293 : วิเคราะห์ อาทิตย์ทรงกลด จันทร์ 16 พ.ค. 2554 : โมเดล 1


 
ปรากฏการณ์อาทิตย์ทรงกลด (solar halos)
เมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2554
ควรค่าแก่การวิเคราะห์อย่างยิ่ง
โดยมีเพื่อนสมาชิกชมรมคนรักมวลเมฆ เก็บภาพได้จากหลายที่ในเวลาต่างๆ กัน
บันทึกนี้แสดงผลการวิเคราะห์เบื้องต้น
โดยจะได้ปรับปรุงให้แม่นยำยิ่งขึ้นต่อครับ
 

 
นี่ครับ ภาพจาก ราชาเทวะ เวลา 9:32 น.
โดยคุณทวี ขนขจี
 
 ภาพนี้แสดงอาทิตย์ทรงกลดอย่างน้อย 3 แบบ ได้แก่
(1) วงกลม 22 องศา (22-degree halo)
(2) การทรงกลดแบบเซอร์คัมสไครบด์ (circumscribed halo) - วงรี
(3) วงกลมพาร์ฮีลิก (parhelic cirlce) - เส้นโค้งหงายที่ลากผ่านดวงอาทิตย์
 
 
 ทดลอง โมเดล 1 ตามเงื่อนไขของน้ำแข็ง 2 แบบ ที่ระบุในภาพ ได้ผลอย่างนี้ครับ
 
 
ภาพ 2 ภาพนี้จากคุณ Kanya Qoo ถ่ายที่คลองสาน (? รอตรวจสอบ)
เวลา 10:45 น.
"



 
เวลา 10:52 น.
 
เนื่องจากภาพของคุณ Kanya Qoo ถ่ายที่เวลา 10:45 และ 10:52 น. ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่สูงขึ้นไป โดยเกิดแถบทรงกลดอยู่ใต้วงกลม 22 องศา จึงทำการจำลองเหตุการณ์ที่มุมเงยต่างๆ ดังภาพ

(เมื่อได้ สถานที่ & เวลาที่แน่นอน ก็สามารถคำนวณมุมเงยของดวงอาทิตย์ได้)
 
ปัญหาตอนนี้ก็คือ ปรากฎเส้นวงกลมพาร์ฮีลิกชัดเจนใน simulation แต่ไม่ปรากฏในภาพ แสดงว่าโมเดลรูปแบบน้ำแข็งยังคลาคดเคลื่อน
 
 

 
หมายเลขบันทึก: 439642เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โอโหพี่ชิวครับ ได้เรียนรู้เรื่องพระอาทิตย์ทรงกรดไปด้วย พี่ชิวสบายดีไหมครับ

วันจันทร์ดาวมัวแต่มุดหัวอยู่เวรในตึกผู้ป่วย อดเห็นพระอาทิตย์ทรงกลดเลย....T-T

มาดูจากบันทึกพี่ชิวดีกว่า อิอิ

อ.แอ๊ด : ไว้พี่จะหาโอกาสไปเก็บเมฆ เสกทรงกลด ที่ กำแพงแสน ครับ

ดาวฟ้า : คราวหน้า ชวนคนไข้ พยาบาล หมอ ผู้บริหาร รวมทั้งญาติๆ ที่มาเยี่ยมไข้ ออกมาดูเมฆ เสกทรงกลด ข้างนอกให้หมดเลย (รับรองเป็นข่าวหน้า 1 นสพ แน่นอนนนนนนน อิอิ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท