บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

ระบำเพชะปุระบารมี


คำว่า บุระ หรือ ปุระ แปลว่า ป้อม หอวัง

            บันทึกนี้ผู้เขียนขอนำเสนอการแสดงของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ คือ ระบำเพชะปุระบารมี ประดิษฐ์ท่ารำโดย นายเศกสรร  แสงจินดาวงศ์เมือง นิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

            จากการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ของเมืองเพชรบูรณ์ รองศาสตราจารย์คมคาย  หมื่นสาย ผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ในสมัยสุโขทัยลายพระหัตถ์เกี่ยวกับเมืองเพชรบูรณ์ ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีความว่า เดิมจะตั้งชื่อเมืองเพชรบูร ให้ใกล้เคียงกับเพชรบุรี แปลว่า เมืองแข็ง แต่ชื่ออาจใกล้เคียงกันมากเกินไปจึงได้ตั้งชื่อว่าเพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นการตั้งชื่อเมืองรุ่นเดียวกับเมืองพิษณุโลก คำว่าเพชรบูรณ์ อาจมาจากคำว่าพืช ในประเทศอินเดียมีเมืองโบราณชื่อ Bijure เทียบได้กับพืชปุระ เมืองเพชรบูรณ์ก็เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร

             จากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ 53 จากวัดอโศการาม ประมาณ พ.ศ.1949 มีข้อความอ้างอิงถึงเมืองเพชรบูรณ์ คือ " รัฐมณฑลกว้างขวาง ทั้งปราศจากอันตรายและนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง รัฐสีมาของพระราชาผู้ทรงบุญญาสมภาคพระองค์นั้น เป็นที่รู้จักกันอยูว่า ในด้านทิศตะวันออกทรงทำเมืองวัชชะปุระเป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทรงทำเป็นเมืองเชียงทอง เป็น รัฐสีมา"

 

             จากศิลาจารึกนี้ ชื่อเมืองเพชรบูรณ์อาจมาจากคำว่าบุระหรือปุระ แปลว่า ป้อม หอวัง ส่วนคำว่าบูรณ์ มาจากคำว่าปูรณ แปลว่า เต็ม นายตรี  อมาตยกุล ได้อธิบายไว้ว่า เมืองเพชรบูรณ์อาจเป็นเมืองราดก็ได้แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ

             หลักฐานทางโบราณคดีชี้ชัดว่า เมืองเพชรบูรณ์ เป็นรัฐสีมาของสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นพระประธานของวัดมหาธาตุของสุโขทัยและเมืองอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นพุทธสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ และนการขุดค้นทางโบราณคดี ได้พบเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่วัดมหาธาตุ ในตัวเมืองเพชรบูรณ์ โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2510 และได้ค้นพบวัตถุโบราณจำนวนมาก เช่น เคริ่องสังคโลก และถ้วยตุ๊กตาจีน

                                                                                                           

              การแสดงชุด ระบำเพชะปุระบารมี ได้จินตนาการให้เห็นถึงสครีชาวเมืองผู้สูงศักดิ์พร้อมด้วยข้าราชบริพาลร่ายรำอย่างมีความสุข เครื่องแต่งกายได้ประดิษฐ์ให้ใกล้เคียงกับยุคสุโขทัยและได้ผสมผสานกับจินตนาการในการออกแบบ ผ้านุ่งเป็นผ้าทอพื้นเมืองลวดลายจากภูมิปัญญาของชาวบ้านวังโบสถ์ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้รับรางวัลโอทอปสี่ดาว ดนตรีได้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ให้มีกลิ่นอายในยุคนั้นสอดแทรกด้วยท่วงทำนองเร้าใจแบบสำเนียงเขมร บรรเลงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกริช  การินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาดุริยางคศาสตร์ไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

             การแสดงชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากนายสุพิน  นุชรอด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยาวี-ห้วยโป่ง และได้แสดงโดยนักเรียนโครงการบ้านหลังเรียน กิจกรรมบ้านนาฏศิลป์ ฝึกซ้อมการแสดงโดย นายเศกสรร  แสงจินดาวงศ์เมือง นางพนิดา  พรมเท้า นางวิไลภรณ์  รัฐไชย และนางไพทูรย์  แก้วแกมทอง คณะครูกิจกรรมบ้านนาฏศิลป์ โรงเรียนบ้านยาวี-ห้วยโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต1

 

 



หมายเลขบันทึก: 452388เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2011 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวยจังท่ารำ ชุดก็สวย สอนให้นักเรียนด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทุ่มเท อย่างนี้ซิเขาเรียกว่า ครูผู้มีอุดมการณ์ ชำนาญการพิเศษได้ไม่ยากเลยอย่างนี้ เป็นกำลังใจให้ครับ

  • สวัสดีครับผอ.โทน
  • ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจ
  • อย่างที่ทราบแหละครับการทำงานที่เราชอบ ย่อมทำให้เราสุขใจครับ
  • จะั้ตังใจพัฒนาต่อไปครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท