ผจญภัย ค้นหาซากรถญี่ปุ่นสมัยสงครามโลก : งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น


การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน งานทั้งหมดจะถูกจัดการองค์ความรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชน เพื่อการสร้า้งสรรค์งานพัฒนาที่สอดคล้องกับชุมชน สรา้งสรรค์ปัญญา และพัฒนาท้องถิ่น....

ขณะที่ผมกับ รองผู้พันปิยวุฒิ กำลังพูดคุยกับชาวบ้าน ที่บ้านรุ่งอรุณ (จีนยูนนาน) ในเวทีวิจัยที่เราจัดขึ้นบ่อยๆในชุมชน ตามกระบวนการศึกษา วิจัย เพื่อท้องถิ่น

ีชาวบ้านมาแจ้งเรื่อง มีคนไปพบซากรถในป่าลึก และเขาแจ้งต่ออีกว่า น่าจะเป็นรถยนต์สมัยสงครามโลก เป็นรถยนต์ของญี่ปุ่นที่ใช้ในการสัญจร โดยใช้เส้นทางจากเชียงใหม่เข้าสู่ปาย และปางมะผ้า ผ่านอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเข้าประเทศพม่า (ตามประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครังที่ ๒ ที่สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้อาวุโสที่นี่... )

เราพอทราบมาว่าแถบนี้ เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลักฐานที่เห็นชัดเจน ก็คือ สะพานเหล็กที่บ้านท่าปาย อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

และที่ชาวบ้านมาแจ้งเรื่องนี้ พร้อมบอกสถานที่พบเจอ ซากรถ รองผู้พัน ก็บอกผมว่า สอดคล้องกันกับประวัติศาสตร์ จุดที่พบเป็นเส้นทางการเดินรถของทหารญี่ปุ่น 

พวกเรา ผมและรองผู้พัน ชาวบ้านอีกสองสามคน ขึ้นรถ 4WD และวิ่งตามเส้นทางถนนสาย ๑๐๙๕ ปางมะผ้า - แม่ฮ่องสอน ก่อนที่จะนำรถไปจอดไว้ข้างทาง และพากันเดินเข้าป่าไปเพื่อไปดูให้เห็นกับตามว่าเป็นอย่างไร? น่าจะใช่รถยนต์ของทหารญี่ปุ่นหรือไม่?

ทางเดินค่อนข้าง ลำบากเพราะภูมิประเทศที่สูงชัน ต้องลัดเลาะไปตามสันเขา ชาวบ้านที่พบชี้ให้ดูจุดที่พบ  ว่าต้องลงเขาชัน ประมาณ เกือบ  ๘๐ องศา เท่าที่ดูชันมาก และท่าทางลงไปถึงจุดที่ชาวบ้านบอกลำบาก

 

แต่ด้วยความอยากรู้ และผมชอบลุยป่าอยู่แล้ว ประกอบกับ พี่รองผู้พัน รู้วิธีการลงเขาลึกๆ และสอนการลงจากจุดสูงๆให้ปลอดภัย ที่ไม่ต้องเสี่ยงอะไรมาก

พวกเราใช้เวลานานพอสมควรที่หย่อนตัวลงไปกลางช่องเขา จนถึงร่องลึกกลางลำห้วย

...มองขึ้นไปข้างบน ไม่น่าเชื่อว่าเราจะลงมาได้

 

จากนั้นเราก็พบซากเศษเหล็กขนาดใหญ่  ประมาณ ๓ จุดด้วยกัน ห่างกันประมาณจุดละ ๑๐๐ เมตร เป็นท่อนเหล็กซึ่งเป็นส่วนประกอบของรถยนต์ รองผู้พันบอกว่า ดูจะเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่ และเหล็กดูแข็งแรง เราลองผลักดูไม่เขยื้อน ...แสดงว่าหนักมาก

ตรงจุดบนซากรถที่เราพบ ชาวบ้านคนหนึ่งบอกว่า แถวๆนี้สมัยก่อนเป็นถนนขุดโดยใช้แรงคนของญี่ปุ่น ที่ขุดทางรถเพื่อเดินทางส่งเสบียง กองกำลังผ่านไปทางพม่า

ด้วยหลักฐาน และภูมิประเทศพร้อมคำบอกเล่าของชาวบ้านที่นี่ ก็พอที่จะเชื่อได้ว่า เศษเหล็กขนาดใหญ่ที่ผมเห็นเหล่านี้ เป็นรถของญี่ปุ่นสมัยสงครามโลก จริง (อันนี้ผมเชื่อส่วนตัว)

ซึ่งรองผู้พันเองก็บอกว่าต้องพิสูจน์อีกครั้งหนึ่ง ว่าใช่จริงหรือไม่ แต่เบื้องต้น คิดว่าน่าจะใช่...

 


เหตุการณ์ที่เราเข้าไปทำงานในหมู่บ้าน มีหลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่เราต้องเก็บบันทึกไว้

 

หมู่บ้านท่องเที่ยว หากมีเรื่องราว ประวัติศาสตร์ชุมชนที่น่าสนใจ ก็สามารถจะผูกเรื่อง เชื่อมโยงให้นักท่องเที่ยวได้เห็นภาพของเรื่องราวชีวิตของชุมชนได้
ซึ่งจะสร้า้งความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

ประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่มีร่องรอยที่พอจะเห็นได้ในแถบนี้ ก็เป็นหนึ่งเรื่องราวที่พวกเราสนใจ
และหากมีกาีรศึกษาอย่างจริงจัง ก็จะเป็นโอกาสดีที่เยาวชนรุ่นเด็กๆจะได้มีโอกาสเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตัวเอง

 

เช่นเดียวกับหมู่บ้านรุ่งอรุณ(แม่สุยะจีน) ...ที่เรากำลังดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน งานทั้งหมดจะถูกจัดการองค์ความรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชน เพื่อการสร้างสรรค์งานพัฒนาที่สอดคล้องกับชุมชน

สร้างสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น.... 

 

หมายเลขบันทึก: 44399เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
     น่าสนใจมากที่เดียว ที่เราจะใช้ "รอย" ที่เกิดขึ้น เป็นทุนต่อให้ชุมชนครับ

ช่วยกันสืบค้น ตื่นเต้น และมีเรื่องเล่าต่อ ให้ชุมชน กระตุ้นให้เขาอยากรู้เรื่องรอบตัวให้มากขึ้น สร้า้งความรัก สามัคคี...ภาคภูมิใจในบ้านเกิดตนเอง

สิ่งเหล่านี้ เป็นผลที่เกิดขึ้นครับ...พี่ชายขอบ 

"การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นไทย.....นี่แหละครับแนวทางต่อการศึกษาต่อไปในอนาคตของการศึกษาไทย....." ให้กำลังใจคุณจตุพรและทีมงานนะครับ

  • เห็นแล้วอยากไปร่วมสัมผัสกลิ่นไอประวัติศาสตร์ด้วยคนครับ
  • ขอบคุณอาจารย์จตุพรอีกครั้งที่นำภาพอดีตและเบื้องหลังของ "ไทย" มาเผยแพร่ให้เราชาว "ไทย" ได้รู้จักตนเองมากขึ้นครับ

ขอบคุณ

ท่าน น.เมืองสรวง

 หากเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเราแล้ว ย่อมเข้าใจชุมชนท้องถิ่นเรามากขึ้น เรื่องราวเหล่านี้จะร้อยรัดจิตใจเข้าด้วยกันเป็นบรรยากาศของ "ความรัก" และ "ความภาคภูมิใจ" ของคนท้องถิ่นครับ

ขอบคุณ ท่าน น.เมืองสรวง อีกครั้งสำหรับกำลังใจ 

 อาจารย์ปภังกร

ยินดีหากสักวัน อาจารย์จะแวะเวียนมาหากัน... วิถีวิจัย อาจารย์ได้สัมผัสมาโดยตลอดนั้น น่าสนใจ และถ่ายทอดออกมาดีเยี่ยม

ผมเอาเป็นแบบอย่างครับ 

 

 
ภาพอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจีน สันติชล กำลังรินชาร้อนๆ ตอนที่ผมไปนั่งสนทนากับท่าน อาจารย์ใหญ่ "หล่าซือ" ท่านนี้มี Tacit K.มากมายหากเราสนทนาภาษาจีนได้ก็จะดีกว่ามากครับ

...........................................

อาจารย์ปภังกรและท่าน น.เมืองสรวง  หากมีโอกาสคงได้ชนจอกกันที่แม่ฮ่องสอนนะครับ

ชนจอก...ชอบครับ..เมื่อครั้งไปสัมมนาที่เชียงรายปี 2545 ได้ชนจอกเหล้าต้ม เหล้าป่า เหล้ารากไม้ แม้.....เครื่องแรงน่าดูครับ  ( แต่ตอนนี้นโยบายงดเหล้าเข้าพรรษา ขอ งดไว้ก่อนครับ...)

ท่าน น.เมืองสรวง 

งดเฉพาะ ๓ เดือนเข้าพรรษา หลังจากนั้น ๙ เดือนดื่มใช่มั้ยครับ งั้นเจอกันที่ แม่ฮ่องสอน ชนกันสักพันจอกนะท่านนะ

(ชนชาครับ) 

  • ตามมาร่วมวงสนทนาครับ
  • บรรยากาศของการเข้าถึงชุมชน  เริ่มด้วยการเรียนรู้บริบทของชุมชน  บางครั้งก็ไม่สามารถกำหนดประเด็นไว้ล่วงหน้าได้ แล้วแต่ประเด็นแล้วเราก็ตามประเด็นนั้นๆ ไปเรื่อยๆ (เหมือนรายการ "คนค้นคน" และ "กบนอกกะลา" 
  •  ทุกอย่างล้วนเป็นการเรียนรู้ และเป็นข้อมูลสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามทั้งสิ้น
  • ยินดีกับงานที่ทำแล้วมีความสุขนะครับ

พี่สิงห์ป่าสัก

ขอบคุณที่โทรมาคุยในวันก่อนครับ...นอกจากได้ B2B แล้วยังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันอีก..

 บริบทชุมชน ในกระบวนการวิจัยสำคัญมาก เพราะเป็นพื้นฐานในการเข้าใจชุมชน และชุมชนก็จะรู้ตนเองผ่านเรื่องราวของเขา

สนุกและตื่นเต้น ผจณภัย เป็นสิ่งที่ผมชอบครับ

เหตุการณ์รายทางแบบนี้ มีบ่อยๆในพื้นที่วิจัย ...ครับ

ขอบคุณมากครับพี่สิงห์ป่าสัก 

ผมเพิ่งรู้ครับว่า...

ประเทศไทยยังมีป่าที่รอการค้นพบอยู่อีก...

น่าสนใจและน่าติดตามครับ...

ติดตามต่อครับ มี unseen กว่าที่คุณ Mr.Direct  คาดไม่ถึงก็มีอีกครับ

วันที่ ๒๔ - ๒๕  มีค.จะมีการทดลองท่องเที่ยว นำร่อง วิถีชีวิตจีนยูนนานรุ่งอรุณ ขี่ม้าฬ่อชมหมู่บ้าน trekking เส้นทางธรรมชาติ และ เดิมชมวิถีชีวิต

ว่างมั้ยครับ มาแจมกับผมได้นะครับ

น่าสนใจจังครับ...

แต่ทำงานเป็นกะ ต้องเซ็ตวันลาล่วงหน้า...

แล้วช่วงนี้ภารกิจเยอะมากครับ...

ไว้เซ็ตอะไรลงตัว ไปแน่นอนครับ...

ชอบท่องเที่ยวแนวนี้ครับท้าทายดี ได้ความสนุก ได้ผจญภัย แถมความรู้และประสบการณ์ดีอีกด้วย...

มีความพยายามในการสานต่อเพื่อพัฒนาชุมชน "บ้านรุ่งอรุณ" เพื่อให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว ต่อเนื่องจากงานวิจัย ของ อบต.ห้วยผา

ต้องขอขอบคุณท่านนายก อบต. ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์และเห็นความสำคัญ

- - -

P

สำหรับคุณดิเรก มาเที่ยวได้ครับ ที่นี่เรามีทั้งการเที่ยวแบบ adventure และแบบท่องเที่ยววิถีชุมชน กิน นอน อยู่ เที่ยว

หากสนใจปฏิบัติธรรมก็มีครับ วัดป่าถ้ำวัวสูญตาราม ตรงข้ามชุมชน น่าสนใจมากทีเดียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท