ชีวิตอินเทอร์น : เก็บ dialogue มาเล่า


          เหตุเพราะมีความรู้ปฏิบัติออกอากาศอยู่ทั่วไปในสคส. !! ทุกวันนี้จึงตั้งหน้าตั้งตาเก็บ tacit ที่พบอยู่รอบๆตัวแล้วรวบรวมเขียนเป็นบันทึกออกมาด้วยความสนุกสนาน จึงนับได้ว่าเป็นช่วงที่จนเงิน แต่ร่ำรวยข้อมูลระดับเศรษฐีทีเดียว


           เพราะเหตุว่าคนที่นี่เน้นความรู้ปฏิบัติ หัวข้อการสนทนาจึงวนเวียนกันอยู่ที่ความรู้ปฏิบัติเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องครัว  ห้องประชุม  หรือที่ไหนๆก็ตาม


           เพื่อยืนยันบรรยากาศดังกล่าว ขอนำ dialogue (คำนี้มีความหมายคล้ายกับคำว่า conversation, discourse, discussion, communication) ระหว่างบุคคลต่างๆในพื้นที่ของสคส.มานำเสนอต่อผู้อ่าน ดังนี้

 dialogue ระหว่างอุ และพี่วัธ ที่ห้องครัว

           อุถามพี่บัดดี้ของเธอในเช้าวันหนึ่งว่า "ทำไมถึงไม่ให้คนที่เล่าเรื่องเล่าเร้าพลังตีความเรื่องที่ตนเองกำลังเล่า"
           พี่วัธตอบว่า "เพราะอยากให้คนฟังได้ฟังเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  อุลองสังเกตดูซิว่าการเล่าเรื่องแบบไหนที่จะทำให้คนฟังได้ความรู้จากเรื่องที่ฟังมากกว่ากัน ถ้าเป็นคนเล่าที่พูดถึงแต่ทฤษฎีคนฟังก็จะไม่ได้ความรู้ที่เป็น tacit เลย ไม่เหมือนเวลาที่เราไปถามชาวบ้าน เขาจะตอบเราได้ทันทีเลยว่างานชิ้นนี้ทำขึ้นมาได้อย่างไร โดยไม่ได้พูดถึงตัวทฤษฎีเลย"


           สิ่งพี่วัธตอบ เป็นสิ่งที่ได้มาจากการเก็บประสบการณ์ที่พบด้วยตัวเอง... ดิฉันลองนำคำถามเดียวกันนี้มา dialogue กับตัวเองต่อแล้วก็ได้ความคิดว่า


            การตีความ ทำให้เราเกิดความรู้ และความคิด ที่มีลักษณะเฉพาะตน เพราะเกิดขึ้นบนบริบทเฉพาะตัว ที่ผู้ฟังแต่ละคนก็มีเงื่อนไขของตนไปต่างๆ  ดังนั้น เมื่อได้ฟังเรื่องเล่าเรื่องเดียวกัน ก็อาจจะไป"ปิ๊ง"ในประเด็นที่ต่างกันไป การตีความของแต่ละคนจึงสามารถเกิดขึ้นได้อย่างอิสระได้ในทุกขณะ

           แต่หากมีการตีความจากใครคนใดคนหนึ่งแล้ว สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ การตีความนั้นจะไปรบกวนความคิด รบกวนการเรียนรู้ ในการที่เขาจะสร้างความหมายต่อสิ่งที่ได้ฟังนั้นขึ้นในใจ ของผู้ฟังคนอื่นได้  และการตีความนั้นก็อาจจะไปสร้างตัวแบบที่เป็นต้นแบบขึ้นในความคิดของผู้ฟัง ที่ไม่ได้นำข้อมูลที่ได้รับไปคิดต่อ แล้วสิ่งที่ได้รับฟังมาจาก best practice ก็จะกลายเป็นต้นไม้ที่ไม่มีการแตกหน่อ ต่อยอดให้เข้ากับบริบทไปได้โดยไม่รู้ตัว

            เช่นเดียวกับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ที่นอกจากจะประกอบไปด้วยความรู้ภาคทฤษฎี ที่เป็น explicit k.แล้ว  ก็ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตีความความรู้ที่ได้รับ จนกระทั่งกลายเป็นความรู้ความเข้าใจของตน และจะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าผู้เรียนสามารถเข้าถึงตัวอย่างที่มาจากการนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปปฏิบัติ ให้เกิด tacit k. ขึ้นด้วยตนเอง และเมื่อมีการนำไปลปรร.ร่วมกันในชั้นเรียน มีการนำความรู้ทั้งจากภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติไปสังเคราะห์ร่วมกันให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ ที่ไปยกระดับความรู้ความเข้าใจเดิมของผู้เรียนขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ก็จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะของ"การสร้างความรู้"  และได้พัฒนาจากความเป็นผู้เรียนที่ต้องรอการป้อนความรู้ให้ ไปสู่ความเป็นผู้เรียนที่สร้างความรู้ได้เอง ที่สามารถนำเอาสิ่งที่ได้รู้เข้าสู่วงจรของการวิจัยและพัฒนาได้ด้วยตนเองได้โดยง่าย

           dialogue ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นทั้งบทสนทนา (conversation) เป็นทั้งวาทกรรม (discourse) ที่เข้ามาร่วมสร้างให้สังคมของสคส.เป็นสังคมเรียนรู้ของผู้ที่มีความตระหนักร่วมกัน ว่า


            "เพื่อนร่วมงานคือ เพื่อนร่วมกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อบรรลุเป้าหมายของงาน เราไม่มองว่าเพื่อนร่วมงานคือคู่แข่ง เราจะเน้นการ ลปรร.กับเพื่อนร่วมงานโดยไม่ปิดบังความรู้ โดยเชื่อว่าความรู้นั้นยิ่งแลกเปลี่ยนยิ่งงอกงาม และทำให้ตัวเราเองมีความรู้เพิ่มขึ้น เราตระหนักว่า การ ลปรร.ที่ทรงพลังจะทำให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะก้าวข้ามกระบวนทัศน์สู่กระบวนทัศน์ใหม่ ... เราจะปฏิบัติตัวเป็นกัลยาณมิตร และช่วยกันสร้างบรรยากาศแห่งมิตรภาพใน สคส."  (คัดจาก อุดมการณ์ร่วมของผู้ทำงานใน สคส.)
 

หมายเลขบันทึก: 44031เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณครูใหม่แอบเก็บข้อมูลนี่เอง...มิน่าหละไม่แสดงความเห็นเลย......

แค่การเล่าเรื่องทำให้เราได้เรียนรู้และต่อยอดความคิดได้เยอะนะคะ.....ทำให้อุนึกถึงเกมๆ หนึ่งที่ให้คนหัวแถวพูด ๑ ประโยคแล้วให้คนถัดมาพูดต่อๆ กันมาจนถึงคนสุดท้าย...คำพูดของคนแรกและคนสุดท้ายบางครั้งกลายก็เป็นคนละเรื่องกันเลยก็ได้....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท