วิกฤตอาชีพเกษตรกรในประเทศไทย


https://sites.google.com/site/alrolearningcenter/

          ปีนี้ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปที่ดินได้จัดฝึกอบรมไปแล้วประมาณ 9 ครั้ง(ไม่นับรวมองค์กรอื่นที่มาขอใช้สถานที่) ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้เข้าร่วมและสังเกตการณ์การอบรม.....

         ทุกครั้งที่ท่านรองฯวีระชัย นาควิบูลย์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดท่านจะกล่าวเน้นย้ำและให้โอวาทในเรื่องการทำงานและวิกฤตด้านการเกษตรที่เราต้องช่วยกันแก้ไข  เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ "วิกฤตอาชีพเกษตรกรในประเทศไทย"

        ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศ และถือได้ว่าเป็นประเทศซึ่งส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก

        "สัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 36 ของโลก    ประเทศไทยมีพื้นที่ซึ่งเหมาะต่อการเพาะปลูกกว่า 27.25%    ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 55% ใช้สำหรับการปลูกข้าว ส่วนพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ยางพารา ผักและผลไม้ต่าง ๆ รวมไปถึงมีการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น วัว สุกร เป็ดไก่ สัตว์น้ำทั้งปลาน้ำจืด ปลาน้ำเค็มในกระชัง การทำนากุ้ง การเลี้ยงหอย รวมไปถึงการประมงทางทะเล เนื่องจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพรรณธัญญาหารตลอดปี จึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกเป็นอันดับที่ 5"  ที่มา:วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี

        ท่านรองฯวีระชัย นาควิบูลย์กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ชาวประมง อายุเฉลี่ยของกลุ่มอาชีพนี้จะอยู่ที่ 40-45 ปี ซึ่งเป็นกลุ่ม 'Gen-B' (Generation B)  หรือ Baby Boomers เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2490-2508 ที่ปัจจุบันจะมีอายุอยู่ในระหว่าง 45-63 ปี ซึ่งเป็นประชากรที่อยู่ในช่วงที่ร่างกายเริ่มถอยลง(ช่วงผู้ใหญ่ตอนกลาง หรือ ช่วงวัยทอง)

        แต่กลุ่มประชากรประเทศที่อยู่ในกลุ่ม ′Gen-X′ (Generation X) ตัว X นี้ มาจากเครื่องหมายกากบาท ซึ่งหมายถึงยุคที่ประชากรอยู่ในช่วงคุมกำเนิด คือคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508-2522 อายุ 30-44 ปี เป็นลูกของ 'Gen-B'.... และ(Generation Y) คือคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523-2543 อายุ 9-29 ปี เป็นลูกเป็นหลานของสองกลุ่มข้างต้น กลับลดน้อยลงในภาคการเกษตร (ผมจะไม่พูดถึง  ′Gen-Z′ (Generation Z) กลุ่มอายุน้อยที่สุดในปัจจุบัน เป็นผู้ที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน หรืออายุ 1-16 ปีนะครับให้ไปวิเคราะห์กันเอาเอง)

         วิกฤตที่ทำให้ ′Gen-X′ และ'Gen-Y′ หายไปจากภาคการเกษตร มีหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและการปลูกฝังค่านิยมของ Gen-B ที่มองว่า อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่ลำบากมีปัจจัยเสี่ยงในการทำอาชีพนี้หลายด้าน เช่น การกดราคาสินค้า ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น สภาพดินฟ้าอากาศ ศัตรูพืช ฯลฯ

         สิ่งที่สำคัญที่สุดในหลายปัจจัย คือ ....การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและกระแสบริโภคนิยม...  

         ทุกวันนี้ทัศนคติของคนในสังคมเปลี่ยนไป รวดเร็ว เร่งรีบ แข่งขันกันในเรื่องเทคโนโลยี

       ท่านรองฯวีระชัย นาควิบูลย์ อธิบายว่า ′Gen-X′ เป็นลูกหลานของ Gen B   คนกลุ่มนี้เรียกได้อีกอย่างว่า Yuppie (Young Urban Professionals) เพราะเกิดมาพร้อมกับความมั่งคั่งของโลก จึงมีความคิดกว้าง มีพฤติกรรมง่าย ๆ สบายดี ให้ความสำคัญในเรื่องงานและครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน 

       ส่วน ′Gen-Y′ เป็นลูกเป็นหลานของ′Gen-B′ และ ′Gen-Y′ กลุ่มนี้มีค่านิยมที่เปลี่ยนไปด้วยเติบโตมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ทั้งจากค่านิยมที่แตกต่างจากรุ่นปู่ย่าตายายกับรุ่นพ่อแม่ ขณะเดียวกันก็ก้าวไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าทั้งคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไอที  คนกลุ่มนี้จะเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบมีเงื่อนไข และไม่อยู่ในกรอบ ชอบการสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า ขณะเดียวกันก็ชอบความชัดเจนในเป้าหมาย

           สรุป   ในฐานะที่เราเป็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรโดยตรง ต้องหาวิธีการที่จะทำให้อาชีพเกษตรกรรมให้คงอยู่ต่อถึง ′Gen-Z′ โดยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในภาคการเกษตรให้เหมาะสมกับยุคสมัย และสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่

          เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในที่ดินของเกษตรกรที่ถือครอง..ที่นับวันจะลดน้อยลง....ไป...พร้อมกับอาชีพของเขาเอง....

 

หมายเลขบันทึก: 428834เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2011 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • กล่าวถึงเรื่องอาชีพเกษตรกรรมในประเทศไทยกำลังถดถอยลงอย่างที่ท่านว่าจริง ๆ ครับ จากผลการสำรวจที่ผมเคยอ่านเจอเขาบอกว่า ประเทศไทยลงทุนในการทำเกษตรกรรมมากกว่าประเทศเวียดนาม เพราะไทยใช้ปุ๋ยเคมีและผลผลิตที่ออกแทนที่จะมากกว่าแต่ดันกลับกลายเป็นน้อยกว่า
  • แต่ประเทศเวียดนามมีการใ้ช้ระบบการบริหารประเทศโดยส่งเสริมเกษตรกรรม และมีการลดภาษีแก่เกษตรกร และเพิ่มผลกำไรให้แก่เกษตรกรอีกด้วย เพื่อเป็นการกระุตุ้นการผลิตผลผลิตทางเกษตรกรรม  เพราะผู้บริหารวางแผนที่จะส่งออกอาหารเลี้ยงประชากรโลก เพราะอาหารจำพวกข้าวจะต้องบริโภคทุกวัน ในการปลูกผลผลิตทางเกษตรนั้นเขาส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยธรรมชาติ และผลผลิตที่ได้มีมากกว่าไทยถึงและลงทุนน้อยกว่าอีกด้วย
  • ประเทศไทยน่าจะหันมาให้ความสนใจในสิ่งดี ๆ ที่ตนมีอยู่แ้ล้ว  เช่น การพัฒนาเกษตรกรรมให้รุ่งเรืองมากขึ้น  ดีกว่าการไปสนใจอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยเครื่องจักรจากต่างประเทศ เปรียบเทียบดูแล้วการทำอุตสาหกรรมก็ต้องพึ่งชาติอื่น แต่เกษตรกรรมเราสามารถทำด้วยตนเองเพราะมีภูมิปัญญามาอย่างยาวนานอยู่แล้ว
  • ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาให้อ่านนะครับ

ขอบคุณครับ...คุณวศิน ชูมณี ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น...ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท