แผนพัฒนาสถานศึกษาตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก


แผนพัฒนาสถานศึกษาตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 5 ระยะ

 

แผนการพัฒนาสถานศึกษาตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 

ข้อ  1.  แผนการพัฒนาสถานศึกษาตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนใน 5 ระยะของสถานศึกษา 

ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จระดับโรงเรียน

กระบวนการขับเคลื่อน

ระยะที่ 1 เริ่มต้นค้นวิเคราะห์ ( ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 )

1. มีข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล ครบถ้วน พร้อมใช้

1. งานสารสนเทศสำรวจข้อมูลนักเรียนรายบุคคล  จัดพิมพ์ลงโปรแกรม2. งานทะเบียนนักเรียนจัดเก็บเอกสารการมอบตัวของนักเรียนและจัดพิมพ์ข้อมูลนักเรียนรายบุคคลลงโปรแกรม  และบันทึกเก็บในฐานข้อมูลของโปรแกรมงานทะเบียนวัดผล 3. จัดทำสารสนเทศเพื่อใช้พัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น

2. มีแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นที่ชัดเจนปฏิบัติได้

1. ประชุมชี้แจงครู บุคลากรเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น 2. ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการเพื่อร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการที่รองรับการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น3. งานทุกฝ่ายและกลุ่มสาระประชุมครูเพื่อสร้างแนวทางร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น4. งานทุกฝ่ายและกลุ่มสาระทุกกลุ่มสาระช่วยกันจัดทำแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นที่สามารถปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและบรรลุเป้าหมาย

3. มีฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเพียงพอ

1. สำรวจความเพียงพอของแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน2. จัดหาและสร้างแหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอต่อความต้องการ3. จัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

4. มีตารางเรียนที่ยืดหยุ่นตามจุดเน้น

1. ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการ  ทบทวนปัญหาและอุปสรรคในการจัดตารางเรียน2. จัดทำตารางเรียนที่ยึดหยุ่นเอื้อต่อการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามจุดเน้น 

ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จระดับโรงเรียน

กระบวนการขับเคลื่อน

5. มีกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเวลาเรียน

1. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเวลาเรียน2. นำนักเรียนไปศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน3. นำนักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่4. นิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง

6. มีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ครอบคลุมตามจุดเน้น

1. ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการเพื่อชี้แจง สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามจุดเน้นที่หลากหลายและครอบคลุม2. กลุ่มสาระประชุมครูเพื่อชี้แจง สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามจุดเน้นที่หลากหลายและครอบคลุม3. ครูออกแบบเครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลให้หลากหลายครอบคลุมตามจุดเน้นตามสภาพจริง

ระยะที่ 2 บ่มเพาะประสบการณ์(ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554)

1. ผู้เรียนได้สำรวจ สืบค้น ทำโครงงาน โครงการ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

1. ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการเพื่อทบทวนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยให้นักเรียนสำรวจ สืบค้น ทำโครงงาน โครงการ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

2. ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างคุ้มค่า

1. จัดทำแผนการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน2. ครูนำนักเรียนไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน3. จัดทำบันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้ รายงานสรุปผลการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาต่อไป4. มีการนิเทศกำกับตัดตามอย่างต่อเนื่อง   

ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จระดับโรงเรียน

กระบวนการขับเคลื่อน

3. จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

1. สำรวจสภาพและปรับปรุงห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้2. สำรวจสภาพและปรับปรุงบรรยากาศนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้2. จัดให้มีมุมประสบการณ์หรือห้องปฏิบัติการพิเศษต่าง ๆทุกกลุ่มสาระ3. จัดเผยแพร่แสดงผลงานนักเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ  เป็นต้น4. มีการนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง

4. ชุมชนเข้าใจ ร่วมมือ สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้

1. ประชุมชี้แจงผู้ปกครองนักเรียน/คณะกรรมการสถานศึกษา/ชุมชน ให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเข้ามามีส่วนสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน2. เชิญผู้ปกครองนักเรียน/คณะกรรมการสถานศึกษา/ชุมชน เข้าร่วมงานกิจกรรมของโรงเรียน3. สร้างเครือข่ายผู้ปกครองในห้องเรียน

5. ครูพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้/สื่อ อย่างมีประสิทธิภาพ

1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ การจัดทำสื่ออย่างมีประสิทธิภาพ2. จัดทำทะเบียนสื่อ/แหล่งเรียนรู้3. นิเทศ กำกับ ติดตาม กระบวนการจัดการเรียนรู้และการใช้สื่ออย่างมีคุณภาพ

6. มีการนำผลการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. จัดให้มีป้ายนิเทศแสดงผลงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มสาระ2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามจุดเน้น3. จัดเผยแพร่แสดงผลงานนักเรียน/ครูในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ  เป็นต้น4. นำผลงานนักเรียน/นักเรียนเข้าร่วมงานในระดับจังหวัด  ระดับภาค และระดับชาติ  เช่น  มหกรรมวิชาการงานวันมัธยม  งานศิลปหัตถกรรมระดับภาค ระดับชาติ5. ให้การชื่นชมต่อครูที่สร้างผลงานการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในที่ประชุม  เป็นต้น   

ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จระดับโรงเรียน

กระบวนการขับเคลื่อน

ระยะที่ 3 สานต่อองค์ความรู้ (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 )

1. มีการนำผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน

1. ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น2. กลุ่มสาระประชุมครูเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น2. กำหนดแนวทางพัฒนาและปรับปรุง3. จัดทำแผนงานกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น

2. มีผลการวิจัยและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

1. ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียน3. ครูทำวิจัยและพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง4. มีการนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง

3. มีรายงานผลความก้าวหน้าในการพัฒนาผู้เรียน

1. ครูรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับขั้น  คือ เสนอผ่านหัวหน้ากลุ่ม ผ่านรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ  และโรงเรียนรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด2. มีการเผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

4. มีการสร้างเครือข่าย/แลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. สร้างเครือข่ายในพัฒนาคุณภาพการศึกษาในกลุ่มสาระ  ในโรงเรียน  และในสหวิทยาเขต2. สร้างเครือข่ายในระดับเขตพื้นที่การศึกษา

ระยะที่ 4 นำสู่วิถีคุณภาพ (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 )

1. มีนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น

1. ประชุมสัมมนาเพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น2. มีการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น3. แสวงหาวิธีการ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาและประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงเรียน  

ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จระดับโรงเรียน

กระบวนการขับเคลื่อน

2. มีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามจุดเน้น

1. ประชุมสัมมาคิดค้นแสวงหาวิธีการ/สื่อ/เครื่องมือ/นวัตกรรม/รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามจุดเน้น2. มีการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามจุดเน้น3. แสวงหาวิธีการ  รูปแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามจุดเน้นที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก

3. มีเครื่องมือวัดและประเมินผลการพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพ

1. ประชุมสัมมาคิดค้น สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพและหลากหลายครอบคลุมตามจุดเน้น 2. แสวงหาเครื่องมือวัดและประเมินผล  รูปแบบ และวิธีการวัดและประเมินผลการพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก3. ปรับปรุงเครื่องมือวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับจุดเน้น พร้อมนำไปพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพ

4. มีการเผยแพร่การวิจัยและผลการพัฒนาผู้เรียน

1. ประชาสัมพันธ์/เผยแพร่ผลการวิจัยและผลการพัฒนาผู้เรียนผ่านทางเว็บไซต์ของสถานศึกษา/สหวิทยาเขต/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา2.จัดทำเป็นวารสาร แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์3. จัดนิทรรศการแสดงผลงานการวิจัยและพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนตามโอกาส

ระยะที่ 5 มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่( ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 )

1. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสามารถทักษะ และคุณลักษณะตามจุดเน้น

1. จัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหากระบวนการและเจตคติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงทั้งในและนอกห้องเรียน จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายตามความถนัดและความสนใจนักเรียนมีส่วนร่วมในจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล2. มอบเกียรติบัตรนักเรียนที่มีผลงานดีเด่นตามจุดเน้น3. มีการยกย่องชมเชยนักเรียนที่มีผลงานดีเด่นตามจุดเน้นในโอกาสต่าง ๆ

2. มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่

1. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ2. ใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จระดับโรงเรียน

กระบวนการขับเคลื่อน

3. ครูเป็นครูมืออาชีพ

1. ครูจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน มีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามสภาพจริง2. ครูครูพัฒนาตนเป็นครูมืออาชีพ  พัฒนาตนเป็นครูต้นแบบ3. ครูมีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

4. โรงเรียนมีการจัดการความรู้

1. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนการจัดการองค์ความรู้ของคณะครู2. จัดกิจกรรม Open house เปิดบ้านทางวิชาการให้นักเรียนได้เผยแพร่ผลงานที่ได้เรียนและปฏิบัติมาตลอดทั้งปีการศึกษา3. รวบรวมองค์ความรู้เป็นหมวดหมู่ในรูปแบบที่ครูและนักเรียนสามารถสืบค้นได้อย่างสะดวก  เช่น จัดทำเป็นรูปเล่ม  เผยแพร่ทางเวบไซต์ของโรงเรียน  จัดรวบรวมไว้ในรูปแบบซีดี  เป็นต้น

5. มีเครือข่ายร่วมพัฒนาที่เข้มแข็ง

1.จัดตั้งกลุ่มทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับโรงเรียน/สหวิทยาเขต/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา2. จัดตั้งเป็นชุมนุมเพื่อเป็นการรวมตัวของนักเรียนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน3. จัดเปิดเป็นวิชาเลือกสาระเพิ่มเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจในเรื่องเดียวกันได้มารวมตัวกันศึกษาในเรื่องที่สนใจอย่างจริงจัง

6. สาธารณชนยอมรับ และมีความพึงพอใจ

1. จัดนิทรรศการแสดงผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ในรูปแบบของ กิจกรรม Open house เปิดบ้านทางวิชาการ2. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การประชุมผู้ปกครอง  การประชุมภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง การตอบแบบสอบถาม  เป็นต้น 3. ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น 

  ข้อ 2.  การขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาหลังการประกาศ เมื่อวันที่  22  ตุลาคม  2553 จนถึงปัจจุบัน 

การดำเนินงานของโรงเรียน

ผลการดำเนินงาน

1. จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศผู้เรียนรายบุคคล/รายโรงเรียน

1. งานสารสนเทศมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคล/รายโรงเรียน2. งานทะเบียนนักเรียนจัดเก็บเอกสารการมอบตัวของนักเรียนและจัดพิมพ์ข้อมูลนักเรียนรายบุคคลลงโปรแกรม  และบันทึกเก็บในฐานข้อมูลของโปรแกรมงานทะเบียนวัดผล 3. โรงเรียนมีข้อมูลสารสนเทศรายบุคคล/รายโรงเรียนที่เป็นปัจจุบัน

2. จัดทำ/ส่งเสริมให้มีแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นระดับเขตพื้นที่การศึกษา/รายโรงเรียน

1. มีแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นระดับเขตพื้นที่การศึกษา/รายโรงเรียน2. มีป้ายนิเทศแสดงผลงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มสาระ3. มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามจุดเน้น4. มีผลงานนักเรียน/ครูจัดเผยแพร่แสดงผลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ  เป็นต้น5. มีผลงานนักเรียน/นักเรียนเข้าร่วมงานในระดับจังหวัด  ระดับภาค และระดับชาติ  เช่น  มหกรรมวิชาการงานวันมัธยม  งานศิลปหัตถกรรมระดับภาค ระดับชาติ6. มีการชื่นชมต่อครูที่สร้างผลงานการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในที่ประชุม  เป็นต้น

3. ออกแบบระบบส่งเสริมสนับสนุนและประกันคุณภาพที่จะช่วยสถานศึกษาให้ดำเนินการตามจุดเน้น

1.  โรงเรียนมีการประเมินตนเองและจัดทำรายงานประจำปี2.  ผู้บริหารมีการประชุมและเน้นย้ำให้ครูเห็นความสำคัญของการประเมินภายนอก3.  โรงเรียนมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบงานในแต่ละมาตรฐานและแต่ละตัวบ่งชี้4.  โรงเรียนมีข้อมูล  เอกสาร  หลักฐาน  ร่องรอยสำหรับการรองรับการประเมินภายนอก

4. ทำแผนการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลที่คล่องตัวและต่อเนื่อง

1.  โรงเรียนมีการประชุมครูและบุคลากรทั้งโรงเรียน2.  โรงเรียนมีการประชุมฝ่ายบริหารตามตารางประชุมทุกวันพฤหัสบดี คาบ 3-43.  โรงเรียนมีการประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการตามตารางประชุมทุกวันศุกร์ คาบ 3-44.  โรงเรียนมีการประชุมครูกลุ่มสาระตามตารางประชุมกลุ่มสาระ

ข้อ 3.  การดำเนินงานตามตัวชี้วัดภาพความสำเร็จในระยะที่ 1 (ภาคเรียนที่ 2/2553)ของโรงเรียน 

การดำเนินงานของโรงเรียน

ผลการดำเนินงาน

1. มีข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลครบถ้วน พร้อมใช้

1. งานสารสนเทศมีข้อมูลนักเรียนรายบุคคล  จัดพิมพ์ลงโปรแกรม2. งานทะเบียนนักเรียนมีการจัดเก็บเอกสารการมอบตัวของนักเรียนและจัดพิมพ์ข้อมูลนักเรียนรายบุคคลลงโปรแกรม  และบันทึกเก็บในฐานข้อมูลของโปรแกรมงานทะเบียนวัดผล 3. มีสารสนเทศเพื่อใช้พัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น

2. มีแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นที่ชัดเจน ปฏิบัติได้

1. ครู บุคลากรมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น 2. คณะกรรมการบริหารวิชาการร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการที่รองรับการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น3. ครูมีแนวทางร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น4. งานทุกฝ่ายและกลุ่มสาระทุกกลุ่มสาระช่วยกันจัดทำแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นที่สามารถปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและบรรลุเป้าหมาย

3. มีฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเพียงพอ

1. มีข้อมูลของแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน2. แหล่งเรียนรู้มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการ3. มีทะเบียนแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

4. มีตารางเรียนที่ยืดหยุ่นตามจุดเน้น

1. คณะกรรมการบริหารวิชาการมีการทบทวนปัญหาและอุปสรรคในการจัดตารางเรียน2. ตารางเรียนมีความยึดหยุ่นเอื้อต่อการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามจุดเน้น

5. มีกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเวลาเรียนมีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายครอบคลุมตามจุดเน้น

1. มีแผนการจัดการเรียนรู้และออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเวลาเรียน2. นักเรียนได้ไปศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน3. นักเรียนได้ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่4. ครูได้รับการนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง5. คณะกรรมการบริหารวิชาการมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามจุดเน้นที่หลากหลายและครอบคลุม2. ครูทุกลุ่มสาระมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามจุดเน้นที่หลากหลายและครอบคลุม3. ครูออกแบบเครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลให้หลากหลายครอบคลุมตามจุดเน้นตามสภาพจริง

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 442797เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2011 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลองไปที่แก้ไขบันทึก แก้ไขให้ตัวอักษรใหญ่นะครับ เลือกตรงลูกศร Format ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท