E-learning ในสังคมไทยกับงานวิจัยกฎหมาย


E-learning ในสังคมไทยกับงานวิจัยกฎหมาย

เนื่องจากตัวเองกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องธุรกิจการให้บริการการศึกษาในสังคมไทยบนอินเทอร์เน็ต : มุมมองทางกฎหมายและนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งมีชื่อเก๋ ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า E-learning Business in Thai Society ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ กฎหมาย

ขณะที่กำลังทำอยู่จนถึงปัจจุบันที่กำลังจะส่งเล่มมักจะได้รับคำถามว่า เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับกฎหมายตรงไหน?? และเกี่ยวข้องอย่างไรน้า?? และที่สำคัญคือมันเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศอย่างไร??

ประการแรกเลยสิ่งที่เราศึกษา คือ ศึกษาสถานการณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า E-learning ในสังคมไทยนั้นเป็นอย่างไรเป็นการสำรวจถึง ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ประการที่สอง เราศึกษา สถานการณ์ด้านข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ E-learning ว่ามีกฎหมายใดบ้างที่ใช้กับเรื่องนี้

ประการต่อมา เราศึกษาว่าภาครัฐได้มีนโยบายอย่างไรบ้างเพื่อนำมาจัดการกับ E-learning ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

 เมื่อศึกษาถึงทุกเรื่องแล้วเราต้องไม่ลืมองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมนั้นคือ "เอกชน" ดังนั้นและประการสุดท้าย เราศึกษาถึงเอกชนมีการจัดการกับ E-learning อย่างไรบ้าง

จะเห็นได้ว่างานวิจัยของเราเป็นงานวิจัยในลักษณะสังคมวิทยากฎหมาย (Sociology of law) ซึ่งเป็นคำที่นักกฎหมายที่เรียนนิติปรัชญาทุกคนต้องรู้ แต่ไม่ค่อยมีงานวิจัยในลักษณะนี้มากนักในสังคมไทย จากวัตถุประสงค์ในการศึกษาที่ว่าเป็นการศึกษาสถานกาณ์ด้านข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และนำสถานการณ์ดังกล่าวสามารถปรับใช้กับกฎหมายที่มีอยู่ และถ้าหากไม่มีกฎหมายจำเป็นหรือไม่ที่ต้องออกกฎหมายเฉพาะในเรื่องนี้--ก็จะตอบคำถามแรกได้แล้วซิว่า งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกฎหมายได้อย่างไร

เอ!! แล้วมันเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศได้ยังไง

มีใครเคยได้ยินคำกล่าวนี้ไม๊ "Internet is an international by nature." เรื่อง E-learning นั้นเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนโดยตัดข้อจำกัดทางระยะทาง เวลา ออกไป เพื่อให้ผู้รับสื่อได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้นเมื่อการเรียน E-learning จำเป็นต้องเรียนโดยใช้อินเทอร์เน็ต ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้วอินเทอร์เน็ตเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นE-learning จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายระหว่างประเทศ

ในการสำรวจกฎหมายเราสำรวจถึงพันธกรณีที่ประเทศไทยเป็นภาคี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าสู่ตลาดของ E-learning ซึ่งจะต้องไปด WTO, GATS ซึ่งมีหลักสำคัญคือหลักการปะติบัติเยี่ยงคนชาติ National Treatment หลักชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง Most Favoured Nation  และสุดท้ายหลักเรื่องความโปร่งใสของรัฐ หรือเสรีภาพในการประกอบการที่เราไปเป็นภาคีอนุสัญญาสิทธิในทางเศรษฐกิจ 1984

และเมื่อประเทศไทยเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ เมื่อเราไปทำสนธิสัญญาไม่ว่าจะเป็นพหุภาคี หรือทวิภาคี เราก็ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่เราเข้าไปเป็นภาคี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 42822เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2006 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

archanwell เมื่อ พฤ. 25 พฤษภาคม 2549 @ 21:39 จาก 58.9.92.38   ลบ
e-learning อาจนำไปสู่โอกาสในการศึกษาตามอัธยาศัย

สำหรับอาจารย์ มันเป็นโอกาสในพัฒนาของมนุษย์

---------------------------------------------------------------

อาจารย์โก๋ เมื่อ พฤ. 25 พฤษภาคม 2549 @ 21:52 จาก 203.144.187.18   ลบ
แล้วเว็บ gotoknow เป็น e learning ด้วยรึเปล่า

แต่ ถ้า e learning หมายถึง การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ การมีวงแลกเปลี่ยน มีครูมาสอน ถึงแม้จะไม่มีการสอบ แต่ก็มีการประเมินโดยสังคม แค่นี้ก็จะเป็น e learning หรือ การเรียนการสอนทางไกลแล้วหละ

---------------------------------------------------------------
archanwell เมื่อ พฤ. 25 พฤษภาคม 2549 @ 22:43 จาก 58.9.92.38   ลบ
เห็นด้วย gotoknow เป็นทั้งห้องเรียน ห้องเสวนา ห้องสมุด

---------------------------------------------------------------

ตั้งแต่จบ ป.โท ก็ไม่ได้เจอกันอีกเลย search มาเจอจึงทราบว่าเพื่อนเราไปเป็นอาจารย์อยู่อุบลซะแล้ว

สบายดีเปล่า สอนหนังสือสนุกมั้ย

ปัจจุบันผมเป็นรองอัยการจังหวัดอยู่ที่ตะกั่วป่า จ. พังงา ทำหน้าที่ช่วยเหลือทางกม. แก่ประชาชน

ติดต่อผมได้ตามอีเมล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท