ลักษณะการซื้อขาย-แลกเปลี่ยน การซื้อขาย


ลักษณะการซื้อขาย-แลกเปลี่ยน การซื้อขาย

ลักษณะการซื้อขาย-แลกเปลี่ยน

 การซื้อขาย

                การซื้อขาย  (اَلْبَيْعُ) ตามหลักภาษา หมายถึง การแลกเปลี่ยนสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง หรือการให้สิ่งที่มีราคา (สินค้า) และเอาราคาหรือกลับกัน เรียกการซื้อว่า “อัชชิรออฺ” (اَلشِّرَاءُ) และเรียกผู้ซื้อว่า อัล-มุชตะรีย์(اَلمُشْتَرِىْ)  เรียกการขายว่า อัล-บัยอฺ   (اَلْبَيْعُ) และเรียกผู้ขายว่า อัลบาอิอฺ (اَلْبَائِعُ)

                ส่วนนิยามตามศาสนบัญญัติ หมายถึง การทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นทรัพย์สินกับทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ได้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งครอบครองตลอดไป โดยมีคำเสนอและคำสนอง

 บัญญัติว่าด้วยการซื้อขาย

                ข้อตกลงซื้อขายเป็นสิ่งที่อนุมัติในอิสลาม ดังมีหลักฐานปรากฏ ดังนี้

(1)หลักฐานจากอัล-กุรฺอาน ว่า:

 ¨@ymr&ur ª!$# yìø‹t7ø9$# tP§ymur (#4qt/Ìh9$# 4  ÇËÐÎÈ…….

              ความว่า“และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขายและทรงห้ามเรื่องดอกเบี้ย”

(สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 275)

 (2) หลักฐานจากอัล-หะดีษ ว่า :

                   أَيُّ الْكَسْبِ أَطْيَبُ فَقَالَ:عَمَلُ الرَّجُلِ بِيَدهِ ، وَكُلُّ بَيْعٍ مَبْرُوْرٍ

          ความว่า “การประกอบอาชีพอันใดเล่าที่ดีที่สุด? นบีมุฮัมมัดตอบว่า : คือการที่บุคคลทำงานด้วยมือของเขาเอง และทุกๆ การซื้อขายที่ดี”

(รายงานโดย อัล-หากิม)

            และอัล-หะดีษที่รายงานโดย ซุบัยรฺ อิบนุ อัล-เอาวาม จากนบีมุฮัมมัด ว่า :

لأَنْ يَأْ خُذَ أَحَدُكُمْ حَبْلَهُ ، فَيَأْتِيْ بِحُزْمَةِالْحَطَبِ عَلٰى ظَهْرِه ،

فَيَبِيْعَهَا فَيَكُفَّ اللهُ بِهَا وَجْهَهُ خَيْرٌلَهُ مِنْ أَنْ يَسْأَلَ الَّنَاس ، أَعْطَوه أَوْمَنَعُوْهُ

          ความว่า “การที่ผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านจะเอาเชือกของเขา แล้วเขาก็นำมาด้วยมัดฟืนบนหลังของเขา อันเป็นเหตุให้เขาขายมัดฟืนนั้น และเป็นเหตุให้อัลลอฮฺทรงรักษาใบหน้าของเขา  นั่นย่อมเป็นการดีที่สุดสำหรับเขาผู้นั้น แทนที่เขาจะไปเที่ยวขอผู้คน ไม่ว่าผู้คนจะให้เขาหรือไม่ให้ก็ตามที”

(รายงานโดยอัล-บุคอรียฺ )

องค์ประกอบการซื้อขาย

                การซื้อขายจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เมื่อครบองค์ประกอบดังต่อไปนี้

                            (1) ผู้ขายและผู้ซื้อ

                            (2) สินค้า

                            (3) ราคาสินค้า

                            (4) การเสนอขายและการสนองรับ

  เงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อขาย

                การซื้อขายเป็นการทำข้อตกลง และข้อตกลงทุกอย่างนั้น จำต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งกล่าวมาแล้ว และในแต่ละองค์ประกอบ จะต้องมีเงื่อนไขกำกับเพื่อให้เป็นข้อตกลงที่มีผลใช้ได้และถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ดังนี้

                (1) ผู้ขายและผู้ซื้อ มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

                            1.1 ต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบตนเองได้ หมายถึง บรรลุศาสนภาวะ มีสติปัญญาสมบูรณ์ และมีความสามารถดูแลทรัพย์สินของตนได้เป็นอย่างดี

                            1.2  เป็นผู้มีความสมัครใจในการมีเจตนาทำข้อตกลงซื้อขาย กล่าวคือ ในขณะซื้อหรือขาย ผู้ซื้อและผู้ขายมีเจตนาดำเนินการโดยอิสระ และมีความพึงพอใจ

                            1.3 ผู้ขายและผู้ซื้อต้องเป็นคนละคน

                            1.4 มีการมองเห็น ดังนั้นการซื้อขายของคนตาบอดจึงใช้ไม่ได้ เว้นเสียแต่เมื่อ    คนตาบอดได้มอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำการแทนในเรื่องการซื้อขาย และผู้รับมอบอำนาจมีเงื่อนไขครบก็ถือว่าใช้ได้

                (2) สินค้าและราคา ในการซื้อขายที่ถูกต้องสมบูรณ์ มีเงื่อนไขกำหนดคุณลักษณะสินค้าและราคาดังต่อไปนี้

                            2.1 สินค้าต้องมีอยู่แล้วขณะทำข้อตกลงซื้อขาย  ศาสนาไม่อนุมัติให้ขายสินค้าที่ยังไม่มี เช่น ขายผลไม้ที่ยังไม่มีที่ต้น หรือขายลูกสัตว์ที่แม่ของมันจะตั้งท้อง ในทำนองเดียวกันห้ามขายสินค้าที่เหมือนกับไม่มีขณะทำข้อตกลง เช่น ขายลูกสัตว์ที่แม่ของมันกำลังตั้งท้องอยู่ หรือขายน้ำนมที่มีอยู่ในเต้านม เป็นต้น เนื่องจากมีหลักฐานจากอัล-หะดีษระบุว่า :-

لاَتَبِعْ مَالَيْسَ عِنْدَكَ

          ความว่า  “ท่านอย่าขายสิ่งที่ไม่มี ณ ที่ท่าน”

                                                        (รายงานโดย อบูดาวูด )

                                2.2 สินค้าและราคา ต้องเป็นทรัพย์สินที่มีราคาและสะอาดตามศาสนบัญญัติ ดังนั้นการซื้อขายสิ่งของที่เป็นณะญิส เช่น ของมึนเมา (สุรา) และสิ่งต้องห้ามตามบัญญัติศาสนา เช่น ซากสัตว์ที่ตายเอง โดยไม่ได้ทำการเชือดตามบัญญัติศาสนาหรือเลือดหรือมูลสัตว์หรือสุนัข จึงใช้ไม่ได้เนื่องจากมีหลักฐานจากอัล-หะดีษระบุว่า :

إِنَّ اللّٰهَ وَرَسُوْلَهُ حَرَّمَ بَيْعَ الْخَمْرِوَالْمَيْتَةِ وَالْخِنْزِيْرِوَالأَصْنَامِ

          ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ได้ห้ามการซื้อขายสุรา  ซากสัตว์ที่ตายเอง สุกร และเจว็ด”

                                            (รายงานโดย อัล-บุคอรียฺ  และมุสลิม )

สำหรับสินค้าที่แต่เดิมสะอาด แล้วต่อมาเปื้อนนะญิส แต่สามารถขจัดนะญิสนั้นออกไปได้ เช่น เนยแข็ง ที่มีนะญิสตกลงไปเมื่อตักนะญิสและรอยเปื้อนออกไป ก็เป็นที่อนุมัติให้ซื้อขายได้ ส่วนสินค้าที่แต่เดิมสะอาด แล้วปนเปื้อนนะญิส เช่น น้ำส้มสายชู  นม  น้ำมัน  เนยเหลว และของเหลวอื่นๆ ที่มีนะญิสตกลงไปแล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้อีกต่อไป ก็ไม่เป็นที่อนุมัติให้ทำการซื้อขาย โดยเทียบเคียงกับสิ่งที่เป็นนะญิสและสิ่งต้องห้ามมาแต่เดิม

                2.3 สินค้าและราคาต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ตามบัญญัติศาสนาและตามประเพณีนิยม ดังนั้นการซื้อขายสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ที่มีพิษหรือยาเสพติดประเภทต่างๆ หรือเครื่องเล่นที่ศาสนาห้ามเอาประโยชน์จากมันก็ถือว่าใช้ไม่ได้

                2.4 สินค้าและราคาต้องอยู่ในภาวะที่สามารถจะส่งมอบให้ผู้ซื้อได้จะโดยทันที หรือจะด้วยสัญญาซื้อขายก็ตาม  ดังนั้นการซื้อขายทรัพย์สินที่หายไป หรือถูกอายัด หรือถูกจำนองเอาไว้ หรือการซื้อขายสินค้าที่มิอาจแยกส่วนได้ โดยหากแยกส่วนแล้วจะทำให้ราคาลดลง หรือชำรุดเสียหายเอาประโยชน์มิได้ ก็ถือว่าใช้ไม่ได้

                2.5 สินค้าหรือราคาต้องอยู่ในอำนาจ  ด้วยการปกครองหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของคู่ตกลงซื้อขาย ดังนั้นการที่ผู้เป็นเจ้าของซื้อขายทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตน หรือผู้ปกครอง หรือผู้จัดการที่ถูกแต่งตั้งไว้ทำการซื้อขายทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่อยู่ในการปกครอง หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ (وَكِيْلٌ) ทำการซื้อขายทรัพย์ของผู้อื่นที่ถูกมอบอำนาจให้ตน (مُوَكِّلٌ) ทั้งหมดถือว่าใช้ได้ ฉะนั้นถ้าหากบุคคลที่เข้าไปดำเนินการซื้อขายไม่มีอำนาจในทรัพย์สินและไม่อยู่ในฐานะของบุคคลที่ถูกระบุข้างต้น การดำเนินการดังกล่าวก็ถือว่าเป็นโมฆะ เนื่องจากมีหลักฐานในอัล-หะดีษระบุว่า :

لاَ بَيْعَ إِلاَّ فِيْمَا تَمْلِكُ

              ความว่า “ไม่มีการซื้อขายนอกจากในสิ่งที่ท่านครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์อยู่เท่านั้น”

(รายงานโดย อบูดาวูด )

                                    2.6 สินค้าและราคาต้องเป็นที่รู้กันดีสำหรับคู่ตกลงซื้อขาย  ดังนั้นการซื้อขายสินค้าหรือราคาที่ไม่เป็นที่รู้กันสำหรับคู่ตกลงซื้อขาย ทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือการซื้อขายสิ่งหนึ่งจากหลายๆ สิ่งที่มี โดยไม่มีการระบุให้แน่ชัดว่าเป็นสิ่งใด หรือไม่รู้ถึงสกุลเงินในกรณีที่ไม่มีประเพณีนิยมในสถานที่ตกลงซื้อขายกำหนดว่าเป็นเงินสกุลใด ก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ทั้งนี้มีข้อยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ คือ สินค้านั้นต้องอยู่ต่อหน้าและมีการมองเห็นสินค้านั้น การซื้อขายก็ถือว่าใช้ได้ แม้จะไม่มีการระบุปริมาณ และลักษณะภายนอกก็ตาม หรือเมื่อคู่ตกลงซื้อขายเห็นสินค้าและราคาที่นำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว นับแต่ก่อนการตกลงซื้อขาย โดยทั้งสองฝ่ายจำลักษณะต่างๆ ของมันได้ ซึ่งโดยมากแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่ได้เห็นจนกระทั่งถึงเวลาที่ตกลงซื้อขายกัน เช่น ผ้าและบ้าน เป็นต้น ก็ถือว่าการซื้อขายนั้นใช้ได้ หรือการเห็นเพียงบางส่วนของสินค้าและราคา โดยไม่จำเป็นต้องเห็นส่วนที่เหลือก็ได้ เช่นตัวอย่างสินค้าที่เหมือนๆ กัน หรือการเห็นเฉพาะส่วนภายนอกของสินค้า เช่น ผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง การเห็นแต่เปลือกก็ถือว่าเพียงพอแล้วในการซื้อขาย

                3. การเสนอขายและการสนองรับ

หมายเลขบันทึก: 423467เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2011 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท