วิธีสังเกตอาการของโรคเบาหวาน และสถิติการตายจากโรคเบาหวานตามจังหวัดต่างๆ


โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ไทย คือประมาณ 2.5-6 % ของประชากร

โรคเบาหวานคืออะไร
อาหารที่รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส
ในกระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์
เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง
เนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานาน
จนเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท 

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
. . .

. . .

อาการของโรคเบาหวาน 

การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย
คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึก หรือ
ปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง แต่เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า 180 มก.%
น้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะ จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ
โดยอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำ
ที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถ
ใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันจากกล้ามเนื้อออกมา
ผู้ป่วยจะกินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักจะลดลง

อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง เห็นภาพไม่ชัด
ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย(สายตาเปลี่ยนแปลงเร็ว) ต้อกระจก
ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
เพราะเมื่อน้ำตาลสูงนานๆ จะทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย
เพราะไม่รู้สึก มีอาการอาเจียน

ทราบหรือไม่ พื้นที่ไหนในประเทศไทยที่มีการตายเพราะเบาหวานสูงที่สุด ดูได้จากแผนที่
...

. . .

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลปี 2552 วิธีการดูแผนที่ ให้ดูตามโทนสี

พื้นที่ที่มี Tone scale เข้มขึ้นมาทางสีฟ้า - น้ำเงิน นั่นคือพื้นที่ที่มีสถิติการเสียชีวิต
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ยิ่งพื้นที่ไหนมีสีฟ้าหรือน้ำเงินเข้มมาก
พื้นที่นั้นยิ่งมีสถิติการเสียชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก
ส่วนในพื้นที่ที่มี Tone scale เข้มขึ้นมาทางสีเหลือส้ม - เลือดหมู
นั่นคือพื้นที่ที่มีสถิติการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
ยิ่งพื้นที่ไหนมีสีเหลือส้มหรือสีเลือดหมูเข้มมาก
พื้นที่นั้นยิ่งมีสถิติการเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก
...
SMR หรือ standard mortality ratio คือ การเปรียบเทียบอัตราตายจากโรคนั้นๆ
ในจังหวัดนั้น คำนวณจาก จำนวนตายที่เป็นจริงของพื้นที่
หารด้วยจำนวนตายที่ควรจะเป็นของพื้นที่ ถ้าพื้นที่นั้นมีการตายมากกว่าที่ควร
จะเป็นค่า SMR จะมากกว่า 1 และยิ่งมากกว่า 1 เท่าใด
แปลว่ามีการตายมากขึ้นเท่านั้น ถ้าพื้นที่นั้นมีการตายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ค่า SMR จะต่ำกว่า 1 และยิ่งต่ำกว่า 1 แสดงว่ายิ่งมีการตายที่ลดลงเพิ่มมากขึ้น
ถ้า SMR < 1 : จำนวนตายในพื้นที่ต่ำกว่าประชาชนทั่วไป,
SMR = 1 : จำนวนตายในพื้นที่เท่ากับประชาชนทั่วไป,
SMR > 1 : จำนวนตายในพื้นที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปโดยสรุป
ถ้า SMR อยู่ในโทนสีฟ้า อัตราตายของคนในจังหวัดนั้นต่ำกว่าประชากรมาตรฐาน
แสดงว่าสถานะสุขภาพของคนในจังหวัดนั้นดีกว่าประชากรโดยรวม
และถ้า SMR อยู่ในโทนสีเหลืองแดง แสดงว่าสถานะสุขภาพของคนในจังหวัดนั้น
แย่กว่าประชากรโดยรวม

. . .

. . .

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญ
ที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย
หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น

ใครที่ควรจะต้องเจาะเลือดหาโรคเบาหวาน

- ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือด
  แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ

- อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า 27% หรือน้ำหนักเกิน 20% ของน้ำหนักที่ควรเป็น
  สำหรับประเทศใน เอเซีย อยากทราบว่าดัชนีมวลกายเท่าไร คลิก

- อายุมากกว่า 45 ปี

- ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT

- ความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmHg

- ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%

- ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
ทุก 3 ปี นอกจากนี้ การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การคุมน้ำหนัก
ยังเป็นการควบคุมเบาหวานที่ดีที่สุด

บทความหน้า จะเขียนเกี่ยวกับ โรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน + การดูแลตนเอง,
วิธีการป้องกัน, อาหาร เร็วๆ นี้ครับ

ร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา Facebook: BOD

อ้างอิง
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/intro.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 440896เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท