การดูแลตนเอง และอาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน


บทความที่แล้วนะครับ BOD ได้เขียนบทความในประเด็น
"วิธีสังเกตอาการของโรคเบาหวานและสถิติการตายจากโรคเบาหวานตามจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย" คลิก
บทความนี้เราจะนำเสนอนประเด็น การดูแลตนเอง และอาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
. . .
ในปี 2547 โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุอันดับ 8 ที่ทำให้ประชากรไทย
ช่วงอายุระหว่าง 30 - 59 ปี เกิดภาระโรค
และเป็นสาเหตุอันดับ 6 ที่ทำให้ประชากรไทย ช่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไปเกิดภาระโรครายละเอียด คลิก

. . .

Diabetes world map รายละเอียด คลิก
. . .

หากท่านทราบว่าคนใกล้ชิดเป็นโรคเบาหวาน ควรแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตตามแนวทางต่อไปนี้

การรักษาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยมีส่วนสำคัญในการรักษา มากกว่าแพทย์
การดูแลตนเองที่ถูกต้อง จะช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
และไม่มีโรคแทรกซ้อน

 - ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุดตลอดเวลา
   ซึ่งการที่จะทำเช่นนั้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างมากจากผู้ป่วย
   ญาติผู้ป่วย โดยการควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด รับประทานยาตามสั่ง

- ออกกำลังกายตามสมควร ลดน้ำหนัก หากยาไม่ได้ผล ก็จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน
  หากมีความดัน โลหิตสูงก็จำเป็นที่จำต้องลดความดันโลหิตให้น้อยกว่า 
  หรือ ใกล้เคียง 130/80 มม.ปรอท ทั้งนี้ต้อง ไม่มีผลแทรกซ้อนจากยาลดความดัน
  โลหิตด้วย จะสามารถป้องกันหรือชะลอภาวะไตวายได้

- ลดไขมันคอเลสเทอรอลในเลือด โดยใช้ค่า LDL - Cholesterol
  เป็นเกณฑ์ให้ LDL - C น้อย กว่า 100 มก.ดล. เทียบเท่ากับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานแทบทุกรายมีการตีบตันของ หลอดเลือดหัวใจซ่อนอยู่
  การลดระดับไขมันในเลือดลง (Cholesterol) จะช่วยลดปัญหา แทรกซ้อน
  ทางหัวใจ ปัจจุบันยาที่ใช้ลดไขมันคอเลสเทอรอลได้ดีมากที่สุด คือ
  ยากลุ่ม statins

- แนะนำให้ผู้ป่วยพบจักษุแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อป้องกันตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา
  จอประสาทตาเสื่อม การดูแลเท้า ผิวหนัง
  (โอกาสเกิดแผลที่เท้า และทำให้ต้องตัดเท้าพบได้บ่อยๆ)
 . . .

. . .

อาหารที่ผู้เป็นเบาหวาน ควรบริโภคเพียงเล็กน้อยและนานๆ ครั้ง

1. อาหารที่มีน้ำมันมาก เช่น ปาท่องโก๋ ข้าวเกรียบ

2. อาหารที่ใส่กะทิ เช่น แกงกะทิ ขนมที่ใส่กะทิ

3. เนื้อสัตว์ที่มีมันมาก เช่น ขาหมู หมูหัน ข้าวมันไก่ตอน หมูสามชั้น

4. ขนมอบที่มีเนยหรือไขมันมาก เช่น เค้ก พาย

5. เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ไข่แดง

6. อาหารที่มีรสเค็มจัด และของหมักดอง

7. ขนมหวานต่าง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง

8. ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด ลูกพลับแห้ง

9. ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้ในน้ำเชื่อม เช่น ลิ้นจี่กระป๋อง

10. ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน น้อยหน่า ละมุด

11. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ไวน์ พั้นซ์

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
น้ำหวานต่างๆ ได้แก่ น้ำหวานเข้มข้น น้ำผลไม้ ผสมน้ำตาล น้ำอัดลม
เครื่องดื่มผสมน้ำตาล อาหารที่มีน้ำตาลมาก เช่น แยม เยลลี่ ลูกกวาด
ช็อกโกแลต ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้เชื่อม นมข้นหวาน 

ผู้เป็นเบาหวาน ควรรับประทานอาหารกี่มื้อ
ผู้เป็นเบาหวานมักเข้าใจผิดว่า การรักประทานอาหารเพียง 1 หรือ 2 มื้อ
จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ข้อควรปฏิบัติที่ถูกต้อง
คือ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อหลัก คือ เช้า กลางวัน เย็น
และรับประทานเมื่อถึงเวลา ไม่ใช่เมื่อหิว (เพราะถ้าหิวจะทำให้รับประทานมาก)

ผู้เป็นเบาหวานบางรายที่ฉีดอินซูลิน หรือมีประวัติน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆ
อาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารมากกว่า 3 มื้อ
โดยอาจแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 4-6 มื้อ
. . .
ใครที่รู้ตัวว่ากำลังมีน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันเยอะ เอวเริ่มหนา
คงต้องรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเร่งด่วน

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

http://www.thaiclinic.com/medbible/dm2.html
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/22148
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/8195
http://gotoknow.org/blog/bod-thailand/423890

 

หมายเลขบันทึก: 440998เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท