กาลามสูตร และ การฟังที่ดีเพื่อความปรองดองของสังคมไทย


...หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นด้วยการกระทำของประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาตินั้น เกิดจากการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต นักวิชาการ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ก็ตาม ต่างก็รีบปักใจเชื่ออย่างแน่วแน่ทันทีทันใดโดยที่ยังมิได้ไตร่ตรองใดๆ นัก และผลจากการกระทำบางอย่างที่ไม่น่าที่จะเกิดขึ้นหรือไม่น่าที่จะเผลอใจนำไปสู่การลบหลู่ผู้ทรงคุณธรรมก็เพราะฟังแล้วเชื่ออย่างไม่ได้พิจารณาก่อน ซึ่งไม่สามารถย้อนใจกลับไปถอนรอยด่างที่เกิดขึ้นในใจอย่างไม่น่าให้อภัยได้...

...หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นด้วยการกระทำของประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาตินั้น เกิดจากการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต นักวิชาการ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ก็ตาม ต่างก็รีบปักใจเชื่ออย่างแน่วแน่ทันทีทันใดโดยที่ยังมิได้ไตร่ตรองใดๆ นัก และผลจากการกระทำบางอย่างที่ไม่น่าที่จะเกิดขึ้นหรือไม่น่าที่จะเผลอใจนำไปสู่การลบหลู่ผู้ทรงคุณธรรมก็เพราะฟังแล้วเชื่ออย่างไม่ได้พิจารณาก่อน ซึ่งไม่สามารถย้อนใจกลับไปถอนรอยด่างที่เกิดขึ้นในใจอย่างไม่น่าให้อภัยได้...

...พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรม "กาลามสูตร" คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ

...ซึ่งเป็นธรรมะที่ยังตกยุคตกสมัยและยังคงนำมาใช้ได้ดีอย่างยิ่งโดยเฉพาะในยุค ICT นี้ รายละเอียดได้นำมาจาก Budda 4U http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/kalamasutta.htm

...ขอให้ทุกท่านได้พิจารณาและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติต่อไป...

กาลามสูตร

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
  2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
  3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
  4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
  5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
  6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
  7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
  8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
  9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
  10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

สูตร นี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

ตัวอย่าง

  1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย
  2. อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส
  3. อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
  4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
  5. อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
  6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
  7. อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
  8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
  9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
  10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของ เรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 232
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 13
พระ พุทธเจ้าสอนอะไร แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย ร.ศ.ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2547 หน้า 15-17
คิดอย่างเป็นระบบ และ เทคนิคการแก้ปัญหา ผู้แต่ง ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ สำนักพิมพ์ อริยชน จำกัด หน้า 190-191

โปรดใช้หลักอย่าเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร) ในการพิจารณา ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จากที่มาที่อ้างอิงครับ

 

...นอกจากนี้ ยังมีบทความดีๆ ที่น่าอ่านและนำมาใช้กับตนเองได้ในเรื่องของการฟัง เรื่อง การฟังที่ดี ซึ่งเป็นวิธีฟังที่ทำให้สามารถลดความขัดแย้งและเกิดความปรองดองให้เกิดแก่สังคมไทยได้ครับ...

การฟังที่ดี
   
ปัญหาความขัดแย้ง เป็นเรื่องธรรมดาในการอยู่ร่วมกันหรือคบค่าสมาคมกัน เพราะสังคมประกอบด้วยบุคคลหลาย ๆ รูปแบบ มาจากครอบครัวที่ต่างกัน มีพื้นฐานการเลี้ยงดูวัฒนธรรม ประเพณีการศึกษา การใช้ชีวิตตลอดจนนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน ดังนั้น ปัญหาหรือความขัดแย้งต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นอยู่ได้ตลอดเวลา เราก็อาจจะเป็นคนหนึ่งในหลายคน ที่ต้องตกเป็นผู้รับฟังการระบายปัญหาหรือการเล่าถึงความขัดแย้งกับคนอื่น ๆ จากผู้ร่วมงานจากคนใกล้ชิด จากเพื่อนสนิทหรือผู้มารับบริการอยู่บ่อย ๆ บางครั้งเราอาจจะใช้ความเห็นส่วนตัว ดุลยพินิจที่เข้าข้างตัวเอง ตอบโต้ปัญหาหรือความคัดแย้งเหล่านั้น จนถึงขนาดก่อศัตรู หรือเพิ่มความหมาดหมาง เครียดแค้นให้ลุกลามมากขึ้นก็อาจเป็นได้ ดังนั้นการที่จะเป็นผู้รับฟังปัญหาที่ดีมีประสิทธิภาพได้นั้น ก็ต้องมีการเรียนรู้วิธีการรับฟังที่เหมาะสมคือ


   
1.  จะรับฟังปัญหาอย่างไรไม่ให้ตัวเราเครียด หดหู่ใจ ไม่สบายใจ
   
  - ต้องอยู่ในอารมณ์ที่ผ่อนคลาย ไม่มีความวิตกกังวลใจพร้อมที่จะรับฟังปัญหาผู้อื่น
   
  - ขณะรับฟังปัญหา ต้องรับฟังอย่างสงบ ไม่สร้างอารมณ์ร่วมไปกับผู้เล่า ต้องฟังอย่างเข้าใจ และรู้ถึงความรู้สึกและอารมณ์ของเขา แต่อย่าให้มีอารมณ์ทุกข์โศก โกรธแค้น ร่วมกับผู้เล่า หรือรับเอาความรู้สึกเข้ามาไว้กับตัวเองรับฟังอย่างมีสติมั่นคง ก็จะทำให้มองปัญหาได้ชัดแจ้งกว่า และสามารถชี้ให้เห็นถึงเหตุผล และแนวทางในการแก้ไขได้ดีกว่า
  - ไม่ควรรับฟังปัญหานั้น นานเกินไป จะทำให้เราเกิดความเครียดได้ง่าย ควรหาวิธีละมุนละม่อม เพื่อให้ยุติการเล่าเมื่อใช้ระยะเวลานานเกินไป
   
2.  จะรับฟังปัญหาอย่างไรไม่ให้เกิดศัตรู หรือเพิ่มความบาดหมางเคียดแค้น
   
  - ต้องรับฟังอย่างเป็นกลาง รู้จักยับยั้งชั่งใจ คล้อยตามหรือส่งเสริมผู้เล่า และไม่กล่าวทับถมบุคคลที่สาม โดยระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครสามารถถ่ายทอดคำพูดของผู้อื่นไว้ทุกคำพูด โดยไม่ผิดเพี้ยน ไม่มีใครตีความหมายหรือแปลเจตนารมย์ของผู้พูดได้อย่างถูกต้องโดยไม่ผิดเลย ทุกคนย่อมเข้าข้างตัวเองเสมอ บางครั้งมักต่อเติมเสริมแต่งพูดรุนแรง เกินความจริง เพราะอคติหรือเกิดอารมณ์ ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ผู้เล่าเกิดอคติต่อคู่กรณีมากขึ้น ไม่ทำให้เราเองเกิดความโกรธแค้นกับผู้ที่ถูกว่ากล่าว ซึ่งอาจเป็นปัญหาสามเส้า หรือเกิดให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก ก่อศัตรูขึ้นมาได้จึงควรจะรับฟังปัญหาอย่างเป็นกลาง ด้วยการ
   
  1. เป็นผู้ฟังที่ดี เพื่ออีกฝ่ายได้ระบาย และปลดปล่อยอารมณ์คับแค้นออกมา
   
  2. แสดงท่าทีและใช้คำพูดปลอบโยน ให้อารมณ์งบลงสัมผัสอย่างอ่อนโยนด้วยความเข้าใจ จะช่วยให้จิตใจของผู้เล่าดีขึ้นบ้าง เช่น “ ใจเย็นๆ ” “ เดี๋ยวค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ จากันก่อน ”
   
  3. ใช้คำพูดในทางบวกเพื่อลดอคติ เช่น “ เขาคงไม่เจตนาทำแบบนั้น ” “ เขาพูดล้อเล่นหรือเปล่า ”
   
  4. ชี้แนวทางแก้ปัญหาด้วยความจริง เช่น การพูดปรับความเข้าใจกัน “ ลืมมันเสียแล้วเริ่มต้นใหม่ ”
   
  ถ้าปฏิบัติได้ดังกล่าวมานี้ ท่านก็น่าจะเป็นผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของผู้อื่น และชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่เขาเหล่านั้น
   


   
   
   
  ธาริณี มาลัยมาตร์
 

พยาบาลวิชาชีพ

http://www.jvkk.go.th/jvkkfirst/story/health/37.htm

หมายเลขบันทึก: 447509เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท