ลดต้นทุนอาหารสัตว์


อยากจะส่งเสริมให้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์เห็นความสำคัญ กับพืชอาหารสัตว์ที่มีในท้องถิ่นเหล่านี้บ้าง

ขับรถไปทำงานทุกวันข้างทางมีต้นกระถินขึ้นตลอดข้างทาง ไปทำงานในพื้นที่อำเภอเวียงเชียงรุ้งมีทั้งมันสำปะหลังที่ปลูกกันมากมาย ตลอดจนไกล้ฝั่งแม่น้ำกกก็มีข้าวโฟดที่ปลูกไว้เก็บเมล็ดลำต้นถูกตัดทิ้งบดทำปุ๋ยอย่างเดียว เสียดายครับ วันนี้ก็เลยลงค้นวิชาการเกี่ยวกับอาหารจากพืชเหล่านี้มาแนะนำเผื่อว่ามีหลายท่านเกษตรกรสนใจนำไปปรับใช้เลี้ยงสัตว์หมู เป็ด ไก่ได้ครับ

1.มันสำปะหลังทั้งส่วนหัวและใบ ถ้าอยู่ในสภาพสดจะมีสารพิษกรดไฮโดรไชยานิก ไม่สามารถนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ต้องนำไปลดสารพิษก่อนดังนี้ -หัวมันสำปะหลังสดนำไปหั่นชิ้นเล็กๆขนาดประมาณ 1 นิ้ว นำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท ราวๆ 3 วัน บรรจุกระสอบเก็บได้หลายเดือน แต่ก่อนจะนำไปผสมอาหารให้สัตว์กินต้องนำไปบดละเอียดก่อน ให้ใช้ไม่เกิน 20%ในสูตรอาหารสำหรับลูกสัตว์ ส่วนสัตว์ใหญ่สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ทั้งหมด แต่ควรเสริมอาหารประเภทโปรตีนสูงและเสิมไขมันหรือกากน้ำตาลด้วยเพื่อลดความเป็นฝุ่นลง -ใบมันสำปะหลังสดสามารถเก็บได้หลังปลูกไปแล้ว 6-7 เดือน โดยเก็บเฉพาะส่วนใบจากส่วนโคนต้นขึ้นมาประมาณครึ่งหนึ่งและเก็บอีกครั้งช่วงเก็บหัวมันก็ได้โดยริดเอาเฉพาะส่วนใบนำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท 2-3 วัน บรรจุกระสอบป่านเก็บไว้ เมื่อจะนำมาใช้ให้บดละเอียดก่อน ใบมันสำปะหลังมีโปรตีนสูงถึง20-25%ให้ใช้ได้ไม่เกิน15%ในสูตรอาหาร 2.กระถิน ใบกระถินสดไม่สามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากมีสารพิษชื่อไมโมซิน จะต้องนำไปลดสารพิษก่อน โดยตัดกิ่งกระถินมาผึ่งในร่ม5-7 วัน ให้แห้งสนิทใบร่วงจึงเก็บมาทำอาหารสัตว์ ก่อนผสมต้องบดให้ละเอียด ใบกระถินจะมีโปรตีน 20-25% ใช้ไม่เกิน 5% ในสูตรอาหารสำหรับสัตว์ใหญ่สัตว์เล็กไม่ควรใช้

3.เมล็ดข้าวโพด ควรผึ่งให้ความชื้นไม่เกิน 13 %ก่อนใช้นำมาบดสามารถแทนแหล่งอาหารพลังงานได้ทั้งหมด ห้ามทิ้งไว้นานจะมีเชื้อราอัลฟาท็อกซินที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ โดยเฉพาะเป็ดจะเกิดอันตรายจากสารพิษนี้ง่ายที่สุด

4.ข้าวตาก ข้าวสุกที่กินเหลือสามารถนำไปตากแห้งเก็บไว้แทนปลายข้าวได้ แต่ควรนำไปแช่น้ำให้นิ่มก่อนจึงนำไปคลุกเคล้ากับวัตถุดิบอื่นๆในลักษณะอาหารเปียก โดยให้กินหมดเป็นมื้อๆ เหมาะสำหรับเลี้ยงเป็ด และหมูมากกว่าไก่

5.ถั่วลิสง เมล็ดมีราคาแพง ส่วนใหญ่จะเป็นกากถั่วที่นำมาทำอาหารสัตว์ทำให้สุกก่อนด้วยการคั่วหรือนึ่ง แล้วนำมาบดละเอียดผสมแทนอาหารโปรตีน แต่ต้องระวังเรืองสารพิษอะฟลาท็อกซิน และเหม็นหืนได้ง่ายผสมแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 7 วัน

6.ถั่วเหลืองก็แทนอาหารโปรตีนเช่นเดียวกับถั่วลิสง ต้องทำให้สุกก่อนนำไปใข้เลี้ยงสัตว์

7.กากมะพร้าว มีสองประเภทคือ กากมะพร้าวที่ได้จากการคั้นกะทิ และที่ได้จากการสกัดน้ำมัน ในสูตรอาหารกากแบบแรกนั้นมีโปรตีนตำ ขึ้นราง่ายต้องใช้วันต่อวันไม่ควรทำอาหารลูกสัตว์ ผสมในสูตรอาหารได้ไม่เกิน 10% ส่วนแบบที่สองจากสกัดน้ำมันจะมีโปรตีนสูงใช้แทนรำละเอียดได้ไม่เกิน 5%ในสูตรอาหารสัตว์เล็ก สวนสัตว์ใหญ่ได้ไม่เกิน 20%

ลองปรับใช้กันตามพื้นที่ก็แล้วกันนะครับ ของมีอยู่แล้วในพื้นที่ไม่เสียค่าขนส่ง

เพิ่มความขยันอดทน  ต้องลดต้นทุนได้แน่  ชาวบ้านที่เก่งบางคน แม้หญ้ายังเอามาผสมอาหารให้ไก่กินได้ 

ข้อมูลอาหารสัตว์สอบถามสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและสำนักงานอำเภอได้ทุกแห่งครับ

หมายเลขบันทึก: 439438เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท