“สื่อสารพลาด” หรือ “ตีความผิด”


เป็นไปได้ทั้ง 2 กรณี คือทั้ง “สื่อสารพลาด” ของผู้ให้สาร หรือไม่ก็ “ตีความผิด” ของผู้รับสาร ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุผล

    เมื่อสักครู่ (19 ส.ค.49 เวลา 21.45 น.) มีบันทึกของคุณอุทัย อันพิมพ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คือบันทึก “การทรมานข้อมูล” วิ่งขึ้นหน้าแรก ด้วยผมไปให้ คห.ไว้ตั้งแต่เมื่อวาน และท่านได้มาตอบ คห.ผม แต่คงเป็นเพราะผมสื่อสารออกไปผิดพลาดอย่างมาก ทำให้ท่านเข้าใจไปในทำนองว่าเขียนบันทึกโดยเลียนแบบผมบันทึกที่ผมทำ link ไว้ให้ใน คห. ซึ่งจริง ๆ แล้วผมเพียงจะตรวจสอบและขอคำยืนยันจากท่านว่า คำว่า “การทรมาณข้อมูล” ที่ผมเพิ่งได้ยินครั้งแรกในบันทึกของท่านนั้น อันเดียวกันกับที่ผมได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์ว่าคือ “การตรวจสอบสามเส้า” ไหม ซึ่งหากใช่อันเดียวกันหรือไม่ใช่อย่างไร ผมก็จะได้ลงในรายละเอียดต่อไปว่า “การทรมาณข้อมูล” นั้นที่แท้จริงคืออะไรต่อไป

     การสื่อสารออกไปในแต่ละครั้ง ก็เป็นไปได้ทั้ง 2 กรณี คือทั้ง “สื่อสารพลาด” ของผู้ให้สาร หรือไม่ก็ “ตีความผิด” ของผู้รับสาร ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุผล งานนี้ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นที่ผมเอง เพราะได้สื่อสารออกไปไม่ดีพอ ทำให้เกิดการเข้าใจผิดไป ผมรู้สึกเสียใจมาก และได้กราบขอโทษต่อท่านไปแล้วในการตอบ คห.ในบันทึกของท่าน บันทึกนี้จึงอยากจะกราบขอโทษท่านอีกครั้งหนึ่ง

     นำมาเขียนไว้อีกครั้งเพื่อเตือนสติตนเองว่า คราวต่อไปให้ระมัดระวังในการสื่อสารให้ดี เพราะหากเกิดการตีความเป็นเชิงลบเมื่อไหร่ ก็จะเกิดเป็นความเสียใจ อย่างที่รู้สึกเสียใจในตอนนี้ และทำให้คิดต่อไปได้อีกหลาย ๆ อย่างมาก ขอเก็บเป็นความทรงจำที่ดี ๆ เพื่อระมัดระวังตนต่อไปในวันหน้า ตายังยืนยันว่าตัวเองคิดเชิงบวกในตอนที่ให้ คห.ไปในครั้งแรกจริง ๆ

หมายเลขบันทึก: 45376เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2006 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สำคัญเหมือนกันครับ บางที (หลายครั้ง) ที่ผมให้ความเห็นออกไป ตอนที่ยังพิมพ์อยู่ ก็อ่านแล้วเข้าใจ พอโพสอ่านแล้วคนละความหมาย อาจเพราะ ตัวอักษรหายไป ตก หล่นแม้กระทั่งเว้นวรรคผิด ก็ความหมายเปลี่ยนไปในทันที

ผมระวังมากเลยครับช่วงหลัง ก็ต้องทวนหลายครั้ง 

ผมเข้าใจอย่างหนึ่งว่าใน G2K ทุกคนพื้นฐานที่ต้องการเรียนรู้ และเป็นคนดี ฉะนั้นบางทีมีอะไรอาจต้องเปิดใจให้กว้าง  ..

ก่อนที่จะเคืองกัน...กลัวครับ กลัวคนอื่นเข้าใจผิด 

น้องจตุพร

     ครับ หากจำไม่ผิดคราวที่แล้ว (นานแล้ว) ผมไปชวนให้อาจารย์น้อง Vij มาอ่านบันทึกเรื่องไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน...คำตอบน้องเดม ที่ผมเขียนไว้ ในบันทึกเรื่องคล้าย ๆ กันของอาจารย์น้อง Vij  ตอนแรกไม่มีอะไร แต่พอมีคนมาให้ คห.ต่อจากผมในทำนองจะเขียนก็ให้คิดเองบ้าง เท่านั้นแหละครับ คห.ที่ผมให้ไว้ก็กลายเป็นเรื่อง "โอละพ่อ"
     แต่เมื่อได้มีการตอบ คห.ชี้แจงกันไปมาอีก 2 ครั้ง ก็เข้าใจกันได้ว่าผมเจตนาจะชวนให้มาอ่านบันทึกคล้าย ๆ กัน อีกสไตล์หนึ่งเท่านั้น
     คราวนี้ก็เช่นเดียวกันครับ ถึงตอนนี้ ยังไม่ได้รับคำตอบอะไรว่าเข้าใจหรือยัง ก็อยากให้เข้าใจกัน เพื่อทัศนคติที่ดีต่อกัน แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะเชื่อมั่นมากว่าใจผมคิดอะไรตั้งใจอะไร ก็ตามที่เขียนในบันทึกนั่นแหละครับ

ดิฉันมักจะมีปัญหาพูดด้วยความตั้งใจอย่างหนึ่งแต่คนฟังเข้าใจไปอีกทางหนึ่งเพราะความที่ตัวเองเป็นคนใจร้อนค่ะ บางทีก็เป็นคนฟังที่เข้าใจผิดกับความไม่เจตนาของคนอื่นด้วย เคยเขียนเตือนตัวเองไว้ใน พูดดีๆฟังดีๆ และกำลังฝึกพูดและฟังที่ไม่ทำร้ายตัวเองอยู่ค่ะ
ตามไปอ่านแล้วไม่มีอะไร  ใน คห.ที่หนึ่ง ........ คห.ที่สามก็ทำหน้าที่สมบูรณ์ "ความอ่อนน้อมถ่อมตน" มีในใครคนนั้นจะมีเสน่ห์ค่ะ  เชื่อเถอะ....พูดดีดีแล้วหากฟังไม่ดี....ความหมายอาจเปลี่ยน... ความยากของการสื่อสาร....

อาจารย์จันทรรัตน์ ครับ

     ผมอยากฝึกมั่งจังเลย บันทึก พูดดีๆฟังดีๆ ก็อ่านแล้ววันก่อนนะครับ ยังบอกอาจารย์เลยว่าให้ข้อคิดดี ๆ ไหงยังพลาด (ยิ้ม ๆ) ยังไงก็ฝึกอีกครับ สงสัยคงต้องขยันฝึกจึงเกิดทักษะ... ครับ

พี่เมตตา ครับ

     ขอบคุณครับที่ทำให้ผมดูจะมั่นใจขึ้น พี่สาวที่แสนดีเสมอ ผมยังติดค้างพี่อีกหลายเรื่องที่เดียว ยังไงแล้วจะทดแทนนะครับ (พูดดีแหละ เวลาขอผัดเพื่อนนะ)

การพิมพ์ข้อความ 
ที่เป็นการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยน
โดยไม่เห็นสีหน้าความรู้สึก
มันตีเจตนายาก
ถ้าตัวเองมั่นใจในเจตนาของตัวเอง
อย่าไปแคร์คนอื่นมากนัก
มันจะทำให้ไม่มีความสุข
จงเชื่อมั่นในเจตนาของตัวเอง

คุณ adcordiality

     ขอบคุณนะครับ สำหรับข้อคิดเตือนใจ ผมชอบความสุขครับ ฉะนั้นผมต้องไม่คิดมากใช่ไหมครับ (ยิ้ม ๆ แล้ว)

แอบ (ย่อง ๆ) เข้ามาตอนเจ้าของบันทึกหลับ!! (หรือเปล่า)

เข้ามาแบบยิ้ม ๆ เมื่อไปอ่านบันทึก “การทรมานข้อมูล” กับการให้ คห. ของคุณ "พี่ชายขอบ" เหตุการณ์ ความรู้สึก และสถานที่เดียวกัน แต่หากต่างด้วยเวลา  "การสื่อสารด้วยเจตนาดี...แต่การตีความที่ผิดพลาด" มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หากแต่ได้พิจารณาและมองให้ลึกลงไปก็จะเห็นถึงเนื้อแท้ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเจตนาที่ดีของผู้ให้...เหตุการณ์เช่นนี้เคยประสบพบเจอด้วยตนเอง จึงเข้าใจทั้งความรู้สึกของเจ้าของบันทึก และผู้ที่ให้ คห. แต่เชื่อว่าหากได้พิจารณากันอีกรอบด้วยใจที่นิ่งไม่เอนเอียง จะพบความจริงที่ควรแก่การให้อภัยกันและกัน สังคมแห่งการไว้วางใจก็จะเกิดขึ้นในใจตลอดไป

"ผิดเป็นครู...ไม่ผิดเป็นผู้อำนวยการ" ยิ้ม ๆ ไว้นะคะ คุณ "พี่ชายขอบ"

อาจารย์น้อง Vij

     ขอบคุณนะครับที่เข้ามาให้กำลังใจกัน ตรงที่ "ผิดเป็นครู...ไม่ผิดเป็นผู้อำนวยการ" งั้นผมผิดก็เป็นครูได้ล่ะสิครับ แล้วผู้อำนวยการนี่ไม่ผิดเลยเหรอครับ (ยิ้ม ๆ)

มาเพื่อตอบคำถามค่ะ "ผอ.นี่ไม่ผิดไม่ผิดเลยเหรอครับ" ผอ. ไม่ผิดเลยบางครั้งเป็นภาพลวงตาค่ะ (ไม่ใช่ศูนย์แท้แต่เป็นศูนย์เทียม) ผอ.ขยับเขยื้อนมาจากตำแหน่งครูผู้น้อย หากพูดว่า "ผิดเป็นครู" นั่นก็แสดงว่า ผอ.เคยผิดพลาดมาก่อน (แป๋ว...แว๋ว ๆๆ)

ขอทิ้งท้ายด้วยคำถามบ้างค่ะ คุณ "พี่ชายขอบ" เคยเห็นใครในโลกใบนี้ (นับเฉพาะคนที่พี่รู้จักนะคะ) ที่ไม่เคยกระทำความผิดบ้างใหมค่ะ?...สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าหากเรารู้ตัวว่าเราทำผิดเราจะน้อมรับความผิดนั้นด้วยใจใหม หรือแค่ปากบอกว่ายอมรับแต่ใจและการกระทำยังสวนทางกับคำพูดอยู่...หากผิดแล้วเราปรับปรุงแก้ไขเพื่อเป็นบทเรียนสอนใจในครั้งต่อไปนั้นถือว่า "ผิดเป็นครู" ค่ะ

เปิดใจให้กว้าง...น้อมรับความผิด...ขอโทษ...ด้วยใจรับผิด...อภัยและเข้าใจกัน น่าจะเป็นทางออกที่ดีของปัญหานะคะ (ยิ้ม ๆ มั่ง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท