ผู้หญิงกับผู้นำ


ผู้หญิงเป็นผู้นำ

     ผมเคยสัมภาษณ์ผู้หญิงกับผู้นำมาหลายครั้ง เช่น

1.คุณ สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ

2.คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

3.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

     ช่วงหลังๆผมได้เชิญคุณอุ๊ ( ปิยวดี รมยานนท์ ) และคุณยุ้ย ( วิสาลิญี วังวิทยา )มาเป็นที่ปรึกษาผมและในวันที่ 10 ที่ผ่านมาคุณอุ๊ และคุณยุ้ย ได้กรุณาเชิญผู้นำธุรกิจหญิง 2 ท่านคือ คุณวชิรา จิตศักดานนท์ และคุณหทัยพร สุวรรณเมธาจารย์  มาออก TV ซึ่งเป็นอะไรที่น่าสนใจมากและเป็นผู้หญิงรุ่นใหม่ในวงการธุรกิจ ติดตามรายการ TVได้เร็วๆนี้

     ผู้หญิงเป็นผู้นำได้แต่ขาดความมั่นใจ ผู้หญิงทุกประเทศจะขาดภาวะผู้นำซึ่งมาจากทฤษฏีตัว C คือ Confidence ไม่มีในตัวเอง คำถามก็คือ Confidence สร้างได้หรือไม่ช่วยกันออกความเห็นด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 430764เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2011 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            ในโลกใบนี้มีผู้นำ และผู้บริหารระดับ CEO หลายคนด้วยกันที่เป็นผู้หญิง แต่ก็ยังมองดูว่าเธอเหล่านั้นไม่ค่อยมีความมั่นใจ อาจเป็นเพราะสรีระร่างกาย ความถนัด ความชอบที่แตกต่างจากผู้ชาย และที่สำคัญเธอมีสามีเป็นผู้ชาย

            แต่ในทางทฤษฎีจิตวิทยาเชื่อว่า ความมั่นใจในตัวบุคคล สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งหญิงทั้งชายโดยมีองค์ประกอบ 2 ด้าน ที่สำคัญคือ 1.ด้านพันธุกรรม 2.ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพันธุกรรมก็ได้รับการถ่ายทอดมาทางยีนจะเห็นได้ว่าบางคนจะมีลักษณะบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมก็จะเริ่มตั้งแต่การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว ซึ่งมีความสำคัญมากสามารถที่จะบอกให้รู้ถึงสภาพครอบครัวของคนๆนั้นได้ว่ามาจากครอบครัวลักษณะใด คนที่จะมีความมั่นใจจะต้องมาจากครอบครัวที่มีการปรึกษาพูดคุยกัน ยอมรับฟังความคิดเห็น การตัดสินใจซึ่งกันและกัน อย่างมีเหตุผล และมีหัวหน้าครอบครัวที่เป็นแบบอย่างที่ดี มีความเสมอต้นเสมอปลาย เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่คนในครอบครัว ต่อมาก็จะเป็นการศึกษาเล่าเรียน ครูผู้สอนมีส่วนสำคัญในการ กระตุ้นส่งเสริมให้เด็กกล้าที่จะแสดงออกทั้งคำพูด และพฤติกรรมอย่างเหมาะสม ดังนั้นครูที่ดีจะต้องเป็นครูที่รู้และเข้าใจและสามารถใช้จิตวิทยาในการสอนด้วย สุดท้ายก็จะเป็นสังคมทุกภาคส่วนที่มีความสำคัญในการพัฒนาเด็กที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า โดยเฉพาะบุคคลสาธารณะต่างๆจะต้องมีการแสดงออกที่ดีโดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจและความรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการตัดสินใจ และสามารถเป็นแบบอย่างทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดีซึ่งเป็นที่มาของสังคมประชาธิปไตย เพราะในบางครั้งบุคคลไม่ใช่มีบทบาทเป็นผู้นำตลอดเวลา ถ้าเป็นเช่นนั้นจะเป็นสังคมแบบเผด็จการ ดังนั้นสถาบันที่มีส่วนสร้างความมั่นใจให้แก่บุคคลก็คือ ครอบครัว โรงเรียน และสังคม  

            ดังนั้นประเด็นที่ว่าผู้หญิงเป็นผู้นำได้แต่ขาด self confidence จึงไม่จริง เพราะเมื่อผู้หญิงมีความเชื่อมั่นสูง ผู้ชายจะไม่ยอมรับ หน้าที่การงานก็จะไม่ก้าวหน้า เมื่ออยู่ในครอบครัว สามีก็ไม่ยอมรับ ผู้หญิงจึงต้องลดบทบาทลง จึงทำให้ดูเหมือนว่าผู้หญิงไม่มีความมั่นใจในความเป็นผู้นำเท่าผู้ชาย

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในความคิดเห็นของดิฉัน ผู้หญิงที่เป็นผู้นำทุกคนมีความมั่นใจในตนเองแต่ในการแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำอาจจะไม่ได้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่เท่าผู้ชายที่เป็นผู้นำ สาเหตุอาจจะมาจาก

๑. ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อน การจะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่างๆจะมีการคิด ประเมินสถานการณ์ต่างๆแวดล้อมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างมาก

๒. สังคมแวดล้อมมีส่วนค่อนข้างมากในการแสดงบทบาทภาวะผู้นำของผู้หญิง ถึงแม้ในยุคปัจจุบันจะมีการยอมรับและให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้หญิงมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงของสังคม(โดยส่วนใหญ่ผู้ชายจะเป็นผู้กำหนดและผู้หญิงบางส่วนที่ยังยึดติดกับความคิดเดิมๆ) ยังมีช่องว่างที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถแสดงบทบาทภาวะผู้นำได้อย่างเต็มที่

          ดังนั้นการที่ผู้หญิงจะสามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำได้อย่างเต็มที่นั้น ต้องมีความเชื่อมั่นในอำนาจที่ตนเองมีอยู่ว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆที่จะเิกิดขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของกิจการจะมีความเชื่อมั่นในเรื่องนี้สูง ดังนั้นจึงสามารถแสดงบทบาทภาวะผู้นำได้อย่างเต็มที่ แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่ผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารระดับกลางและระดับต้นที่ยังขาดความเชื่อมั่นในเรื่องนี้

          การที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารระดับกลางและระดับต้นนั้น มีความเป็นไปได้ว่าองค์การต้องสร้างระบบและวัฒนธรรมในการทำงานที่ส่งเสริมให้มีความเท่าเทียมกัน(จริงๆ) เพื่อทำใ้ห้ผู้หญิงกลุ่มนี้เกิดความเชื่อมั่นในอำนาจที่ตนเองได้รับมาและสามารถแสดงบทบาทภาวะผู้นำได้อย่างเต็มความสามารถ

ขอบคุณค่ะที่มีคำถามให้คิด การตอบคำถามนี้ทำให้เกิดคำถามที่น่าจะนำไปเป็นโจทย์ในการวิจัยได้

*เพศไม่ใช่การบ่งชี้การขาดภาวะ C (confidence) ในการเป็น "ผู้นำ"..โอกาสและความพร้อมต่างหากที่สร้างความแตกต่างในการก้าวสู่ความเป็น "ผู้นำ"

*ปัญหาที่ควรคำนึงถึงคือ การมี OC (over confidence) ในการเป็นผู้นำ ..บางคนมีมากจนกลายเป็นการยึด "อัตตา"สูง..หลักพุทธจึงสอนให้ลดลงเสียบ้าง..เพื่อความสุขในการเป็น "ผู้นำ" ที่ดี..ขอบคุณค่ะ..

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันขอแสดงมุมมองในด้านครอบครัวไทย ซึ่งตั้งแต่อดีต มาจนปัจจุบันผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ยอมรับสถานะความเป็นผู้นำของตนเองด้วยความภูมิใจ เต็มใจ และเชื่อมั่นอย่างสุดใจทีเดียวว่า สามีมอบอำนาจการเป็นผู้นำภายในบ้านให้ตัวเอง จึงเป็นที่มาของคำว่าเบื้องหลังความสำเร็จของผู้ชายส่วนใหญ่มาจากผู้ที่อยู่ข้างหลังคือผู้หญิงหรือภรรยา ดังนั้นผู้หญิงจึงยึดสถานะนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าโลกจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปกี่ศตวรรษ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงไทย แต่เป็นส่วนใหญ่ในโลกนี้ด้วยซ้ำ ดิฉันคิดว่าหากตัวผู้หญิงเองยังเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า มารยาห้าร้อยเล่มเกวียนสามารถทำให้ผู้ชายสยบแทบเท้าได้ การจะเกิดผู้นำผู้หญิงที่แท้จริงในสังคม ที่ทุกคนจะยอมรับในความสามารถ อำนาจและอิทธิพล (ซึ่งผู้นำที่เป็นผู้ชายทุกคนพึงมีตามตำรา) ในโลกของความเหลื่อมล้ำ และหลงผิดนี้ คงยากเต็มทีพอกับงมเข็มในมหาสมุทรทีเดียว (ยกเว้นผู้นำทางการเมืองบางประเทศ เช่น นางมาร์กาเร็ตแทตเชอร์ นางอินธิรา คานธี)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท