แพ้กุ้ง


การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

               ได้อ่าน การนำเสนอข้อมูลของ ดร.สุรพล พิบูลโภคานันท์ นักวิจัยสถาบันมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ศึกษาหาโปรตีนก่อภูมิแพ้อาหารโดยเน้นเฉพาะกุ้งน้ำจืดและกุ้งทะเล เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสู่การออกแบบชุดตรวจภูมิแพ้อาหารที่ปรุงจากกุ้ง ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถระบุความรุนแรงของอาการแพ้ ทั้งยังนำไปสู่การพัฒนาวิธีการบำบัดรักษาการแพ้ (Food Immunotherapy) ได้อีกด้วย


       จากการสำรวจผ่านแบบสอบถามพบว่า อัตราการแพ้อาหารในผู้ใหญ่อยู่ที่ 10% และในเด็ก 3.9% สาเหตุการแพ้อาหารที่พบมากสุดคือ "อาหารทะเล" โดยทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีความเสี่ยงใกล้เคียงกันอยู่ที่ 65-66% ประกอบกับผลศึกษาการแพ้อาหารทะเลในเด็กไทย ที่รับการรักษาในคลินิกโรคภูมิแพ้ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช พบประเภทอาหารทะเลที่แพ้มากที่สุดคือ กุ้ง (69%)


            ด้วยเหตุนี้ การศึกษาหาสารก่อภูมิแพ้จำเพาะในกุ้งน้ำจืดและกุ้งทะเล ของสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น  โดยต่อยอดงานวิจัยของหน่วยโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา ซึ่งทดสอบผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้กุ้ง 60 ราย อายุ 5 ปีขึ้นไป อาการแพ้ไม่รุนแรง โดยการตรวจเลือดและทดสอบทางผิวหนังด้วยน้ำยาทดสอบต่อกุ้งก้ามกรามและกุ้งกุลาดำ ที่คนไทยนิยมรับประทาน พบ 12 รายแพ้เฉพาะกุ้งกุลาดำ, 16 รายแพ้เฉพาะกุ้งก้ามกราม และ 32 รายที่แพ้กุ้งทั้งสองชนิด


        "ตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครทั้งหมด เพื่อนำมาทดสอบและวิเคราะห์หาสารก่อภูมิแพ้จากสารโปรตีนสกัดในกุ้งก้ามกราม ว่าโปรตีนตัวไหนในกุ้ง ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ จากนั้นจึงทำการแยกโปรตีนนั้นด้วยกระแสไฟฟ้า และทำปฏิกิริยากับแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ในโปรตีนสกัด ปรากฏว่าผลรอบแรกไม่ชัดเจน เพราะอาจจะมีการปนเปื้อนของโปรตีนชนิดอื่นกับสารก่อภูมิแพ้ จึงต้องทดสอบซ้ำอีกครั้ง โดย นักวิจัยแยกโปรตีนในกุ้งก้ามกรามออกมาตามคุณสมบัติทางประจุ แล้วแยกโปรตีนตามขนาดด้วยกระแสไฟฟ้าและทำปฏิกิริยากับแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ในโปรตีนสกัดอีกครั้ง จากนั้นใช้เทคนิคการหาค่าจำเพาะของเปบไทน์ พบโปรตีน 2 ตัวที่มีแนวโน้มจะเป็นสารก่อภูมิแพ้กุ้งก้ามกราม


         ปัจจุบัน การวิจัยนี้อยู่ระหว่างตรวจวิเคราะห์ เพื่อยืนยันผลว่าโปรตีนสองชนิดนั้นเป็นสารก่อภูมิแพ้กุ้งก้ามกรามจริงหรือไม่ คาดว่าจะได้คำตอบในช่วงไตรมาสสามของปีนี้ ผลการศึกษาจะช่วยให้การตรวจภูมิแพ้กุ้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสามารถตรวจคนที่ไม่รู้ตัวว่าแพ้กุ้งล่วงหน้าและพยากรณ์ความรุนแรงของอาการแพ้ เป็นประโยชน์แก่แพทย์สำหรับวางแผนการรักษา

          ยกตัวอย่างวิธีการบำบัดการแพ้อาหารที่แพทย์ต่างประเทศทดลองใช้ กรณีผู้ป่วยแพ้โปรตีนไข่ไก่ แพทย์จะให้ผู้ป่วยกินสารก่อภูมิแพ้ไข่ในปริมาณน้อย แต่กินต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานร่างกายให้รู้จักสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในไข่ อาการแพ้ไข่ไก่ก็จะไม่ปรากฏ หรือในรายที่แพ้รุนแรง วิธีบำบัดนี้จะช่วยบรรเทาความรุนแรงลงได้


           "ทีมงานคาดหวังว่า ข้อมูลจากการวิจัยสามารถพัฒนาเป็นฐานข้อมูลของภาวะแพ้กุ้งในคนไทย ปูฐานสู่การพัฒนาวิธีรักษาและป้องกันในคนที่อาการแพ้รุนแรง ขณะเดียวกันน้ำยาทดสอบการแพ้ต่อกุ้งก้ามกรามและกุ้งกุลาดำที่ทีมงานพัฒนาขึ้น ให้ประสิทธิภาพและความจำเพาะดีกว่าน้ำยาทดสอบที่สั่งจากต่างประเทศ แถมยังสามารถเตรียมได้เอง จึงมีแผนการที่จะเผยแพร่วิธีผลิตให้กับหน่วยแพทย์ที่สนใจต่อไป" 

           หลายคนแพ้กุ้ง  คงรู้สาเหตุจึงนำมาเล่าให้รู้อีกครั้งหนึ่ง  ต่อไปคงเลิกแพ้กุ้งแล้วครับ

ที่มา : กรุงเทพฯธุรกิจออนไลน์

คำสำคัญ (Tags): #แพ้กุ้ง
หมายเลขบันทึก: 435546เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2011 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาเยี่ยมเยือนกันวันปีใหม่ไทยครับผม


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท