โลกร้อนจากความรู้ไม่พอใช้


ต้องกลับมาพัฒนาระบบการผลิตเพื่อการอยู่กับธรรมชาติอย่างเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อย่าคิดเอาชนะธรรมชาติ

อนุสนธิจากการได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ให้เข้าร่วมอภิปรายบนเวทีการประชุม

ในหัวข้อ

การจัดการดินและปุ๋ยในสภาวะโลกร้อน”
ที่เชียงใหม่ ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔

ทำให้ผมต้องมาคิดทบทวนจากประสบการณ์และความรู้ที่มี


ที่พบว่าแก่นแท้ของปัญหาเกิดจาก
ความรู้ไม่พอใช้ กำลังจะเสียค่าโง่” จึงมานั่งวิตกกังวลกันในวันนี้


ทั้งๆที่ทุกอย่างที่เราทำไปนั้น
ก็ได้อย่างเสียอย่างในทุกเรื่อง
ถ้าคิดแต่ได้อย่างเดียวก็จะต้องมาผิดหวังกันแบบนี้แหละ


คิดเอาแต่ได้ ไม่คิดถึงผลเสีย

และถ้าคิดโดยความรู้ไม่พอใช้ก็ยิ่งหนัก

เพราะ

เพราะสาเหตุที่แท้จริงก็คือการทำลายทรัพยากรทำให้โลกร้อนขึ้น
ทั้งๆที่รู้ก็ยังไม่มีใครคิดจะหยุด ยังทำเหมือนเดิม หรืออาจมีบางคนคิดจะหยุด
กลับมีความรู้ไม่พอที่จะหยุด

ที่เราพลาดมาก็ยังมีปัญหาหลักๆ
แบบว่าตาม “เขาว่า” ไม่สนใจความจริง


แบบเดียวกันกับ
“งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข”


แล้วตอนนี้เรามีเงินกันมากไหม
มีความสุขมากไหม เห็นมีแต่หนี้และความทุกข์ถ้วนหน้า


สาเหตุมาจากการเน้นการพัฒนาเชิงวัตถุ
และสิ่งฉาบฉวยมากกว่าความยั่งยืน

ทำลายทุกอย่างแบบวิ่งตามกระแสเงิน


วิ่งหาเงินกันมาตลอดชีวิต
แต่แทบทุกคนเป็นหนี้
มากบ้างน้อยบ้างตามฐานานุรูป
คนที่มีเงินเดือนมากก็ดูเหมือนจะมีหนี้มาก ยิ่งนักธุรกิจที่ว่ามีกิจการใหญ่โต เท่าที่ทราบมาจำนวนมากก็ยังหมุนเงินจ่ายดอกเบี้ยธนาคารกันแทบไม่ทัน

ระดับประเทศก็แกล้งทำลืม
ว่าการพัฒนาที่ทุกคนมุ่งหวังอยากจะเห็น อยากจะให้เป็นนั้นคืออะไร กลับชี้วัดด้วยกระแสการใช้เงิน
GDP การพนันในตลาดหุ้น การพัฒนาแบบสุ่มเสี่ยง เชื่อตามแนวทางของต่างชาตินำทางการพัฒนา
ด้วยอาการความรู้ไม่พอใช้ ต้องพึ่งความรู้คนอื่น ทำให้มีความทุกข์แพร่กระจายทั่วไปในสังคม

แนวทางการแก้ไขนั้น
ถ้าจะจริงใจ จำเป็นต้องกลับมาสู่ความจริง ใช้ความรู้ ความเข้าใจ สามัญสำนึก
และความฝันที่แท้จริงของทุกคน เป็นตัวนำทาง


เช่น เน้นการทำเกษตรเชิงอนุรักษ์
ไม่เบียดเบียน แต่เน้นการพึ่งพาเพื่อเพิ่มผลิตภาพของดิน และที่ดิน


เน้นการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เน้นการทำเกษตรอินทรีย์
อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงานจากภายนอก ลดการใช้สิ่งที่รบกวนและ/หรือทำลายระบบธรรมชาติ

พัฒนาระบบการผลิตเพื่อการอยู่กับธรรมชาติอย่างเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อย่าคิดเอาชนะธรรมชาติ

เพราะทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


ใช้หลักการเรียนรู้แบบ

  •  ปริยัติ
    ชัดในเชิงทฤษฎีและหลักการที่ถูกต้อง สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ
  • ปฏิบัติ
    ให้เห็นความจริง เนื้อแท้ของการปฏิบัติที่ได้ผล ไม่มีอะไรต้องสงสัยเคลือบแคลง และ
  • ปฏิเวธ ทบทวน สรุปบทเรียนเพื่อไปปรับปรุงทฤษฎี แนวทางปฏิบัติ
    และสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข ทั้งทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติที่ได้ผลและถูกต้องจริงๆ มากขึ้นๆๆ เรื่อยๆ

ที่จะต้องอาศัยหลัก “สันทิฏฐิโก”
ผู้ทำเป็นผู้รู้ด้วยตนเอง

และ “ปัจจัตตังเวทิตัพโพ”
ที่ผู้รู้นั้น รู้เฉพาะตน

ปัจจัยต่างๆที่เคยมีนั้นทั้งหมด
หรือทั้งระบบยังอยู่ไม่ไปไหน เพียงแต่ย้ายที่อยู่

เพียงต้องค่อยๆดึงกลับมาใหม่ พัฒนาระบบสำรอง ระบบหมุนเวียน


ประเมินตามความเป็นจริง
แก้ไขปรับปรุงเป็นขั้นตอน มีทางรอดแน่นอน

นี่คือแนวทางแห่งการพัฒนาแบบใช้และพัฒนาความรู้
แทนการใช้ความเชื่อ และทำตาม “เขาว่า” ครับ


สุดท้ายก็แล้วแต่บุญแต่กรรมของประเทศไทยครับ

ผมคงจะเสนอได้ประมาณนี้ครับ 

หมายเลขบันทึก: 439024เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 06:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อย่างน้อยอาจารย์ก็ได้นำเสนอให้ทราบไว้แล้ว

ไม่เอาก็ตามใจ นะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการเกษตรเท่าไร แต่ชอบบันทึกของอาจารย์ ไม่เฉพาะการทำการเกษตรอาชีพอื่นก็เหมือนกันค่ะ ต้องอาศัยหลัก สันทิฏฐิโก และ ปัจจัตตังเวทิตัพโพ

คนทำการเกษตรต้องอาศัยตลาด ที่เคยรู้มา หน้าเงาะ มังคุด ถ้าปีไหนราคาดี จะมีพ่อค้ามาเหมาทั้งสวนเลย ถึงเวลาก็มาเก็บเองแต่บ้านใครที่ปลูกไม่มากพ่อค้าไม่ซื้อเพราะไม่คุ้ม ต้องเก็บไปขายที่ตลาดเอง ไปถึงตลาดก็ถูกกดราคาอีก

ปีนี้ได้ข่าวมาว่า มีรถมารับซื้อผลไม้ไปขายต่างประเทศ เขาจะเอารถมารับซื้อเองให้ราคาดีแต่ผลไม้ต้องคุณภาพดี ไม่ต้องอาศัยพ่อค้าท้องถิ่น

การแก้ปัญหาโลกร้อน ต้องแก้ระดับประเทศ รัฐบาลชุดไหนจะลงมือทำอย่างจริงจังเป็นชุดแรกล่ะ ทุกคนทุกอาชีพต้องร่วมมือกันจึงจะสำเร็จ

One underlying "belief" in human culture is that

"We (human) can do better (than others -- even better than Nature).

Our technologies are developed with this belief. We call it "Optimisation" (for our objectives -- atta).

Nature works in much more unbiased (more just -- not really random) ways (for all things -- anatta).

Perhaps, we need to see and understand that "We do not need to get the best for ourselves" but

"We should make the best for all". Yes, a very difficult undertaking -- we don't know enough of "everything" ;-)

Can we blame people for doing things to make themselves better (than other people)?

Can we blame a girl for trying to look prettier (than her friends)?

Can we blame a shop for making more profit (than other shops)?

Can we blame a teacher for telling "more truth" (than other teachers)?

...

Surely, we cannot answer these questions without a lot of 'ummh ahhh' and looking inside ourselves. ;-)

By writing this, trying hard as we can be, we are telling people "my idea is possibly better (than other ideas)" ;-)

ถ้าเรามีการจัดสรรที่ดี มีั้ขั้นมีตอน มีระเบียบ มีการพัฒนาที่เป็นระบบ(อย่างจริงจัง).....อยู่ได้ครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

วันหนึ่งเพื่อนของดิฉันสองคนคุยกันเรื่องปุ๋ยอินทรีย์(ขวัญดิน) เพื่อนคนหนึ่งเป็นครูอย่างเดียวแนะนำให้เพื่อนที่เป็นครูและเป็นเจ้าของสวนยางด้วยให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ แต่เพือนที่เป็นเจ้าของสวนยางบอกว่าเธอใช้ไม่ได้เพราะสวนยางของเธออยู่บนเชิงเขา ต้องขับรถบรรทุกปุ๋ยขึ้นไป แล้วจ้างคนหว่านปุ๋ย ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต้องใช้ปริมาณมาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก(ทั้งค่าบรรทุกและค่าแรง)

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ดินก็จริง แต่ในกรณีนี้เพื่อนดิฉันผู้เคยใช้ปุ๋ยทั้งสองชนิดกับสวนยางของเธอมาแล้ว สรุปว่าใช้ปุ๋ยเคมีเหมาะสมกว่า ดิฉันเห็นด้วยกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แต่บางกรณีก็มีข้อจำกัด แล้วเพื่อนของดิฉันจะอนุรักษ์ดินได้โดยวิธีใดบ้างคะ

ระบบธรรมชาติต้นทุนต่ำสุดครับ

....ระบบธรรมชาติต้นทุนต่ำสุด...แล..ได้ประโยชน์..สูงสุด...เพราะ..หมุนเวียนอยู่ใน..วงจร(ของชีวิต)..ปราศจาก..คำว่า..กำไรแลขาดทุน.....(สวัสดีค่ะ..ยายธี)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท