หายหน้าหายตาไปนานจากบล็อก "paula กับการพัฒนาคุณภาพ" แต่ไม่ได้หายไปไหนนะคะยังเขียนอยู่ที่บล็อก "เรื่องเล่าของพอลล่า" เสียส่วนใหญ่
วันนี้จะเล่าเรื่องของ pitfall หรือหลุมพรางของการวางแผนจำหน่าย ซึ่งเป็นบทที่ 20 ของาตรฐาน HA โดยทั่วไปแล้วมักใช้ D-METHOD ในการวางแผนจำหน่ายพบว่ารพ.ส่วนใหญ่ทำแบบฟอร์มแบบให้ความรู้ในเรื่อง Diagnosis / Medication / Economic-Education / out patient referal / Diet และกำหนดว่าจะวางแผนในการจำหน่ายในผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น (เพราะว่าผู้เยี่ยมสำรวจถาม) ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยนำมาวางแผนในโรค/อาการที่ทีมลงความเห็นร่วมกันว่าเป็นโรคที่ต้องวางแผนจำหน่าย มีอุปกรณ์ มีแผลต้องดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เป็นต้น จึงทำให้ผู้ป่วยบางรายที่ต้องการการวางแผนจำหน่ายแต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่รพ.กำหนดไว้ ไม่ได้รับการดูแลอย่างครบถ้วน จริงๆแล้วการวางแผนจำหน่ายมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยและครอบครัวดูแลตนเองได้เมื่อกลับไปอยู่บ้าน เริ่มจากการที่ประเมินตั้งแต่แรกรับ คาดการณ์ปัญหา ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรืออาจเทียบกับ Failure Mode Effect Analysis (FMEA) นั่นเองโดยวางแผนที่จะดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับไว้ในรพ.ว่าจะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตัวเองได้ ซึ่งพบว่ามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกับการเตรียมจำหน่ายซึ่งจะเตรียมเมื่อจะกลับบ้านเท่านั้น เรื่องนี้ นพ.อนุวัฒน์ ท่านผอ. สถาบันฯได้เขียนไว้ เข้าไปอ่านได้ค่ะ