตลักษณ์ที่แท้จริงของคณะผลิตครูของเรา

เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ที่อิทธิพลจากเมืองหลวงและวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามาโจมตีจนเยาวชนของเราไขว้เขว้ไป การคิดถึง "รากเหง้า" ทางวัฒนธรรมของตนเองย่อมน้อยลง และรอวันเสื่อมสลายไปทุก ๆ วัน

เราต้องการให้ "รากเหง้า" มันกลับมาอยู่ในหัวใจของเยาวชนที่จะเป็นครูเหล่านี้

คำว่า "รากเหง้า" หมายถึง กำพืด, ต้นตระกูลของตนเองที่สืบทอดมาหลายชั่วคน

 

ในภาคเรียนนี้ ๑/๒๕๕๔ ผมและทีมงานได้รับการร้องขอจากคณบดีและรองคณบดีฝ่ายวิชาการว่า ในทุกวันพุธ - พฤหัสบดี ระหว่างเวลา ๑๕.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ขอให้ช่วยมาเก็บข้อมูล ดูแลนักศึกษาที่มาลงเรียนที่โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ซึ่งมีโครงการวิจัยของคณะผลิตครูครอบมาด้วย

ตัวผมเองนอกจากต้องดูแลนักศึกษาแล้ว ยังต้องคอยบันทึกภาพในทุก ๆ ครั้งที่มาลงที่โฮงเฮียนฯ เสมอ

สัปดาห์ที่ผ่านมา เด็ก ๆ เริ่มลงปฎิบัติตามศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ จากครูภูมิปัญญาตัวจริงเสียงจริง ซึ่งได้แก่ การเขียนตัวอักษรล้านนา (ตั๋วเมือง), การวาดรูปล้านนา, จักสาน และ ศิลปะการตัดกระดาษ (ตุง)

 

ผมบันทึกภาพทุกศูนย์การเรียนรู้ แต่บันทึกนี้ขอเน้นที่ "ศิลปะการตัดกระดาษ" เพราะภาพถ่ายมีแสงสวย แถมด้วยบรรยากาศรอบ ๆ ของโฮงเฮียนฯ ด้วย

 

 

ภาพที่ ๑ ... เฮือนโบราณ สถานที่ที่เด็กมาเรียน "ศิลปะการตัดกระดาษ"

 

 

 

ภาพที่ ๒ ... ป้ายประจำศูนย์การเรียนรู้

 

 

 

 

ภาพที่ ๓ ... บรรยากาศการร่ำเรียนภายในของนักศึกษากลุ่มแรก

 

 

 

ภาพที่ ๔ ... ลวดลายของกระดาษที่ครูร่างไว้ให้ สำหรับเด็ก ๆ ที่ต้องตัดตามร่างนี้

 

 

 

ภาพที่ ๕ ... ครูใจดี ค่อย ๆ สอนเด็ก ๆ อย่างใจเย็น

 

 

 

ภาพที่ ๖ ... ด้วยความตั้งใจและความงามของเด็กนักศึกษา

 

 

 

ภาพที่ ๗ ... ระหว่างพิธีไหว้ครู เจ้าบุญจู (บุญชู) หมาประจำถิ่นก็มานอนหมอบเล่นในวิหารข้าง ๆ รูปปั้นหลวงปู่

 

 

 

ภาพที่ ๘ ... เจ้าบุญทิ้ง และนักศึกษากำลังรอเข้าสู่พิธีไหว้ครู

 

 

 

ภาพที่ ๙ ... แมวเจ้าถิ่น ใครมีปัญหาอะไรม่ะ จาหลับอ่ะ ;)...

 

 

 

ภาพที่ ๑๐ ... บรรยากาศการเรียนรู้ของกลุ่มที่สอง

 

 

 

ภาพที่ ๑๑ ... ครูบอกว่า คู่มือการตัดตุงพวกนี้ขายข้างนอกโฮงเฮียนฯ เล่มละ ๑๕๐ บาท แต่สำหรับนักศึกษาแล้วครูให้ฟรี ขอให้เก็บไว้ให้ดี ๆ

 

 

 

ภาพที่ ๑๒ ... ครูค่อย ๆ ตัดเป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ ได้ดู

 

 

 

ภาพที่ ๑๓ ... ดูความสนใจและตั้งใจของเด็กที่มาเลือกเรียนศูนย์ฯ นี้

 

 

 

ภาพที่ ๑๔ ... มีสะพานไม้ไผ่สานลาดยาวมาถึงหน้าเฮือนโบราณ

 

 

 

ภาพที่ ๑๕ ... ท้องฟ้าและเมฆยามเย็นย่ำเช่นนี้ ก็ยังสวยงามเช่นเคย

 

 

 

ภาพที่ ๑๖ ... พยายามซูมสุดแล้วสำหรับต้นไม้เล็ก ๆ เขียว ๆ ที่อยู่บนหลังคาไม้เก่า ๆ เห็นแต่ลวดลายที่มีสายสนยาว ๆ หล่นปกคลุมอยู่

 

 

 

ภาพที่ ๑๗ ... โชคดีจัง วันที่สองนี้ในระหว่างนั่งอยู่ในเฮือนโบราณ มีแสงสุดท้ายจากภายนอกมากระทบโคมล้านนายักษ์ที่อยู่ภายในเฮือนโบราณ ผมชอบแสงที่มากระทบมาก

 

 

 

ภาพที่ ๑๘ ... เห็นช่องหลังคาที่มากระทบนะครับ ทางขวามือของภาพ

 

 

บันทึกนี้นำภาพมานำเสนอ ๑๘ ภาพก่อนแล้วกันนะ

การถ่ายภาพขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ และสภาพความเป็นจริงด้วย

ฤดูฝน แสงที่ต้องการคงไม่ได้ดั่งใจแน่นอน แล้วแต่อารมณ์ของธรรมชาติ

เราอยู่ภายใต้ของธรรมชาติ ย่อมต้องปรับตัวตามธรรมชาติ หาใช่ฝืนได้ไม่

 

พอมองเห็นความสำคัญของโครงการนี้เลา ๆ ไหมครับ

การปลูกฝังและกล่อมเกลาว่าที่คุณครูเหล่านี้ ให้ได้มีโอกาสกลับไปทบทวนและทำความรู้จัก "รากเหง้า" ของตนเองให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

มันเป็นหน้าที่ของคณะผลิตครูโดยตรงครับ ละทิ้งไม่ได้

ผมไม่ใช่คนแถวนี้ ผมยังรู้สึกได้ถึงการสืบทอดวัฒนธรรมเหล่านี้เลย

แล้วคนอยู่ถิ่นฐานแถวนี้ล่ะ ควรต้องทำอย่างไรหนอ

 

คำว่า "รากเหง้า" หากมองอีกนัย คือ ความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษที่ท่านได้สร้างสมมา คนที่ไม่รู้จักความกตัญญูและเนรคุณต่อรากเหง้าของตัวเอง คงหาความเจริญได้ยากอย่างแน่นอน

 

บุญรักษา คนกตัญญูทุกท่านครับ ;)

 

หมายเลขบันทึก: 455537เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับครู "กลับคืนสู่รากเหง้า" คือกลับคืนสู่กำพืดตัวเอง

เจ้าบุญทิ้ง และนักศึกษากำลังรอเข้าสู่พิธีไหว้ครู

เจ้าบุญทิ้ง ไหว้ครูเป็นด้วย

ล้อเล่นนะคะ อิอิ

ขอบคุณมากครับ ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า ;)...

ถูกต้องเลยครับ

แน่นอนครับ คุณหมอบางเวลา CMUpal ;)...

เห็นไปอยู่กับเค้าทุกงานเลย เจ้าบุญทิ้งนี่แหละ ;)...

มีหลายอย่างสะดุดตาครับ

หมาแมว

ทางไม้ขัดแตะ

พื้น (กระดาน) กลางแจ้ง

เป็นต้น

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมชั้นเลิศของทางภาคเหนือครับ ท่านอาจารย์ โสภณ เปียสนิท ;)...

บรรยากาศในบันทึกนี้ยังไม่ครบส่วนต่าง ๆ ของโฮงเฮียนฯ นะครับ ;)...

ขอบคุณครับ ;)...

  • อยากเรียนตัดกระดาษบ้างครับ
  • มาเชียร์อาจารย์
  • ได้อนุรักษ์เรื่องล้านนาด้วย
  • ตอนนี้กำลังสอนพับกระดาษ
  • 555

พาน้องๆสร้างสรรค์ศิลป์จินตนาการเพื่อสังคม มาร่วมชื่นชมด้วยค่ะ :)

ขอบคุณสำหรับหนุ่มเชียร์บล็อกอย่างท่านอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

หากมีโอกาสจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อ ๆ ไป นะครับ

ขอบคุณมากครับ พี่ นงนาท สนธิสุวรรณ ;)...

ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ ครับ

  • มาร่วมเป็นกำลังใจนะครับอาจารย์ เหมือนกับเป็นการพาคนรุ่นใหม่ให้ชุมชนได้มีโอกาสพูดคุย ถ่ายทอดชีวิตจิตใจ และสร้างลูกหลานของเขาเองด้วยบ้าง เลยนะครับ 
  • วิธีจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบนี้ เป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย เปลืองตัว เป็นภาระ หากดีก็เสมอตัว หากผิดพลาดนิดๆหน่อยๆก็เข้าตัวและรับเละคนเดียว กินเวลา
  • แต่เมื่อคำนึงถึงการได้สร้างคนให้กับสังคมแล้ว ก็ต้องกำหนดใจไปอีกแบบหนึงอย่างที่อาจารย์อารัมภบทในตอนต้นเลยนะครับ
  • งานอย่างนี้ จึงต้องทำด้วยความเป็นครูที่ถ่ายทอดออกมาจากจิตวิญญาณความเป็นพ่อแม่ ยินดีอย่างสิ้นเชิงที่จะให้ความงอกงามไปปรากฏที่ผู้อื่น แล้วตนเองก็เป็นสุขที่เห็นผู้อื่นได้สิ่งที่ดีเพื่อออกไปทำหน้าที่ดีๆแก่สังคม แม้นไม่ต้องต่อตัวเราหรือองค์กรของเรา
  • ถึงตอนนั้น จึงจะเป็นการได้สิ่งดีแก่ตนเองของเราด้วย คือได้สังคมที่ดี ซึ่งต้องรอคอยและใช้จินตนาการเชิงบวกของตนเองเข้าช่วยมากอย่างยิ่ง งานอย่างนี้เป็นภารกิจชีวิต และเป็นวิถีปฏิบัติธรรมในชีวิตการงานครับอาจารย์ (ว่าเสียขึงขังเชียว)
  • ขอชื่นชมนะครับ
  • เมื่อมีประสบการณ์ตรงชุดหนึ่งแก่ตนเองอย่างนี้แล้ว หากได้มีกระบวนการถอดบทเรียน นำประสบการณ์มาย่อย ให้ทรรศนะวิพากษ์ เสริมความรูู้ ให้หลักคิด เสริมเข้าไปต่อยอดกับประสบการณ์และแง่มุมที่เป็นความประทับใจที่ทุกคนทำให้แก่ตนเองแล้วละก็ ในส่วนของเราก็จะได้บทเรียนที่บอกเล่าและถ่ายทอดออกมาจากจุดยืนของผู้สร้างความเป็นจริงทางการปฏิบัติ และในส่วนของนักศึกษา ก็จะได้ความลึกซึ้งทั้งทางด้านวิชาการและความแยบคายของชีวิตการศึกษา มากเลยละครับ
  • หากมีโอกาสจะอาสาไปถอดบทเรียนให้คุณครูอาสาและกลุ่มศึกษาเรียนรู้ด้วยจิตวิญญาณความเป็นผู้อาสาบุกเบิกและริเริ่มสิ่งดีๆต่างๆอย่างเอาจริงเอาจังอย่างนี้นะครับอาจารย์

เรียน ท่านพี่อาจารย์ วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ;)...

ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจที่ได้ส่งมอบให้ถึงพี่ครับ

ทำดี (จริง ๆ) จึงไม่สนใจใคร นอกจากความดีที่มีต่อตัวของลูกศิษย์และสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

ทาง อ.ชัชวาล ผู้ประสานงานหลักของโฮงเฮียนสืบสานฯ เองก็ปลื้มใจอยู่ไม่น้อย และยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มที่ครับ

อีกทั้งทีมเล็ก ๆ ของผมยังคงมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะสร้างจิตสำนึกดี ๆ ให้กับว่าที่คุณครูทั้งหลายเหล่านี้

เสียงนกเสียงกามักจะดังมาเสมอ แต่นั่นก็ไร้น้ำหนักอย่างยิ่งที่จะหันไปโต้ตอบหรือสนใจใด ๆ เพราะความตั้งใจของเรารู้อยู่แล้ว่า เราทำเพื่อใคร

เราจะพยายามทำต่อไปให้ต่อเนื่องและอยากให้กระบวนการนี้มันคงอยู่กับนักศึกษาครูให้ได้นานที่สุดครับ

ขอบคุณท่านพี่มากครับ ;)...

ล้านนา..ดูสงบ   ร่มเย็นนะ

พี่ชอบ..ตุง  ละ

 

ขอบคุณครับ พี่ ครู ป.1 ;)...

ตุง คือ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๆ ที่มีลวดลายต่าง ๆ 

แต่ภาพนี้ คือ โคมล้านนา ครับพี่ ;)...

อืมมม...ทำดีแบบไม่สนใจใคร

เชื่อค่ะเชื่อ...ขบถนิด ๆ

สวนกระแสหน่อย ๆ

ว่าที่ครูตัวน้อย ๆ ...พิมพ์ดี...ไม่มีตก

"... ขบถนิด ๆ สวนกระแสหน่อย ๆ ..."

คำเด็ดครับ คุณหมอ ทพญ.ธิรัมภา ;)...

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท