พุทธวิถี End of Life อย่างไม่ End of Love


หลายครั้งเราได้แต่พยายามตอบสนองอยู่แต่สิ่งที่ผู้ป่วยหรือญาติต้องการ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ความดีงาม ความเป็นประโยชน์ หรือไม่ใช่ประโยชน์ ความรักที่เพื่อนมนุษย์ที่แท้จริง เป็นผลให้ “เสียเวลา”ในการช่วยฝึกหัดชีวิตเผชิญความตายให้แก่ผู้ป่วยอย่างจริงๆจังๆ หลายครั้งเราได้แต่พยายามตอบสนองอยู่แต่สิ่งที่ผู้ป่วยหรือญาติต้องการ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ความดีงาม ความเป็นประโยชน์ หรือไม่ใช่ประโยชน์ ความรักที่เพื่อนมนุษย์ที่แท้จริง เป็นผลให้ “เสียเวลา”ในการช่วยฝึกหัดชีวิตเผชิญความตายให้แก่ผู้ป่วยอย่างจริงๆจังๆ

ไม่ใช่ความผิดพลาดของญาติผู้ดูแล หรือแพทย์พยาบาลแต่อย่างไรเลย ที่เราท่านจะไม่เกิดความรักที่แท้จริง หรือมากมายต่อผู้ที่กำลังจะจบชีวิตในชาตินี้ หากแต่จะเป็นกุศลธรรมอันสูงที่พึงเจริญพึงปฏิบัติของเราท่าน ที่จะมีต่อผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะนี้ คนเดียวกันนี้ แม้เวลาอันน้อยนิดนี้เอง

การยื้อชีวิต”นั้นพึงกระทำหากคำว่า “ชีวิต” ที่จะยื้อนั้นหมายถึง การเป็นอยู่อย่างเป็นธรรม(ชาติ) ในทางตรงกันข้าม “การยื้อความตาย”นั้นไม่พึงกระทำ หากการยื้อนั้นต้องทำให้เกิดความทุกข์กันถ้วนทั่ว

ความรักที่แท้จริง คือ การให้ที่แท้จริงเช่นกัน ดังนั้นความดี ความงามที่เราท่านนั้นกำลังแสดงออกกันอยู่ หรือยึดไว้ ถือไว้ปฎิบัติต่อผู้ป่วย พยายามให้กับผู้ป่วย ทั้งโอกาสเวลา คำแนะนำที่ดี หากเป็นเพียงการกระทำที่เป็นอุเบกขาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ไม่ชื่อว่าเกิดกุศลกรรมอย่างแท้จริง ดังนั้นปัญญาที่พึงทำให้เกิดขึ้น เป็นขึ้นนี้ ได้มาจากไหนกันเล่า ก็ปัญญานั้นก็คือการคิดพิจารณาโดยแยบคาย หลังจากการสังเกตอย่างรอบคอบแล้ว กระทำต่อเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ป่วยได้พัฒนาตนเอง (ในที่นี้คือจิตใจที่สูงขึ้น เบาขึ้น ปล่อยวางจากโลกและชีวิตให้มากที่สุด เพื่อการไม่กลับมาเกิดใหม่เป็นเป้าหมายสูงสุด) การให้ในทางพุทธวิถี ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังระยะท้าย ได้แก่ หากผู้ป่วยไม่เคยบริจาคทาน ก็ให้โอกาสเขาบริจาคทาน หากเขาบริจาคทานแล้วแต่พบว่าเขาไม่มีศีล ก็ให้เขารักษาศีล หากเขาให้ทาน มีศีลแต่ไม่มีสมาธิ ก็ให้เขาฝึกสมาธิ และสุดท้ายหากเขามีการให้ทาน รักษาศีล ฝึกสมาธิ แต่ไม่เคยฝึกปัญญา เราก็ให้เขามีโอกาสฝึกวิปัสสนา เพื่อเจริญสติปัญญาได้เลย สิ่งนี้เองเราจึงเรียกว่า รักกันจริง และไม่ยอมทิ้งให้เป็นไปตามยถากรรม

ทุกผู้ทุกคนมีสิทธิ์เสรีภาพในการเลือกทางเดินชีวิตของตนเอง แม้กระทั่งตอนกำลังจะตาย ก็ยังสามารถวางแผนได้ให้เป็นไปอย่างที่ตนเองต้องการ หากแต่เราสามารถแนะนำในฐานะเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ในทางที่เหมาะสมได้แน่นอน ขอเพียงเรามั่นใจ อนึ่งศาสนาทุกๆศาสนาทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม ลัทธิต่างๆ ก็ล้วนสอนให้ทุกคนเป็นคนดี จิตใจบริสุทธิ์ หรือแม้ว่าจะไม่กล่าวถึง ไม่อ้างอิงถึงศาสนาใดเลยก็ตาม เราเชื่อว่าคนทุกคนมีศักยภาพที่จะฝึกตนเองได้หากมีโอกาส หรือมีผู้มอบโอกาสนั้นให้เพื่อให้เข้าถึงตนเอง (จิตเดิมแท้)

ดังที่ทราบกันดีว่าความรักนั้นเกิดจากคนอย่างน้อยสองฝ่าย คือผู้แสดงออก และผู้รับการแสดงออก กล่าวคือผู้รักและผู้ถูกรัก (ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายรักกันก็จะเกิดความรู้สึกเหนียวแน่น มั่นคงเพิ่มขึ้น) และการที่คนรักจะให้อะไรดีๆที่ตนเองเชื่อว่าดีต่อผู้ที่รับนั้น ย่อมไม่เป็นที่ถูกใจต่อผู้รับเสมอไป หรืออาจจะให้ไปๆจนกระทั่งผู้รับได้รับรู้ถึงเหตุผล และเข้าใจสิ่งที่ได้รับนั้นอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการท้าทายมากในการที่เราท่านผู้ที่ร่วมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือญาติผู้ป่วยด้วยความรักอย่างแท้จริง โดยที่เราสามารถแนะนำ ชักชวน ให้โอกาสในสิ่งดีงาม สิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่เป็นประโยชน์ ต่อเขาเหล่านั้นได้เสมอไป หลายครั้งเราได้แต่พยายามตอบสนองอยู่แต่สิ่งที่ผู้ป่วยหรือญาติต้องการ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ความดีงาม ความเป็นประโยชน์ หรือไม่ใช่ประโยชน์ ความรักที่เพื่อนมนุษย์ที่แท้จริง เป็นผลให้ “เสียเวลา”ในการช่วยฝึกหัดชีวิตเผชิญความตายให้แก่ผู้ป่วยอย่างจริงๆจังๆ หากไม่ได้มีโอกาสฝึกพัฒนาจิตใจให้บริสุทธิ์ อย่างน้อยเราก็มีโอกาสแนะนำสิ่งดีงามเป็นกุศลไปในอนาคตชาติหรือชีวิตหลังความตายได้ (อ่าน “ฝังเข็ม..ประตูสู่วิปัสสนา”)

       นอกจากการส่งผ่านความรักแท้ที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในส่วนของ “ความต้องการ หรือความคาดหวัง”(Want Hope and Expectation) ใดๆของผู้ป่วยนั้น เราสามารถเข้าใจและช่วยเหลือให้เป็นจริงได้บ่อยครั้ง หรือหากเป็นไปไม่ได้เราก็สามารถพูดคุยต่อไปเพื่อค้นหา “ความต้องการที่แท้จริง หรือ ความปรารถนา” ที่อยู่ลึกลงไป (Needs and Yearning) ได้โดยเฉพาะกรณีหากเราไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการเบื้องต้น หรือ ความคาดหวังนั้นได้ เช่น ผู้ป่วยต้องการหายป่วยไวๆ (hope) และขอกลับไปดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ขณะที่อาการแย่ลงมากไม่พ้นขีดอันตราย (Want) เราจึงพูดคุยต่อจนทราบว่า เขาต้องการจะเป็นลูกกตัญญู(yearning) ไม่ต้องการมีบาปติดตัว (cognitive distortion) ที่ไม่ได้เลี้ยงดูพ่อแม่ เพราะตนเองต้องมาตายก่อนพ่อแม่

    เราจะสังเกตเห็นได้ว่า Yearning ยังเป็นสาเหตุให้เกิด “ความหวัง” (Hope) นั่นคือ ความคิดที่จะมีชีวิตอยู่ต่อนานๆ หรือหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่ง Hope เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเองห้ามไม่ได้ แต่มันไม่ใช่เกิดขึ้นมาเพื่อให้เรา ผู้ดูแลไปให้คำตัดสินว่าสิ่งที่หวังนั้นไม่ดี ไม่ถูก ไม่สามารถเป็นจริงได้ แต่อย่างไร เนื่องจากหลายครั้งเป็น Hope ที่ไม่สามารถเป็นจริงได้หรือฟังดูไม่สมเหตุสมผล (unrealistic หรือ illogical hope) เราเพียงแต่มีหน้าที่ในการเข้าใจความหวังนั้นด้วยปัญญาเพื่อทำการค้นหาความหมายที่แท้จริง หรือที่มาของความหวังนั้น(yearning) และพร้อมจะทำให้ Hope นั้นได้ตอบสนอง คือ การใส่ใจถึง yearning ว่าผู้ป่วยยังสามารถเป็นลูกกตัญญูได้ด้วยวิธีอื่นได้ และแสดงให้ผู้ป่วยตระหนักว่าการที่ตนอาจจะต้องเสียชีวิตก่อนพ่อแม่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นลูกอกตัญญู หรือจะมีบาปติดตัวไปเสมอไป (Cognitive Behavior Therapy)

     ซึ่งถึงจุดนี้ผู้ป่วยก็จะไม่มีความรู้สึกที่จะทุกข์หรือสุข หรือกังวลต่อ Hope นี้อีกเลยเพราะเข้าใจถึงที่มากของ Hope นี้ ไม่มีความสำคัญเท่าการเป็นอยู่กับความจริงแห่งปัจจุบันและตระหนักในความจริง ความดีที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ซึ่งโดยนัยแล้ว “ความหวัง”(Spirit of Future) จะลดอิทธิพลลงก็ต่อเมื่อ ความปรารถนา(yearning) ถูกตอบสนอง หรือถูกเปิดเผยออกมา ก่อให้เกิดเป็น“กำลังใจ” (Spirit of Present) ที่จะมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนั้นมากขึ้น มีปัญญาเห็นความจริงเข้ามาแทนที่ และหากทำได้ตามนี้ก็ชื่อได้ว่า รักกันจริง และไม่ยอมทิ้งให้เป็นไปตามยถากรรม (End of Life อย่างไม่ End of Love) ได้อีกทางหนึ่ง

 

นพ.ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร

จิตแพทย์ และแพทย์ฝังเข็ม

หมายเลขบันทึก: 452398เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2011 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 04:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีคะ  ยินดีที่ได้รู้จักบล็อกเกี่ยวกับ Palliative ที่น่าสนใจแห่งนี้คะ
  • ความหวัง (Spirit of Future) vs กำลังใจ (Spirit of Present)
  • บางท่านเรียกกลุ่มคนไข้ End of life ว่า กลุ่มผู้ป่วยสิ้นหวัง..
  • แต่การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ มิใช่เพียงเฉพาะตัวผู้ป่วย ยังรวมไปถึงครอบครัว ซึ่งยังต้องอยู่ต่อในวันพรุ่งนี้ ที่ไม่เหมือนเดิม
  • คุณหมอคิดว่าอย่างไร กับคำว่า ผู้ป่วยสิ้นหวังคะ

ผมคิดว่าอาจจะมีผู้ที่คิดว่าสิ้นหวังในรูปสังขารวิบากภพภูมินี้ แต่ไม่สิ้นหวังในรูปสังขารในภพเบื้องหน้าที่จะดียิ่งกว่าเดิมครับ

ขอบคุณและอนุโมทนาครับ

ลึกซึ้งมากค่ะ และไม่เสียดายที่ได้เกิดมาภายใต้พระพุทธศาสนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท