นวดหัวใจ (ตอนที่ 2)


ตำแหน่งการวางมือสำัคัญมากถ้าวางผิดตำแหน่ง นอกจากจะช่วยไม่ได้แล้ว ยังเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้เช่นกระดูกซี่โครงหัก

สิ่งที่ควรรู้ในการนวดหัวใจผู้ใหญ่ CPR 2010
(สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์)

1. โทร.ขอความช่วยเหลือ 1669 
2. ต้องทำทันทีที่พบผู้มีหัวใจหยุดเต้น
    (โดยอย่าเสียเวลากับการดูว่าหายใจหรือไม่)

3. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายอยู่บนพื้นราบแข็ง(การนวดจึงจะมีประสิทธิภาพ)
4. ตำแหน่งในการวางมือ (ใช้มือสองข้างวางซ้อนกันให้แขนเหยียดตึง วางส้นมือล่างข้างที่ถนัดบนกึ่งกลางหน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสองข้างของผู้ป่วย กระดกปลายนิ้วขึ้นเล็กน้อย)
5. กดให้ลึกมากกว่า 2 นิ้ว (กดลงตรงๆ แขนเหยียดตึงตลอดเวลา ช่วงคืนมือต้องคืนให้สุด โดยส้นมือล่างยังคงวางอยู่ตำแหน่งเดิมเสมอ)
6. กดให้เร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที (โดยกดอย่างต่อเนื่อง หยุดเท่าที่จำเป็นและไม่เกิน 10 วินาที)
7. หยุดกดเมื่อผู้ป่วยฟื้น หรือมีความช่วยเหลือขั้นสูงมาเปลี่ยน
8. เมื่อผู้ป่วยฟื้นให้จัดผู้ป่วยอยู่ในท่าพักฟื้น

 แสดงตำแหน่งและการวางมือ

 แสดงท่าพักฟื้น

ขอบคุณภาพจาก http://www.phyathai-sriracha.com

คำสำคัญ (Tags): #cpr 2010
หมายเลขบันทึก: 438250เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2011 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บางทีเราไม่กล้ากดแรงๆ กลัวเขาเจ็บนะครับ


น้าผู้ชายของดิฉันได้ช่วยน้าผู้หญิงที่หยุดหายใจไปชั่วขณะด้วยวิธีนี้มาแล้วค่ะ น้าบอกว่า ทำไม่ค่อยถูก แต่ก็ทำไปก่อน เพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดี การมีสติสำคัญมากๆ ค่ะ

Ico48 ถ้าไม่แรงพอก็ไม่สามารถปั๊มเลือดไปเลี้ยงสมองได้พอค่ะ 
การนวดหัวใจต้องกดให้ลึก และเร็ว ซึ่งใช้พลังมาก ที่ร.พ.จรรย์ จะฝึกให้เจ้าหน้าที่ทุกคนกระทั่งรปภ. นวดหัวใจเป็น ไว้เพื่อช่วยสับเปลี่ยนเพราะถ้าเหนื่อยแล้วการนวดจะไม่มีประสิทธิภาพค่ะ 

 

Ico48 การมีสติเป็นสิ่งสำคัญค่ะ และการฝึกซ้อมไว้ก่อนก็ช่วยได้มากค่ะ
โดยทดลองจัดแขนมือ และวางให้ถูกตำแหน่ง ก่อน เพราะถ้าวางมือผิดตำแหน่ง
จะเป็นอันตรายได้  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท