จากการที่ "สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) : National Institute of Educational Testing Service (Public Organization) : NIETS" ได้ทำการสอบวัดเพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของชาติ (Ordinary National Education Test : ONET) ในปีการศึกษา 2553 ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ "สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Office of the Basic Education Commission : OBEC)" แล้วพบว่า คะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศในวิชาภาษาอังกฤษต่ำมากและต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับคะแนนวิชาอื่นๆ ทั้งผลการสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กล่าวคือ จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน คะแนนเฉลี่ย (Mean) ทั้งประเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คือ 20.99 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ 16.19 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คือ 19.22 (http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/9/bdaea64f96d90aeca0bb751dc827ca60.pdf) คงจะเป็นสัญญาณให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหันมาพิจารณากันให้จริงจังขึ้นว่า เราจะหาทางเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในวิชาภาษาอังกฤษ (Enhancing the English Achievement) ให้กับนักเรียนของเราได้อย่างไร
ใน "แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (พ.ศ.2549–2553)" นั้น กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สรุปได้ว่า 1) ด้านการเรียนการสอน (1) ยังไม่มีการบูรณาการทั้ง 4 ทักษะ และการฝึกปฏิบัติยังไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่เน้นการสอนไวยากรณ์และท่องศัพท์ (2) วิธีการเรียนการสอนยังไม่หลากหลายและไม่สอดคล้องกับพื้นฐานของนักเรียน (3) นักเรียน (ในแต่ละห้อง-ผู้เขียน) มีมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถดูแลหรือจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง 2) ด้านครู ครูส่วนใหญ่ขาดความรู้และทักษะในการสอนเพราะ (1) ครูสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษากว่าร้อยละ 80 ไม่ได้จบวิชาเอกภาษาอังกฤษ และต้องสอนหลายกลุ่มสาระ รวมทั้งมีภาระงานอื่นที่นอกเหนือจากการสอนมาก (2) ครูส่วนใหญ่ยังด้อยทั้งทักษะภาษา โดยเฉพาะการสื่อสาร ทักษะการสอน และขาดเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (3) ผลการประเมินความสามารถของตนเองของครูสอนภาษาอังกฤษ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูร้อยละ 51.91 มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ต้องปรับปรุง ดังนั้น ความคาดหวังที่จะให้ครูพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดทำแผนการสอน ผลิตสื่อ และจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดจึงไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง (4) ครูสอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่สอนโดยยึดแบบเรียนเป็นหลัก และเลือกเฉพาะบางกิจกรรมที่สามารถสอนได้ (5) ครูขาดการสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ (6) ครูชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งที่มาสอนในสถานศึกษา ขาดความสามารถในการสอน และมีปัญหาความประพฤติส่วนตัว (7) การประเมินและการพัฒนาศักยภาพของครูยังไม่เชื่อมโยงกับการประเมินวิทยฐานะและแรงจูงใจด้านอื่นๆ และ 3) ผู้เรียนไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษแบบสื่อสารได้ และ 4) ขาดบรรยากาศที่เอื้อต่อการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
http://blog.eduzones.com/anisada/81744
ตัวอย่างความเห็นของนักเรียนหลังสอบ ONET ภาษาอังกฤษในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ Posted ทาง www.dek-d.com ชี้่ว่า แม้นักเรียนส่วนใหญ่จะทำไม่ได้ แต่ก็มีผู้ที่ทำได้ พิสัย (Range) ของคะแนนภาษาอังกฤษ ทั้งระดับป.6, ม.3 และ ม.6 คือ 0-100 แปลว่ามีผู้ที่ได้ 0 และผู้ที่ได้เต็ม 100 คะแนน แสดงว่านักเรียนมีความสามารถในวิชาภาษาอังกฤษแตกต่างกันมาก ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในห้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษชั้น ม.4 ที่โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอใกล้ตัวจังหวัดอุบลฯ ซึ่งผู้เขียนได้นิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์ในภาคเรียนที่ 1/2553 พบว่า นักเรียนบางคนทำแบบฝึกหัดที่ครูให้ทำในชั้นเรียนถูกทุกข้อ หลายๆ คนทำถูก 8 ใน 10 ข้อ แต่มีนักเรียนชาย 3-4 คนที่ไม่ยอมทำแม้แต่ข้อเดียว ชื่อตนเองก็ยังเขียนเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ และครูก็ไม่ได้ใส่ใจแก้ไข ...ตัวอย่างความเห็นที่ Posted มีดังนี้ ...yes no OK ได้แค่นี้อะภาษาอังกริด...O-net Eng ไม่ไหวจะ said!! ...ข้อสอบ อิ๊งปีนี้ยากมักมากคร้า...ยากสุดด 20 คะแนน ไม่รู้จะถึงปล่าว เล้ย แต่เพื่อนบางคนบอกทำได้ 70-80 % อ๊ากก! ...เต็มร้อยบวกเข้าข้างตัวเองแล้วได้ 16 ข้อ! มันจะยากกส์ไปใหนน อาเมนนน...ไม่ยากนะ อ่านพวก Relative Clause มะคืนไม่ได้นอน ดูติวเบรนกับครูสมศรีกับอ่านหนังสือทำย้อนหลัง โห เจอข้อสอบสบายเลย ตรงเป๊ะๆ ...Vocab ทำไมมันง่ายๆง๊าย...คะแนนต่ำสุดของประเทศ คงจะมาอยู่ที่เรานี่แหละ ยากมาก 20 คะแนน ก้อคงไม่ถึง ...ยากมากอ่ะ ข้อที่ว่าถูก พอมาดูในนี้ เราผิดไปตั้งหลายข้อ อุตส่าห์ตั้งใจทำอังกฤษอ่ะ ยากกว่าที่คิดไว้เยอะม๊ากก...เซ็งโว๊ย!ไม่ได้เกิดเมกานะเว๊ย จะออกข้อสอบอะไร ก็เกรงใจกันบ้าง แหม่ๆๆ...Passage กับ Situation โอเคนะ อ่านรู้เรื่องทำได้ หวังว่าคะแนนจะถึง 60%...(ผู้เขียนยกข้อความตามที่ Posted มาล้วนๆ ไม่ได้แก้ไขภาษา) จากสถานการณ์ดังกล่าว "สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน" ที่กำหนดเป้าประสงค์ไว้เลิศหรูว่า "ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นหนึ่งในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ควรจะได้พิจารณาหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ปัญหาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ มีในทุกระดับการศึกษา ดังที่นายอมเรศ ศิลาอ่อน ได้กล่าวถึงปัญหาใหญ่ของการพัฒนากำลังคนที่ผ่านมาสรุปได้ว่า โรงเรียนและมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการถึง 90 % ไม่สามารถสอนให้คน 15 ล้านคนรู้ภาษาอังกฤษได้ สอดคล้องกับที่ ศ. ดร. อัจฉรา วงศ์โสธร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (ศสษ.) กล่าวไว้ว่า "ทั้งที่การสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบัน มีทั้งทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน แต่กลับพบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาก็ยังไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกทักษะ"และวิเคราะห์ว่า ที่เป็นเช่นนั้นเกิดจากสาเหตุหนึ่งคือ "หลักสูตรไม่สอดคล้องกับการใช้จริง" ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยในประเด็นนี้ เพราะ "เมื่อเรียนแล้วไม่ได้นำไปใช้ในชีวิตจริง ก็ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียน (Motivation to Learn)" ในทางจิตวิทยานั้น เชื่อว่า "แรงจูงใจในการเรียนรู้เป็นหัวใจในการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จ และความสามารถของครูในการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ก็เป็นหัวใจของความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้เช่นกัน" ผู้เขียนได้ทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาจากทุกคณะที่เรียนวิชา "พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน : Human Behaviors and Self Development" กับผู้เขียน ในช่วงปีการศึกษา 2545-2552 สมรรถภาพด้านจิตใจ (Affective Competence) ที่พัฒนา คือ "แรงจูงใจภายใน ในการเรียนรู้" และสมรรถภาพเฉพาะสมรรถภาพหนึ่งที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนาคือ "สมรรถภาพในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ" เพราะความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นจุดอ่อนของบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยได้รับการสะท้อนมาตลอด ทั้งจากตัวบัณฑิตเองและนายจ้าง/ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต "การสร้างแรงจูงใจภายใน ในการเรียนรู้ (Intrinsic Motivation to Learn)" ทำได้โดย 1) การทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า/คุณประโยชน์ของการเรียน (Value/Usefulness) 2) การทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่า การเรียนมีความท้าทาย น่าสนใจ และสนุก (Enjoyment) และ 3) การทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อว่าตนจะสามารถเรียนรู้ได้ (Self-efficacy Belief)" สำหรับการทำให้หลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสอดคล้องกับชีวิตจริงนั้น ผู้เขียนได้มอบหมายงานตามสภาพจริง (Authentic Tasks)" ให้กับผู้เรียน คือ ผู้เรียนที่เรียนในภาคการศึกษาที่ 1 (Semester 1) จะได้ฝึกทักษะการอ่าน/เขียนโดยใช้ "Brochure ประชาสัมพันธ์งานประเพณีแห่เทียนฉบับภาษาอังกฤษ" เป็นสื่อ และได้ฝึกทักษะ การฟัง/พูด โดยนักศึกษาแต่ละคู่ (Pair Learning) จะได้ออกไปพูดคุยสนทนาสัมภาษณ์ชาวต่างชาติ ที่ไปรอชมงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากได้รับการเตรียมความพร้อมในชั้นเรียนแล้ว ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง (ที่เห็นในภาพว่า มีนักศึกษาหลายคนไปรุมล้อมชาวต่างชาติ เพราะบางคนไปเชียร์เพื่อน ไปสังเกตการณ์ หรือไปร่วมแจม) และตัวอย่างหนึ่งของการเขียนบันทึกเพื่อสะท้อนความรู้สึกจากประสบการณ์ดังกล่าวเป็นรายบุคคล คือ...
ก่อนสัมภาษณ์พูดคุย : ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นและคิดในใจอยู่เสมอว่า เราต้องทำให้ได้ พูดให้ได้ จะถูกหรือผิดหลักไวยากรณ์ก็ตาม (กฏข้อแรกที่ให้ไว้ คือ "ไม่ต้องกลัวว่าจะพูดผิด") แต่เราต้องสื่อสารกับเขาให้เข้าใจไว้ก่อน
ขณะสัมภาษณ์พูดคุย ความตื่นเต้นของข้าพเจ้ากำลังจะจากไปเมื่อข้าพเจ้าสัมภาษณ์ประโยคแรก ข้าพเจ้า ได้พยายามคิดหาคำถามต่างๆ มาถามชาวต่างชาติเพื่อไม่ให้การสนทนาขาดตอน และเราโชคดีที่ชาวต่างชาติคนนี้ใจดีมาก ไม่เรื่องมาก
หลังจากสัมภาษณ์เพูดคุย รู้สึกสนุก ชอบที่จะทักทาย และกล้าพูดกับชาวต่างชาติมากขึ้นเมื่อมีโอกาส เป็นประสบการณ์ที่ดีมากเลย ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความมั่นใจมากขึ้นในการสนทนาภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ ถ้าหากมีโอกาสได้ไปเที่ยว หรือไปที่ไหนก็ได้ที่มีชาวต่างชาติอยู่ข้าพเจ้าจะไม่ลังเลที่จะทักทาย
โดยทั่วไปแล้ว ครูมักจะประสบกับปัญหาผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และขาดความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ดังที่ อาจารย์ขจิต ฝอยทองได้ศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมประจำตำบลหนองรี อำเภอบ่อพพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ร้อยละ 70 ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ คิดว่าวิชาภาษาอังกฤษน่าเบื่อ เรียนแล้วไม่เข้าใจ ไม่ชอบเรียน ร้อยละ 80 ขาดความมั่นใจในการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษ เพราะแทบจะไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน เห็นเป็นเรื่องไกลตัว และร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนต่ำ (ศึกษาจากนักเรียนจำนวน 715 คน) ซึ่งผู้วิจัยได้หาทางกระตุ้นแรงจูงใจโดยการจัดกิจกรรม "English Camp" ให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ผ่านการเล่มเกมภาษาอังกฤษอย่างหลากหลาย และต้องสื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษตลอดเวลาที่อยู่ในค่าย โดยมีวิทยากรชาวต่างชาติจากศูนย์ Greenway International Work Camp ไปช่วยจัดกิจกรรม (ซึ่งเป็นการใช้หลัก "Joyfulness" และหลัก "Self-efficacy Belief" ในการสร้างแรงจูงใจภายในในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั่นเอง) ผลการศึกษาพบว่า หลังจากการร่วมกิจกรรม นักเรียนร้อยละ 90 มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น และกล้าพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น (https://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=15404)
(http://maizatulfaranaz.blogspot.com/2011/01/extrinsic-vs-intrinsic-motivation-which.html)
แรงจูงใจภายนอกในการเรียนรู้ (Extrinsic Motivation to Learn) เป็นแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นที่เกิดจากสิ่งภายนอก ไม่ใช่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ไปกระตุ้นความต้องการที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ความกลัวว่าจะถูกครูตำหนิหรือลงโทษ กลัวว่าจะไม่ได้คะแนน กลัวสอบตก ฯลฯ ในทางจิตวิทยาไม่สนับสนุนให้ใช้การกระตุ้นแรงจูงใจประเภทนี้ ถ้าจำเป็นจะต้องใช้ ก็ให้ใช้ได้บ้างในบางกรณี และกับผู้เรียนบางคน เท่านั้น
(http://www.englishisfunwhenitssung.net/index.htm.html)
นักจิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychologist) จะสนับสนุนให้ครูอาจารย์ใช้การกระตุ้นแรงจูงใจภายในในการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่า ซึ่งถ้าเป็นการเรียนภาษาอังกฤษก็ทำได้โดย 1) การทำให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ของการเรียนภาษาอังกฤษ 2) การทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกในการเรียน เช่น ให้เรียนจากเพลง เกม หรือทำให้การเรียนน่าสนใจ ท้าทายความสามารถ และ 3) การทำให้ผู้เรียนเชื่อว่า ตนจะสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้สำเร็จ
ในลำดับต่อไป ขอเชิญชวนท่านที่สนใจ "เรียนรู้ภาษาอังกฤษตามสถานการณ์" ร่วมเรียนรู้ภาษาอังกฤษจาก "Thai 2011 General Election" ที่ผู้เขียนได้ทำหน้าที่เป็น "English Learning Facilitator" โดยสรุปสารสนเทศ (Information) สำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งมาให้ศึกษา และขอเชิญชวนครูอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษ/สังคมศึกษา ได้ประสานความร่วมมือกัน ในการจัดการเรียนรู้ทั้งสองกลุ่มสาระ โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ และการเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง โดยใช้สารสนเทศที่ผู้เขียนจัดไว้ให้ ได้ผลอย่างไรเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ
Learning English by the situation is a meaningful way of learning, which will stimulate learners' motivation to learn. I myself learned English from "Thai 2011 General Election" including : vocabularies, phrases, and sentences; both praticing listening, and reading skills.
THAI 2011 GENERAL ELECTION RESULTS PER REGION
Key: Pheu Thai = red, Democrat = blue, BhumjaiThai = green, Chartthai = purple, Palung Chon = orange, no majority = gray
Parties that won majority of seats per province. Each province consists of one or more single-seat constituencies; the color represents what party won the majority of seats in that province. This should not be interpreted as a winner-take-all result as some parties may have also won seats there.
Source : http://en.wikipedia.org/wiki/File:2011_Thai_general_election_results_per_region.png
Thai General Election, 2011
All 500 seats to the House of Representative
First Party Second Party
Leader Yinkluk Shinnawatra Abhisit Vejjajiva
Party Pheu Thai Democrat
Seats Won 265 159
Election result
Exit poll indicated that Pheu Thai had won the election outright, winning a majority of seats.
According to preliminary results Pheu Thai won 265 seats (204 constituency-based + 61 party-list), Democrats 159 (115 + 44), Bhumjai Thai 34 (29 + 5), Chartthaipattana 19 (15 + 4), Palung Chon 7 (6 + 1), Chart Pattana Puea Pandin 7 (5 + 2), Love Thailand 4 (all party-list), Matubhum 2 (1 + 1), New Democrat 1 (party-list) and Mahachon one party-list seat. Prime Minister Abhisit Vejjajiva has already conceded the victory of Puea Thai Party and congratulated Ms. Shinawatra as the designated Prime Minister.
According to preliminary figures from the Electoral Commission the voter turnout was at 65.99%.
Following the provisional results, Ms. Shinawatra said that "Puea Thai had already reached an agreement with one smaller party, Chart Thai Pattana, about joining a coalition, and was in negotiations with others."
Party | Constituency | Proportional | TOTAL | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Votes | % | Seats | Votes | % | Seats | Seats | % | |
Pheu Thai | 204 | 61 | 265 | 53% | ||||
Democrat | 115 | 44 | 159 | 31.8% | ||||
Bhum Jai Thai | 29 | 5 | 34 | 6.8% | ||||
Chart Thai Pattana | 15 | 5 | 19 | 3.8% | ||||
Palung Chon | 6 | 1 | 7 | 1.4% | ||||
Chart Pattana Puea Pandin | 5 | 2 | 7 | 1.4% | ||||
Rak Thailand (Prathed Thai) | 0 | 4 | 4 | 0.8% | ||||
Matu Bhum | 1 | 1 | 2 | 0.4% | ||||
New Democrat | 0 | 1 | 1 | 0.2% | ||||
Maha Chon | 0 | 1 | 1 | 0.2% | ||||
Rak Santi | 0 | 1 | 1 | 0.2% | ||||
Valid votes | 375 | 125 | 500 | 100% | ||||
No Votes |
แงๆๆๆอยากกิงแก้วมังกือเอ๊ยแก้วโอ่งอังกรมังอ่าจานแม่ขา
5555555
มากวนตากวนใจอีกแร๊ะค๊าท่านพี่ขา
และนี่ผลไม้แถวบ้านน้องค่ะ
คุณพี่จะรับสักลังไหมคะ
เดี่ยวจะส่งมาให้แบบด่วนจี๋ไปรษณีย์จ๋าเลยค่ะ
เหอๆๆ
สวัสดีครับอ.แม่
ผมตามครูกายมาครับผม...เลยได้หัวเราะไปด้วย เห็นพ้องกับอ.แม่อย่างยิ่งครับว่าครูกายท่านมีมนต์วิเศษจริงๆ
แวะมากราบงามๆอิอิ
ไกลเกิ๊นเกรงว่าแก้วมังกรไปถึงก็จะกลายเป็นหินไปสิคะ
ทานก็ไม่ได้อีกต้องเก็บไว้บูชาแล้วเกิดถูกรางวัลที่หนึ่งขึ้นมาต้องลำบากอีกเพราะมีคนอ้างเป็นญาติขอส่วนแบ่ง555
ได้เรียนรู้และอ่านเข้าอยู่แค่เนี๊ยะแหละค่ะคุณพี่ขาเหอๆ
Yinkluk Shinnawatra Abhisit Vejjajiva
(Left) The Leader of Rak Santi Party, Purachai Piumsomboon. (Right) The Leader of Rak Prathet Thai Party, Chuwit Kamolvisit.
ข่าวเนชั่นภาคภาษาอังกฤษ (http://www.nationmultimedia.com/specials/nationphoto/show.php?pid=11125) ได้อธิบายภาพข่าวของคุณชูวิทย์ (ภาพบนขวา) ไว้ว่า "Rak Prathet Thai Party leader Chuwit Kamolvisit confirms he will join the opposition parties. Eating crabmeat with the media, he signals his determination to act as a check-and-balance monitor." ซึ่งแปลความหมายได้ว่า "นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทยยืนยันที่จะเข้าร่วมเป็นพรรคฝ่ายค้าน เขาได้แสดงการกินปูกับสื่อ เพื่อสื่อความว่า เขาตกลงใจที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบและถ่วงดุลในสภา "
ตามที่พี่เรียนรู้มา การเขียน "ชื่อเฉพาะ" จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ จะเขียนตามการออกเสียง เช่น อุบลฯ ไม่ได้ออกเสียง "ล" ก็เลยเขียน "Ubon" คำว่า "ชล" ในชลบุรี ก็เขียน "Chon" แต่ในนี้เขียนกมล เป็น "Kamol" ถ้ายึดตามหลักที่กล่าวมาต้องเขียน "Kamon" อีกอย่างเสียงตัว "V" ในภาษาไทยไม่มี ตัว "ว" ต้องใช้แทนด้วย "W" แต่ที่นี่ "วิทย์" ใช้ "W" แต่ "วิศิษฐ์" ตัว "ว" เหมือนกันแต่กลับใช้ "V" ชูวิทย์ เสียงสระอูก็น่าจะเขียน Choo เช่น เปี่ยมสมบูรณ์ เขียน "Piumsomboon" ถ้าเขียน Chu ก็จะออกเป็นเสียงสระอุเช่นเดียวกับ "Purachai"
เห็นบางแห่งเขียนชื่อพรรครักประเทศไทยว่า "Love Thailand Party" จริงๆ แล้วชื่อเฉพาะไม่ควรจะแปลออกมา ควรเขียนทับศัพท์ไปเลย และคำว่า "ประเทศ" ควรเขียนเป็น "Prathed"
คิดว่าน้องกายอาจไม่ได้สนใจที่จะรู้เรื่องพวกนี้หรอก ที่พี่ก็เขียนไปเผื่อจะมีคนอื่นสนใจอ่าน
ใครบอกล่ะคะว่าน้องจะไม่สนใจเรียนรู้ตั้งหน้าตั้งตาและตั้งใจเป็นอย่างมาก (คร่อก)วุ๊ยหางตกเอ๊ยคอตกน้ำลายไหลขออนุญาตท่านอาจารย์ผศ.วิไล แลบลิ้นเลียปากก่อนแผลบๆ5555
เก่งไปหมดเลยนิพี่สาวเราอิอินับว่าเป็นบุญวาสนาของข้าพเจ้าแน่แท้จริงเชียวที่ได้มารู้จักกับท่านพี่ในโลกของwww.gotokmow.org/
พอทีกับน้าสาวที่เป็นอาจารย์ภาควิชาภาษาไทยอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เจอกันก็ไม่ค่อยจะกล้าคุยกับน้า เมื่อตอนเด็กๆก็ปลื้มน้าสาวคนนี้มากน้าเป็นคนเรียนเก่งแต่ทั้งน้าทั้งหลานเป็นคนพูดน้อยเหมือนกัน พอทำงานน้าไปอยู่ที่ปัตตานีก็ยิ่งห่าง ได้ไปเจอน้าสาวครั้งสุดท้ายตอนไปอบรมครูแกนนำที่สอบได้คะแนนสูงในกลุ่มวิชาบรรณารักษศาสตร์ ตามโครงการยกระดับคุณภาพครูและผู้บริหารทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แต่น้าสาวเป็นอาจารย์ที่ไปให้การอบรมครูกลุ่มภาษาไทย อยู่ชั้น 8 น้องอบรมบรรณารักษ์ฯอยู่ชั้น 2 555
ส่วนนี่เป็นน้าคนที่ 2 น้องรองจากแม่ น้าคนนี้จะสนิทกับน้องกายมากที่สุด น้าเป็นคนตลกพูดมากอารมณ์ดี
อายุ 63 ปีแล้วค่ะ ตอนหนุ่มหล่อม๊าก
ตอนนี้ก็เหมือนในรูปนี้แหละค่ะน้องเป็นคนถ่ายรูปให้น้าเอง555
น้าหนังเหนียวแก่ยากกร๊าก
คนนี้ใจดีมากกว่าใคร แต่พูดน้อยมากเป็นคนเอาจริงเอาจังกับชีวิตมาตั้งแต่เด็ก ตอนนี้เลยรวยกว่าเพื่อนในบรรดาลูกยาย
น้าชายคนขยันเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดของหลานๆ น้าสมพร แซ่เง่า
น้าสาวคนที่สี่ไม่มีรูปเพราะน้าไปอยู่ที่นนทบุรี ไม่ได้เจอนานมาหลายสิบปีแล้วค่ะ
อ้าว ชื่อน้าสาวคนที่ 4 เหมือนคุณพี่เลยค่ะ
คุณแม่น้องชื่อมาลี น้าชายคนที่ 2 นายสุทิน ที่ 3 นายสมพร ที่ 4 นางวิไล ที่ห้า นางมะลิ คนที่ 6 นายสมชาติ คนที่7 นางปริญชยา คนที่ 8 นายวุฒิภูมิ
ยายของน้องเก่งป่าวล่ะ เกิดได้ไง ได้ลูกมาตั้ง 8 คนแน่ะ
เรามีลุกแค่สองก็ลิ้นห้อยแล้ว เด็กสมัยนี้เลี้ยงยากเนอะ
น้าสาวคนที่สี่ไม่มีรูปเพราะน้าไปอยู่ที่นนทบุรี ไม่ได้เจอนานมาหลายสิบปีแล้วค่ะ
อ้าว ชื่อน้าสาวคนที่ 4 เหมือนคุณพี่เลยค่ะ
คุณแม่น้องชื่อมาลี น้าชายคนที่ 2 นายสุทิน ที่ 3 นายสมพร ที่ 4 นางวิไล ที่ห้า นางมะลิ คนที่ 6 นายสมชาติ คนที่7 นางปริญชยา คนที่ 8 นายวุฒิภูมิ
ยายของน้องเก่งป่าวล่ะ เกิดได้ไง ได้ลูกมาตั้ง 8 คนแน่ะ
เรามีลุกแค่สองก็ลิ้นห้อยแล้ว เด็กสมัยนี้เลี้ยงยากเนอะ
*ขอบคุณสำหรับการวิเคราะห์ปัญหาสภาวะความรู้ภาษาอังกฤษที่น่าเป็นห่วงมากของเยาวชนในบ้านเมืองเรา..ทุกวันนี้ การเรียนเสริมนอกชั้นเรียนในลักษณะ edutainment จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากค่ะ..โดยเฉพาะการอ่าน ฟัง และ พูด..
*จากประสบการณ์ของตนเองที่เคยมีหลานๆในวัยเรียนรู้..ป้าใหญ่มักใช้เวลาว่างกับพวกเขาในการอ่านหนังสือการ์ตูน การฟังเพลงและชมภาพยนต์บันเทิงภาษาอังกฤษเหมาะสมแก่วัย เสมอๆ..ทำให้เกิดความคุ้นเคยกับประโยค..บทสนทนา รวมทั้งรูปศัพท์ อย่างเป็นธรรมชาติ และไม่เกิดความเบื่อหน่ายเหมือนเรียนในห้องเรียน..ได้ผลทางอ้อมเป็นอย่างดีมากค่ะ
*ขอบคุณที่แวะไปฝากประสบการณ์ดีๆที่บันทึก.. ขอชื่นชมในผลสำเร็จค่ะ
แวะมาหอมแก้มก่อนนอน( จ๊าก )โดนท่านพ่อใหญ่สอถีบ
ทั้งภาพทั้งอักษรกระคุ๊กกระดิ๊กไปก็อปโค๊ดมาค่ะจากเว็บสนุก ที่กระปุกก็มีค่ะ เยอะแยะตาแป๊ะไก่
ส่วนภาพคุณครูอัมพรนี่ค่อนข้างใช้เวลาเพราะเป็นการตัดต่อ กับ Paint ต้องเลือกรูปมาและตัดสินใจแบบเด็ดเดี่ยวอิอิ
ตัดชับๆตัดให้ขาดไปเลยแล้วก็เอามาต่ออีกครั้งกับร่างใหม่เหอๆ ดีนะคะที่คุณครูอัมพรท่านไม่ว่าอะไรอิอิเห็นรูปร่างครูอัมพรแล้วน่าไปเป็นทหารหญิงมาก เลยเอามาเล่นซะจนไม่น่าให้อภัย5555
สวัสดีครับคุณพี่
ร.ร.ยังอยู่ต่อ เด็กๆดีใจ ทั้งผู้ปกครอง ผอ.ก็โล่งใจ แต่ครูสงสัยจะไม่มีเวลาได้หายใจ
เรื่องจริงอันเป็นข้อผิดพลาดที่ผมกระทำมาก็คือ มีทัศนคติไม่ดีเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ พลอยให้ไม่ได้ใส่ใจในการเรียน แต่ก็ไม่เคยสอบตก ถึงกระนั้นก็พลอยให้ตัวเองกลายเป็นคน "อ่อนด้อย" ในภาษาอังกฤษไปโดยปริยาย
ครับ เรื่องทัศนคติเป็นเครื่องนำพาโดยแท้ ทัศนคติ เหมือนเข็มทิศและยุทธศาสตร์ของชีวิต...
ขอบพระคุณครับ
ใช้ท็อกกิ้งดิก รับรองเริดอิอิ
อ้าวแล้วคุณพี่เราหายไปไหนล่ะนี่หรือว่าไปบวชชีซะแล้ว..วิ๊ว
ทำอย่างไรให้การเลือกตั้งไม่มีการแจกเงิน
แจกของ สัญญาว่าจะให้
ข่มขู่ฆ่ากัน ไม่มีหัวคะแนนหาเงิน
ทำไงดีครับ
กลับมาติดตามผลครับ
และเจรจาเพิ่มเรื่อง วิจัยด้านภาษาอังกฤษ
มีทางไหนแนะกันบ้างครับ
ผมไม่มีใจรักทางด้านนี้เท่าใดเลย
แต่สภาพแวดล้อมเคล้นคลึงผมจนจะน่วมแล้ว