Community-Based Development วาทกรรมป่าเบญจพรรณ โดย ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา


บันทึกประสบการณ์เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวินิจฉัยชุมชน ครั้งที่ 2 หนองบัวลำภู 9 - 11 มีนาคม 2554

บันทึกประสบการณ์เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวินิจฉัยชุมชน  ครั้งที่  2

ภายใต้โครงการการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายทันตะ-เภสัชบุคลากร  ในการทำงานระบบสุขภาพชุมชน

สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ณ ห้องประชุมร่มไทร  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู  และห้องประชุมโรงแรมณัฐพงษ์

วันที่  9 – 11  มีนาคม  2554

****************

ผู้เข้าประชุม  บุคลากรสาธารณสุข  นายก อบต.  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ประธาน อสม.  อสม.  หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ประธานกลุ่มสตรี  ตัวแทนพื้นที่  11  ทีม  ใน  11  อำเภอ  ของ  6  จังหวัดภาคอิสาน  ได้แก่  อำเภอนากลาง  สุวรรณคูหา  จังหวัดหนองบัวลำภู  อำเภอเมือง  สีชมพู  บ้านฝาง  น้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น  อำเภอเขาวง  จังหวัดกาฬสินธุ์  อำเภอพนมไพร  จังหวัดร้อยเอ็ด  อำเภอภูกระดึง  เชียงคาน  จังหวัดเลย  และอำเภอสระใคร  จังหวัดหนองคาย (สระใคร 15 คน)

วันแรก  หลังจากผู้เข้าประชุมทุกคนแนะนำตัวเองแล้ว  ทพญ.วรางคณา  อินทโลหิต (หมอฝน)  เล่าความเป็นมา  อธิบายกรอบแนวคิดการทำงานชุมชน  ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม  เพื่อเตรียมการทำงานส่งเสริมสุขภาพชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  โดยปรับกระบวนทัศน์  ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับชุมชน   ให้สามารถบูรณาการระบบสุขภาพของชุมชน  เป็นการเสริมสร้างเครือข่ายทันต-เภสัชบุคลากรให้เข้มแข็ง  ผ่านการทำงานอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เครือข่ายชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

การประชุมครั้งที่  2 นี้  ห่างจากครั้งแรก  2  เดือน  ในวันแรกเป็นการปรับแนวคิด  โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.จิตติ  มงคลชัยอรัญญา  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร  ชุมชนและสังคม  (สปกช.)  คณะกรรมการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนแห่งประเทศไทย  สำนักนายกรัฐมนตรี  วันที่สองแต่ละทีมมาเล่าทบทวนไปทำอะไรมาบ้าง  มีอะไรเกิดขึ้น  ได้อะไรมาบ้าง  วันที่สามเป็นการแลกเปลี่ยน  ใครมีคำถามที่ต้องการให้เพื่อน ๆ และวิทยากรเติมเต็ม  โดยวิทยากร  อาจารย์โกวิท  พรหมวิหารสัจจา  อาจารย์ภาสกร  บัวศรี  สำนักงานกองทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ชุดวิชาการจังหวัดเลย  ที่ปรึกษาโครงการนำร่องน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร  และทันตแพทย์หญิงสุรัตน์  มงคลชัยอรัญญา  สำนักทันตสาธารณสุข  กรมอนามัย  ที่ปรึกษาโครงการ

อาจารย์จิตติใช้การพูดคุย  บอกเล่าประสบการณ์  ยกตัวอย่าง  ตั้งคำถามหรือให้ผู้เข้าประชุมถามแลกเปลี่ยน  เริ่มชวนคุยที่ประเด็นสุขภาวะที่ดีของชุมชน  ซึ่งแตกต่างกันแล้วแต่เจ้าของบ้านจะกำหนดเอง  นักวิชาการสาขาใด ๆ ที่ไปช่วยกระตุ้น  ช่วยให้ข้อมูล เช่น ผลการทำประชาคม  ซึ่งในประเทศไทยมีหลายเกรดตั้งแต่เอถึงแซด (A-Z)  ถ้าให้คะแนนกลาง ๆ มีคนชุดหนึ่งเขียนขึ้นมา  นำมาถามชาวบ้านว่าเอาไหม ?  หรือชาวบ้านมาช่วยกันทำ  ผู้นำเก่ง  นำกระบวนการได้  ถ้าผู้นำไม่เก่งก็มีพี่เลี้ยง  สุดท้ายอาจจะได้แผนแม่บทความอยากได้  การมีส่วนร่วมที่ดี  ผู้ตัดสินใจควรมีความรู้  มีข้อมูล  ถ้าไม่มีความรู้  ไม่มีข้อมูล  แต่ให้มาร่วมตัดสินใจ  อาจเป็นแค่กับดัก  ไม่ใช่ว่าถูกใครชักจูงมาก็เชื่อ

แผนแม่บทชุมชนสู่การปรับแผนชีวิต 

แผนแม่บทชุมชน  ใช้เครื่องมือบัญชีครัวเรือน  เริ่มบันทึกใหม่ทั้งหมด  คนที่ทำกระบวนการอย่างถูกต้อง  วิเคราะห์ปัญหาให้แตก  ทำไมการซื้อเหล้า  ยา  อาหารจึงแพง  เสาะหารากเหง้าให้พบ  จะทำอย่างไร  จึงจะเรียกว่าทำเหมาะสม  ชาวบ้านที่ร่วมกระบวนการจะได้แผนชีวิต  ตัวเขาต้องปรับชีวิต  ปรับด้วยกันให้ได้มากขึ้น 

ตัวอย่าง  กินอาหารปลอดภัย  บางบ้านไม่มีศักยภาพ  เช่น มีอาชีพค้าขาย  ทำเป็นบางบ้านที่มีศักยภาพปลูกพืชปลอดสารพิษได้  ที่เหลือเผื่อแผ่หรือขาย  ทำเป็นแผนชุมชน  วิสาหกิจชุมชนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีกรอบ  ถ้าขัดธรรมชาติจะไม่คงทน  เมื่อเข้ากับสภาวะปกติจะอยู่ถาวร  แผนสามารถปรับได้ตลอด

นอกจากบัญชีครัวเรือน  มีอีกหลายเครื่องมือ  ละเอียดทุกแง่มุม  ตัวอย่าง  ครูสน  รูปสูง  ชาวบ้านมาคุยกันเรื่องยากจน  จึงแบ่งสายออกไปดูใกล้ ๆ หมู่บ้าน  มีบ้านไหนรวย  กลับมานั่งคุยกันอีก  ไม่มีภาวะที่เราจะทำได้  ไปหาอย่างอื่นที่เราจะทำได้  นั่งคุยกันเป็นระยะ ๆ  จนตกลงว่าน่าจะเลี้ยงวัว  มีศักยภาพเรื่องดิน  หาความรู้อีก  หาวิทยากรเพิ่ม  จะขายอย่างไร  ทำประโยชน์ครบทุกส่วน  เหมือนสายพานการผลิต  คิดทั้งระบบ  เกิดกิจกรรมย่อย ๆ อีกมากมาย  ตามความถนัด  เกิดจากการวิเคราะห์ศักยภาพ  ครูสนนั่งคุยเป็นปี อยู่ในหมู่บ้านอยู่แล้ว  คุยเป็นงานอดิเรก  คุยไปคุยมาเป็นโครงการพัฒนาชีวิต  เป็นสุขภาวะชุมชนไหม ?  แล้วแต่เราจะหาคำอธิบาย  หาคำเชื่อมโยง  สรุป  หาเป้าหมายสุขภาวะของชุมชน

ร่วมกำหนดเป้าหมาย  "สุขภาวะของชุมชน"  กิจกรรมสอดคล้อง  ผ่านเวทีชุมชน              

การลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือจะเรียกโครงการ  ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายสุขภาวะของชุมชน  บางกิจกรรมทำแล้วเกิดผลตรงเป็นสุขภาวะของชุมชนได้เลย  บางกิจกรรมไปทำให้เกิดกิจกรรมอื่นต่ออีกหลายชั้นเหมือนหมากรุก   
การเข้าร่วมประชุม  กำหนดทิศทาง  ทำความเข้าใจร่วม  คนรวมเป็นกลุ่ม  มีอุดมการณ์ร่วม  มีการจัดการที่ดี  การเสริมพลัง (Empowerment)  มีความรู้  มีเงิน  วัสดุอุปกรณ์  เทคโนโลยี  

ตัวอย่าง  อำเภอบ้านฝาง  ขอนแก่น  ขุดดินเป็นกลุ่ม  ครั้งละบ่อ  ใช้เวลา  3 – 4 ปี  ได้บ่อครบทุกคน  ก่อนหน้านี้ต่างคนต่างขุด  ไม่เคยได้บ่อ  เกิดจากการรวมคนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ประสาน  สมทบ  จัดระบบที่ดี 

ถ้าเจ้าหน้าที่เข้าชุมชนไม่เป็น  กินก๋วยเตี๋ยวสักหน่อยแล้วก็กลับ  แนะนำตรง ๆ บางทีชาวบ้านทำบ้างไม่ทำบ้าง 

ถึงที่สุดอาจจะได้ผล  ถ้าชุมชนยังไม่ดับสูญ  ต้องจัดการเงื่อนไข  ชาวบ้านอพยพไปทำงานข้างนอก  เหลือกลุ่มคนแก่  เด็ก  แม่หม้าย  ไม่แน่  สิบนิ้วเหมือนกัน

เจ้าหน้าที่ถ้าเอาโครงการในสำนักงาน  ความชำนาญเป็นตัวตั้ง  ถ้าตรงใจชาวบ้านก็เกิด  เกาถูกที่คัน  กระตุ้นประเด็นไหน  กระตุ้นที่ใคร  มีวิชาเรียน  หาผู้นำชุมชน  เก็บข้อมูล  สาธารณสุขมี อสม.  พัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  มีอาสาสมัคร  เกษตรมีหมอดิน  แต่ละชุมชนถามผู้นำ  ถามกองทัพของตนเอง  มีคำภาษาอิสาน “อ่านกิน”  แถมมีข้อมูลของชุมชนยืนยัน  ตามที่อยากให้เป็น  ระวังอาจจะถูกหลอกได้

การสร้างเวทีปลุกจิตสำนึกชุมชน  คุยเรื่องพวกนี้ควรจะคุยกับใคร  แค่กองทัพของเราไม่น่าพอ  น่าจะรู้ข้าศึก คือ ปัญหาของชุมชน  เจ้าหน้าที่ต้องทำการบ้าน  แล้วแต่จะเรียก เช่น วินิจฉัยชุมชน 
หมอที่ดี  ซักประวัติ  จะเอาข้อมูลเข้าประเด็น  มีอะไรอยู่ในหัวบ้าง  กรอบบางอย่าง (Framework)  พอตรวจร่างกาย  จะเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น  เก็บข้อมูลทุกอย่างเท่าที่ทำได้  พอจะวินิจฉัยถูก  ให้ยา  รักษาต่าง ๆ แล้ว  คำสุดท้ายก่อนกลับที่หมอชอบพูด “ถ้าไม่หายกลับมาใหม่นะ”  ชุมชนก็เหมือนกัน  ท่านใช้เครื่องมือกี่ตัว  ใช้ไม่กี่ตัวแบบผ่าน ๆ  เช่น หน้าซีด  เอายาตัวนี้ไปกิน 

เครื่องมือมีหลายตัว  ใช้อะไรบ้าง  มีเครื่องมือใหม่  แล้วคนใช้เป็นอย่างไร  อาจจะใช้ข้อมูลมือสอง  เจาะ Sector  รายสาขา  หมอโกมาตรเขียนเครื่องมือมากมาย  สำคัญคือ เราใช้เป็นหรือไม่  ไม่ต้องใช้เครื่องมือหลายตัว  ใจ  ตั้งใจจริง  รักชาวบ้าน  มีแนวความคิด (Idea) ใหม่ ๆ ในการคุย  เกิดจากชาวบ้านพูดเอง  แต่บางทีพูดแล้วผ่าน  ไม่มีใครหยิบมาพัฒนา

ตัวอย่างที่อำเภอพิมาย  30 ปีก่อน  ปลูกถั่วตาย  เน่า  เพราะฝนตกช่วงถั่วออกเมล็ด  ต้นถั่วจะตาย ค่อย ๆ ไล่  จนพบสาเหตุ  ค่อย ๆ แก้  ทีละเรื่อง ๆ  ลงแขกเกี่ยวข้าวในแปลงนาที่จะปลูกถั่วเร็วขึ้น  เพื่อให้ระยะเวลาถั่วออกเมล็ดก่อนฝนตกปีหน้า

ในชุมชน  เชื่อว่ามีบางคนรู้มากกว่าในบางเรื่อง  กว่าคนอื่นเสมอ  ค่อย ๆ ทำความเข้าใจ  โดยเฉพาะภาษาปราชญ์  เชิงปรัชญา  ทีมงานต้องใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่  ทำงานส่วนที่เราถนัด  ส่งเสริมกระบวนการส่วนอื่นก็ได้  กองทุนสัจจะออมทรัพย์ทั่วประเทศ  มากกว่า  4  แสนล้านบาท  กองทุนหมู่บ้าน  กขคจ.  SML  กองทุนทันตกรรม  สปสช.  โครงการดี ๆ ต่อรองมาทำ

ฟังหมอฝนเล่า Community Based การพัฒนาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  ทุกกระทรวงท่องเป็นคาถากันผี  ไม่คิดหรอกว่าทุกคนเชื่อมั่น  เพราะ  1.  นโยบาย  2. อับจน  เจ้าหน้าที่รัฐมีกี่คน  ไม่มีประเทศไหนในโลกที่มองข้าม Community Based Development  ประเทศแถบสแกนดิเนเวียน  เก็บภาษีมากกว่า 40 %  และมีจิตอาสาจริง ๆ  ประเทศไทยเก็บภาษีเกิน 30 %  ไม่กี่แสนคน   เงินภาษีทางอ้อม  ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหลาย  ถามผู้ใหญ่บ้าน  ถ้ารัฐไม่ขอก็ทำอยู่แล้ว  ญาติพี่น้องทั้งนั้น  การดูแลคนเฒ่าคนแก่  ผู้พิการ  เด็ก ๆ ก็ต้องดูแลกันเองอยู่แล้ว  ไม่ได้ปล่อยให้ตาย  ช่วงหลัง  สวัสดิการ  3  ขา  รัฐ  อปท.  ชาวบ้าน  เก็บวันละบาท  ถ้าเราบอกว่าอยากให้ดีขึ้น  คนของรัฐเข้าไปส่งเสริม  พัฒนาในมิติต่าง ๆ

อย่างไร ใช่  "ชุมชนเป็นฐาน"  ของแท้               

ความเข้าใจประเด็นชุมชนเป็นฐาน  นักการเมืองอาจจะคิดถึงฐานเสียง  พ่อค้าคิดถึงฐานรายได้  การพัฒนาแบบชุมชนเป็นฐาน  คิดเลือกทำอะไร  ไม่ทำอะไร  ชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจ  ถ้าเขาตัดสินใจ  ชุมชนมีส่วนเป็นเจ้าภาพ  คอยระวังป้องกันอย่าให้เกิดโรคอ่านกิน  อย่างเอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง  ถ้าเจ้าหน้าที่อ่อนหัด  อาจโดนหลอก  อย่าให้ติดกับดักแบบนี้  ให้ประโยชน์ตกแก่ชุมชนมากกว่าหน่วยงาน  ใช้ความรู้  แรงงาน  วัฒนธรรมท้องถิ่น  ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน 
ถ้าใช้ของชุมชนมากแปลว่าชุมชนเป็นฐาน
ถ้างบประมาณภายนอกอัดเข้าไป  ตั้งข้อสงสัย  ถ้ามีแต่เจ้าหน้าที่อธิบายประโยชน์  คนในชุมชนบอกไม่ได้  เช่น  การตั้งกลุ่ม  ผู้นำเสียคนมาเยอะเพราะอธิบายผลประโยชน์กลุ่มคนนิดเดียว                                                                                         

                    

มีวิทยานิพนธ์  วิเคราะห์เนื้อเพลงเป็นพันเพลง  วิเคราะห์ความเป็นไปของสังคมได้ตรง  ตัวอย่าง  เพลงผู้ใหญ่ลี  พ.ศ. 2504  ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม....เลี้ยงเป็ดและสุกร....สุกรนั้นไซร้  หมาน้อยธรรมดา ๆ  คนสั่งการ  จำนโยบายมาสั่งต่อ  ทำได้ชม  ทำไม่ได้เชย  รัฐเป็นเจ้าของความคิด  เป็นเจ้าของงบประมาณ  ผล คือ ไม่มีการพัฒนา  อย่าว่าแต่ยั่งยืนเลย

Rosso  เจ้าของทฤษฎีการเจริญเติบโต (Growth Theory)  สร้างความทันสมัย  ขั้นตอนการพัฒนา  เหมือนเครื่องบิน  วิ่งเทคออฟ (Take off)  ก่อนบินขึ้น  ยิ่งพัฒนาเศรษฐกิจมาก  เป็นลูกค้าของเขา  ยิ่งติดตาม  ยิ่งพึ่งเขาตลอด  ทุกอย่างเล่นตามเกมเขาหมด

มีวาทกรรม (Discourse) ใหม่ ๆ ทฤษฎีใหม่ ๆ  ต้องให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม  มาช่วยทำงานตามรัฐ  ผู้เชี่ยวชาญ  นักวิชาการ  คนของรัฐเป็นหัวขบวนลากจูงรถไฟ  โครงการสุขภาพอนามัย  เกษตร  อุตสาหกรรม  ทำตัวเองให้เหมาะสมกับเกม  จะได้ไม่ตกขบวน  อนุสาวรีย์ร้างในหมู่บ้าน  ทั้งรูปธรรม  และไม่เป็นรูปธรรม  แต่ฝังในใจชาวบ้าน  ยิ่งพัฒนายิ่งเป็นหนี้ ธกส.  ซึ่งตั้งปี 2509  เปลี่ยนจากธนาคารสหกรณ์  เริ่มแรกเงินปล่อยกู้  2 พันล้านบาท  ปัจจุบันหลายแสนล้านบาท  ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ รวยขึ้น ๆ  กองทุนจะนะ  สงขลา  ทำดี ๆ มีเงินปล่อยกู้  ให้เงินอุดหนุนโรงพยาบาลอำเภอ

CBD  การพัฒนาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  คำถูกต้องแล้ว  แต่ต้องวิเคราะห์ของจริงหรือของปลอม  เป้าหมายถ้าไม่ชัด  วิธีการอาจผิดพลาด 

ไม่ได้ชม  กระทรวงสาธารณสุข  อันดับ 1  มีการพัฒนาระบบคิดต่อเนื่อง  คิดไกล  อาจจะเป็นได้เพราะ  1. การคัดกรองคนเข้าเรียนสาขานี้  2.  ระบบ  เนื้อหาที่เรียน  เป็นวิทยาศาสตร์  เชิงวิเคราะห์  เชิงท้าทายไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ  ไตร่ตรองสูง

ปี 2522  ติดตามกระทรวงสาธารณสุข  แรก ๆ บุคลากรเป็นศูนย์กลาง  ตั้งหน่วยบริการให้คนมีโอกาสมารับบริการ มี ผสส. (ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข) อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุข)  แพร่ข่าวร้าย  กระจายข่าวดี  ข้าราชการควรรักษาเกียรติภูมิข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ไม่ควรเต้นตามนักการเมือง  ข้าราชการไทย  2  ล้านคน  ประชากร  66  ล้านคน  คิดสัดส่วนข้าราชการต่อประชาชนทั่วไป  ประมาณ 1 : 30  ประชาชน  30  คน  จ่ายเงินเดือนเลี้ยงข้าราชการ  1  คน  รัฐบาลทำประชานิยม  หนี้ ธกส.  โครงการพักชำระหนี้  ช่วยน้ำท่วม  5  หมื่นล้านบาท  การเป็นหนี้ของรัฐ  ได้เงินจากการขายพันธบัตรหรือกู้ต่างประเทศ  เอามาใช้จ่ายต่าง ๆ  อบต.ตั้งโครงการทำ  แต่ไม่ถึงรากแหง้า  คนไทยเฉลี่ยเป็นหนี้ตัวเลขกลม ๆ  120,000  บาท  ต่อให้เจ้าหน้าที่เก่งแค่ไหน  เจ้าหน้าที่ย้ายไป  คนใหม่มาก็อาจจะทำไม่ต่อเนื่อง 

การฝึกปรือวิทยายุทธของชุมชน  จะยั่งยืนจริง  ไม่ต้องจัดงบประมาณแบบทรายถมทะเล

 

ให้ตอบตนเองตามประเด็นการพูดคุย

  1.  ทำไมทันตแพทย์  เภสัชกร  นักวิชาการชีวภาพสาขาต่าง ๆ ต้องศึกษาเรื่องชุมชน
  2. ต้องศึกษาละเอียดแค่ไหน  ใช้กรอบอะไรมาวิเคราะห์

ชุมชนเหมือนร่างกาย  ทั้งองคาพยพเชื่อมถึงกัน  ทุกเรื่องมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่อคนไม่เหมือนกัน  ไม่เท่ากัน  ชุมชนมีหลายคน  มีความต่าง  พี่น้องฝาแฝดยังคิดไม่เหมือนกัน  พี่น้องท้องเดียวกันเป็นศัตรูกันก็มี  แต่อยู่ต่างหมู่บ้าน  ผ่านเหตุการณ์  ได้ช่วยเหลือกันใกล้ชิดรักกันก็มี  ชุมชนเป็นระบบเปิด  เดาไว้ในใจ  อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมด

   3.  ข้อมูลมิติชุมชนต่าง ๆ เชื่อมโยงกันอย่างไร

ตัวอย่างการพัฒนาที่ยึดชุมชนเป็นฐาน

               1.  การพัฒนาตามแผนแม่บทชุมชน  ที่ทำตามหลักการ  ใครแสดงความคิดเห็น  ใครตัดสินใจ  ปี2533 - 2535  เคยทำงานที่น้ำพอง  เจ้าหน้าที่ประชุมชาวบ้าน  ผู้ใหญ่บ้านนัดประชุมที่ศาลาวัด  เรื่องช่วยเกษตรกรรายย่อย  ได้มติว่า  1)  รัฐส่งรถแบคโฮมาขุดบ่อ  โดยชาวบ้านเติมน้ำมันรถและเลี้ยงอาหารคนขับ  2)  ขอพันธุ์ปลาที่ตัวโตพอควร  แข็งแรง  เพื่อเลี้ยงแล้วรอดง่าย  อาจารย์นั่งฟังคนด้านหลังพูด “ก็อย่างนี้อีกแหละ”  วิเคราะห์  คนนั่งแถวหน้าผูกขาดความคิด  ไม่ทั่วถึง  Screen กลุ่มเป้าหมาย  ด้วยคนที่มีปัญญาจ่ายค่าน้ำมันรถ  มีที่ดินแปลงใหญ่พอขุดสระใหญ่  กลุ่มผู้ใหญ่บ้าน  อำนาจ  โครงสร้างสังคม  เกาไม่ถูกที่คัน  จึงนัดคนหัวอกเดียวกันมาคุยวันหลัง  คิดโจทย์หลายชั้น  อนุมัติ  2  โครงการ  1)  รายใหญ่  ขุดสระด้วยแบคโฮ2)   รายย่อย  ทำกลุ่ม  เพื่อให้ฝนตกทั่วฟ้า  อาจารย์อกหกมามาก  เจ๊งมากกว่าดี  ชาวบ้าน  เจ้าหน้าที่หลอก  บางแห่งหลอกตัวเองด้วย  บทเรียนโง่มาก่อนฉลาด

                2.  การส่งเสริมการต่อยอดการใช้สมุนไพรของชาวบ้าน  ที่มีอยู่แล้ว  ส่งเสริมวิสาหกิจของชุมชน  การต่อยอด  อย.  GMP  ก็ต้องดู  มาตรฐานอย่างนี้ชาวบ้านตกหมด  ถ้าจะใช้ต้องใช้อย่างมีกึ๋น  ใช้ภูมิปัญญามาช่วย  อย่าเถรตรงนัก

                3.   การส่งเสริมให้คนรักษาศีลแปด  หลังเที่ยงไม่กินอาหาร  ปราศจากแม้กระทั่งกลิ่นคาวในปาก  ช่วงบวชพระ  มีกลิ่นคาวในปากเป็นบาป

                4.  การส่งเสริมสวัสดิการชุมชน  ที่ชาวบ้านทำขึ้นเอง  ดูแลกันเอง

                5.  การท่องเที่ยวชุมชน  ที่ยึดหลักการที่ถูกต้อง  รากเหง้าจริง ๆ มาจากกระแสทางเลือก  สวนทางกระแสหลัก  เพราะการท่องเที่ยวทั่วโลกทำลายธรรมชาติ  มนุษย์อยากไปเห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น  แม้ได้การหมุนเวียนเงินตรา  เงินคือพระเจ้า  ลูกค้าคือคนที่ให้เงิน  อยากกิน  อยากเห็น  ต้องทำ  แม้ไม่ใช่ฤดูกาล ถ้าต้องดึงคน  ก็ต้องมีทุนนอกชุมชน  เมื่อหวังเงิน  วิธีการได้เงินคืน  นักท่องเที่ยวต้องมากที่สุด  เร็วที่สุด  คำถาม  คนภายนอกจะรักชุมชนเหมือนคนท้องถิ่นไหม ?   ตัวอย่าง  ที่เชียงใหม่  ลูกไปโรงเรียนไม่กล้าบอกว่าบ้านอยู่ที่ถนนอะไร  เพราะว่าเป็นแหล่งค้าประเวณี  สนามบินสุวรรณภูมิ  เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างภาษี  รายได้จากนักท่องเที่ยว  น้อยกว่าเงินที่จ่ายเพื่อจัดการปัญหาสังคม  สิ่งแวดล้อม  แหล่งท่องเที่ยวโทรมนักท่องเที่ยวหนีไปแล้ว  ใครเช็ดน้ำตา ?

ท่องเที่ยวชุมชนที่ควรเป็น  มีความสุข  ดีงามอยู่แล้ว  ชีวิตสงบเงียบ  Peace of mind ไปดูความเป็นชุมชน  อัตลักษณ์  ไม่ใช้สร้างเอาใจใคร  สร้างจุดแข็งให้แข็งขึ้น  เคารพเรา  ต้อนรับตามสมควร  อย่างเพื่อนกับเพื่อน  พอสมเหตุสมผล  รักษาตามอัตลักษณ์  ดูแลกันเอง  คนอื่นมาเป็นของแถม  หมู่บ้านที่ท่านเห็นมา  เป็นอย่างนี้ไหม ?

คำถามจากผู้เข้าประชุม

หมอเถ่า  ถามเรื่องมาตรฐานระดับประเทศ  ระดับโลก  เช่น โรงพยาบาลก็ต้องมีมาตรฐาน 

อาจารย์จิตติตอบ  ทุกอย่างในโลกไม่เชื่อเรื่องมาตรฐานเดียว  มาตรฐานอะไรเป็นที่ยอมรับกัน  มาตรฐานบางเรื่องเหมือนเอาชาติไปประเคน  ตัวอย่าง  ผักอินทรีย์  ข้าวอินทรีย์  มาตรฐาน IFON  องค์กรส่งคนไปประเมิน  กว่าจะได้มาตรฐานแต่ละแห่ง  มีค่าใช้จ่าย  และไม่ใช่ว่าเสียค่าใช้จ่ายแล้วจะได้มาตรฐาน  คุณอำนาจ  ร้อยเอ็ด  ทำมาตรฐานข้าว กอ. (กูเอง)  ปากต่อปาก  ทำตลาดท้องถิ่น  ตลาดภายในประเทศ  ไม่ต้องใช้มาตรฐานโลก  เบาลง  โรงพยาบาลสนับสนุนวิชาการ

คุณแสนศักดิ์ถามการแก้ไขเรื่องน้ำของหมู่บ้านอิสาน  อาจารย์ตอบว่า  ตอบเป็นสูตรสำเร็จไม่ได้เลย

หมอโอถามความครบถ้วนของข้อมูล  อาจารย์ตอบ  ข้อมูลเรื่องที่สนใจ  ถ้ายังไม่พอจะวินิจฉัยได้  ก็ต้องเก็บเพิ่ม  แต่ไม่ต้อง 100 %  ก็ได้  จุดสำคัญ คือ ชาวบ้านมาร่วมวิเคราะห์  ถ้าผิด  ไม่สำเร็จ  เขาไม่ว่าหรอก  ขอย่างเดียว  กระบวนการต้องจริงใจ  ทำดีที่สุดแล้ว

หมอดายังไม่กระจ่าง  ทำไมทันตแพทย์ต้องมาศึกษาชุมชน  อาจารย์ตอบ Style แต่ละคนไม่เหมือนกัน  อ.เล่าตัวอย่าง  เจ้าหน้าที่แต่งชุดปกติขาว  ภาคภูมิใจในเครื่องแบบ  เพื่อสมศักดิ์ศรี  ทำงานเต็มที่  ทำถวายในหลวง  ชวนกันไปทำ  ชวนคนที่คุยกันได้  ถ้าชาวบ้านคิดแบบนี้  ไปช่วยกันแลกเปลี่ยน  ไปชวนกันคุย  แลกเปลี่ยนงอกเงย  พาไปเจอชาวบ้าน  1)  ปราชญ์ชุมชน  2)  ความโอบอ้อมอารี  ประทับใจ  แล้วจะกล้าลง  ชุมชนมีน้ำใจ  มีเสน่ห์  ถ้าเรารู้เรื่องของชุมชน  ไปร่วมกันไหม ?

 

ภาคบ่าย  ความเชื่อมโยงระหว่างมิติต่าง ๆ ในการศึกษาชุมชน

การผ่าตัดใหญ่  ใช้หลายวิชาชีพ  ป่วยเล็กน้อยหมอคนเดียวรักษาได้

ห่วงโซ่อาหาร  ความสัมพันธ์ของคน  การตัดสินใจของคน  พฤติกรรมของคน  ผลกระทบจากธรรมชาติ ฯลฯ

ปัญหาของคนไข้  คนในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  โรงพยาบาลชุมชน  อสม. มองต่างกัน  แนวทางแก้ไขต่างกัน

นโยบายเป็นตัวตั้ง  เทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง  ชุมชนเป็นตัวตั้ง  หรือชีวิตจริงของคนเป็นตัวตั้ง

ตัวอย่าง เกษตรตำบล  ที่จังหวัดเลย  ไม่มีประสบการณ์  แรก ๆ จะยากในการจุดประกายความคิดให้ชาวบ้านคิด  นั่งประชุมนาน  ไม่ทราบจะเริ่มอย่างไร  ตั้งคำถาม “คนเกิดมาทำไม ?”  แล้วชาวบ้านก็มาช่วยกันคุย  อยากรู้อยากเห็น  ซักถามคน  ให้เราอยากทำต่อ

ศึกษาละเอียดแค่ไหน  บอกได้เลยว่าละเอียด  ท่านไม่ได้ทำวิจัยไปขอตำแหน่งวิชาการ  อยากรู้เรื่องราวจริง ๆ ของชุมชน  ตั้งเป้าหมาย
  1.  สภาพทั่ว ๆ ไป  การทำมาหากิน  ปัญหาใหญ่ ๆ  ศึกษาบทเรียนดี ๆ

  2.  มีกลุ่มกี่กลุ่ม  กลุ่มอะไรเข้มแข็ง

  3.  อะไรคือสิ่งที่เขาอยากแก้ของเขาเอง

แบบคนภายนอก  ทำให้คนในชุมชนมาร่วมศึกษา “กระแทกใจ” ชาวบ้าน  ปราชญ์จับกลุ่มคิด ชาวบ้านคิดเอง 

เช่น ทำบัญชีครัวเรือน  เครื่องมือสารพัด  กชช  2 ค  จปฐ.  เก็บแล้วได้อะไร  ไม่ได้แก้ความยากจน  “ทำไมจึงจน ?”  1 , 2 , 3  เดือน  เก็บถึง  6  เดือน  ถ้าเห็นรายจ่ายมากกว่ารายรับ  อาจช็อค  นั่งถกกันต่อ  โครงการรัฐ  เพิ่มรายได้  หน่วยงานใดชำนาญ  เอาเทคโนโลยีเป็นตั้วตั้ง  OTOP  เอาสินค้าภูมิปัญญาชาวบ้าน  รวยไหม  5  ดาว  เขาทำได้อยู่แล้ว  พวกซวย  พออยู่พอกิน  เป็นซากศพให้คนอื่นไต่  หมู่บ้านในตำบล  สินค้าคล้ายกัน  ตั้งหน้าตั้งตาขายไม่ดูตามาตาเรือ

จากบัญชีครัวเรือนดูค่าใช้จ่าย  ผลิตของใช้ในครัวเรือน  ขายให้คนในหมู่บ้าน  ลุงประยงค์  กองทุนยมนา  มาจาก  ยาง (ย)  ไม้ผล (ม) และนา  รับซื้อข้าวเปลือก  ส่งโรงสี  ส่งทำขนมจีนขาย  7  จังหวัด  มีหลายกลุ่ม  ตามความถนัด  หันหน้าเข้าหากันตลอด  เอกลักษณ์ลุงยงค์  ไม่เชื่อใครง่าย ๆ  ถ้าดอกเตอร์ไม่ได้ดำน้ำลงไปดูเองว่าปลาดุกกินอะไร  ไม่เชื่อ  ทดลองเลี้ยงปลาดุกด้วยผักตบชวา  ช่วงลูกปลาตัวเล็ก ๆ เลี้ยงด้วยหัวอาหาร  เดือนที่ 2 ดัดนิสัยปลาดุก  เลี้ยงด้วยผักตบชวาแทน  ถ่ายน้ำทุกเดือน  โตเต็มที่  3  เดือนครึ่ง  ถ้าจะศึกษาอะไร  เจาะให้ทะลุ 

ยางพารา  90 %  ไทยส่งขายจีน  จีนกำลังปลูก  ส่งเสริมลาวให้ปลูก  ช่วงนี้ราคายางสูง  กล้ายางขายเกลี้ยง  ไม่พอขาย  สักพัก  รอขันใส่น้ำตา  การเลี้ยงวัวเขายาว  หูยาว  ทบทวนราคา  ความเป็นไปได้  ลุงยงค์ศึกษาถึงตลาดโลก  ทางหนีทีไล่  ผักสวนครัวที่จะทำเครื่องแกง  มีอะไรบ้าง  ต้องรู้หมด  ความเป็นองค์รวม  หลายมิติ  การเรียนรู้  ชีวภาพ  กายภาพ   ยางพารา  ยี่ปั๊ว  ซาปั๊ว  ชะตาชีวิตเราจะถึงไหน

สายการแพทย์  องค์รวม  พบคนไข้มาก  ทำไมไม่ทำอย่างนั้น  ทำไมไม่ทำอย่างนี้  ต่อเมื่อเป็นคนป่วย  ทำไมเราไม่ทำ  ไม่สามารถหาเหตุผลครอบจักรวาล  ขี้เกียจ  ไม่แน่ใจ  ความกลัว  หรือขัดกับความเชื่อเดิม  การจะแนะนำให้เขาทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง  นึกถึงหัวอกเขาหัวอกเรา  คนไทยฉิบหายไม่ว่าแต่เสียหน้าไม่ได้  มนุษย์เราจะตัดสินใจทำอะไร  ถ้าไม่บ้าหรือเมา  มีเหตุผลเสมอ  ฟังเหตุผลเขาหรือยัง  ฟังขึ้นหรือไม่ขึ้น  ในสายตาใคร  สติสัมปชัญญะเกิดจึงตัดสินใจ  ถ้ามนุษย์อยู่คนเดียว  จะไม่เรียนรู้  ไม่ถูกกระตุ้น  ถูกท้าทาย  ถูกถาม

สรุป  ชวนชาวบ้านคุยให้ได้  กระตุ้นให้พูด  ด้วยการถาม  ยิ่งอายุมากยิ่งต้องถาม  เด็กใช้วิธีสอนหรือเล่า  ใหม่ ๆ คิดไม่ออก  ถามหนัก ๆ  คิดเป็นระบบ  ได้คำตอบเป็นแผน  การตัดสินใจของมนุษย์มีอิทธิพลจากอะไรบ้าง
 
คำถามต่อ             

หากปัญหาที่มีในชุมชนไม่ตรงกับภารกิจหลัก  หรือความชำนาญของเรา  จะทำอย่างไร

อาจารย์จิตติตอบ  หาคนช่วย  เอาคนอื่นไปช่วยเรา  ช่วยแลกแปลี่ยน  คนระดับเรา ๆ ในห้องนี้  เติมไม่ยาก  คุย  อ่านเยอะ ๆ ดูงานเยอะ ๆ  ดูทีวีอย่าเชื่อหมด  เราสวมหมวกรัฐตามกระทรวง  หมวกใบ 2 ประชาชนไทย  อยากเห็นคนไทยอยู่ดีมีสุข  ครองใจชาวบ้าน  คุยง่ายมาก  จนถึงยอมเชื่อโดยไม่มีเหตุผล  ถ้าพิสูจน์ได้ว่ารักจริง  จริงใจ  งานรักษาแคบ  งานเชิงป้องกันจะขยายกว้างขึ้น เช่น เครือข่ายหมู่บ้านยกเลิกกินขนมก็อบแก็บ  ดีไหม ?  อย่าเอาวัตถุประสงค์แคบ ๆ  ไม่มีมนุษย์คนไหนอยากลดคุณภาพชีวิต  ภูมิคุ้มกันตัวเองเพิ่มขึ้น  อยู่ได้นาน  เอลนินโน  ลานิญ่า  ลองนึกไฟฟ้าดับ  จะอยู่ได้ไหม ?  ปัจจุบันเราใช้ไฟจากลาว  แก๊สจากพม่า  เรียนรู้ไปทีละน้อย  ไปให้เห็นกับตา

บูรณาการ คือ อะไร  ทำอย่างไร

ช่วยกันเป็นทีม  ทำเวที  กิจกรรมไม่เป็นเบี้ยหัวแตก  งานชิ้นเดียว  คิดได้หลาย ๆ มิติ 

ความหมายจากหลายแหล่งอ้างอิง เช่น  ทำสิ่งบกพร่องให้สมบูรณ์  เพิ่มส่วนขาด  อ.เคยทำงานผสมผสาน  4  กระทรวงหลัก โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบล  นพ.ไพจิตร  ปวะบุตร เป็น นพ.สสจ.  อบรมหัวหน้าส่วนราชการทั้งจังหวัด  ร้อยกว่าคน  ยุคนั้นเน้นเรื่องการวางแผนครอบครัว  อีกตัวอย่าง  แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวโคราช  ไม่ต้องทำโครงการเหมือนกันทุกอำเภอ  ทำ  5  อำเภอ  4 กระทรวง  นั่งรถคันเดียวกัน  คุยกัน  ไม่ใช่ขับรถ  4  คัน ไปชนกันที่  4  แยก

ไอดีพี  อ.อุบลรัตน์  นิคมเขื่อน  ใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา  ผู้เชี่ยวชาญแนะนำฉีดยาดอกมะม่วง  ไหลลงมาที่หญ้า  วัวกินหญ้าตาย  จึงต้องยกเลิกหนี้วัวตายให้เกษตรกร  อย่าไปแย่งกันทำโครงการ  แย่งกันใหญ่  เริ่ม  1  ก็ได้  คนอื่นเสริม  ชาวบ้านแย่ถ้าตั้งใจเอาเทคโนโลยีนำหน้า 

คนไทยน่าจะรู้จักบูรณาการดีกว่าฝรั่ง  เช่น ป่าเบญจพรรณ  มีต้นไม้ใหญ่  กลาง  เล็ก  หญ้า  สัตว์ป่าสมบูรณ์  สิ่งมีชีวิตเสริมซึ่งกันและกัน  ก่อสิ่งมีประโยชน์มหาศาล  นอกจากประโยชน์จากตัวเองที่ทำให้มีขึ้นมา  บูรณาการไม่ใช่ปลูกต้นไม้  4  ต้นในป่าเดียวกัน  ใครจะเป็นต้นไม้ชนิดไหน  ใครจะเป็นเกสร  จนเป็นป่าสมบูรณ์  เรียกฝนมาได้  อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล

ประโยชน์จากการบูรณาการ  ลดความซ้ำซ้อน  ลดความผิดพลาด  รับมือความซับซ้อนของปัญหาดีขึ้น  มากขึ้น  แก้จุดเล็ก ๆ แต่ได้ผลสะเทือนไปถึงจุดใหญ่  ทำให้เราเป็นคนใจกว้างขึ้น  จัดการความขัดแย้งดีกว่าเดิม

               

 

หมายเลขบันทึก: 432601เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2011 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

                วาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการ

  1.  Inter หรือ Multidisciplinary  สหวิชาชีพ
  2. Holistic view  วิสัยทัศน์ร่วม  มาแชร์กัน
  3. แยกกิจกรรมเล็ก ๆ แยกกัน  แบ่งจากกันทำ
  4. มองแบบนก  ขึ้นยอดภูดูทิศทาง  มองจากที่สูงดูภูมิประเทศด้านล่างรอบ ๆ  ทำแบบกระต่ายชิดติดพื้นที่
  5. การพัฒนาแบบยั่งยืน  (Sustainable development)  คำนึงถึงมิติสังคม  เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
  6. คิดลึก  คิดถี่ถ้วน  คิดรอบด้าน
  7. ทุกฝ่ายล้วนเป็นผู้ชนะ (Win-win approach)  แต่ไม่ใช่ Compromise ที่ลดเป้าหมายลง  ใช้หลัก Communism  แสวงจุดร่วม  สงวนจุดต่าง

                อาจารย์ชอบคำกล่าวของ Frederic Vester “คำตอบของปัญหาเรากำลังมาจากอนาคต  มิได้มาจากอดีต  โลกของวันพรุ่งนี้  ต้องพึ่งพิงการคิดเชิงบูรณาการอย่างมาก  ทั้งในการศึกษา  การทำงาน  ทั้งชีวิตความเป็นอยู่  ระดับบุคคลและสังคม”

                Consequences  สำหรับคนทำงาน

  1. เลิกเลียนแบบในอดีต  หรือติดกับดักต่าง ๆ  วิธีคิด  วัฒนธรรม  ความรู้เดิม  ประสบการณ์เดิม  เลิกคิดตื้น ๆ  แต่คิดให้ลึกซึ้ง  เลิกคิดแคบ  คิดให้กว้างขวาง  เลิกคิดแยกส่วน  แก้คน  ระบบ  บริบทไปพร้อม ๆ กัน  แต่น้ำหนักอาจจะไม่เท่ากัน  เลิกคิดประโยชน์เฉพาะหน้าตกแก่ตนเอง 
  2. เชื่อมั่น  ศรัทธา  หลักการบูรณาการและหลัก Synergy  เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง  เน้นชุมชนท้องถิ่น  ใช้ประเด็นปัญหาร่วม  ความต้องการร่วมเป็นแกนเชื่อม  เอาเป้าหมายสูงสุด  แนวคิดหลักการทำงานเป็นตัวตั้ง  ถกเถียงวิสัยทัศน์ให้เข้าใจตรงกันก่อน  จิตใหญ่  ใจกว้าง  รับฟัง  พยายามเข้าใจ   เคารพในความต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแต่ละคน 
  3. แสวงหาเพิ่มเติมข้อมูลใหม่  ความรู้ใหม่ ๆ  ประสบการณ์ใหม่ ๆ 
  4. การสื่อสารสม่ำเสมอ  แลกเปลี่ยนข้อมูล  ความคิด  มีการจัดการความรู้สม่ำเสมอ  สรุปบทเรียน
  5. ชุมชนจะเข้มแข็ง  การตรวจสอบของชุมชนไปด้วยกัน  ธรรมาภิบาล  มุมมองนักปกครอง  นักบริหาร  โปร่งใส  มีส่วนร่วม  รับผิดชอบ  ส่วนนักการเมือง  ประชาธิปไตย  เท่าเทียม  สมานฉันท์  มุมมองนักพัฒนา  จะหมายถึง  การพึ่งตนเอง  สำคัญที่  การตัดสินใจโดยยึดหลักการประชาธิปไตยแท้  ไม่ใช่แค่การโหวต

                คำถามจากคุณแสนศักดิ์  ผู้ใหญ่บ้าน  อบต.  หรือมีความขัดแย้งในชุมชน   จะจัดการอย่างไร

                อาจารย์ตอบ  ต้องวิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้ง  สาเหตุจากเรื่องส่วนตัว  แก้ที่สาเหตุ  แต่ถ้าเป็นผลประโยชน์องค์การจะแก้ยากขึ้น  การที่ชุมชนจะเข้มแข็ง  คุณธรรม  จริยธรรม  ไม่ใช่แค่พระเทศน์  ต้องทำให้ปรากฏ  มีตัวตน  เป็นแบบอย่างแก่คนอื่น  มีคนสนใจ  มีโอกาสทำตาม  แต่ถ้าดีแล้วไม่ปรากฏ  ไม่มีโอกาสเรียนรู้  การทำให้ปรากฏ  ไม่ใช่โฆษณา  ยกย่องความดีที่มนุษย์ทำ  ความดี  ความงาม  ถ้าเชียร์แค่คนจะสร้างความแตกแยก  เราจะอยู่ด้วยกันตลอดชีวิตไปชั่วลูกชั่วหลาน  จะให้ลูกหลานอยู่ในภาวะใด

                อาจารย์โกวิทเสริม  ปรากฏการณ์หมู่บ้านอิสาน  แข่งเลือกตั้ง  ผู้สมัครคนแรกอัดฉีด 500 บาท  คิดว่าจะชนะแน่ ๆ  ผู้สมัครอีกคนรับคนตัดอ้อยกลับมา  อุ้มไปเก็บไว้  จ่ายหัวละ  2,000  บาท  ปรากฏว่าคนนี้ชนะ  ตัวอย่าง  5  พื้นที่ของหนองบัวลำภู  สังเคราะห์งานวิจัย  มีเวทีกลาง  ปัญหากลาง คือ ปัญหาเด็กสูบบุหรี่  กินเหล้า  เมื่อผู้นำขยับเข้าหากันมากขึ้น  ถูกกัน  ไปด้วยกันได้  ผู้นำท้องถิ่นหันหน้าเข้าหากัน  การแก้ปัญหาจะทำได้  ผู้นำเป็นตัวอย่าง

                เพิ่มเรื่องบูรณาการ  กิจกรรมอย่าให้เป็นเบี้ยหัวแตก  ที่คลองเปี๊ย  จะนะ  สงขลา  เริ่มมาดูงานที่อุบล  ออมก่อนแล้วค่อยใช้  เห็นหนึ่งวิธีคิด  ช่วยกันออมเป็นทำนบกั้นเงินออก  50  คน  เริ่มที่ 2,850  บาท  ถึงปี 2553  สมาชิก  7  พันกว่าคน  เงินออม  250  ล้านบาท  กิจกรรมหลัก คือ  ออมทรัพย์  จัดสวัสดิการ  19  อย่าง  กองทุนรักษาพยาบาล  จ่ายเต็ม  100  %  เพื่อให้ปรับปรุงคุณภาพ  ปีที่แล้วอุดหนุนโรงพยาบาลเกือบ  3  ล้านบาท  ตายจ่าย  15,000  บาท  ส่งเสริมพัฒนาการศึกษา  7  โรงเรียน โครงการปลูกป่า  ให้คนเฒ่าคนแก่ปลูก  10  บาท  ค่าดูแลอีกต้นละ  3  บาท  อุดหนุน อบต. ปีละ  50,000  บาท  เป็นต้น  เริ่มต้นจากจุดไม่ใหญ่  ทำมา  23  ปี  จนปี  2537  จึงเริ่มจ่ายสวัสดิการ  หัวใจ คือ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้  เพื่อการพึ่งตนเอง  กองทุนที่ดิน  ซื้อที่ดิน  สมาชิกผ่อน  สิ่งที่สังเกตได้ คือ อยากเรียนรู้  ไปทุกที่ได้เรียนรู้  ไม่อยู่เฉพาะร่องความคิดเดิม

                ช่วง  1  ชั่วโมงครึ่งสุดท้ายของวันแรก  พอสรุปได้ว่า  จินตนาการต่อจากวินิจฉัยชุมชน  ไม่ยัดเยียดกิจกรรมให้ชาวบ้าน  ถ้าทีมวินิจฉัยชุมชนมีชาวบ้านผสม  การวิเคราะห์จะถูกต้องมากขึ้น  ชาวบ้านมีกรอบประสบการณ์  ทำนามาตลอด  เลี้ยงวัว  อยู่ที่เดิมหรือมาใหม่  มีประสบการณ์แตกต่างกัน  อาชีพต่างกัน  ประสบการณ์ชีวิต  คนธรรมะธรรมโม  คนที่มาจากหน่วยงานตนเองอาจจะมองไม่เห็น  ฉันจะทำตามนโยบายอย่างเดียว  ฝากโครงการให้ทำ  ยึดกรอบ  อันตราย  ตัวอย่าง  อำเภอโพนพิสัย  หนองคาย  อาจารย์ไปเก็บข้อมูล  เห็นผู้ชายกลุ่มหนึ่งนอนกลางวัน  ตีความว่าว่าง  ไม่รู้อะไร  ไร้ค่า  อาจารย์บัณฑูร  อาจารย์ของอาจารย์ไล่ให้กลับไปถาม  ไปสังเกตใหม่  พบว่า  ผู้ชายกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มหาปลาในแม่น้ำโขงตอนกลางคืน  หาปลาเสร็จเช้ามืดให้แม่บ้านไปขายช่วงเช้า  ตนเองก็นอนหลับพักเอาแรงช่วงกลางวัน  ว่างงานไหม ?

                กรอบเสริมทับกรอบเดิม  ผสมเพิ่มเติม 

แนวคิด  ทฤษฎี  มุมมองการพัฒนา

  1.  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ความทันสมัย  ยึดเทคโนโลยี / เศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง  เช่น โครงการรากฟันเทียม  แนวคิดจีนมีสิ่งคู่กัน  ดี-เสีย  หยินหยาง  ไทย  2  คู่  ดินน้ำลมไฟ  ถ้าพิสูจน์ไม่ชัด  ไม่ชำนาญการใช้  ถูกทิ้งปล่อยเป็นอนุสาวรีย์  ผลแทรกซ้อน  ผลเสียที่ตามมา  ระมัดระวังเป็นพิเศษ  รอบคอบมากขึ้น  ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง  ทดลองทำพื้นที่เล็ก ๆ ก่อนขยายผล   ตัวอย่าง  ทุ่งกุลาร้องไห้  นโยบายรัฐมนตรีให้ใช้ Combine harvester  เกี่ยวข้าว  ได้เป็นเมล็ดข้าวเปลือก  บรรจุกระสอบ  ข้าวชื้น  หักง่าย  ส่งออกเมืองจีน  จีนส่งคืนกลับมา  7  หมื่นตัน  จีนไม่เคยส่งข้าวไทยคืนมาก่อน  ข้อดี คือ ค่าแรงเกี่ยวข้าวลดลง  แต่ค่าเสียหายตามมามากกว่า

                อีกตัวอย่าง  นโยบายกรมจักรกลการเกษตร  ไฟ  3  เฟส  ไซโล   คุณภาพลดลง  ข้าวหัก

                การใช้พันธุ์ข้าว  เดิมหลายพันธุ์  ข้าวสุกไม่พร้อมกัน  ลงแขกเกี่ยวข้าว  ต่อมาเกษตรส่งเสริมไม่กี่สายพันธุ์  ข้าวสุกพร้อม ๆ กัน  การจ้างเกี่ยวข้าว  จนถึงต้องประมูลแข่งกัน  แย่งกัน  ใช้รถเกี่ยว  ความสัมพันธ์กับคนขับรถเกี่ยวข้าวแบบฉาบฉวย  ให้เหล้า  1 ,2 ,3  ขวด  ให้สินบน  ให้ไปเกี่ยวนาตนเองก่อน  มองหน้ากันไม่ติด  ความสัมพันธ์คนในชุมชนลดลง

                รัฐบาลเอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง  คิดแต่จะเอาเงินเขา

2. แนววัฒนธรรมชุมชน  ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ปราชญ์ชาวบ้าน  เอาสิ่งที่ดี  ภูมิปัญญาเป็นตัวตั้ง  คุณอภิชาติ  ทองอยู่  วิเคราะห์งานบุญ  บุญเดือน  3  บุญข้าวจี่  จริง ๆ ทำอย่างไร  หยุดงานทุกอย่าง  ไหว้ผีปู่ตา  ระหว่างนั่งรอผีกินข้าว  คุยอะไรกัน  เรื่องผลผลิต  ข้าว  เมล็ดสวยไหม ?  แลกพันธุ์ข้าวกัน  1  ต่อ  1  กับเมล็ดไม่เต็ม  ด้วยความมีน้ำใจ  เอ็งทำอะไรผิดผี  ต้องเอาฝุ่นไปใส่นา  ทำผิดเยอะใส่เยอะ  เป็นวิทยาศาสตร์ไหม ?

                ส่งเสริมแนววัฒนธรรมชุมชนสุด ๆ ไปเลย  เป็นการส่งเสริมปากท้อง  พฤติกรรมมนุษย์  ไม่ใช่เปิดปุ๊บติดปั๊บ  มีการหล่อหลอม  มีที่มาที่ไป  รู้รากเหง้าจะเห็นแนวทางการส่งเสริม

                ภาษาอุปมาอุปไมย  คำพังเพย  ผญา  ภาคกลางมี  ข้าวเดือดอย่าไปเก็บใบมะกรูด  บริบทภาคกลาง  บ้านใต้ถุนสูง  ปลูกพืชสวนครัวไว้ที่ดินด้านล่าง  ถ้ามัวลงบันไดไปเด็ดใบมะกรูด  หนามแหลม  รีบร้อนเพราะหม้อข้าวก็กำลังเดือด  พะวงจะกลับไปดงข้าว  อาจกลายเป็นถอนทั้งต้น  คนโบราณสอนการวางแผนทำอะไรก่อนหลัง  ไม่ใช่ทำอะไรลุกลี้ลุกลน

3. ค.ศ. 1990  เมือง Rio de najero  พัฒนาแนวนิเวศวิทยา  แนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  วาทกรรมความสมดุล เช่น เกษตรปลอดสารพิษ

4. การพัฒนาแบบยั่งยืน  หลายมิติพร้อม ๆ กัน

5. การพัฒนาตามแนวคิดบทบาทหญิงชาย

6. พัฒนาโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ทางสายกลาง  ภูมิคุ้มกัน  เหตุผล  คุณธรรม  จริยธรรม  ข้อมูลถ่องแท้  3  ห่วง  2  เงื่อนไข  ที่อินเดียมี  สัตยาเคราะห์  ศรีลังกา  สังโวทัย  ละติน มี Solidarity economy  มีหลักยึด  หลักปฏิบัติใหม่ ๆ

7. พัฒนาให้บรรลุเป้าหมายขั้นต่ำ (จปฐ.)  ILO  องค์กรแรงงานแห่งสหประชาชาติ  เป้าหมายแห่งสหัสวรรษ MDG  Millinium Development Goal 2042   เมืองน่าอยู่  กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพ 

             ปีที่แล้วจ้างอมาตยเซน  พัฒนาตัวชี้วัดใช้ทั่วโลก  เขาตอบว่า  ไม่ได้คิดว่าดีอะไร  แค่บอกว่าทำอะไรได้ดีกว่าเดิม  ให้เป็นภาระน้อยลง  หาตัวชี้วัดบางตัว  ไม่คิดเฉพาะเศรษฐกิจ  คิดตัวอื่น ๆ ที่ลืมนึกถึง  เวลาเราจะใช้  ต้องเลือก  ที่เราเข้าใจจริง ๆ

                AEC  Asean Economic Community  24 – 26  มีนาคม  2554  สมัชชาปฏิรูปประเทศไทย  จัดตลาดนัดสมัชชา  เชิญฟังบรรยายของอาจารย์  Hall 9 เมืองทองธานี  วันที่  24  มีนาคม

                เรื่องปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟัน  มีการผลักดันจากเดิม  1,000 ppm.  เป็น  1,500 ppm.  ใครได้ประโยชน์  ประเทศไทยปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำใต้ดินที่เป็นแหล่งทำน้ำดื่ม  มีฟลูออไรด์อยู่แล้ว 

                ตัวอย่าง  อาจารย์ออกทีวีช่อง 9  พลังงานหมุนเวียนจากน้ำเสีย  กลุ่มสหกรณ์สงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)  www.mcot.net/cfcustom/cache_page/177943.html

                สินค้าอาหารและพลังงาน  ใช้พลังงานมาก  พลังงานทางเลือก  ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มเหนี่ยว

                คำถาม  แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาก็ไม่ได้แม่นมาก  หรือลงมือทำไปก่อน  แล้วค่อยวิเคราะห์ออกมาว่าเข้ากับทฤษฎีไหน

                อาจารย์ตอบ  เปิดใจกว้าง  รับฟังมาก ๆ  ลุยไปก่อน  เดี๋ยวเก่งเอง  เจตนาบริสุทธิ์  ใจเปิดกว้าง  คนอยู่ในชุมชนก็จริง  แต่ไม่มีใครจะรู้ละเอียดทุกเรื่อง  ช่วยกันวิเคราะห์  ชวนกันทำ  สะท้อนข้อมูล

                แผนแม่บทชุมชน  นำไปสู่การพัฒนา  ก่อนทำกระบวนการ  ถกเถียงกันโดยใช้ข้อมูล  ทำข้อมูลให้ทันสมัย  อบต.ที่อุทัยธานี  ให้ อสม.เก็บข้อมูล  ทุก  10  วัน  เคสละ  20  บาท  ตัวอย่าง  ทำกลุ่มลดค่าใช้จ่าย  ให้เจ้าตัวสารภาพบาปก่อน  โครงการตู้เย็นข้างบ้าน  อบต.ลงทุนปลูกผักสวนครัวให้ที่ข้างบ้าน  ต่อไปดูแลเอง  ปุ๋ยแพง  ใครผลิตปุ๋ยได้ขายให้คนอื่น  ถ้าตั้งกลุ่มได้ก็ตั้งกลุ่ม

                การเปลี่ยนแปลง คือ แผนชีวิตของคนที่สร้างปัญหาให้ตนเอง  กลุ่มไหนในหมู่บ้านจะรับไปดำเนินการ  ถ้า  2 – 3  หมู่บ้านซ้ำกัน  ทำบูรณาการได้ไหม ?

                ข้อมูล คือ หัวใจสำคัญ  ถ้าไม่มีข้อมูลจะเป็นนึกเอาตามความชอบ  ต้องใช้ข้อมูลเป็นตัวตั้ง  กิจกรรมสะท้อนจากข้อเท็จจริง  อบต.ทำไม่ได้ก็ติดต่อภายนอก

                คำถาม  การสร้างทีมระหว่างหน่วยงาน  จะก้าวข้ามวัฒนธรรมการทำงานที่ต่างกันบ้าง  อย่างไร ?

                อาจารย์ตอบ  อาศัยของสูง  อุดมการณ์  คุณค่า  ความดีงามของสังคมนั้น ๆ  เชิญชวนคน  ใจต่อใจ  อย่าเชื่อแต่ตัวหนังสือ  อย่าวางมาด  อย่าคิดข้าจะเอาอะไรจากเอ็ง  ประสาน  ใครเป็นเจาภาพ  ค่าเบี้ยประชุมของสูง  ใจแค่ไหน  อุดมการณ์แค่ไหน  หาเพื่อน  อย่าหวังตามหน้าที่ว่าเขาจะยอม  รบแบบกองโจร  ค่อย ๆ ไป  คนไหนจิตใหญ่  วิสัยทัศน์ไกลกว่าก็เหนื่อยก่อน  ให้ในสิ่งที่ให้ได้  ให้ก่อนที่เขาจะขอ  เลือกจังหวะให้  อำนวยความสะดวกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม  เจอกันบ่อย ๆ  คุยกันบ่อย ๆ  มีสาระ  3 – 4  ครั้ง จะติดเป็นนิสัย  ตัวอย่างที่กระบี่  คนกลุ่มเล็ก ๆ คุยกันก่อน  เวทีคุยไม่มีเงื่อนไข  กลุ่มสามพราน  อ.ประเวศ  สสส.เป็นเจ้าภาพ

                จากนั้น งานกลุ่มภาคค่ำ  แต่ละพื้นที่เตรียมนำเสนอพรุ่งนี้

  1. การสร้างและพัฒนาทีม
  2. กระบวนการและวิธีการศึกษาชุมชน
  3. สิ่งที่ได้จากการศึกษาชุมชน  (ข้อมูล / ผลการศึกษา)
  4. สิ่งที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนหรือวิทยากร

 จบการประชุมวันแรก  บันทึกผ่านการรับรู้โดยหมออ้อ 

-------------------------------

ช่วยด้วยค่ะ  จะเอาภาพ Diagram มาลงได้อย่า'ไรคะ

ธิรัมภา

สวัสดีครับคุณ หมอ

ผมได้ร่วมงานกับ สสส.ด้วยดีมาทุกปี  ตั้ง สำนัก 3 มา สำนัก 6 และปีนี้สำนัก 4 ชวนคุยเรื่องเยาวชน ครอบครัว  ภายใต้โจทย์ เราจะสร้างสรรค์ ให้เมืองลุงน่าอยู่ได้อย่างไร

มีความคืบหน้าจะรายงานมาแลกดปลี่ยนครับหมอ

อ้อ  พี่ไม่ค่อยได้ฟังอาจารย์บรรยาย  ขอบคุณมากที่เขียนไว้  พี่จะได้อ่านมั่ง  และขออนุญาตเอาไปสรุปรายงานครั้งที่สองนะ 

 

สวัสดีค่ะ  ท่านผู้เฒ่า

ชุมชนจะเข้มแข็ง  ....ครอบครัวลูกหลานต้องอบอุ่น...เข้มแข็งเป็นรากฐาน

จะรออ่านด้วยใจจดจ่อนะคะ

ธิรัมภา

สวัสดีค่ะ...พี่ฝน

เดี๋ยวจะส่งไฟล์ที่เป็น Word ให้นะคะ  Print แล้วจะอ่านง่ายกว่าที่นี่

เพราะต้องเว้นวรรคจังหวะหายใจให้เหมาะสม

สิ่งที่อาจารย์สื่อ  เราจึงจะรับได้ใกล้เคียง  (ไม่ 100 % แน่นอน)

แต่....ช่องว่างระหว่างหยุดคำ  ประโยค  หรือบรรทัด

ความรู้  ประสบการณ์ชีวิต ฯ  ของคนอ่านต่างกัน

ช่องว่างนั้น...ยังต่างความหมาย  งอกเงย  งอกงามได้อีก

 

ตามสบายนะคะ...ที่จะใช้ประกอบสรุปรายงาน

อ้อเอง

สวัสดีครับ

อุอุ  ตามมาอ่าน  ช้าๆ เนิบๆ ตามเดิม

พี่อ้อ  ขอ ไฟล์ ด้วยครับ

ปล. อนาคต  ขอรวบรวมเล่ม  ออกพอกเก็ตบุคส์น้า

สวัสดีครับคุณหมอ...

แวะเวียนเข้ามาอ่าน 
แหะ แหะ กับบันทึกนี้ใช้เวลานานทีเดียวครับ
อ่านแล้วเหมือนได้นั่งฟัีงอยู่ในนั้นเลยครับ 

สวัสดีค่ะ....คุณหมอน้องแบงค์

  • น้องดามีเบอร์พี่นะคะ  ให้ส่งข้อความมาบอก E-mail address ของแบงค์ละกัน  แล้วพี่จะส่งไฟล์ให้
  • การรวมเล่ม...แล้วแต่ท่านบรรณาธิการแบงค์ละกัน

สวัสดีค่ะ..คุณหนานเกียรติ

  • แหะ แหะ จะพยายามหาความรู้และเพิ่มทักษะ  เรื่องวิธีการนำเสนอให้น่าสนใจกว่านี้ละกัน (แต่ไม่สัญญาว่าจะได้ผลดีขึ้นกว่าเดิมนะคะ)
  • พยายามเขียนให้ตรงคำเดิมของอาจารย์จิตติมากที่สุดค่ะ  เพราะประสบการณ์อาจารย์เยอะมาก
  • กลัวว่าถ้าตีความก่อนแล้วเขียน  ด้วยข้อจำกัดมุมมองของเราเอง....กลัวเพี้ยนเยอะ
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมา

ขออนุญาตพี่ฝน พี่สุรัตน์ เอาบันทึกสรุปวันที่ 10 และ 11 มีนาคม 2554 มาลงต่อนะคะ

วันที่ 10 มีนาคม 2554 ทบทวนบทเรียน (วันที่ 9 มีนาคม 2554)

• ทฤษฎี แนวคิด การพัฒนาชุมชน (เปรียบเทียบกับข้อมูลที่ส่งมาให้อ่าน) การศึกษาชุมชนแบ่งเป็นมิติต่าง ๆ

เศรษฐกิจ (รายได้/รายจ่าย)

     - รายได้ VS รายจ่าย

     - หนี้สิน รายได้<รายจ่าย

     - ทำไม? หาสาเหตุ? รายได้เกษตรเป็นรายปี  รายจ่าย เป็นรายวัน/รายเดือน/อำนวยความสะดวก เพื่อเข้าใจระบบเศรษฐกิจ

สังคม (วัฒนธรรม/การอยู่/กิน ครอบครัว ภูมิปัญญา)

     ในชุมชนมี ผู้สูงอายุ เด็กเยาวชน ขาดการขัดเกลาทางสังคมจากรุ่นพ่อแม่ (ไปทำงานที่อื่น) เด็กเรียนรู้จากสื่อ/วัฒนธรรมภายนอก

     - ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะถือเป็นศักยภาพ  ต้องดูว่ามีการสืบทอดและนำมาใช้ต่อได้หรือไม่

     - การสื่อสาร

     - สิ่งแวดล้อม (พื้นที่ป่ากับทำกิน/ แย่งน้ำกิน/ใช้/เกษตร/คุณภาพสิ่งแวดล้อม)

มองความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ กับสังคม

แต่ละทีมนำเสนอกระบวนการทำงาน  และข้อมูลจากการศึกษาชุมชน

โครงการเครือข่ายสุขภาพชุมชน ต.บ้านใหม่ อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น

• ทีมงานจากรพสต/อบต/รพ/อสม.ขอเงินกองทุนสุขภาพ  เพื่อทำแผนชุมชน(?)

  •  ให้อสม (21คน) เก็บข้อมูลศึกษาชุมชน สามหมู่ตามแนวทางที่อบรมครั้งแรกแบ่งเป็น ศก สังคม สวล
  •  ผู้นำเสนอ(ผญบ/อสม)

• หมอฝ้ายสรุปการเรียนรู้  ตัวเราเต็มไปด้วยความรู้  ถอดความรู้ออกก่อนไปเรียนรู้พร้อมกันกับทีมจากชาวบ้าน

เริ่มจากถามในทีมว่า “ทำไปเพื่ออะไร”

คำตอบ” อยากให้ชุมชนเข้มแข็ง”

ถามต่อว่าคืออะไร “คิดเองทำเอง”

จึงได้เริ่มทำงานโดยแบ่งทีมอสฒเป็นสามหมู่แบ่งกันไปเก็บข้อมูล (ตามแนวของพี่เลี้ยงและหมอ)

• ปัญหาคือเวลาในการลงพท.มีแค่ครึ่งวัน  ยังไม่ได้รายละเอียด จนท.เป็นFa  เป็นเรื่องความสามารถในการตั้งคำถาม  ถามตามที่หมอ/พี่เลี้ยงอยากได้อะไร มากกว่าถามจากสิ่งที่คนไปถามอยากรู้ เมื่อมีข้อมูลสามหมู่แล้ว  ยังวิเคราะห์แบบเชื่อมโยงไม่ได้

• อ.โกวิท Fa ย่อมาจาก Facilitator ผู้จัดหมู่กระบวนการให้เกิดการเรียนรู้ คำที่คล้ายกัน คือ วิทยากรคนบรรยาย

• สิ่งที่อยากแลก (รู้) คือ การเชื่อมโยง/วิเคราะห์ข้อมูล กับทักษะของ Fa

 

โครงการเครือข่ายชุมชน อ.สระใคร นค.

• หาเครือข่าย/สร้างทีม ชวนคนมาร่วมเป็น ”สหวิทยาการ” (พัฒนาชุมชน/เภสัช/รพสต/อสม ครู/ เกษตร) จนท.เป็นพี่เลี้ยง ประสานส่วนตัวก่อนทำหนังสือเป็นทางการ

• หาภาพฝันชุมชนก่อน ใช้เวิลด์คาเฟ่ ทำ mind map ได้ภาพฝัน (นัดวันตรงกับการประชุมผู้นำชุมชนเลยมีคนมาน้อย/ ตัวแทนไม่ใช่ตัวจริง) หมอฝนวิทยากร

• ลงเก็บข้อมูลชุมชน อะไรที่ชุมชน “อุกอั่ง” คับข้องใจ/ปัญหาของชุมชน

• ประชุมวิเคราะห์ข้อมูล เชิญ อ.โกวิทไป

• AAR งานที่ผ่านมาของทีม ทีมงานสหสาขาวิทยาการเกิดความรู้สึกดี ๆ

• รายงานผลให้หัวหน้าส่วนราชการฟัง ได้รับการสนับสนุน

• ความแตกต่างระหว่างพี่เลี้ยง ใช้เครื่องมือที่ต่างกัน ทำให้ได้ข้อมูลรายละเอียดต่างกัน (ปฏิทินชุมชน/ผังเครือญาติ สนทนากลุ่ม) การพูดคุยวิเคราะห์ข้อมูล เลือกปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ เชื่อมโยงผลกระทบแนวโน้ม กรณีที่ข้อมูลยังไม่พอลงหาข้อมูลเพิ่ม

• ถ้ากำหนดขอบเขตปัญหาได้จะวางแผนแก้ไขต่อ  อยากแลกเปลี่ยนเพื่อดูว่าแล้วจะทำอะไรต่อ

• เป็นจนท.สอ.อยู่มาสามสิบปี  เห็นสภาพหมู่บ้านมาตลอดตั้งแต่แม่จนลูก  ศึกษาข้อมูลพบว่า “ตระกูลเดียวกัน จ้ำป่นถ้วยเดียวกัน ตายเหมือน ๆ กัน ตายอายุประมาณ 50 กว่า ๆ”

 

บ.ห้วยส้มใต้ อ.ภูกระดึง จ.เลย

• ทีมงาน รพ.และ รพ.สต.

• เก็บข้อมูลทำแผนที่ชุมชนโดยประยุกต์ใช้เครื่องมือ  เพราะไม่ได้เตรียมอุปกรณ์  ชื่อห้วยส้มใต้ หมายถึง น้ำผุดเป็นห้วยมีรสเปรี้ยวทางใต้  ทำTimeline ประวัติหมู่บ้าน เรื่องรุนแรง คือ ปี 2547 ฆ่าตัดตอนยาเสพติด ผู้พาทำกิจกรรมต่าง ๆ คือ ผู้ช่วยผญบ.กับอบต.

  •  ที่ปรึกษา ผญบ.  อดีตอบต.และ พ่อของผช.ผญบ. (ผญบ รวยที่สุด มีธุรกิจและที่ดินมาก ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในหมู่บ้านมากนัก) /มีนายทุน

• หมอมิ้ง การสร้างทีม ทันตะ/สอ.พูดคุยปรับทัศนคติให้มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน สร้างสัมพันธภาพ ความคุ้นเคย เอื้ออาทร เรียนรู้ผ่านการทำงานและสรุปการเรียนรู้ มองหาคนในชุมชนมาเป็นทีม

• อีกหนึ่งพื้นทีทำแผนชุมชนห้วยส้มเหนือ  ใช้ข้อมูลมือสองพบว่าขาดข้อมูลของจริง  จะนำทีมห้วยส้มใต้ไปช่วยเรื่องเก็บข้อมูล

(หมอมิ้ง) อ.ภูกระดึง จ.เลย

• วิธีทำงาน กำหนดกรอบแนวคิด แตกประเด็นหลัก/ รอง..ลงพื้นที่ 2-3 วัน เมื่อนำข้อมูลมาลงกรอบ

• พบว่า จนท.ไม่ได้คุยกันหลังลงพื้นที่ ข้อมูลที่ได้กระจัดกระจาย ต้องทบทวนตัวเองว่าประเด็นที่ตั้งไว้เป็นอย่างไร  การทำบทบาทระหว่างผู้ถามผู้จดข้อมูลเป็นอย่างไร  การไม่นำข้อมูลแต่ละครั้งมารวมกันคุยกัน

• สรุปการเรียนรู้คือจนท.คุยกันหลังลงพื้นที่/ทบทวนบทบาท/เนื้อหา ข้อมูลที่ได้ดีขึ้น (= ทำ AAR หลังการลงพื้นที่)

• กลัวว่าจะเป็นประเมินจากภายนอก  อาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนัก  ต้องมีการทบทวนข้อมูลเพิ่ม  สมาชิกต้องเข้าใจเห็นทิศเดียวกัน  คิดต่างได้

• แสดงภาพด้วย Google Earth พืชหลักคือข้าวโพดเพราะมีที่ราบน้อย

• ความเชื่อในชุมชนเป็นความเชื่อของใคร (วัยไหน)  การเก็บข้อมูลไม่จำเป็นต้องรอลงพื้นที่อย่างเดียว  ใช้วิธีคุยกับชาวบ้านที่มารับบริการได้  ต้องมีทัศนคติว่ารู้เพื่อเข้าใจชาวบ้าน  ข้อมูลในชุมชนเป็นพลวัต  เคลื่อนไหวตลอด  มีกรอบความคิดในหัวในการถาม  อยากรู้แลกเปลี่ยน/เรื่องอะไรให้พูดให้ชัด

 

ต.กุดปลาค้าว อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

• เลือกพื้นที่(หมู่บ้าน) จากฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว/เลือกจากความพร้อม

• สร้างทีมงาน ใครสนใจก็มานั่งคุย (จนท. อสม นิสิตทพ.ฝึกงาน) ถ่ายทอดวิธีการและเครื่องมือ

• วิธีการเก็บข้อมูล นำกรอบวิธีคิดไปถามในชุมชน เช้าแบ่งกลุ่มไปถามบ่ายมารวมกันคุยข้อมูลกัน (สังเกตสภาพพื้นที่ ทำแผนที่โซนนิ่งคร่าว ๆ  แหล่งนัดพบวัยต่าง ๆ เก็บข้อมูลตามคุ้ม นำข้อมูลมาทำแผนที่ชุมชนละเอียด)

• ชุมชนบ้าน”ซ้ง”เป็นบ้านภู่ไท เป็นพื้นที่สีแดงแหล่งคอมมิวนิสต์  มีวัฒนธรรมถิ่นที่มีอัตลักษณ์ชัดเจน  มีความเชื่อเรื่องเทพดูแลชุมชน “ถลา” คนที่บนบานถือเป็นลูกศิษย์ถลาต้องมาทำบุญปีกับถลา  มีคนที่สื่อสารกับถลา  คนภู่ไทเป็นคนเรียนเก่งเป็นหมอ/อาชีพดีๆ สินค้าขึ้นชื่อคือ”ข้าวเหนียวเขาวง” แข่งกันจ้างแรงงานกันโดยวางมัดจำ  ทอผ้า

• ชาวบ้าน(อสม.และพ่อบ้านแม่บ้าน) ทำแผนที่เดินดินอย่างละเอียดเพราะเดิมไม่เคยรู้ข้อมูลละเอียดของชุมชนแต่ละคุ้ม ในแต่ละคุ้มมีแคร่ไว้นั่งโสกัน (ไว้กินเมี่ยง) พวกผู้หญิงมานั่งโสกันยามบ่าย  เป็นแหล่งข้อมูล  แต่ละคุ้มมีกลุ่มทอผ้า  ทำไม้กวาด

• การทำแผนที่เดินดินทำให้เข้าใจวิถีชีวิต  บ้านพ่อแม่เป็นหลัก ปลูกบ้านลูกเขยลูกสาวอยู่ข้าง ๆ ใต้ถุนสูงคนจะเดินผ่านใต้ถุนบ้านไปบ้านอื่น  อสม.บอกว่าจะทำเครื่องหมายสีแดงตำแหน่งบ้านที่มีผู้ป่วยเบาหวาน

• การมีสถานที่รวมเอาข้าวมาแผ่ (รวม)ไว้ที่ยุ้งรวม เป็นแหล่งข้าวสำหรับเลี้ยงคนมากฐิน/ เป็นที่จำนำข้าวของคนในหมู่บ้าน/

• ชาวบ้านไม่ชอบทำเป็นข้อหนึ่งสองสาม ชอบพูด  เราต้องเป็นคนจด  ชาวบ้านอยากรู้เรืองการทำบัญชีต้นทุนกำไรของอาชีพตนเอง เช่น ไม้กวาด  คิดแต่ว่าเงินเหลือคือกำไร  แต่ไม่ได้คิดถึงต้นทุน  อยากให้หมอมาสอนเด็กให้ทำบ/ช

• ทำไป เรียนรู้ไป  ทีมส่วนใหญ่เป็นอสม.  รวมทีมแบบไม่เป็นทางการ  ปัญหาเรื่องภาษาถิ่น  ผู้เล่าในชุมชนเป็นผู้เฒ่าผู้แก่พูดภาษาภู่ไท  คนบันทึกต้องแปลและสอบทานข้อมูลให้ตรงก่อน

 

อ.เมือง จ.ขอนแก่น

• ทีม คือ ทพ. 2 คนและทภ. จาก รพ.และ รพ.สต. ศูนย์แพทย์

• ทำความเข้าใจกับ ทพ.อื่นใน รพศ. หาทีมจาก รพ.สต. อบต./เทศบาล/ผู้สูงอายุที่นัดคนไข้ในชุมชนเป็นคนพาไปดูชุมชน

• เตรียมเครื่องมือ แบบสอบถาม/สัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม/ Timeline/นัดเวลาหลังเลิกงาน (5โมงถึงสองทุ่ม)

• คืนข้อมูลสู่ชุมชนผ่านการทำประชาคมในหมู่บ้าน (เขตเมืองเวลาจำกัด/เขตชนบทนัดกลุ่มเล็กๆ ค่อยคุยขยายวง) วิเคราะห์ข้อมูล/สรุปคืนข้อมูล

• เขตเมืองเวลาจำกัดได้ข้อมูลแล้วคุยกับผู้นำก่อน แล้วค่อยนัดกลุ่มใหญ่มาคุยทีละเรื่อง

• ทภ.งานบริการกับงานชุมชนจัดการเวลายาก  ข้อมูลที่ได้น้อย ชาวบ้านเกรงใจยังไม่คุ้นกันมากพอ  ข้อมูลจากผู้นำด้านเดียวยังไม่ได้มุมอื่น

• ทีมงานยังเป็นแนวสาสุขยังไม่ได้ขยายไปกลุ่มอื่น

 

บ้านโสกแต้ อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

• วัตถุประสงค์ อยากพัฒนาทีมงานในเครือข่ายรพ /พัฒนาพื้นที่ของรพ.สต./แก้ปัญหาได้ตรงกับบริบทของพื้นที่หรือไม่ (เถ่าตีความว่าต้องคิดวิเคราะห์เป็น แปลว่าทำวิจัยเป็น)

• เตรียมชุมชน  ชาวบ้านถามว่าวิจัยชุมชนคืออะไร  ทีมงานใช้การเปิดรับสมัคร/  นักวิชาการจะได้เป็นผู้ช่วยงานวิจัย  พาทีมไปดูงานที่ อ.น้ำพอง อ.ภาสกรไปให้ช่วยกันคิดว่า  ศึกษาชุมชนเพื่ออะไร  ทำอย่างไร

• ลงเก็บข้อมูลจริงคัดเฉพาะประเด็นที่ตรงกับบริบทชุมชน  แบ่งกลุ่มเก็บข้อมูล  แล้วมาสอนกันในแต่ละกลุ่ม

• ไม่มีเวลาแลกเปลี่ยน

อาจารย์โกวิท แทรกทฤษฎีเพื่อความเข้าใจแนวคิดในการพัฒนา

แนวคิดความเชื่อสะท้อนถึงพฤติกรรมของมนุษย์

• แนวคิดก่อนทันสมัย (pre-modernism)

– ความจริงเป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่ต้องพิสูจน์ไม่ต้องถาม

• แนวคิดยุคทันสมัย (modernism)

– ยุคแห่งความรู้แจ้ง หรือยุคแห่งแสงสว่าง

– ความจริงเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ได้ด้วยหลักการเหตุผลและผลทางวิทยาศาสตร์ วัตถุวิสัย (Object)

• แนวคิดหลังความทันสมัย (postmodernism)

– ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 (1970s) ความจริงไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ สถานที่เปลี่ยน...ความจริงเปลี่ยน

 

บ้านคำม่วง ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

• เรียนรู้ร่วมกับบ้านฝาง (จนท.และชุมชน)

• ประชุมชี้แจงสมาชิกในหมู่บ้าน/กำหนดประเด็น/ แบ่งทีมเก็บข้อมูล /(บ่าย)นำเสนอชุมชน

• สิ่งที่ต้องการแลกเปลี่ยน  กระบวนการดำเนินงาน  วิธีการเก็บข้อมูล/วิธีการที่ได้มาของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง  การดำเนินงานในขั้นต่อไป  ทักษะที่ต้องการ การวิเคราะห์ข้อมูล/การตั้งประเด็นคำถามในการได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการทราบ

• เห็นข้อมูลเศรษฐกิจเป็นเส้นทาง  แต่ชาวบ้านไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา  ไปต่อไม่เป็น

 

อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

• ทำโครงการร่วมรพ.กับอบต. (จากเครือข่ายทพ.ผู้นำ) หาทีมในรพ.เป็นจิตอาสาทำนอกเวลา  ไม่มีโอที (สิบคน) ออกพื้นที่จริงห้าคน ต่อเนื่องกับงาน SRM ที่ทำอยู่  เพื่อฝึกคนในทีมให้ได้เรียนรู้การทำงานในชุมชนจากประสบการณ์จริง

• เริ่มจากงานเบาหวานมีแพทย์เพื่อนกันไปด้วย  พบผู้ป่วยเบาหวานใหม่สองคน  เกิดกิจกรรมการพูดคุยในกลุ่มป่วยและเสี่ยงวัดผลที่น้ำตาลลดลง

• เริ่มด้วยการประชาคมทำ SRM ชาวบ้านกังวลเรื่องสารพิษ น้ำดื่ม  อยากได้โรงผลิตน้ำดื่มหมู่บ้าน  คิดทุนประมาณสองแสน เกิดกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านทำรั้วไม้ไผ่/ยางรถยนต์ปลูกผักหน้าบ้าน/ถังขยะ/ออกกำลังกายรำไม้พลอง /โรงสีข้าวกล้องของหมู่บ้าน/น้ำดื่มสะอาด

• การสร้างทีม ใช้จิตอาสา ทำงานแบบสหสาขา

• ประสานงานทีมงาน /เลือกชุมชนจากความสะดวก (บ้านหมอ)

• สิ่งที่ได้เรียนรู้ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง / รู้จักตัวตนของคนในชุมชนนัดหมายได้วันละชั่วโมงกว่า /  ผู้ที่มีความรู้มาก ๆ อีโก้สูง ไม่ได้สำรวจพื้นที่ก่อนเก็บข้อมูลจริง  เสียเวลาในการทำความเข้าใจ  เวลาที่ลงใกล้เลือกตั้งมีปัญหา

• อยากรู้เทคนิคในการเลือกพื้นที่เพื่อขยายงานต่อ/ให้งานยั่งยืน จะกลับไปทำอะไรต่อ (อบต.อยากให้ขอเงินต่อ) อะไรที่เรียกว่ายั่งยืน ความยั่งยืนมีอยู่จริงไหม หรือแค่อยู่นานกว่า

 

อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู นำเสนอโดย ทพญ.เพชรไพลิน สุขหนา ทันตแพทย์ ปฏิบัติการ รพ.สุวรรณคูหา

• มีทีมอยู่สองคน คือ เภสัชหนึ่งคน  ประชุมและถามกันแต่ไม่มีคำตอบ  ไปถามพี่ยงกับพี่ตู่ (คุณศรายุทธ สมศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.สุวรรณคูหา และคุณสุภาภรณ์ สมศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปฏิบัติงานที่ ศูนย์สุขภาพชุมชน รพ.สุวรรณคูหา) ซึ่งเพิ่งไปอยู่ได้หนึ่งปี  ยังไม่รู้จักใคร  เราอยากถามพี่เขาพี่เขาถามว่าอยากทำเรื่องอะไร  ไม่รู้ว่าจะชักชวนคนอื่นอย่างไร  ไม่ใช่แค่อยากทำ เป็นคนไฮเปอร์แต่จัดสรรเวลาไม่เป็น

 

อ.เชียงคาน จ.เลย

• เพิ่งทำงานมาปีเดียว มาเป็นตัวแทนไม่รู้ตัวว่าต้องเป็นคนทำเอง ไม่รู้เป้าหมายตัวเอง บุคลากรในรพ.ไม่ได้อยากจะพัฒนาอะไร

• คราวแล้วพี่มิ้งสั่งไว้ว่าอย่าหาย  ให้ค้นหาเป้าหมายให้เจอ  งานรักษาที่ทำอยู่ทุกวันไม่ใช่ทางออกในการแก้ปัญหา

• อยากถามคนในชุมชนว่ารู้สึกอย่างไรที่มีคนมาศึกษาและดูงาน

 

อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู

• ผนวกกับงานที่มีอยู่ (ผู้สูงอายุและDM) เป็นงานผู้สูงอายุที่เป็น DM

• เลือกทีมจากจนท.ที่พร้อม เลือกพท.ทำสามหมู่ในต.นากลาง

• ทำความเข้าใจกับทีมงานไปสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ DM/ชมรมผู้สูงอายุ

• ผู้สูงอายุครึ่งหนึ่งต้องดูแลหลาน ส่วนใหญ่เป็นเบาหวานสี่ปีขึ้นไป/ครึ่งหนึ่งคุมน้ำตาลไม่ได้ หมู่ 14 การศึกษาดี  เศรษฐกิจดี  ไม่ต้องดูแลเด็ก  แต่ครึ่งหนึ่งคุมน้ำตาลไม่ได้  และมีโรคแทรกซ้อนมาก  รู้เรื่องเบาหวานดี  คนคิดว่าสุขภาพช่องปากกับเบาหวานไม่เกี่ยวกัน (คนละช่องกัน)

• คำถาม  ศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อหาปัญหาที่แท้จริงเพื่อการควบคุม DM

• จะเลือกหมู่ไหนดี/ อยากได้ข้อมูลที่ถึงแก่นเพื่อไปสื่อสารกับกลุ่มDM

• เติมเต็ม/ตอบคำถาม โดยผู้เข้าประชุม (ตอบคำถามที่หมอจาก รพ.เชียงคานตั้งคำถามไว้) “อยากถามคนในชุมชนว่ารู้สึกอย่างไรที่มีคนมาศึกษาและดูงาน”

• อบต ข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์อะไร ชุมชนหาจุดอ่อน/จุดแข็งของตัว หาวิธีปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่มีอยู่

• ผญบ.หญิง หมอฝ้าย เริ่มจากการไปหาหมอที่อนามัย ไปหากลุ่มร่วม นัด อสม.มาคุย  ประชุมซักซ้อมคนในพื้นที่  ชาวบ้านถามว่าหมอมาให้อะไรเรา  ตอบหมอมาให้ความรู้เพื่อเอาข้อมูลมาทำให้หมู่บ้านเราดีขึ้น

• อสม. ตอบว่ามาทำด้วยจิตอาสาอยากได้ความรู้ อยากพัฒนาหมู่บ้านตัวเอง

• อสม.  คุณหมอต้องลงไปถามหา อสม.ที่ทำงานจริง  ตั้งใจ จริงใจคนจะเข้ามาร่วม 

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

• ทำไปเพื่ออะไร/ ทำแล้วเกิดประโยชน์อะไร/ เกิดประโยชน์อะไรกับชุมชนบ้าง

• กระบวนการหาคนมาร่วม จิตอาสา/วิธีหาคนมาร่วม

• การพัฒนาทีมการศึกษาชุมชน

• เทคนิควิธีการศึกษาชุมชน

• ทักษะการตั้งคำถามที่จะได้ข้อมูลจริง..การตรวจสอบข้อมูล

• การสร้างสัมพันธภาพ...แลกเปลี่ยน

• การจัดเวลา /การเลือกพื้นที่ / การวิเคราะห์ปัญหา เชื่อมโยงความสัมพันธ์ แล้วจะทำอะไรต่อ (ยั่งยืนหรือไม่)

คนเรามีหลายหน้าที่ในสังคม...ทำหน้าที่อย่างเดียวไม่สำเร็จ เฮ็ดอย่างใดจึงจะเข้าใจเพิ่น  เรามองมนุษย์แบบไหน (อ.โกวิท แทรกทฤษฎีเพื่อความเข้าใจมนุษย์)

นิยัตินิยม (Determinism)

• มนุษย์ไม่สามารถกำหนดชีวิตตนเองได้

• ความเชื่อเรื่องพระเจ้า

• ความเชื่อเรื่องกรรมพันธุ์-สายเลือด

• กฎแห่งกรรม

• บุพเพสันนิวาส

พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

• พฤติกรรมมนุษย์มาจากการตอบสนองสิ่งเร้า

• มนุษย์เหมือนสัตว์ละครสัตว์ (สร้างเงื่อนไขเพื่อให้เกิดพฤติกรรม)

• สิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์

• เป็นนำหมู่กันนั่นละ หน้าคือลูกภารโรง ทรงผมคือดาราเกาหลี

• มนุษย์เปลี่ยนตัวเองได้ถ้าจัดการสิ่งแวดล้อม/เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

มนุษย์นิยม (HUMANISM)

 ปฏิเสธนิยัตินิยมและพฤติกรรมนิยม

 มนุษย์ไม่ได้ถูกกำหนดโดยกรรมพันธุ์-สายเลือด ฟ้าดิน พรหมลิขิต

 มนุษย์ไม่ได้ถูกกำหนดโดยสัญชาตญาณ

 มนุษย์ไม่ได้เป็นไปตามสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้จากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

 มนุษย์เป็นไปตามการรับรู้ในเอกลักษณ์ของแต่ละคน

 เด็กเรียน/หนอนหนังสือ/สัมมัธถะ /เจียมตัว/เยาวชนช้างเผือก แนวคิดในการอธิบายธรรมชาติของมนุษย์

 อันที่จริง เราทุกคนมีทั้ง 3 แนวคิด แต่เราอาจไม่ทันรู้ตัว

 ถ้าเรามีสติอยู่ตลอดเวลา เราก็อาจมี “ความข่มใจ”

 ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลงได้

 มีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขากับคนรอบตัวเราได้

 แต่เพราะเราเป็นมนุษย์ เราจึงต้องยอมรับความไม่สมบูรณ์ของตัวเราเองด้วย

ช่วงสุดท้ายของวันที่ 10 มีนาคม 2554  ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกันสรุปประเด็นที่จะแลกเปลี่ยนระหว่างกัน  และแลกเปลี่ยนกับวิทยากรเพื่อจะทำให้เกิดความเข้าใจ  และไปทำงานต่อได้ ดังนี้

แนวคิด

• ทำไป ทำไม

• ชาวบ้านรู้แล้วน่าจะศึกษาเอง

• การพัฒนาที่ยั่งยืนมีจริงไหม กระบวนการ

• การสร้างทีม/ การพัฒนาทีม/ การพัฒนาทีมงานชาวบ้าน เทคนิควิธีการ

• การใช้เครื่องมือ

• การตั้งคำถาม เชื่อมโยงไปถึงการวิเคราะห์ การจับประเด็น

• การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

• การวิเคราะห์ (ปัญหา ศักยภาพ ความสัมพันธ์) การสังเคราะห์

• การจัดเวลา/ งานประจำ งานอาสา

• การเลือกพื้นที่ คำถามระดับแนวคิด

• ทำไป ทำไม ผดด. ใหม่ ๆ คุณหมอเข้า ศพด. ดูแต่ฟันเด็ก หมอพาลงชุมชนถามว่าหมอมาทำอะไร  ทำ ๆ ไปก็รู้สึกว่าเกิดประโยชน์ต่อชุมชน

อ.หนาย  ต้องทำเรื่องนี้ชี้แจงกับทีมงานและชุมชนให้ชัดเจนในเรื่องเดียวกันก่อน จึงจะพากันทำได้

ตั๊ก เป็นการเปิดมุมมอง จนท. ในส่วนคนที่ทำงานเชิงรุกจะสนุก ในส่วนที่ทำเฉพาะด้านไปไม่ถูก  ต้องรู้จักคนรอบข้าง  สมาชิกในรพ.เราเป็นอย่างไร  หาเวลาไปฝ่ายอื่นเช่นไปก่อนเวลาเข้างาน รู้จักคนที่ทำงานเชิงรุกเขาจะมีเครือข่ายภายนอก (อสม/ผู้นำ) เริ่มจากงานเล็ก ๆ ก่อน  มีความมั่นใจมากขึ้น  อยากต่อยอดงานต่อ  แม้จะอกหักบ้างก็ไม่เป็นไรเพราะชุมชนเป็นพลวัต

• ชาวบ้านรู้แล้วน่าจะศึกษาเอง  ชาวบ้านเองก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง บางเรื่องต้องศึกษาเพิ่มเติมนำข้อมูลมาใช้  เป็นการเอาความรู้มาพัฒนาแก้ปัญหาตนเอง

• การพัฒนาที่ยั่งยืนมีจริงไหม  ต้า นค. ยั่งยืนหรือไม่ ตัวเองต้องมั่นคง  เอาตัวเองเป็นที่ตั้งก่อนเรื่องอื่นเป็นเรื่องของอนาคต  ทำให้ดีที่สุด  ดีกว่าไม่ได้ลองทำอะไรเลย  การพัฒนาที่ยั่งยืน  มีสามวงดูจาก ศก สังคมดี สวล.ที่ดี  ต่างจากคำว่ากิจกรรมนั้นยั่งยืนหรือไม่  เพราะ บริบทเปลี่ยน ปัญหาเปลี่ยน หรือกรอบที่เล็กลงดูจากว่าเขาจะต้องพึ่งพิงเราตลอดไหม  เราได้ช่วยให้เขาเข้มแข็งขึ้นไหม

วันที่  11  มีนาคม  2554

ตอบคำถาม  การสร้างทีม (มีผู้เข้าประชุมหลายคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด และมุมมอง ดังนี้)

เภสัชกร จาก รพ.สระใคร  ต้องมีการติดต่อสื่อสาร  หาconnection จากกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ออกหน่วย  ส่งทีมเข้ารวมงานกีฬากับท้องถิ่น  สระใครมีการตักบาตรที่ผู้นำชุมชนมาร่วมมีการพูดคุยยามเช้า

ผอ.รพสต. คนที่เป็นผู้นำ คือ ตัวหลักในการทำงานเช่นอสม./ ทำงานเป็นทีม บ้านฝาง ทีมในรพ.ใช้ความสมัครใจ ชวนกัน ก้าวไปหาเขาก่อน  คุยกับทีมในชุมชนว่าเขาสนใจไหม

นักวิชาการสาธารณสุข จาก อำเภอบ้านฝาง จ.ขอนแก่น  ทฤษฎีที่เรียนมาอาจใช้ไม่ได้  เดินเข้าไปหาเขาอยากเป็นเพื่อน “ไม่มั่วแต่ทั่วถึง”  เราจะรู้ว่าเขาเป็นอย่างไร  ขึ้นกับงานที่ทำ  วัตถุประสงค์ของเรา ๆ ก็จะเลือกว่าคุยกับใคร

เจ้าหน้าที่จาก รพ.ขอนแก่น  คิดถึงใจเขาใจเรา  หาคนที่ชอบงานชุมชนและรักที่จะทำ  ให้รู้สึกเหมือนเป็นบ้านเรา  ให้คิดบวก และไขว่คว้าโอกาสที่ผ่านมาถึง

อ.โกวิท เรามีเครือข่ายทางสังคมคน  คนเราอยากมีตำแหน่งทางสังคม (แต่ก็อาจทำให้เกิดกำแพง)  การเกาะกลุ่มทำแบบง่าย ๆ มีความเสมอภาคพูดคุยบ่อย ๆ  จิตอาสา..ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  คิดว่าเป็นเรื่องของเรา  หาพวกเข้ามาเรื่อย ๆ  การมีจิตอาสาเกิดจากการหล่อหลอมของกลุ่ม 

เจ้าหน้าที่จาก จ.หนองคาย  การสร้างทีม  ลงชุมชน  ต้องไปบ่อย ๆ เราต้องให้เขาก่อน  แล้วเขาจะให้คืนมา

วรางคณา จ.หนองบัวลำภู  คิดถึงตอนเริ่มต้น  เริ่มจากตัวเองมุ่งศึกษาตามความสนใจก่อนแล้วจึงหาเพื่อน  หาทีม  การพัฒนาทีม  ความรู้ / ทัศนคติ /ทักษะ ความรู้เปลี่ยนวิธีคิดคน ทัศนคติเปลี่ยนความคิดเปลี่ยน  เครื่องมือที่ใช้ในการเปลี่ยนความคิด การอบรมอาจจะน้อยกว่าการดูงาน  การพัฒนาทีม  การเรียนรู้ ของคนในทีมผ่านการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ  ทักษะ  การลงมือทำ ทำให้เกิดทักษะ การพัฒนาทีมงานชาวบ้าน  นักพัฒนา/พนักงานขนขาย  ต้องเกาะติดใกล้ชิดกับชาวบ้าน

คำถามระดับเทคนิค วิธีการ

• การใช้เครื่องมือ...มีความเข้าใจหลังจากได้ลงมือทำ

• การตั้งคำถาม เริ่มจากการวางกรอบความคิดให้ชัดก่อน  เชื่อมโยงไปถึงการวิเคราะห์  การจับประเด็น

• การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  ใช้การสังเกตและ cross check ใช้การยันข้อมูลกัน (เทคนิคประชุมกลุ่ม)  ข้อมูลที่ผิดพลาดที่สุด คือ ข้อมูลมือสอง  เพราะข้อมูลเป็นพลวัต  แต่ใช้เพื่อประกอบให้เห็นองค์รวม

• การวิเคราะห์ (ปัญหา ศักยภาพ ความสัมพันธ์)  วิเคราะห์ระบบย่อยให้ได้ก่อน (ตามแนวที่วางไว้ก่อนเก็บข้อมูล)  นำมาประกอบส่วนย่อย (สังเคราะห์) ให้เป็นองค์รวม (สังเคราะห์เป็นการรวมกัน)

• การจัดเวลา/ งานประจำ งานอาสา  จัดระเบียบความคิดก่อนเลือกอะไรสำคัญก่อนหลัง  ลงพื้นที่ครั้งเดียวทำทั้งงานราษฎร์ งานหลวง

• การเลือกพื้นที่  เสนอให้เลือกพื้นที่นำร่อง  เลือกจากพื้นที่ที่พร้อม/มองหา อสม.

• การใช้สุราเป็นตัวนำทำให้ลดความน่าเชื่อถือ  ชาวบ้านสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ก่อนตัดสินใจว่าเป็นคนดี  น่าเชื่อถือหรือไม่

การเลือกพื้นที่ เริ่มจากหมู่บ้านที่มีศักยภาพสูงก่อน  เพื่อความมั่นใจ  แล้วจึงเลือกหมู่ที่ท้าทายต่อไป (ชุมชนเมือง มีศักยภาพในการพึ่งตนเองระดับหนึ่ง)  เป็นไปตามวัตถุประสงค์  บางครั้งไม่มีสิทธิเลือก  มือใหม่  เริ่มจากดูขนาดหมู่บ้าน (ใหญ่มากยุ่งยาก) ไปมาสะดวก  เดินทางง่าย  ระบบในชุมชนไม่ควรซับซ้อนมาก  รู้จักคนที่เป็นตัวเชื่อมในชุมชน

• การกำหนดกิจกรรม  การเลือกกิจกรรมชาวบ้านจะเห็นจากปัญหาที่หนักที่สุดของเขาก่อน  แต่เราทำไหวหรือไม่  ต้องเลือกเรื่องที่เราถนัด  มีความชำนาญก่อน  เมื่อเกิดความสำเร็จขึ้นชาวบ้านจะมั่นใจในตัวเราและตัวเองเพิ่มขึ้น

• การกำหนดกิจกรรม  ต้องให้เกิดจากการตัดสินใจของชาวบ้านหลังจากที่ได้ข้อมูลครบถ้วนเหมาะสม  อย่าไปประกันความสำเร็จ  ให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของ (Real participation) เลือกกิจกรรมที่ชาวบ้านทำได้สำเร็จ

• กลับไปจะทำอะไรต่อ

1. จากการวิเคราะห์ ปัญหา แนวโน้ม และศักยภาพ ถามชาวบ้านว่าอยากทำอะไร  เห็นแนวโน้มกิจกรรม  แล้วหาข้อมูลเพิ่มเอามาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมละเอียด  ดูความเป็นไปได้  แล้วจึงเริ่มดำเนินการ  ข้อผิดพลาดที่พบคือ ขอเงินไว้ก่อน “เงินมา ปัญญามี” โครงการมักล้มเหลว

2. กลับไปเก็บข้อมูลให้มากพอที่จะเห็นภาพของชุมชน  แล้วจึงเริ่มทำกิจกรรมเล็ก  ๆ  ก่อนจึงขยายไปสู่งานใหญ่ขึ้น

 

แล้วพวกเราก็แยกย้ายกันกลับบ้าน  ไปวางแผนทำภารกิจต่อ  นัดพบ  27 - 28 ตุลาคม 2554  นำประสบการณ์กลับมาแลกเปลี่ยน  พัฒนาขั้นต่อไป

แล้วค่อยพบกันอีกนะคะ

ธิรัมภา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท