ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

กศน.ตำบล : เพื่อนคู่คิด มิตรร่วมทำงาน ประสานการเรียนรู้สู่ชุมชน (กศน.เพื่อนรัก เพื่อนเรียนรู้ : ๕๒)


กศน.ตำบล : เพื่อนคู่คิด มิตรร่วมทำงาน ประสานการเรียนรู้สู่ชุมชน (กศน.เพื่อนรัก เพื่อนเรียนรู้ : ๕๒)

กศน.ตำบล  :  เพื่อนคู่คิด  มิตรร่วมทำงาน  ประสานการเรียนรู้สู่ชุมชน

ศุภัชณัฏฐ์  หลักเมือง 

ผู้อำนวยการ (เชี่ยวชาญ) กศน.อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 

เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

*************************

           

       กศน.ตำบล  เป็นหน่วยจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สำนักงาน กศน.ได้ออกแบบให้เป็นฟันเฟืองตัวเล็ก ๆ สำหรับการขับเคลื่อนในชุมชนได้อย่างคล่องตัวมีความใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด กศน.ตำบลเกิดจากนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 – 2561) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อคนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”

มีหลักการที่ยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงานและการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนเข้ามาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชนเข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรม ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ เป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ให้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน

            จากหลักการดังกล่าวสำนักงาน กศน.จึงกำหนดให้ กศน.ตำบล     มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 2) สร้างและขยายเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน  3) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย และ 4) ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน

          กิจกรรมหลักของ กศน.ตำบล มีกิจกรรมเพื่อจัดบริการแก่ประชาชนในตำบลต่าง ๆ ดังนี้

          1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ข้อมูลด้านการตลาด สินค้าชุมชน แนะแนวอาชีพ และแหล่งเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ในชุมชน เป็นต้น  การนำเสนอข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบของเอกสาร แผนภูมิ ป้ายประชาสัมพันธ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ เว็ปไซต์ เป็นต้น 

          2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เช่น ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fixit center) ร่วมกับสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่  ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน  ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอำเภอเคลื่อนที่ เป็นต้น

          3. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชน  ในชุมชน เช่น ส่งเสริมการรู้หนังสือ  การศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน  การศึกษาต่อเนื่อง  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  การศึกษา  เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการบริการสื่อ

          4. ศูนย์ชุมชน (Community  Center) เป็นการส่งเสริมให้ กศน.ตำบล เป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน เช่น เวที    ชาวบ้าน สภากาแฟ สถานที่พบปะเสวนา เวทีประชาธิปไตย ตลาดนัดอาชีพ และกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 440991เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท