เคล็ดสำคัญในการดูพระสมเด็จ: “ต้องมีชีวิต”


เคล็ดนี้น่าจะช่วยลดความสับสนในการดูพระสมเด็จไม่ให้ปนกับพระโรงงาน เพราะ พระโรงงานยังทำไม่ได้ แม้จะทำเลืยบแบบก็ไม่เหมือน และไม่เป็นธรรมชาติ

จากการศึกษา "เคล็ด" การดูพระสมเด็จโดยใช้กล้องจุลทรรศน์มาตลอดเวลายาวนานพอสมควร เพื่อจะช่วยให้เราสามารถแยกพระโรงงาน ที่เป็น "ปัญหา" กับคนที่ความรู้ไม่พอใช้ จนทำให้ผมได้พบประเด็นสำคัญ ที่ทำให้ง่ายในการ "หยิบ" พระสมเด็จคือ

หลักฐานที่แสดงว่า

  • พระสมเด็จเคยมี หรือยังมีชีวิต ตามหลักวิวัฒนาการของมวลสาร (ที่มีอายุ)
  •  หรือ แม้วันนี้ก็ยังมีวิวัฒนาการของมวลสารในเนื้อพระอยู่ตลอด

โดยเฉพาะการเกิดฟองเต้าหู้ เนื้อปูด ผงแป้ง และ บ่อน้ำตา

จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพระสมเด็จกับพระโรงงานที่หลงหยิบติดมือกลับบ้าน (ด้วยความไม่รู้ หรือ รู้ไม่เท่าทันและไปหลงตามคำหลอกของ "เซียนวิชามาร" ) โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหม

ที่มักพบว่า พระสมเด็จจะมีหลักฐานสำคัญทางอายุพระ ติดอยู่กับองค์พระทุกองค์ที่ผมมี ที่เป็นหลักฐานแสดงถึงการพัฒนาของมวลสารในเนื้อพระที่สำคัญคือ

  1. เนื้อปูด หรือฟองเต้าหู้ ทำให้ผิวเป็นปุ่ม หรือคลื่น เกินกว่าที่น่าจะมีในสภาพพิมพ์ปกติ
    • ที่ดูเสมือนว่าพิมพ์ดูผิดเพี้ยนไปจากพิมพ์ปกติ
    • ที่เกิดมาจากการหดตัวของโครงสร้างขององค์พระที่มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป  
    • ทำให้น้ำปูนเปลือหอย ละลายตัวออกมา แล้วค่อยๆไหลออกมาที่ผิวด้านนอก
    • ทำให้เกิดเป็นลักษณะ “เนื้องอก” หลากอายุ เป็นวงๆอยู่ในก้อนเดียวกัน ส่วนยอดที่ออกมาใหม่จะดูฉ่ำกว่า ล้อมรอบด้วยคราบเก่าสีน้ำตาลปนเทา (ของน้ำมันตังอิ๊ว) 
    • ที่มีลักษณะต่างจาก เนื้อโปะแห้งๆ พองๆแบบฟองสบู่ ที่อาจมีในพระโรงงาน 
  2. บ่อน้ำตา
    • ที่ส่วนใหญ่จะพบทางด้านหลังองค์พระ
    •  มีลักษณะเหมือนรูน้ำพุ รูเหงื่อ หรือรูน้ำมัน
    • ที่แท้จริงคือ "ปากอุโมงค์ของธารน้ำปูน" จากในเนื้อพระ
    • มีมวลสาร หรือมีร่องรอยการไหลของมวลสารออกมาจากเนื้อพระ
    • ถ้าเป็นบ่อที่หยุดไหลแล้ว จะมีคราบน้ำปูนต่างอายุแห้งสนิท หรือแตกระแหงอยู่โดยรอบ
    • แต่ถ้าบ่อยังไม่ตาย อาจจะยังมองเห็นเนื้อฉ่ำอยู่บริเวณปากบ่อหรือรอบบ่อ

ทั้งสองลักษณะนี้ เป็นการพัฒนาของมวลสารที่น่าจะต้องใช้เวลานานเป็นร้อยปี จึงจะเห็นเป็น “สายธารน้ำปูน” ต่อเนื่องทั้งองค์

ในพระสมเด็จที่อายุประมาณ ๘๐ ปีลงมา จะมีบ้างเล็กน้อย แต่มักไม่กระจายหรือเคลือบทั้งองค์

ลักษณะ "เนื้อปูด" เกินกว่าพิมพ์

ของพระที่ได้อายุ

(ให้สังเกตเนื้องอกใหม่สีขาว ที่ทับบนผิวสีน้้ำตาล)

บ่อน้ำตา และ "สายธาร" ของการไหลของน้ำปูน ที่ผิวพระสมเด็จ ด้านหลัง

 

และถ้ามีหลายลักษณะปะปนกันเช่น บ่อเก่า บ่อใหม่ หลายอายุปะปนกัน ก็จะทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น

ที่จะไม่พบในพระโรงงาน หรือพระที่สร้างขึ้นใหม่ๆ แม้จะใช้มวลสารที่ใกล้เคียงกันก็ตาม

เคล็ดนี้น่าจะช่วยลดความสับสนในการดูพระสมเด็จไม่ให้ไปปะปนกับพระโรงงาน

เพราะ พระโรงงานยังทำให้เหมือนไม่ได้

แม้จะพยายามทำเลืยนแบบอย่างไร ก็ยังไม่เหมือน และยังไม่เป็นธรรมชาติ

เพราะธรรมชาติต้องใช้เวลา แต่โรงงานไม่ใช้ หรือไม่มีเวลา

ฉะนั้น อะไรที่แสดงถึงเหตุการณ์ที่ต้องเกิดยาวนานแบบ "ธรรมชาติ" น่าจะเป็นการแบ่งแยกที่ดี

ลองดูนะครับ

จะไม่พลาดไปหยิบพระโรงงาน (แทนพระสมเด็จ)ให้เสียความรู้สึก

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ขอให้โชคดีทุกท่าน ครับ

หมายเลขบันทึก: 432347เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2011 03:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอขอบคุณความรู้ดีที่มอบให้        ด้วยจิตใสให้ความดีที่สร้างสรรค์

คือความงามจากน้ำใจมอบให้กัน   ความรู้นั้นมีคุณค่ากว่าทรัพย์ใด  

 

รายละเอียดชัดเจนดีมากเลยครับ ขอบคุณมาก จากคนชอบสมเด็จโตครับ

ขออนุญาตออกนอกเรื่องนิดหนึ่งครับท่านอาจารย์

อยากเรียนสอบถามทรรศนะของท่านอาจารย์เกี่ยวกับ "เพชรพญานาค" ครับ

เท่าที่เคยเห็น ของทำจากโรงงานล้วนๆครับ

เก็บไว้เลยครับ ถมบ้านดีอยู่ครับ แต่ไปขอมาอีกก็ดี บอกเขาว่าน้อยไป ไม่พอใช้ครับ

ขอบคุณครับได้ความรู้มากเลยครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ดีครับ สำหรับผมที่กำลังศึกษาอยู่ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท