บทคัดย่องานวิจัย ม.นเรศวร


เรื่องเครื่องดื่มสมุนไพรและไวน์ไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และเรื่อการวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมของไวรัสไข้หวัดนกที่แยกได้จากนกเป็ดผีเล็กในประเทศไทยง

บทคัดย่องานวิจัย

เรื่อง   เครื่องดื่มสมุนไพรและไวน์ไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

โดย.   นิทรา  เนื่องจำนงค์ และคณะ

                ประชาชนตื่นตัวในเรื่องการดุแลสุขภาพ และอนามัย การชะลอความแก่ การป้องกันการเกิดโรค  ดังนั้นสารที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงเป็นที่นิยมบริโภค  สมุนไพรของไทยมีหลายชนิด และประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าเครื่องดื่มสมุนไพร มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ดี  ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยใช้ DPPH Assay ในการประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ชนิด ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี สงขลา เมื่อปี พ.. 2548-2549  โดยการนำเครื่องดื่มสมุนไพรชนิดน้ำและไวน์ไปวิเคราะห์โดยตรง  เครื่องดื่มผง ตวง 2 ช้อนชา  ละลายน้ำ 100 มิลลิลิตร  ชาชง 1 ซอง  น้ำหนัก 2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร แช่ทิ้งไว้ 5 นาที  แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

                ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ร้อยละ) = ค่าดูดกลืนแสงตัวควบคุม-ค่าดูดกลืนแสงตัวอย่าง

ค่าดูดกลืนแสงตัวควบคุม x 100

เครื่องดื่มร้อยละ 32.5 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มากกว่า ร้อยละ 80  ไวน์ สมุนไพร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาชงและเครื่องดื่มน้ำ เครื่องดื่มผงมีฤทธิ์น้อยที่สุด

ในการสำรวจฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเครื่องดื่มสมุนไพรและไวน์ พบว่า จำนวน 106  ตัวอย่าง จาก 32 ตัวอย่าง ร้อยละ 32.5 มีฤทธิ์ ในการต้านสูงกว่าร้อยละ 80  เครื่องดื่มชง และสมุนไพร เช่น รางจืด  หญ้าหนวดแมว  ชาจีน  พลูด่าง ชาเขียว  ชาฤาษี  ฟ้าทะลายโจร  หญ้าหวาน  บอระเพ็ด  กระเจี๊ยบ  ดอกคำฝอย  มะตูม  ใบบัวบก   ประเภทเครื่องดื่ม เช่น น้ำมะขามป้อม  น้ำสมอไทย  น้ำมะม่วงหิมพานต์  น้ำมะเกี๋ยว  น้ำกระเจี๊ยบ  น้ำมะเฟือง  น้ำเม่า  น้ำองุ่น  น้ำลูกยอ  น้ำมะยม  น้ำสตอเบอรี่

การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอธิบาย  โดยวิธี DPPH assay  สามารถใช้ประเมินฤทธิ์เบื้องต้นได้ เป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน  ผลการวิจัย แสดงให้เห็นถึงวิธีที่มีประสิทธิภาพในการประเมินอนุมูลอิสระของเครื่องดื่มพร้อมบริโภค  อาจใช้เป็นข้อมูลเพื่อเพิ่มมูลค่าของสมุนไพร ที่ผลิตเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารเสริมสุขภาพ และใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค ส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมาใช้สมุนไพร ในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น เพราะมีผลงานวิจัยรองรับ


บทคัดย่อ

เรื่อง  การวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมของไวรัสไข้หวัดนกที่แยกได้จากนกเป็ดผีเล็กในประเทศไทย

โดย.  นิคม  นาคสุพรรณ และคณะ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้  เพื่อหาลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้งหมด  ของไวรัส  InfluenzaAA/little grebe/Thailand ที่แยกได้จากนกเป็ดผีเล็กในประเทศไทย  และทำการเปรียบเทียบกับไวรัส Influenza  ที่มีการระบาดสัตว์ปีกในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับไวรัสที่มีการระบาด  H5N1  จัดอยู่ในจีโนไทด์ Z  โดยมีการขาดหายไปของโปรตีน Neuraminidase จำนวน 20 กรดอะมิโน  และมีการขาดหายไปของโปรตีน    จำนวน 5 กรดอะมิโน  ที่บริเวณ HAO cleavage site พบการเรียงตัวของกรดอะมิโน ที่เรียกว่า Polybasic amino acid ซึ่งเป็นลักษณะของไวรัสก่อโรครุนแรง  มีการกลายพันธุ์ของโปรตีน M2  ที่ตำแหน่ง 31  จาก Serine เป็น Asparagine ซึ่งเป็นลักษณะของไวรัสที่สามารถต่อต้านต่อยา Amantadine ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของยีน  HA และ NA  พบว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสที่แยกได้จากสัตว์ปีกและจากคน  ความเหมือนกันของลำดับนิวคลีโอไทด์ และความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ  แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างไวรัสที่แยกได้จากสัตว์ปีก และจากนกน้ำ ในช่วงเวลาเดียวกัน  จากผลทั้งหมดอาจกล่าวได้ว่าไวรัสที่มีการระบาดในประเทศไทยเป็นไวรัสที่มีแหล่งกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 42823เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2006 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท