MIS


Management Information System

มีโจ๊ก (joke) ขำขำที่พวกเรามักพูดถึงเกี่ยวกับระบบ MIS (เอ็ม ไอ เอส) ของคณะวิทยาศาสตร์ คือ ชื่อระบบ MIS ของคณะวิทยาศาสตร์ในยุคเริ่มต้นนั้น มันถูกตั้งชื่อไว้ว่า MISS หรือ Management Information System of Science ซึ่งคำว่า MISS ในภาษาอังกฤษมันก็มีคำแปลที่ล่อแหลมว่า "พลาด ขาด หายไป" ดังนั้นระบบ MIS ของเราจึงไม่เคยจะใช้การได้ดีซักที ....อันนั้นก็เป็นเรื่องตลกร้ายที่ไม่เพียงจะเป็นการยั่วล้อเอากับความเป็นไปในคณะ แต่ยังเป็นตลกร้ายที่กำลังบอกว่าคนทำงานก็หลงทางเองด้วย

หลังการวิเคราะห์ชื่อว่ามันไม่เสริมฮวงจุ้ยแล้ว จึงมีการเปลี่ยนชื่อระบบ MISS ให้เป็น Sci-MIS ซึ่งก็เหมือนจะดูดีขึ้น มีการพัฒนาระบบงานขึ้นหลายอย่างและคงต้องจัดว่าเป็นยุคแห่งฐานข้อมูลออนไลน์ (หรืออย่างที่เรียกว่า internet) แตกต่างจาก MISS เดิม ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นบน Microsoft Access และเข้าถึงได้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อสายกันอยู่เท่านั้น (หรืออาจเรียกว่า intranet)

อย่างไรก็ตาม Sci-MIS ยุคนี้ก็ยังพัฒนาขึ้นบนฐานคิดของ MISS เดิม ประกอบกับการพัฒนาไม่ได้มีการทำอย่างต่อเนื่อง ยุคของข้อมูลใน Sci-MIS จึงมีฐานข้อมูลทั้งแบบ Internet และ Intranet ปะปนกันไป ระบบที่มีการพัฒนาขึ้นไปเป็น internet ที่เห็นกันเป็นเรื่องเป็นราวก็ได้แก่ บุคลากร วิจัย แต่ฐานข้อมูลงบประมาณ ภาระงาน ยังคงเป็นแบบ intranet อยู่

เอาล่ะ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ในการประชุมของคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ครั้งหนึ่ง ก็เกิดมีข้อเสนอและกลายเป็นสิ่งที่คณะ(คณะคือใคร?)จะต้องดำเนินการ นั่นก็คือ การวิเคราะห์ระบบข้อมูลของคณะวิทยาศาสตร์กันใหม่ และจากการโต้ตอบ/การหารือ/การอภิปรายกันต่างๆ นานา ทั้งในที่พึงโคจรและอโคจร ทั้งแบบต่างกรรมต่างวาระกันไปนั้น ก็คิดว่าหากใครสักคนอยากจะได้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า MIS ที่ชัดเจน ก็คงจะต้องขอพึ่งคำอธิบายที่ว่า

"หลักการเบื้องต้นในการจัดทำ MIS ไม่ได้กำหนดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ของการรายงาน KQI/KPI แต่เพื่อต้องการจัดระบบการบริหารจัดการภายในคณะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้ระบบการไหลเวียนข้อมูลเป็นตัวสะท้อนภาพความซ้ำซ้อนของการทำงานและเปลี่ยนไปสู่การเชื่อมโยงระบบการทำงานเข้าไว้ด้วยกันเป็นเนื้อเดียว ดังนั้นหากจะพิจารณาเพียงว่าระบบฐานข้อมูลนี้ตอบโจทย์ KQI/KPI ได้หรือไม่ อาจจะไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบการทำงานแบบยั่งยืนของคณะในระยะยาว"

คำสำคัญ (Tags): #mis
หมายเลขบันทึก: 44230เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
เรื่องของ Sci-MIS ที่ล้มๆลุกๆคลุกคลาน บัดนี้ซุปเปอร์แมนตัวจริงมาแล้วครับ สถานไอทีจัดทีมงานพร้อมห้องวอร์รูมตะลุยทำกัน คงต้องช่วยกันเชียร์ให้สมบูรณ์แบบตามหลัก centralized database ก็มหางลัยใหม่ๆเขาก็มี MIS ระบบเดียวท้างน้านแหละ แวะไปเยี่ยมชมได้ที่นี่ครับ http://cmumis.chiangmai.ac.th/ 
เรื่องซุปเปอร์ฮีโร่นี่ผมก็ชอบเหมือนกันครับท่านอาจารย์ธีร์ แต่ในมุขเรื่อง MIS นี่ผมชอบพล็อตหนังแบบเรื่อง 7 เซียนซามูไร หรือ Shane มากกว่าครับ แบบว่าซุปเปอร์ฮีโร่อย่างมากก็ได้แค่มาทำให้เกิดจุดเปลี่ยนนิดนึง แต่ถ้าหากต้องการความยั่งยืนแล้วชาวบ้านในหมู่บ้านก็ต้องร่วมด้วยช่วยกัน ฝึกฝนฝีมือการชักดาบ(ไม่ใช่เบี้ยวนะครับ...ฮ่าฮ่า) หรือยิงปืนต่อสู้ เพื่อพึ่งตนเองในที่สุด แอบแวะเข้าไปตามลิงค์ที่อาจารย์ให้ไว้แล้วครับ ชอบลูกเล่นของเค้าครับ สนุกดี มีหลายออปชั่น เข้าใจว่า ม.ช.จะยังคงพัฒนาต่อไปให้มีการรายงานข้อมูลระดับคณะได้ (ตอนนี้เห็นมีแค่ระบบหลักสูตร-กระบวนวิชาเท่านั้น) จะว่าไปทีมงานน่าจะมีโอกาสได้ไปแลกหมัด เอ๊ย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันซักทีคงสนุกดีนะครับ

คร้าบ ไอ้ผมก็อยากให้ผู้มีอำนาจคิดอะไรเบ็ดเสร็จแค่นั้นแหละครับ เพราะสตังค์อยู่ในมือเขา ถ้าคิดหนุ่มทำหนุ่ม (ไม่อยากใช้ศัพท์เดิมน่ะ) ก็ไม่ต้วมเตี้ยมอย่างที่เป็นมา

ผมเองวาดหวังว่าจากการที่เขาเรียกประชุมกันในแต่ละเรื่อง (ในข่าวหน้าแรกของเขา) นั่นเป็นนิมิตหมายที่ดีแล้ว แสดงว่าตีโจทย์แตก (เพล้งๆๆๆ) ถ้าตีแตกสมบูรณ์ก็คงได้ระบบที่ครอบคลุมความต้องการของคนมช.

คงต้องมี KM จริงๆให้เราช่วยกันจัดการสิ่งที่เราจะช่วยกันคิดช่วยกันทำได้(และควรได้ลงมือทำ) ในระดับชาวบ้านในหมู่บ้านวิดยาเรา ...ว่าแต่ทั่นผู้บริหารตีโจทย์แตกกันหรือยัง เราจะได้ทำต่อให้ไง อย่าปล่อยให้ชาวบ้านคิดกันเองร่ำไป ลองไปอ่านบล็อกที่ผมเล่าไว้หรือยัง เอ...

ไหนๆ ก็มีลิงค์ MIS ของ CMU มาให้ดูกันแล้ว ก็ขออนุญาตนำเสนอผลการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งปรากฏออกมาในรูปแบบของ Web-based ยังไงก็ขอความอนุเคราะห์ท่านทั้งหลายให้เข้าไปช่วย comment กันให้เยอะๆ หน่อยนะครับ ส่วนที่ว่าจะส่ง comment ไปที่ไหน ก็อาจส่งตรงไปยังหน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านระบบ e-Office ก็ได้ครับ

http://www2.cs.science.cmu.ac.th/person/ekkarat/mis

มี 2 ประเด็น ที่อยากแสดงความคิดเห็นในเรื่องของ MIS

1.  ในส่วนของมหาวิทยาลัย เข้าใจว่าคงจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและคาดว่าจะเป็น MIS ที่เป็นฐานข้อมูลในแต่ละส่วนที่จะสามารถนำไปรายงานผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดต่างๆได้

2.  ในส่วนของ Sci-MIS เท่าที่เข้าไปดูตาม link ที่ระบุมา มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนของ ฐานข้อมูล และ การใช้งานปนๆกันอยู่  ไม่แน่ใจว่าว่าเมื่อเสร็จแล้วจะตอบโจทย์ในเรื่องของตัวชี้วัดต่างๆได้หรือไม่ เพราะเท่าที่เห็นยังจำแนกรายละเอียดตามหน่วย/งาน หรือผู้ปฏิบัติ  ยังไม่มีความเชื่อโยงกันผ่านตัวบุคลากรและนศใ คงต้องคุยกันต่อและจูนให้ตรงกันอีกต่อไป 

ระบบ centralize database ก็ OK น่าจะบริหารจัดการในตรงกลางได้ดี แต่ที่ยังสงสัยและยังไม่ได้คำตอบชัดเจนคือการพัฒนาต่อๆ ไป จะทำอย่างไร ขยายความเช่น คณะมีประมาณ 17 คณะ และสำนัก สถาบันอีกจำนวนหนึ่ง การพัฒนาต่อ เช่น

คณะที่ 1 บอกว่านอกจากข้อมูลที่ส่วนกลางมีแล้ว คณะที่ 1 อยากให้มีเรื่องนั้นๆ ด้วย ซึ่งเป็นความต้องการของเฉพาะคณะที่ 1 จะทำได้หรือไม่ ถ้าได้ทำอย่างไร ให้คณะที่ 1 เขียนโปรแกรมใช้งานในคณะเอง โดย database ดึงจาก database กลาง ใช่หรือไม่ และถ้าคณะที่ 1 ใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมือนส่วนกลาง เช่น อาจใช้ PHP Script run บน Unix/Linux ส่วนกลางใช้ MS-SQL บน MS-Windows2003 จะทำอย่างไร เท่าที่เห็นมาก็บอกว่าได้ ไม่มีปัญหา แต่ก็ยังไม่เห็นในทางปฏิบัติ

ทำนองคล้ายๆ กัน คณะที่ 2 บอกต้องการ Report แบบนี้ แบบนี้ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการในคณะ ซึ่งดูแล้ว Report นี้ไม่มีในส่วนกลาง ส่วนกลางจะทำ Report นี้ให้ หรือว่าต้องให้คณะที่ 2 ทำเอง และเช่นเดิม วิธีการทำโปรแกรม การ connect ต่าง Plat form จะมีปัญหาหรือไม่

โดยสรุปคือยังสงสัยในเรื่อง cross-plat form เพราะเรากำลังใช้ระบบ database แบบ Centralize แล้ว ซึ่งคงหมายถึง Centralize ทั้งตัว database และตัว Applications (โปรแกรม) ไปด้วยแล้ว

ถ้าแนวคิดแบบนี้เป็นไปได้หรือไม่ คือ Centralize Database ซึ่ง MIS กลางก็นำไปใช้ออก Report ต่างๆ ได้ ส่วนที่ระดับคณะก็ทำโปรแกรมใช้ในคณะในส่วนที่ตรงกลางไม่มี คือไม่ Centralize Application เพราะดูๆ แล้ว คงมีแน่ๆ ที่มีความต้องการในระดับคณะใช้บริหารจัดการ แต่ความต้องการแบบนั้นไม่มีระดับส่วนกลาง 

ประเด็นของ Mr.Willเลี่ยม น่าสนใจครับ ในที่นี้ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยก็เลือกที่จะทำอย่างที่ Mr.Willเลี่ยม ว่าไว้ในย่อหน้าสุดท้ายนั่นแหละครับ และแนวโน้มหลักๆ ของมหาวิทยาลัยเอง ผมก็คิดว่ามหาวิทยาลัยก็คงเลือกที่จะพัฒนาฐานข้อมูลในระบบเปิด (Open Sources) ข้อที่เป็นกังวลกันถึงความเจริญในด้านฐานข้อมูล ก็คงเป็นว่าคนทำงานทั่วๆไป(--เพราะไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีจะรู้หรือไม่) ยังไม่เห็นฐานข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้จากส่วนกลาง เพื่อที่จะเอามาขยายความต่อในส่วนที่ตัวเองต้องการ เรื่องมันก็เลย "โอ้ละหนอ(ไม่ใช่โอละพ่อ)เมื่อไหร่มันจะนิ่งเสียที" คณะวิทย์ของเราเองก็ดูจะคิดดีที่ว่าลงมือทำเองดีกว่ายืมจมูกผู้อื่นหายใจ แต่สุดท้ายตอนนี้เหมือนเราแค่ยืมหมอนของคนอื่นมาหนุนนอนฝันกันอยู่ ฐานข้อมูลที่คิดจะทำจึงยังคงเหมือนฝันไปในอากาศ หลายคนไม่อยากตื่นมาพบความจริงที่ว่าโปรเจคท์ฐานข้อมูลตอนนี้ไม่มีอะไรเลยจริงๆ นะครับ ซึ่งค่อนข้างน่ากลัวเมื่อเทียบกับผลการประเมินของ สกอ. และ สมศ. เพราะการที่เราถูกจัดให้อยู่ในเกณฑ์ดีมั่กๆ แต่ฐานข้อมูลยังไม่สมบูรณ์เต็มที่นี้ ถ้ามันไม่ทำให้ความน่าเชื่อถือของเกณฑ์ประเมินลดลง มันก็เหมือนจะทำให้ผู้อื่นเห็นว่าข้อมูลต่างๆ ที่รายงานไปนั้น เราปั้น(Fake) มันไปหรืออย่างไร

ได้ยินจากที่ประชุมว่าจะมีการนำเสนอ MIS กลางของ มช. เร็วๆ นี้ให้ที่ประชุมคณบดีดู เพื่อ comment และนำไปสู่การออกใช้งานต่อไป และทราบมาจาก อ. รัฐสิทธิ์ สุขขะหุต (เขียนผิดขออภัยด้วย) ว่าเทคโนโลยีที่ใช้ Database เป็น MS-SQL 2005 ส่วน Tools ที่ใช้ เป็นชุดพวก vb.net studio 

ที่นี้ในส่วนการพัฒนา ถ้า Developer อย่างผมใช้เทคโนโลยี Open Source พวก PHP Script ทำ Application บน Linux/Unix หวังว่าคงมีวิธีให้ Application ที่ทำใ้ช้กันเองในระดับคณะนี้ ไปดึง Data จาก MS-SQL 2005 จาก Server กลางมาใช้งานในระดับคณะได้นะครับ ผมเองยอมรับยังไม่เคยมีประสพการณ์พัฒนา Application ที่ทำแบบนี้เลย คือ Appliation อยู่บน Server Unix/Linux และไปดึง Database ที่อยู่บนอีก Server หนึ่ง ที่อยู่ไกลนอกเครือข่ายของตนออกไป แถมอยู่บนคนละ Plat form เคยถามหลายๆ คน ก็มักได้ยินคำตอบว่า ทำได้ แต่ก็ยังไม่ได้เห็นในรายละเอียดว่าทำยังไง  หวังว่า คงได้เห็นกันก็คราวนี้นะ กรณีที่ได้ิยินบางคนว่าใช้วิธี donwload data มาที่คณะแล้วก็ใช้งานต่อไป แบบนี้ผมว่ามันไม่ realtime และอาจเกิดมี database ซ้อนกันขึ้น กับส่วนกลาง จะไปกันใหญ่ 

ผมอยู่นอกคณะวิทย์ครับ แต่ภาพที่เห็นก็ดูคณะวิทย์ดูดีนะ (หมายถึงระบบสารสนเทศหนะครับ)  ดูเป็นระบบ MIS และคงมีการเชื่อมโยงกันอย่างดี 

เมื่อวานนี้ (26 ก.ย.49) ผมได้รับคำสั่งให้ไปเข้าร่วมประชุมแทนคณบดี ในการประชุม "คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เยี่ยมชมดูงานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการบริหาร CMU-MIS" ณ สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงขออนุญาตนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมมารายงาน ดังนี้

     1. สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการบริหาร ขึ้นภายใต้ชื่อ CMU-MIS ซึ่งสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ http://cmumis.chiangmai.ac.th โดยในระยะต่อไปอาจจะมีการเพิ่ม server ในการให้บริการในชื่ออื่นๆ เช่น http://cmumis.chiangmai.edu เป็นต้น

     2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีของ Microsoft ซึ่งผู้ออกแบบระบบเห็นว่าเป็นระบบงานที่ผู้ใช้งานหลายคนมีความคุ้นเคยมากกว่าระบบอื่นๆ (ทั้งนี้เข้าใจว่าเป็นการพัฒนาขึ้นโดยเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า Dot Net, Microsoft MySQL Server ...อย่างที่ Mr.Developer เขียนไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้ ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบปฏิบัติการแบบ OpenSources อย่างไรนั้น คงต้องพึ่งความสามารถด้านเทคนิคของผู้พัฒนาและโปรแกรมเมอร์ต่อไป) โดยในส่วนของการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกลางมาใช้งานในแต่ละคณะ/หน่วยงานนั้น คาดว่าจะมีการดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2550 นี้

     3. CMU-MIS ถูกออกแบบมาโดยพยายามให้มีความเชื่อมโยงฐานข้อมูลทุกชุดเข้าไว้ด้วยกัน โดยการเชื่อมโยงจะพยายามใช้รหัสที่เป็นสากล เช่น เชื่อมโยงข้อมูลบุคลากรด้วยเลขประจำตัวประชาชน เชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานด้วยเลขรหัสที่ใช้ในระบบ GFMIS เชื่อมโยงข้อมูลนักศึกษาทุกระบบด้วยรหัสนักศึกษา เชื่อมโยงข้อมูลกระบวนวิชาด้วยข้อมูลรหัสกระบวนวิชา เชื่อมโยงข้อมูลพื้นที่การใช้อาคารด้วยเลขรหัสห้องอาคารที่กองสวัสดิการสำรวจไว้ เป็นต้น
       การเชื่อมโยงดังกล่าวจะทำให้แต่ละหน่วยงานต้องตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจากหากหน่วยงาน-บุคลากรใดไม่ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ก็จะทำให้หน่วยงานอื่นๆ ไม่สามารถใช้ข้อมูลที่สมบูรณ์ได้ เช่น หากหน่วยงาน(คณะ/ภาควิชา)ไม่ปรับปรุงข้อมูลห้องเรียน ก็จะทำให้สำนักทะเบียนฯ ไม่สามารถจัดตารางสอน/ตารางสอบได้ เป็นต้น
       ดังนั้น สิ่งที่ตามมาสำหรับการปรับปรุงข้อมูลร่วม(หรือร่วมปรับปรุงข้อมูล)จากหลายหน่วยงานนั้น ก็คือ ความรับผิดชอบ และการสั่งการให้ดำเนินงานในระบบคอมพิวเตอร์ (ตัวอย่างเช่น ทุกคนจะต้องกรอกข้อมูล ขต.งด. ลงในระบบคอมพิวเตอร์ หรือทุกคนจะต้องกรอกข้อมูลการลาในระบบคอมพิวเตอร์ จึงจะได้เป็นผู้ได้รับสิทธิผลประโยชน์จากการนั้น เช่น การพิจารณาเงินเดือนหรืออนุญาตให้ลา เป็นต้น)

     4. การใช้งานระบบ CMU สามารถจำแนกการเข้าใช้เป็น
       4.1 ใช้งานระบบในฐานะบุคคลทั่วไป สามารถดูข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานทั่วๆไปได้
       4.2 ใช้งานระบบในฐานะบุคลากร ม.ช. สามารถเข้าไปจัดการข้อมูลส่วนตัวของตนได้ในระดับหนึ่ง โดยสามารถ login โดยใช้ e-mail Account ของ chiangmai.ac.th ดังนั้นหากบุคลากรท่านใดต้องการเข้าใช้งานระบบก็สามารถไปขอมี e-mail account ได้ที่สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นที่ควรเป็นวาระสืบเนื่องในการช่วยกันใช้งานระบบ MIS ในระดับคณะคือ
          4.2.1 คณะอาจจะเตรียมการในการสำรวจข้อมูลบุคลากรในการให้มี account และดำเนินการอำนวยความสะดวกในการขอ account
          4.2.2 คณะอาจจะเตรียมการในการจัดอบรมการใช้งาน e-mail ของ ม.ช. เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับระบบคอมพิวเตอร์
          4.2.3 คณะอาจจะต้องเตรียมการจัดหาคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะที่ดีและเพียงพอต่อการใช้งานของบุคลากรทุกหน่วยงานและทุกระดับ (ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงจะต้องมีคอมพิวเตอร์สำหรับทุกคน หรือ 1 คน 1 เครื่อง)
       4.3 ใช้งานระบบในฐานะ Admin ในระบบงานนั้นๆ เช่น ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลกระบวนวิชา ซึ่งผู้บริหารระบบใหญ่(และ/หรือในระดับคณะ--FCIO : Faculty Chief Information Officer) จะเป็นผู้กำหนด authority/priority ให้ในระยะต่อไป โดยในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ คาดว่าผู้บริหารระบบจะมีการเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานต่างๆ ของแต่ละคณะไปฝึกอบรม

     5. Key Success ของระบบฐานข้อมูลที่ผู้บริหารระบบ (ผศ.ดร.รัฐสิทธิ์) เสนอไว้ คือ
       5.1 Authotiry (การมีผู้รับผิดชอบ)
       5.2 Accuracy (ความเที่ยงตรงแม่นยำ)
       5.3 Update to date (เป็นปัจจุบัน)
       5.4 Collaboration (ความร่วมมือ)
          โดยมีผู้เสนอว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จ ยังควรจะต้องผนวกถึงการใช้งานข้อมูลได้จริง และข้อเสนอที่กล่าวเป็นตัวอย่างไว้แล้วในหัวข้อที่ 3

เรืองศรี วัฒเนสก์

ได้เข้าไปดูระบบ MIS ของมหาวิทยาลัยแล้ว ในภาพรวมก็น่าจะครอบคลุมในหลายส่วน ได้ลงทะเบียนเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวแล้วด้วย แต่ยังไม่เห็นอะไรมากนัก คงต้องหาทางให้บุคลากรในคณะบันทึกข้อมูลใน "บันทึกภาระงาน" เตรียมไว้เพื่อจะได้ส่งต่อ รายงานการสอน การวิจัย ฯลฯ ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท