การจัดอันดับมหาวิทยาลัย (University Ranking) ตอนที่ 4


การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของแต่ละสถาบันและหน่วยงานมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นในแต่ละมิติแตกต่างกันไป รวมทั้งแหล่งของข้อมูลที่นำมาใช้ในการชี้วัดก็แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น Times Higher Education World University Rankings นั้นใช้ข้อมูลจำนวนผลงานวิชาการที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล ISI ส่วน Scimago Institutions Rankings ใช้ข้อมูลจำนวนผลงานวิชาการที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus นอกจากนี้ยังพบว่าการจัดอันดับของแต่ละหน่วยงานมีการใช้ตัวชี้วัดที่แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งนอกจากตัวชี้วัดที่แตกต่างกันแล้ว แล้วการให้ค่าน้ำหนักคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวย่อมส่งผลให้ผลการจัดอันดับของแต่ละสถาบันย่อมแตกต่างกันออกไป ซึ่งผลที่ออกมาทำให้เป็นที่วิจารณ์กันในเรื่องของความน่าเชื่อถือและความถุกต้องของผลการจัดอันดับ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นที่หลายหลายออกไปทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อผลการจัดอันดับของแต่ละสถาบัน

        การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคหรือระดับโลกนั้น (World University Ranking) มีหลายหน่วยงานที่ได้ทำการสำรวจและจัดอันดับโดยแต่ละหน่วยงานก็อาจมีวัตถุประสงค์ของการจัดอันดับที่แตกต่างกันอกไป ซึ่งความเป็นมาของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา ในปี 1910 โดย James McKeen Cattell นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้ศึกษาและเผยแพร่เป็นครั้งแรก ซึ่งต่อมาก็ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยบุคคลและองค์กรอีกหลายแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศหรือในภูมิภาคเท่านั้น เช่น US News & World Report ซึ่งได้รายงาน America's Best Colleges ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐเมริกาในปี 1983 แต่ในปัจจุบัน US News & World Report  ได้มีการรายงานผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูลเดียวกับ QS World University Ranking  ส่วนในประเทศอังกฤษก็มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อว่า The Good University Guide ในปี 2007 ซึ่งหลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็น Complete University Guide ในปัจจุบันซึ่งจัดทำโดย Robinson Digital Publishing ร่วมกับ Mayfield University Consultants เผยแพร่โดย Daily Telegraph นอกจากนี้ยังมี นิตยาสารในเครือของ Times ที่จัดทำ The Sunday Times University Guide ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีนิตยสาร The Guardian ซึ่งจัดทำ The Guardian University Guide โดยการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในในสหราชอาณาจักรเช่นกัน ในประเทศอื่นๆอย่างออสเตรเลียก็มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย Australian University Rankings ซึ่งเป็นการจัดอันดับเฉพาะมหาวิทยาลัยภายในประเทศออสเตรเลียและ Australian University Research Rankings ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในมิติด้านคุณภาพการวิจัยไว้อีกด้วย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ส่วนใหญ่เน้นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศของตนเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เอามหาวิทยาลัยของประเทสอื่นๆรวมในการจัดอันดับด้วย

          หน่วยงานแรกที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่รวมเอามหาวิทยาลัยในประเทศไทยเข้าไปด้วยคือนิตยสาร Asiaweek ซึ่งทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศในแถบเอเชีย แต่ปัจจุบันไม่มีการจัดอันดัยโดย Asiaweek แล้ว ในปัจจุบันพบว่าสถาบันหรือหน่วยงานที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ได้แก่ Times Higher Education ซึ่งจะมีการจัดอันดับและเผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกหรือที่รู้จักกันใน Times Higher Education (THE) World University Rankings ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ปี 2004 จนถึงปัจจุบันโดยในตอนแรกมี QS Quacquarelli Symonds เป็นผู้รวบรวมข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัยสำหรับนำมาจัดอันดับ แต่ในการจัดอันดับปีล่าสุดคือ 2010 นั้น Thomson Reuters เข้ามาเป็นผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัยในการจัดอันดับแทน QS Quacquarelli Symonds นอกจากนี้แล้วทาง QS Quacquarelli Symonds ก็ยังมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเองอีกด้วย ซึ่งมีทั้งการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคอย่าง QS Asian University Ranking และระดับโลกอย่าง QS World University Ranking  ส่วนหน่วยงานอื่นๆที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก เช่น Webometrics ซึ่งได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี 2004 โดยมีการจัดอันดับปีละ 2 ครั้งซึ่งจะเผยแพร่ผลจัดอันดับเดือนมกราคมและมิถุนายนของทุกปี การจัดอันดับของ Webometrics ด้วยแนวคิดที่ว่าประสิทธิภาพในการเผยแพร่ข้อมูลทุกประเภทซึ่งรวมถึงผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ควรสะท้อนถึงความป็นเลิศและอันดับทางวิชาการของมหาวิทยาลัยด้วย หากมหาวิทยาลัยใดที่มีประสิทธิภาพในด้านการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเวบไซต์ (Electronic Publications) ด้อยกว่าตำแหน่งทางความเป็นเลิศของวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้รับ มหาวิทยาลัยก็ควรจะปรับปรุงนโยบายในการเผยแพร่ข็อมูลผ่านทางเวบไซต์ให้ดีขึ้นเพื่อให้มีจำนวนข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเวบไซต์ที่สะท้อนถึงอันดับที่แท้จริงของมหาวิทยาลัย อย่างเช่น หากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นของโลก ดังนั้นจำนวนข้อมูลและงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่เผยแพร่ผ่านทางเวบไซต์ก็ควรอยู่ในระดับต้นๆของโลกด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Webometrics  จึงเน้นการใช้ตัวชี้วัดในด้านปริมาณเนื้อหาทั้งงานวิจัยและข้อมูลต่างๆที่มีการเผยแพร่บนเวบไซต์และการเปิดให้หน่วยงานหรือบุคคลภาคนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เผยแพร่โดยบุคลากรในมหาวิทยาลัยบนเวบไซต์ มากกว่าตัวชี้วัดอื่นๆ นอกจากนี้ยังมี สถาบันการอุดมสึกษาแห่งมหาวิทยาลัย Shanghai Jiao Tong ในประเทศจีน (Institute of Higher Education of Shanghai Jiao Tong University, China) ที่มีการจัดอันอันมหาวิทยาลัยในชื่อ Academic Ranking World University (ARWU) โดยมีตัวชี้วัดเป็นจำนวนศิษย์เก่าหรือบุคคลกรของสถาบันที่ได้รับเหรียญรางวัลในแต่ละสาขารวมไปถึงศิษย์เก่าหรือบุคคลกรที่ได้รับรางวัลโนเบล นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัดอื่นๆอีกเช่น จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Nature และ Science ซึ่งวารสารทั้งสองนั้นเป็นวารสารที่มี Impact Factor ติดอันดับสูงที่สุด รวมทั้งประสิทธิภาพของเงินที่ใช้ในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยเมื่อเทียบกับขนาดของมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทางด้านเวบไซต์ www.4icu.org ซึ่งทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยแบ่งเป็นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยอิงกับแนวคิดที่ว่าบุคคลทั่วไปส่วนใหญ่จะสนใจและนิยมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ดังนั้นหากพวกเขาเหล่านี้สนใจในมหาวิทยาลัยใดก็จะเข้าไปค้าหาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยนั้นตามเวบไซต์ต่างๆซึ่งรวมถึงเวบไซต์ของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย มหาวิทยาลัยใดที่มีคนค้นหาข้อมูลตามเวบไซต์ต่างๆมากที่สุดก็แสดงว่ามีคนสนใจและให้ความนิยม (Web Popularity) มากด้วยเช่นกัน การจัดอันดับมหาวิทยาลัยอีกหน่วยงานหนึ่งที่น่าสนใจคือ Scimago Institutions Rankings ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยรวมทั้งสถาบันวิจัยในแง่ของความสามารถในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทุกประเภทของสถาบันหรือมหาวิทยาลัยบนฐานข้อมูล Scopus การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของแต่ละสถาบันและหน่วยงานมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นในแต่ละมิติแตกต่างกันไป รวมทั้งแหล่งของข้อมูลที่นำมาใช้ในการชี้วัดก็แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น Times Higher Education World University Rankings นั้นใช้ข้อมูลจำนวนผลงานวิชาการที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล ISI ส่วน Scimago Institutions Rankings ใช้ข้อมูลจำนวนผลงานวิชาการที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus นอกจากนี้ยังพบว่าการจัดอันดับของแต่ละหน่วยงานมีการใช้ตัวชี้วัดที่แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งนอกจากตัวชี้วัดที่แตกต่างกันแล้ว แล้วการให้ค่าน้ำหนักคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดก็ไม่เหมือนกัน  ซึ่งปัจจัยดังกล่าวย่อมส่งผลให้ผลการจัดอันดับของแต่ละสถาบันย่อมแตกต่างกันออกไป

อย่างเช่นผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในปี 2010 ที่ผ่านนั้นทั้งของ Times Higher Education World University Rankings  และ QS World University Raning พบว่า ในมหาวิทยาลัย 200 อันดับแรกของ THE และ QS มีเพียง 151 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่มีรายชื่ออยู่ใน 200 อันดับแรกของการจัดอันดับโดยทั้งสองที่ ส่วนอีก 49 แห่งนั้นแตกต่างกันออกไปในการจัดอันดับของแต่ละที่ ซึ่งผลที่ออกมาทำให้เป็นที่วิจารณ์กันในเรื่องของความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของผลการจัดอันดับ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นที่หลายหลายออกไปทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อผลการจัดอันดับของแต่ละสถาบัน

นอกจากนี้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยบางชิ้น ถูกดำเนินการโดยและเผยแพร่องค์กรเอกชน ซึ่งเป็นธรรมดาที่องค์กรนั้นๆต้องมีการแสวงหารายได้และกำไรจากการดำเนินการ ซึ่งสิ่งที่พบเป็นประจำก็คือการเปิดให้สถาบันการศึกษาเข้าไปลงโฆษณาประชาสัมพันธ์หลักสูตรหรือมหาวิทยาลัยในเวบไซต์หรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นกิจการเดียวกันของหน่วยงานโดยมีการจ่ายค่าโฆษณาให้กับหน่วยงานเพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยน อย่างเช่นใน เวบไซต์หรือสิ่งพิมพ์ของ Times และ QS Quacquarelli Symonds ก็เปิดให้มีการโฆษณาของสถาบันการศึกษาที่สนใจลงโฆษณาได้ หรือบางทีหน่าวยงานที่เป็นผู้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยก็จะมีการจัดประชุม สัมนาวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งมีการเปิดพื้นที่ให้หน่วยงานการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยไปเช่าพื้นที่ภายในงานเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยด้วย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า การกระทำดังกล่าวจะส่งผลต่อความยุติธรรมและมีการลำเอียงในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ เพราะอาจเป็นได้ว่าทางหน่วยงานที่จัดอันดับ อาจมีการจัดอันดับเพื่อเข้าข้างสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่ยอมซื้อหรือเช่าพื้นที่โฆษณาในเวบไซต์ สิ่งพิมพ์หรือการจัดประชุมสัมนาต่างๆที่ทางหน่วยงานจัดขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของตัวชี้วัดและค่าน้ำหนักคะแนนเพื่อก่อให้เกิดการเอื้อประโยชน์ในการจัดอันดับที่เอื้อต่อบางสาถบันโดยเฉพาะสถาบันที่ยอมจ่ายเงินค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งตอบแทนให้แก่หน่วยงานที่จัดอันดับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของหน่วยงานที่อิงกับประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งยอมส่งผลต่อความเหมาะสม ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลในการจัดอันดับด้วย

 

 

 


หมายเลขบันทึก: 441000เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท