456 เข้าใจเข้าถึงอินเดีย...ต้องเข้าใจคริกเก็ต (2)


คริกเก็ตคือศาสนา

 

 

(ขอบคุณภาพจาก wikipedia:cricket)

ในอินเดีย คริกเก็ตถือเป็นกีฬายอดนิยมสูงสุด มากกว่าฮ๊อกกี้ซึ่งเป็นกีฬาประจำชาติ  จนมีคนนำมาเปรียบว่า สำหรับคนอินเดีย คริกเก็ตเป็นเสมือนดั่งศาสนา เพราะอยู่ในวิถีชีวิตของคนทุกคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้นชั้น ทุกอาชีพ ทั้งคนรวยและคนจนต่างคลั่งไคล้คริกเก็ต เวลาออกไปนอกบ้านจะเห็นคนอินเดียทั้งผู้ใหญ่และเด็กเล่นเกมขว้างและตีลูกนี้ทั่วทุกหนแห่งที่มีที่ว่าง คริกเก็ตแพร่หลายในอินเดียเหมือนโรคระบาด เมื่อแพร่ออกไปในอากาศก็ติดกันงอมแงมทั่วประเทศ เมื่อคนนิยมมาก รูปแบบของกีฬาก็พัฒนาไปตามความนิยม โดยเฉพาะล่าสุดได้มีการพัฒนารูปแบบการแข่งขันให้สั้นขึ้นจากหลายวัน ( 4-5 วัน) ที่เรียกว่า Test Match เป็น 1 วัน One Day International โดยกำหนดจำนวนขว้าง(โอเวอร์) และเหลือไม่กี่ชั่วโมงในคริกเก็ตประเภทอาชีพหรือที่เรียกว่า Indian Premier League IPL 20/20 จำกัดการขว้างไว้ที่ทีมละ 20 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วตั้งแต่คนจนสุดจนถึงคนรวยสุด ในการแข่งขันแต่ละครั้งมีคนเข้าไปชมระหว่าง 5-8 หมื่นคนทุกนัด และได้กลายเป็นกีฬาธุรกิจและกีฬาแห่งความบันเทิงประจำชาติไปแล้ว เพราะมีมูลค่าของกีฬานี้นับพันล้านเหรียญสหรัฐฯ

และนี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในดินแดนแห่งความเหลือเชื่อ Incredible Land แต่ที่เหลือเชื่อและอยากจะเชื่ออีกเรื่องหนึ่งก็คือคริกเก็ตยังไม่ได้เป็นกีฬาที่คนไทยนิยม ณ พ.ศ.2554 ซึ่งโลกยังไม่แตก แต่นักกีฬาทีมชาติคริกเก็ตหญิงของไทยซึ่งเพิ่งเริ่มเล่นคริกเก็ตมาไม่กี่ปี ก็สามารถสร้างผลงานได้ดีทีเดียวล่าสุดในการแข่งขัน ACC Women’s Twenty20 Championship 2011 ระหว่างวันที่ 18-25 กพ. 2011 ที่ประเทศคูเวต ทีมชาติหญิงคริกเก็ตไทยมีคุณศรนรินท์ ทิพย์โภชน์เป็นกัปตันทีมสามารถคว้าตำแหน่งที่ 3 มาได้โดยเอาชนะเนปาลได้สำเร็จ ที่สำคัญทีมชาติหญิงชุดนี้เป็นคนไทยทั้งทีมซึ่งต่างจากทีมคริกเก็ตทีมชาย เรื่องราวของคริกเก็ตหญิงทีมชาติไทยน่าสนใจมาก เริ่มจากความสนใจและแรงบันดาลใจของสตรีที่มีชื่อว่าจิระวดี ดวงชาคำ Chiravadee Duangchakham จากจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นโคชคริกเก็ตด้วย ทำให้คริกเก็ตพัฒนาในหมู่สตรีไทย ซึ่งจะได้ค้นหาและนำมาเสนอเรื่องราวนี้กันต่อไป

 ผู้เกี่ยวข้องในวงการคริกเก็ตในประเทศไทยบอกผมว่าคนไทยมีพรสวรรค์ที่จะเรียนรู้และเล่นคริกเก็ตได้แน่นอน อยู่ที่การส่งเสริมให้ถูกทางและต่อเนื่อง ผมก็อยากให้ความเหลือเชื่อนี้กลายเป็น”ไม่น่าเชื่อ” ว่าวันหนึ่งทีมคริกเก็ตทีมชาติไทยคงจะเป็นทีมหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในเวทีคริกเก็ตโลก

ก็ต้องเริ่มสร้างความฝันและความหวังตั้งแต่เขียนเรื่องนี้ละครับ

 

หมายเลขบันทึก: 440995เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท