lotus
พระใบฏีกาสุพจน์ เกษนคร

โครงการวิจัย


โครงการวิจัย

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ                                                              แบบ ว-1ช             

 

                                        แบบเสนอแผนงานวิจัย (research program)

ประกอบการเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามมติคณะรัฐมนตรี

---------------------------------------

ชื่อแผนงานวิจัย (ภาษาไทย)          ขบวนการพุทธใหม่ในประเทศไทย

                 (ภาษาอังกฤษ)        Neo – Buddhist  Movements  in Thailand

ส่วน ก  :  ลักษณะแผนงานวิจัย           

       แผนงานวิจัยใหม่             

แ     แผนงานวิจัยต่อเนื่องระยะเวลา…. ปี ปีนี้เป็นปีที่….. รหัสแผนงานวิจัย …...…..……                                     I            ระบุความสอดคล้องของแผนงานวิจัยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) (ผนวก ๒) ซึ่งประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ (กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 ยุทธศาสตร์ ที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยทำเครื่องหมาย ü ในช่อง        และระบุความสำคัญกับเรื่องที่สอดคล้องมากที่สุดในยุทธศาสตร์นั้น ๆ)

         r   กลยุทธ์การวิจัยที่ ๗ การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทำเครื่องหมาย  ü  ในช่อง  ¦)

        ¦แผนงานวิจัยที่ ๑ การวิจัยเกี่ยวกับการเพิ่มสมรรถนะและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          ¦แผนงานวิจัยที่ ๒ การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและผู้ใช้บริการ

              ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ ๒การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม (ทำเครื่องหมาย  ü  ในช่อง  r )

  rกลยุทธ์การวิจัยที่ ๒ การส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าทางศาสนา               ศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่หลากหลาย (ทำเครื่องหมาย üในช่อง¦)

       ¦แผนงานวิจัยที่ ๒ การวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาคุณค่าทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติ บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

          ¦แผนงานวิจัยที่ ๒ การวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยม และสร้างสรรค์งานศิลป์ ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ  และระดับนานาชาติ

          rกลยุทธ์การวิจัยที่ ๒การสร้างศักยภาพและความสามารถของทรัพยากร                 บุคคลในวิทยาการต่าง ๆ (ทำเครื่องหมาย  ü  ในช่อง  ¦)

         ¦  แผนงานวิจัยที่ ๒ การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัย และนักบริหารการวิจัย ในวิทยาการ    ต่าง ๆ   ของภาครัฐและภาคเอกชน

          ¦  แผนงานวิจัยที่ ๒ การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ช่วยนักวิจัยใน                                     ภาครัฐและภาคเอกชน

ส่วน  ข   :      องค์ประกอบในการจัดทำแผนงานวิจัย

  ๑. ผู้รับผิดชอบและหน่วยงาน ประกอบด้วยหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน

      มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   

      สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

  ๒. ประเภทการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ

  ๓.     สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัย สาขาวิชาสังคมศาสตร์

  ๔. คำสำคัญ (keywords) ของแผนงานวิจัย

ขบวนการพุทธใหม่  หมายถึง  ขบวนการหรือกลุ่มชาวพุทธในประเทศไทยที่รวมตัวตามความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง มีวิธีปฏิบัติแปลกจากเดิม รวมทั้งรูปแบบขององค์กรเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา

 ๕. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

           พุทธศาสนาในประเทศไทย  จะเป็นส่วนผสมของ ๓ สิ่งด้วยกัน อันที่หนึ่งคือสิ่งที่นักวิชาการเรียกว่าวิญญาณนิยม  ก็คือความเชื่อพื้นเมืองก่อนที่ศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาจะมาถึง เชื่อเรื่องผีสางเทวดา ปู่เจ้าสมิงพราย แม่นาคพระโขนง จตุคามรามเทพก็ถือเป็นเทวดาท้องถิ่น ต่อมาอันที่สองศาสนาพราหมณ์จากอินเดียก็มาถึง  ก็นำเรื่องพระพรหมพระวิษณุพระศิวะเข้ามา ยกระดับทางผีสางเทวดาเป็นเทวดาชั้นสูง  อันที่สามพุทธศาสนาเข้ามาที่หลัง   มาผสมปนเปกับผีสางเทวดาท้องถิ่น  กับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ปะปนกัน  ๓  ปัจจัยนี้คือความเชื่อของคนไทยที่เป็นมาพันสองพันปีแล้วเทวดาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู   ก็ดังขึ้นมา  อย่างพระพรหมเอราวัณ   ยุคอย่างนี้เป็นยุคที่เทวดาท้องถิ่นบูมในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ  ไสยศาสตร์ก็เฟื่องฟู เพราะเป็นทางออกของประชาชนที่สิ้นหวัง  เมื่อหวังจากระบบอะไรที่ใช้เหตุผลไม่ได้ก็ต้องหวังพึ่งสิ่งที่ไร้เหตุผล  ก็คืออำนาจดลบันดาล   เวลานี้เศรษฐกิจฝืดเคืองมาก ชาวบ้าน

 

 

 

มีชีวิตที่แร้นแค้น ความหวังกับระบบปัจจุบันมันไม่มี สิ้นหวัง มีอำนาจลึกลับอะไรบางอย่าง ประชาชนก็ไปหวังอำนาจนั้นว่าจะมาช่วย ซึ่งเป็นเรื่องทางใจที่ค่อนข้างงมงายไร้เหตุผล   เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย   หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วหลายร้อยปี เมื่อนานวันเข้าชาวพุทธก็เริ่มย่อหย่อน  ตั้งตนอยู่ในความประมาท หันเหออกจากหลักการพึ่งตนเองไปพึ่งพาอำนาจศักดิ์สิทธิ์ภายนอก  ชาวพุทธก็อ่อนแอ ซึ่งในอินเดียก็มีศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาดั้งเดิมอยู่แล้ว  เมื่อชาวพุทธอ่อนแอไม่พึ่งตนเอง   พราหมณ์ก็หยิบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้   นำเสนอ   ชาวพุทธก็ไปเกาะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ สมัยหนึ่งมีเทวรูปดื่มนม ชาวพุทธก็มัวแต่ไปพึ่งสิ่งเหล่านี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าแม่น้ำ  ภูเขา  จอมปลวก  ซึ่งคนลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์  เราพึ่งได้ที่ไหน  ต้องพึ่งตนเอง  คือปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา อันนี้คือมูลเหตุที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม พุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดียมีสาเหตุหลัก  ๓  ประการ หนึ่งคือชาวพุทธอ่อนแอ พอมีเหตุปัจจัยภายนอกมากระทบก็พังง่าย   แต่ถ้าเราเข้มแข็ง ปัจจัยภายนอกมากระทบเราก็อยู่ได้ สองคือพราหมณ์ฮินดู เมื่อพุทธศาสนาเกิดขึ้น พวกพราหมณ์ก็เข้ามาศึกษา แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกเข้ามาเพราะเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธเจ้า  มาศึกษาปฏิบัติแล้วก็กลายเป็นสาวก  กลุ่มที่สองเข้ามาศึกษาเพื่อต้องการรู้จุดอ่อนจุดแข็ง แล้วนำไปปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อต่อสู้ทางความคิด   วัฒนธรรมอินเดียนั้นดีอย่างหนึ่งก็คือเป็นวัฒนธรรมแห่งอหิงสา    การต่อสู้ทางศาสนานั้นต่อสู้ทางความคิด   เขาไม่ใช้ความรุนแรง   เป็นอารยธรรมที่ศิวิไลซ์  พวกพราหมณ์เมื่อมาศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งนำไปปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ให้เข้มแข็งขึ้น มีปรัชญาที่ลึกซึ้งขึ้น   และนำเสนอกลับมาในรูปของศาสนาฮินดู  ฉะนั้นศาสนาฮินดูคือศาสนาที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา เอาข้อดีของพุทธไปปรับปรุงจนกระทั่งมีปรัชญาที่ลึกซึ้งพอจะสู้ได้"ศาสนาคริสต์หรือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรอาระเบีย   ฉะนั้นวิธีคิดคนละอย่าง  เป็นศาสนาที่เชื่อพระเจ้าองค์เดียว  และก็ศรัทธามาก่อนปัญญา เชื่อก่อนแล้วเรื่องปัญญามาทีหลัง  ส่วนพุทธนั้นปัญญาต้องมาก่อน  เมื่อปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้วจึงเกิดศรัทธาตามมาทีหลัง   ฉะนั้นศาสนาที่เชื่อพระเจ้าองค์เดียวเป็นศาสนาที่มีลักษณะมิชชันนารี  คือต้องการเผยแพร่ต้องการเปลี่ยนคน ขณะที่พุทธไม่มีลักษณะเช่นนั้น  พุทธนั้นเอาปัญญานำ  ลักษณะการเผยแผ่มีลักษณะแบบให้การศึกษา  ให้มาเรียนรู้  ได้เข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วเห็นด้วยจึงยอมรับ ถ้าไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องรับ เพราะฉะนั้นคุณลักษณะหรือการเผยแผ่พุทธศาสนามันอิงอยู่กับระบบการศึกษา   เป็นเรื่องการให้ปัญญาให้การศึกษากับคน  ซึ่งผิดกับศาสนาที่เชื่อพระเจ้า ต้องเชื่อก่อนแล้วค่อยหาเหตุผลมาทีหลัง ศาสนิกที่เขายิ่งเคร่งเขายิ่งถือว่าเป็นภารกิจของเขาที่จะต้องเปลี่ยนคนอื่นให้มาเข้าศาสนาตัวเอง"ความอ่อนแอของชาวพุทธไทยตอนนี้เหมือนอินเดียไหม"คล้ายคลึงกันแต่ว่ามันคนละบริบทของสังคม    อินเดียสมัยนั้นชาวพุทธไปพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ภายนอก  เป็นการเปิดช่องให้ศาสนาที่เขาเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิมาหยิบยื่นความศักดิ์สิทธิ์ให้   ชาวพุทธก็ไม่พึ่งตนเองอีกแล้ว พอไปเกาะมากๆ เข้าความเป็นพุทธก็ล่มสลายแล้วอินโดนีเซียล่ะผสมผสานกันมาตั้งแต่ความเชื่อวิญญาณท้องถิ่น  พราหมณ์ พุทธศาสนา แต่เดิมนั้นพระภิกษุไทยที่มีสติก็ชี้นำ   แต่ว่ายามใดที่สติปัญญานั้นอ่อนแอ  พราหมณ์กับผีก็นำพุทธ แต่ในยุคสมัยอย่างนี้ไม่น่าจะให้ผีหรือว่าเทวดามานำพุทธ   เพราะเป็นยุคที่ระบบการศึกษาเราก้าวหน้า  มีการศึกษาด้านพุทธศาสตร์ศึกษาในหลายมหาวิทยาลัย และผู้คนยุคปัจจุบันก็มีความรู้มากกว่าเดิมเราบอกว่าในทัศนะเราพุทธเป็นวิทยาศาสตร์  มีเหตุผล แต่ก็มีเปลือกไสยศาสตร์ พอเข้าสู่โลกสมัยใหม่ที่คนมีความรู้วิทยาการก้าวหน้า   ทำไมพุทธกลับไม่แพร่หลายแต่ผีสางเทวดาหมอดูกลับไปได้ดีในอินเทอร์เน็ต ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมบริโภคและการตลาดได้ง่าย"สังคมไทยเป็นสังคมแบบที่มีนักวิชาการฝรั่งวิเคราะห์ว่าเป็นสังคม  modernization without  development  ก็คือทันสมัยแบบที่ไม่มีการพัฒนา ตะวันตกคิดเทคโนโลยีอะไรเราก็ซื้อเขามา แต่เราไม่ได้พยายามที่จะตามตะวันตกในเชิงคิดเทคโนโลยีของเราเอง   เพราะฉะนั้นวิธีคิดของคนไทยยังเป็นวิธีคิดแบบคนโบราณอยู่     แม้ว่ารูปแบบภายนอกจะดูทันสมัย  จิตใจคนไทยยังเป็นจิตใจที่ไม่พัฒนาเท่าไหร่ ยังเต็มไปด้วยความเชื่อที่งมงาย ความเชื่อที่ไม่ต้องการเหตุผล วิธีคิดที่ยังยึดมั่นต่อระบบอำนาจนิยม ซึ่งเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายสืบทอดมา ยังเป็นอำนาจนิยม ยังเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์    ท่ามกลางความทันสมัยคนไทยยังโบราณอยู่มาก ยังเชื่อเรื่องอำนาจดลบันดาลอยู่ ฉะนั้นคนไทยเราดูภายนอกแล้วทันสมัย ใส่สูทมีมือถือขับรถยนต์ นั่งเครื่องบิน แต่วิธีคิดยังโบราณอยู่"แสดงว่าพุทธที่เราเชื่อก็ไม่มีเหตุผลเท่าไหร่ ? พุทธศาสนาออกเป็น   ๒ ประเภท  ก็คือพุทธศาสนาในเชิงแก่นแท้คำสอน  ซึ่งเป็นพุทธศาสนาที่เป็นเชิงวิชาการหรือว่าที่เป็นตัวปฏิบัติล้วนๆ  พุทธศาสนาที่คนไทยเชื่อเป็นอีกอันหนึ่ง 

            จากเหตุผลดังกล่าวแนวความคิดการตีความ  จากการผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมจึงนำไปสู่ขบวนการหรือกลุ่มชาวพุทธในประเทศไทยมีแนวความคิดที่แปลกแยกไปจากเดิมและนำไปสู่การรวมตัวของกลุ่มคนที่มีแนวความเชื่อหลากหลายประเภทตามส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทย  ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษารวบรวมขบวนพุทธที่มีแนวความเหล่าไว้เพื่อข้อมูลหลักฐานถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อศึกษาและเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษารายละเอียดเฉพาะขบวนการหรือแต่ละสำนักต่อไป

 

 

 

 

 

๖.วัตถุประสงค์หลักของแผนงานวิจัย

๑.เพื่อศึกษาพัฒนาการของชาวพุทธใหม่ในประเทศไทย

๒.เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดของขบวนการพุทธใหม่

๓.ศึกษารูปแบบการจัดตั้งองค์กร   การตีความคำสอนแนวใหม่รวมทั้งวิธีการเผยแผ่  และอิทธิพลต่อสังคมไทย

.  ขอบเขตของโครงการวิจัย

            การวิจัยเรื่อง “ขบวนการพุทธใหม่ในประเทศไทย”  มีขอบเขตดังนี้

๗.๑ ขอบเขตเนื้อหา  ได้แก่  เพื่อศึกษาพัฒนาของชาวพุทธใหม่ในประเทศไทย ศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดขึ้นของขบวนการพุทธใหม่ และศึกษารูปแบบการจัดตั้งองค์กร   การตีความคำสอนแนวใหม่รวมทั้งวิธีการเผยแผ่  และอิทธิพลต่อสังคมไทย

๗.๒ ขอบเขตด้านประชากร ได้แก่

๑.วิหารหนองโดน   อ.ลำปลายมาศ  จ.บุรีรัมย์

๒.พระครูพิพิธประชานาถ(หลวงพ่อนาน   สุทฺธสีโล)    วัดสามัคคี  ต.ท่าสว่าง   จ.สุรินทร์

๓.คุณแม่จันทา   ฤกษ์ยาม  จ.ร้อยเอ็ด

๗.๓  ขอบเขตด้านเวลา  มีเวลา  ๑๒ เดือน  เริ่มจาก วันที่ ๑ เดือนตุลาคม  ๒๕๕๑  -  ๓๐  กันยายน  ๒๕๕๒ 

๗.๔  ขอบเขตด้านสถานที่เก็บข้อมูล

            วิหารธรรม (บ้านหนองโดน)   ที่บ้านหนองโดน  เลขที่ ๑๕ หมู่ ๖  ตำบลหนองโดน  อำเภอลำปลายมาศ  จ.บุรีรัมย์ ๓๑๑๓๐

สำนักปฏิบัติธรรมคุณแม่จันทา   ฤกษ์ยาม  สำนักปฏิบัติธรรมบ้านไร่พัฒนา (ภูริทัตตะ)   ๘๓  หมู่ ๗  บ้านหนองไศล  ตำบลดูกอึ่ง  กิ่งอำเภอหนองฮี    จ.ร้อยเอ็ด

พระครูพิพิธประชานาถ(หลวงพ่อนาน   สุทฺธสีโล)  วัดสามัคคี  ต.ท่าสว่าง   จ.สุรินทร์

.  ประโยชน์ที่ควรคาดว่าจะได้รับ

๑.ทราบถึงขบวนการพุทธใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

๒. ทราบถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นของขบวนการพุทธใหม่

๓.ทราบถึงรูปแบบการจัดตั้งองค์กร   การตีความคำสอนแนวใหม่รวมทั้งวิธีการเผยแผ่  และอิทธิพลต่อสังคมไทย

             ๔.ข้อมูลที่ค้นพบจากการศึกษาในครั้งนี้ มีส่วนเอื้ออำนวยประโยชน์ในด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศในส่วนของคณะสงฆ์เกี่ยวกับขบวนการพุทธใหม่ในประเทศไทย

 

๙.  หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้

               -  ชุมชน  ส่วนราชการ   สถานศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  คณะสงฆ์

๑๐.  กรอบแนวคิดการศึกษาวิจัย

               เมื่อผู้วิจัยได้ศึกษาตามหลักการ  มีรายละเอียดดังแผนภาพด้านล่าง

               กรอบแนวความคิดของการวิจัย  แสดงเป็นแผนภาพได้ดังนี้



 

 

 

 

 

 

๑๑. ระเบียบวิธีการวิจัย

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีขั้นตอนการศึกษา   ๒   รูปแบบ ดังนี้

กลุ่มเป้าหมาย/วิธีดำเนินการวิจัย

            ก. การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)    เป็นขั้นตอนแรกโดยการศึกษาและค้นคว้าหนังสือ  และเอกสารต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ได้แก่คัมภีร์พระไตรปิฎก  อรรถกถาฏีกา  อนุฏีกา  หนังสือ  และเอกสารที่เกี่ยวข้องเนื้อหาอื่นๆ  ที่นำมาวิเคราะห์แนวคิดของขบวนการพุทธใหม่ในประเทศไทย ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาคสนามต่อไป

      ข  แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Dept Interview) โดยสัมภาษณ์เจ้าสำนักขบวนการพุทธใหม่  และผู้ปฏิบัติธรรมในแต่ละสำนัก

            ค.ประชากร  ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

๑๒.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย

            ในการวิจัยครั้งนี้   ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ

            ๑. แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้   เครื่องมือทีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้

            ส่วนที่  ๑  เป็นคำถามเกี่ยวกับความเป็นมาของแต่ละสำนัก 

            ส่วนที่  ๒  เป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดของแต่ละสำนัก 

            ส่วนที่  ๓  เป็นคำถามเกี่ยวกับพิธีกรรม ข้อปฏิบัติ กิจกรรมของแต่ละสำนัก

            ส่วนที่  ๔  เป็นคำถามที่ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเผยแผ่และเนื้อหาธรรมะ

 

 

 

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ

          การสร้างเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลการในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อให้ตรงกับการตรวจสอบแบบหลายมิติ(Triangulation) และสอดคล้องกับความมุ่งหมาย

             ๑. การสร้างแบบสัมภาษณ์ มีวิธีดำเนินการ ดังนี้

                 ๑.๑ ศึกษารายละเอียดจากเอกสาร  ตำรา นโยบายและการวางแผนหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

                  ๑.๒ กำหนดกรอบแนวคิดและขอบข่ายในการสร้างเครื่องมือตามตัวแปรที่ต้องการศึกษา

                  ๑.๓ สร้างเครื่องมือตามกรอบแนวคิด  ขอบข่าย  และตัวแปรที่ต้องการศึกษา  ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้อง

                  ๑.๔  นำเครื่องมือที่สร้างเสร็จไปเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพในด้านความถูกต้อง  และความเหมาะสมตลอดทั้งให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปรับปรุง                                 

                  ๑.๕  นำเครื่องมือที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว  เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง                                    

                  ๑.๖  นำเครื่องมาที่ได้ปรับปรุงแก้ไข ไปให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

                  ๑.๗  ขั้นนำไปใช้โดยนำแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาและจัดเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้        

         การเก็บรวบรวมข้อมูล            

            การเก็บรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 

        การวิเคราะห์ข้อมูล

                ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

               ๑.การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือ อินเตอร์เน็ต และผลงานของเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม บรรยายธรรมและตอบคำถามของประชาชนหรือสื่อมวลชนตามสถานที่ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้ ตลอดจนการสัมภาษณ์แล้วนำมาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนาหรือเชิงคุณภาพ (Qualitative)

               ๒.การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ 

 

 

 

 

 

 

 

๑๓.  ระยะเวลาทำการวิจัย  ระยะเวลาดำเนินการ  ๑๒  เดือน  ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒

                                           แผนการดำเนินการตลอดโครงการวิจัย

กิจกรรม

เวลา (เดือน)

๑๐

๑๑

๑๒

๑.ขออนุมัติโครงการ/ประชุมนักวิจัยในโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒.การรวบรวมข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 -รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 -ประชุมคณะทำงานและอาจารย์ที่ปรึกษาวางแผนเก็บข้อมูล/สร้างเครื่องมือ/ทดลองใช้เครื่องมือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๓.การรวบรวมข้อมูลภาคสนาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๔.การวิเคราะห์ข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๕.การเขียนรายงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๖.การพิมพ์รายงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๗.เสนอผลงานต่อคณะกรรมการและ  ถ่ายทอดผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๔.  แผนการถ่ายทอดผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย

               ๑.  จัดประชุมสัมมนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอผลการวิจัยไปแก้ไข

               ๒.  จัดพิมพ์เอกสาร  วารสาร  เผยแพร่ความข้อมูล

๑๕.  งบประมาณของโครงการวิจัยที่ขอรับการสนับสนุน  ๑๒๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)

 

 

 

 

 

รายการ

จำนวนเงิน

๑  งบบุคลากร

      ค่าจ้างชั่วคราวฯลฯ…………………………………………………

๒.  งบดำเนินงาน

     ๒.๑  ค่าตอบแทน  ใช้สอยและวัสดุ

           ๒.๑.๑  ค่าตอบแทน เช่น ค่าอาหารทำการนอกเวลา  ค่าตอบแทน

                   ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ  ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ฯลฯ……

           ๒.๑.๒  ค่าใช้สอย  เช่น

๑)  ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าเช่าที่พัก  ค่าพาหนะ ………..……

๒)  ค่าซ่อมแซมยานพาหนะและขนส่ง…………...……

๓)  ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์………………………………

๔)  ค่าจ้างเหมาบริการ…………………………………

๕)  ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาและฝึกอบรม……………

๖)  ค่ารับรองและพิธีการ……………………………….

๗)  ค่าเงินประกันสังคม…………………………………

๘)  ค่าใช้สอยอื่น ๆ……………………………………..

           ๒.๑.๓  ค่าวัสดุ  เช่น

                   ๑)  วัสดุสำนักงาน…………………………………………..

                   ๒)  วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น………………………………

                   ๓)  วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ……………………………….........      

                   ๔)  วัสดุโฆษณาและเผยแพร่…………………..…………..

                   ๕)  วัสดุหนังสือ  วารสารและตำรา……………..……….....   

                   ๖)  วัสดุคอมพิวเตอร์…………………………….………….

                   ๗)  วัสดุอื่น ๆ…………………………………...………….

๒.๒  ค่าสาธารณูปโภค   เช่น

        ค่าไฟฟ้า  ค่าน้ำประปา  ค่าโทรศัพท์  ค่าไปรษณีย์โทรเลข 

        ค่าบริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคม ……………….………

๓.  งบลงทุน

      ค่าครุภัณฑ์…………………………………………………

 

 ๒๐,๐๐๐

 

 

 

๑๐,๐๐๐

 

๕,๐๐๐

๑๐,๐๐๐

  ๑,๐๐๐

๑๐,๐๐๐

-

-

๕,๐๐๐

๑๕,๐๐๐

 

๕,๐๐๐

๕,๐๐๐

๕,๐๐๐

๕,๐๐๐

๕,๐๐๐

๕,๐๐๐

๑๕,๐๐๐

 

 

๕,๐๐๐

๕,๐๐๐

รวมงบประมาณที่เสนอขอ

๑๒๑,๐๐๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

กรุณา – เรืองอุไร  กุศลาสัย .มหากาพย์มหาภารตะ.กรุงเทพฯ:บริษัทเคล็ดไทย  จำกัด ,๒๕๒๕.

ขุนทอง  อินทร์ไทย.  เส้นทางเดินสู่การพัฒนาของชาติไทย.  กรุงเทพมหานคร :  พิทยาคาร. ๒๕๓๐. 

จรัส  โพธิศิริ.  การบริหารการศึกษา.  กรุงเทพมหานคร :  โอเดียนสโตร์. ๒๕๒๓. 

จำนงค์  ร่มเย็น.  บทบาทของพระญาณวิทยาคมเถร  (หลวงพ่อคูณ  ปริสุทฺโธ)  กับการพัฒนาชุมชนในเขต        อำเภอด่านขุนทด   จังหวัดนครราชสีมา.  ป

คำสำคัญ (Tags): #โครงการวิจัย
หมายเลขบันทึก: 439639เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท