จดหมายถึงครู l ดูหน้างาน ดูน้อง ดูตนเอง


   ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔

กราบสวัสดีค่ะครู

         จดหมายฉบับนี้ถูกเขียนลงสมุดก่อนแล้วค่อย นำมาพิมพ์อีกที เป็นอีกแนวทางที่พยายามปรับปรุงกับตนเอง เจ้าค่ะ เช้านี้เป็นอีกวันที่ต้องเดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ ช่วงนี้ออกนอกสถานที่ตั้งแต่ ๒๑-๒๙ เมษายน ๕๔ รู้สึกว่าจะเล่าครูโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องาน ดูเหมือนไม่กล้าเล่าครูเรื่องกิจวัตร จะว่าไปติ๋วคาดหวังอะไรกับการไปทำงานที่ รพ.สต.เพ็กใหญ่ ตั้งใจไปคุยกับท่าน ผอ.รพ.สต. เชิญชวนร่วมทดสอบความชำนาญการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย รวมถึงแนวทางการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลมากขึ้น อีกทั้งมีน้องนักศึกษาเภสัชมาเรียนรู้ด้วยสองคน ตั้งใจให้น้องได้เรียนรู้สภาพจริงของการทำงาน แล้วก็มีเพื่อนร่วมทางคือ พี่อ้อ และน้องไออ้อนเช่นเคย

 พอได้ไปถึง รพ.สต.ประมาณห้าโมงเช้า ท่านผอ. คุยไม่ถึงห้านาที ท่านตัดสินใจผลึบผลับ ทำทันที ควักตัวอย่างออกมาให้แทบไม่ทัน สุดยอดมาก ๆ ค่ะครู มิน่าหล่ะ ท่านถึงชิงจังหวะในเรื่องต่าง ๆ ทำงานได้รวดเร็ว แบบเห็นว่าดีแล้ว ไม่มีรอช้า น้อง ๆ เภสัชรวมถึง ติ๋วก็นั่งสังเกตการณ์ บรรลุเป้าหมายอย่างน่าทึ่งเจ้าค่ะ

 

 ส่วนอะไรที่ไม่เป็นไปตามคาดหมาย ตอนที่เขียนนึกไม่ออกพอมาพิมพ์นึกขึ้นได้ว่า

 

น้อง ๆ เฉื่อย ไม่ค่อยตั้งใจ ไม่กระตือรือล้นที่จะเรียนรู้”

 

ย้อนกลับมามองตนเอง เหมือนการภาวนาของติ๋วเลย ครูคงจะรู้สึกไม่ต่างกัน มิน่าครูถึง ว่าแล้ว ว่าอีก เพราะ สอนแล้ว ไม่จำ สอนแล้ว ไม่ทำ คำพูดครูดังขึ้นมาในหูว่า

 

เราสอนก็โกรธ พอปล่อยก็สงสาร ให้ไปพิจารณาเอง”

 

 ความเฉื่อย ที่เห็นทั้งในตนเองและน้อง ทำให้ใจติ๋วระลึกถึงนิวรณ์ ลองค้นแบบให้ตนเองจำว่ามี

 

นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป

นิวรณ์มี ๕ อย่าง คือ

    กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่

    พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่

    ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม

    อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ

    วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจ

โห เป็นอาการทั้งห้าอย่างเลยค่ะครู ที่มันมาลงรวมกัน แล้วก็ทำให้ไม่นิ่งกับกิจวัตรแห่งตน

 

แล้วก็ค้นเจอเครื่องแก้ ขอโอกาสนำมาลงสอนตนเองเจ้าค่ะ

 

กรรมฐานที่เหมาะสมแก่นิวรณ์

  • กามฉันทะ ให้ภาวนากายคตาสติ อสุภะ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพื่อทำลายความอยากในกามเสีย

  • พยาบาท ให้ภาวนาอัปมัญญาหรือพรหมวิหาร๔วรรณกสิน๔ เพื่อเพิ่มความเมตตา

  • ถีนมิทธะ ให้ภาวนาอนุสสติ ๗ คือพุทธานุสสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสสติ และอาโลกสัญญา(แสงสว่างเป็นอารมณ์ เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเพียร

  • อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ภาวนากสิน ๖ คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน วาโยกสิน เตโชกสิน อากาสกสิน อาโลกกสิน เพื่อเพิ่มกำลังสมาธิ

  • วิจิกิจฉา ให้ภาวนาจตุตธาตุววัตถาน(พิจารณาธาตุ๔) อานาปานสติมรณานุสสติ เพื่อละความสงสัย

 

แม้จะยังเป็นระดับได้อ่านไปก่อน ยังไม่ค่อยเข้าใจนักก็จะพยายามเจ้าค่ะ

 

มีอะไรเหนือความคาดหมายบ้าง ที่ทำให้รู้สึกประหลาดใจก็คือ รพ.สต.นี้ มีหมอมาทำงานประจำด้วยค่ะครู น่าทึ่งมาก ที่ ผอ.สามารถดึงหมอมาทำงานใกล้ชิดประชาชนขนาดนี้ และได้รู้จักน้องเมย์ นักการแพทย์แผนไทยที่พึ่งมาทำงานใหม่ ประมาณสามเดือน แม้หน้าตาจะจิ้มลิ้มน่ารัก แต่ก็ดูจะสู้งาน ทีเดียวค่ะ โดยส่วนตัวมีเป้าลึก ๆในใจในการพัฒนา บำรุงรักษา ส่งเสริม งานด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยค่ะ เจอน้อง ๆ จึงรู้สึกอุ่นใจ และตั้งใจจะให้ทุกคนเกาะกลุ่มกันไว้ ทำงานแบบทำเป็นเพื่อนกัน ที่นี่มีงานเด่นคือ ชวน อสม. มาทำงานมีส่วนร่วมที่ รพ.สต. วันละ ๔ คน เริ่มจากการผ่องถ่ายงานและความรู้ของ ผอ.รพ.สต. และเจ้าหน้าที่ สร้าง อสม.เชี่ยวชาญ หมู่บ้านละ ๒ คน ทั้งหมดมี ๑๑ หมู่บ้าน รวม ๒๒ คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาช่วยงานที่ รต.สต.วันละ ๒ หมู่บ้าน คือ ๔ คน มีค่าตอบแทนให้ ๕๐ บาท ต่อหัวต่อคน ดูเหมือนว่า ค่าตอบแทนไม่ใช่แรงจูงใจในการทำงาน แต่ความสุขที่แม่ ๆได้มีส่วนร่วมในการดูแลกันเองต่างหากค่ะ ที่ผลักดันให้สนุกกับการมาทำงานที่ รพ.สต. แถมท่าน ผอ.ให้ข้อมูลอีกว่า กลุ่ม อสม. นี่แหละเป็นกระบอกเสียงและนักรบแถวหน้าของที่นี่อย่างแท้จริง ฟังแล้วที่งมาก ๆ เลยค่ะ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จะเอาไปทำอะไรต่อ

การผ่องถ่ายงาน พาให้คนมารู้จักงาน ส่งเสริม สร้างการมีส่วนร่วม ทำให้นึกย้อนถึงงานของตนเอง มีคนรู้และเข้าใจอยู่น้อย ยังขาดโอกาสในการผ่องถ่าย ซึ่งต้องเรียนรู้และหาช่องทางกับตนเอง ส่วนกับน้อง ๆ ก็จะลองปรับเปลี่ยนกลยุทธต์ดูว่า

“ทำเช่นไร ถึงจะสร้างกำลังใจในการเรียนรู้ให้น้อง ๆได้”

กราบขอบพระคุณค่ะครู

หมายเลขบันทึก: 437028เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ศีล ๕ ที่สามารถข่มนิวรณ์

  • พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
  • อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
  • กามฉันทะ ให้ควบคุมคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
  • วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
  • ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท
  •  

    พละ๕ที่เป็นปฏิปักข์ต่อนิวรณ์

    ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท