ผลของสารกรีนแม็กซ์ที่มีผลต่อระดับความสูงและน้ำหนักฝักของงาดำ


ผลของสารกรีนแม็กซ์ที่มีผลต่อระดับความสูงและน้ำหนักฝักของงาดำ

Influnc of Green Max on the Hight and Pod weight of Black Searane

                ได้มีการทดลองนำเมล็ดงาดำ มาปลูกลงในกระถาง แล้วมีการให้สารปรับปรุงดิน ได้แก่ สารกรีนแม็กซ์ในอัตรา 5,10,15 ลบ.ซม. เปรียบเทียบกับการไม่มีการให้สารปรับปรุงดินใด ๆ  ผลการทดลองพบว่า การให้สารกรีนแม็กซ์  มีผลทำให้ระดับความสูงและน้ำหนักฝักของงาดำ/กระถาง แตกต่างจากการไม่ให้สารปรับปรุงดินใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยพบว่าการให้สารปรับปรุงดินชนิดกรีนแม็กซ์ ให้ค่าความสูงเฉลี่ยของงาดำ /กระถางสูงสุด คือ 51 ซม.ที่ระดับความเข้มข้นของสาร 15 cc/กระถาง การให้สารปรับปรุงชนิดกรีนแม็กซ์ ให้ค่าความสูงเฉลี่ยของงาดำ /กระถางต่ำสุด คือ 36.37 ซม.ไม่ใส่สารปรับปรุงดินลงในกระถาง   ส่วนการให้สารปรับปรุงดินชนิดกรีนแม็กซ์ ให้ค่าความสูงเฉลี่ยของงาดำ /กระถาง คือ 51 ซม./กระถาง ซึ่งไม่ใกล้เคียงกับการที่ไม่มีการให้สารปรับปรุงดินใด ๆ คือ ให้ค่าความสูงเฉลี่ยของงาดำ /กระถาง เท่ากับ 30 ซม./กระถาง และการเปรียบเทียบการให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์ให้น้ำหนักค่าเฉลี่ยของฝักงา/กระถางสูงสุด คือ 3.50 กรัม/กระถาง การไม่ให้สารปรังปรุงดินใดๆให้น้ำหนักค่าเฉลี่ยของฝักงา/กระถางต่ำสุด คือ 0.67 กรัม/กระถาง   ดังนั้นการให้สารกรีนแม็กซ์ที่เหมาะสำหรับการปลูกงาดำ คือ สารกรีนแม็กซ์ที่มีความเข้มข้น 10 ลบ.ซม. เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของงาดำมากที่สุด

ตารางที่ 1 ความสูงของต้นงาดำ/กระถาง (เซนติเมตร ) ที่อายุ 3 เดือน                                                  

Treatment

Replication

รวม

เฉลี่ย

1

2

3

4

ไม่ใส่สารกรีนแม็กซ์

34.5

23

26.5

36

120

30

     สารกรีนแม็กซ์ 5cc.

37

38

31.5

39

145.5

36.37

สารกรีนแม็กซ์ 10cc.

46

51.5

43

60

200.5

50.12

สารกรีนแม็กซ์ 15cc.

52.5

37.5

64

50

204

51

 

     

 

 

 

 

                                                                          

จากตารางที่ 1 พบว่า การให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์  มีผลทำให้การเจริญเติบโตของต้นงา /กระถาง แตกต่างจากการไม่ให้สารปรับปรุงดินใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 1)

โดยพบว่า

-การให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์ 5 ลบ.ซม ให้ค่าความสูงเฉลี่ยของต้นงา /กระถางสูงสุด คือ 26.37 ซม./กระถาง

-การให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์ 10 ลบ.ซม ให้ค่าความสูงเฉลี่ยของต้นงา /กระถางสูงสุด คือ 50.12 ซม./กระถาง  

-การให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์ 15 ลบ.ซม ให้ค่าความสูงเฉลี่ยของต้นงา /กระถางสูงสุด คือ 51 ซม./กระถาง

-การไม่ให้สารปรับปรุงดินใด ๆ คือ ให้ค่าความสูงเฉลี่ยของต้นงา /กระถางสูงสุด เท่ากับ 30 ซม./กระถาง

ตารางที่ 2 น้ำหนักของฝักงาดำและเมล็ดงาดำที่แห้งแล้ว/กระถาง (กรัม ) ที่อายุ 3 เดือน

Treatment

Replication

รวม

เฉลี่ย

1

2

3

4

ไม่ใส่สารกรีนแม็กซ์

0.43

0.62

0.76

0.88

2.69

0.67

     สารกรีนแม็กซ์ 5cc.

1.56

1.28

0.83

0.32

      3.99

0.99

สารกรีนแม็กซ์ 10cc.

3.81

4.41

0.98

4.81

14.01

3.50

สารกรีนแม็กซ์ 15cc.

2.79

1.44

1.04

1.42

6.69

1.67

 

 

 

 

 

 

 

จากตารางที่ 2 พบว่า การให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์  มีผลทำให้การเจริญเติบโตของต้นงา /กระถาง แตกต่างจากการไม่ให้สารปรับปรุงดินใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 2)

โดยพบว่า

-การให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์ 5 ลบ.ซม ให้น้ำหนักเฉลี่ยของฝักงาดำ /กระถางสูงสุด คือ 0.99 กรัม/กระถาง

-การให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์ 10 ลบ.ซม ให้น้ำหนักเฉลี่ยของฝักงาดำ /กระถางต่ำสุด คือ3.50 กรัม/กระถาง  

-การให้สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์ 15 ลบ.ซม ให้น้ำหนักเฉลี่ยของฝักงาดำ /กระถาง คือ 1.67กรัม/กระถาง

-การไม่ให้สารปรับปรุงดินใด ๆ คือให้น้ำหนักเฉลี่ยของฝักงาดำ /กระถาง เท่ากับ 0.67กรัม./กระถาง

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ น่าจะเนื่องมาจากสารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์  เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยในอัตราที่สูงมากสารกรีนแม็กซ์นี้ มีผลในการช่วยปรับปรุงดินโดยในดินที่ปลูกงานั้น สารกรีนแม็กซ์สามารถที่จะทำให้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปของปุ๋ยเคมี ได้ถูกทำละลายไปอยู่ในรูปของงาสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่มากที่สุด จึงทำให้ไม่เกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชไปในรูปของปุ๋ยตกค้าง (นิรนาม, มปป.) เมื่อต้นงาสามารถเกิดการใช้ธาตุอาหารพืชได้อย่างเต็มที่มากที่สุดแล้ว จึงมีผลทำให้ต้นงาดำมีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ผลก็คือทำให้ได้ค่าความสูงเฉลี่ยต่อกระถางมากที่สุด (ตารางที่1) และค่าน้ำหนักสูงเฉลี่ย (ตารางที่2) ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ควรมีการทำการทดสอบซ้ำ กับงาสายพันธุ์อื่น ๆ ในดินของแปลงที่มีการปลูกงาที่อื่น ๆ ดูบ้าง เพื่อที่จะได้เป็นการตรวจสอบได้ว่า สารปรับปรุงดินกรีนแม็กซ์นั้น จะสามารถทำให้ต้นอ้อยมีการเจริญเติบโตได้ดีที่แตกต่างไปจากผลการทดลองในครั้งนี้หรือไม่อย่างไร

ชยพร  แอคะรัจน์

...


คำสำคัญ (Tags): #ชยพร#เกษตร
หมายเลขบันทึก: 429645เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2015 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท