วันนี้ขอ “เปิดกะลา” กับ Gotoknow…และ “ R2R” : routine to research


อาจารย์แหววก็มีโครงการที่จะทำwebsite สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้บนอินเตอร์เน็ตเรียกโครงการ E- libraly / E-society ?? สำหรับให้ E- professor และ E - student ต่างๆ และอีกหลายสารพัด E มาเป็นเจ้าของ เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันได้ ส่วนหนึ่งอาจารย์เชิญชวนอาจารย์ท่านอื่นให้เข้ามาโดยดูจากความคล่องตัวของอาจารย์ในการสอนหนังสือนักศึกษาและสอนหนังสือสังคม และมีห้องเรียนกับคนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ต
วันนี้ขอ เปิดกะลา  กับ  Gotoknow…และ “ R2R” : routine  to research 

คอนเซ็ปของการพัฒนาที่ต้องทำให้ติดเป็นนิสัย

   

R2R : routine  to research คอนเซ็ปของการพัฒนาที่ต้องทำให้ติดเป็นนิสัย

  

เข้ามาในเว็บ go to know ได้ไม่นาน (และเข้าบ้างไม่เข้าบ้าง) ตอนแรกๆ เข้าไม่ค่อยเป็น เข้าแต่บล็อกตัวเอง และ บางบล็อกที่รู้จัก (เป็นคนไม่ชอบอ่านจากหน้าจอคอมและอยู่ไม่ติดหน้าอินเตอร์เน็ต) ตอนหลังมีเรื่องอาจารย์อายุ  นามเทพ เลยทำให้ต้องเข้ามาบ่อยๆ วันหนึ่งอาจารย์แหววคงรำคาญที่ใช้ go to know ไม่ค่อยเป็น และใช้ไม่เต็มที่ เลยมาคลิกๆ ให้ดูหน้านั้นหน้านี้ แล้วบอกให้ใช้ให้มากๆ หน่อย

  

หลายวันมานี้เข้า go to know บ่อยขึ้นหน่อย และได้ไปอ่านงานของหลายท่านอาจารย์ที่เคารพ ผ่านไปเจอ คำว่า R2R คือ routine  to research” ในบันทึกของคุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ในบล็อก สังคมความรู้ และเรียนรู้  http://gotoknow.org/blog/learningsociety/42043

  

ก็รู้สึกชอบมาก เพราะความจริงแล้วอาจารย์แหววพยายามตีก้นให้ลูกศิษย์ทุกคนทบทวน ไตร่ตรอง ในงานที่ทำแต่ละวัน ซึ่งอาจออกมาในรูปของบันทึกต่างๆ ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน routine  to research ซึ่งคุณหมอนำมาใช้อยู่และใช้มากในงานการพัฒนาการแพทย์

  

โดยเฉพาะชลที่จะเป็นลูกศิษย์ที่ดื้อมาก เพราะไม่ค่อยบันทึกถึงหลายสิ่งที่ได้ทำไป มีประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดี สำเร็จและไม่สำเร็จ หรือ กระทั่งความคืบหน้าของงาน ทุกวันเป็นresearch ของเราได้ และเสียดายวันเวลาที่ผ่านมาที่ไม่ค่อยได้บันทึกไว้ (มีจดๆ โน็ตย่อของตัวเองไว้มาก แต่ไม่ค่อยได้วิเคราะห์และสรุปบทเรียนซึ่งไม่ทำให้คนอื่นรู้ด้วย  ตอนนี้ก็เลยต้องพยายามจะบันทึกและวิเคราะห์สิ่งที่ทำให้มากขึ้นแต่ก็ยังไม่ค่อยทันกับเวลาที่มีอยู่

  

ชอบชื่อ  R2R ค่ะ เป็นคอนเซ็ปที่อาจารย์แหววนำมาใช้กับงานกฎหมาย หรือ งานวิจัยอื่นๆ ในชีวิตประจำวันของพวกเรา  ขโมยชื่อนี้มาใช้ทันทีไม่รู้ว่าตรงกับที่อาจารย์หมอใช้อยู่หรือเปล่าแต่รู้ว่าคอนเซ็ปน่าจะตรงกัน ตอนนี้ก็เลยพยายามจะทำ R2R ให้ติดเป็นนิสัย(และลดนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง) เพราะรู้ว่าประโยชน์ไม่ได้ตกแค่ที่ตัวพวกเรา แต่ตกไปถึงชาวบ้านที่เดือดร้อนและสังคมไทยที่ต้องการความรู้เพื่อการพัฒนาอีกมาก

 

go to know สังคมเปิดกะลา(ของฉัน)  และ  ความฝันของอาจารย์??

 

จริงๆ ได้ยิน go to know ครั้งแรกจากอาจารย์แหววก็ยังไม่ค่อยสนใจ คิดว่าของเล่นใหม่อาจารย์อีกแล้วแน่ๆ เลยเพราะไม่ค่อยได้เข้าอินเตอร์เน็ต อาจารย์ก็จะทับถมว่าเชยและชวนให้เข้าไปเจอพวกพี่ๆ เธอในนั้นได้แล้ว

 

ภายหลังอาจารย์แหววพยายามไล่ทุกคนไปเข้า go to know เป็นประจำ และชลเป็นคนที่ถูกถามบ่อยที่สุดมากๆ ว่าเมื่อไหร่จะเข้าไปเปิดบล็อก เพราะเป็นคนที่ไม่ค่อยยอมบันทึกงานเป็นประวัติไม่ดีส่วนตัว  สุดท้ายวันนั้นอ.ยื่นคำขาดไม่ให้ออกจากบ้านอาจารย์ถ้ายังเขียนบทความสักหนึ่งบทความและเข้าไปเปิดบล็อกในโกทูโนไม่เสร็จ (น่าอายจัง)  ตอนหลังๆ ชลก็เพิ่งยอมเข้ามาโดยดี และก็กำลังพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ดีที่มีอยู่ในgotoknow

 

มาเรื่องของอาจารย์อายุก็รู้สึกว่า go to know ดียังนี้เอง เพราะไม่ใช่แค่เว็บที่มีแต่พวกเราๆ กันเองเหมือนเมื่อก่อนแต่มีคนอื่นๆ อยู่ด้วย

ต้องขอขอบคุณgotoknow นะคะ ที่ทำให้ฝันเรา(โดยเฉพาะอาจารย์แหวว) เป็นจริง เพราะเมื่อตอนชลเข้ามาทำงานกับอาจารย์แหววใหม่ๆ 2-3 ปีที่แล้ว  อาจารย์แหววก็มีโครงการที่จะทำwebsite สำหรับเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้บนอินเตอร์เน็ตเรียกโครงการ E- libraly / E-society ?? สำหรับให้ E- professor และ E - student ต่างๆ และอีกหลายสารพัด E มาเป็นเจ้าของ เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันได้

ส่วนหนึ่งอาจารย์เชิญชวนอาจารย์ท่านอื่นให้เข้ามาโดยดูจากความคล่องตัวของอาจารย์ในการสอนหนังสือนักศึกษาและสอนหนังสือสังคม และมีห้องเรียนกับคนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตที่อาจารย์มีเว็บไซต์ของอาจารย์อยู่แล้ว คือ www.archanwell.org (ก่อนหน้านี้เคยมี archanwell.com ด้วยแต่โดนแย่ง Domain nameไปแล้วจะขายต่อให้เราเพราะมีคนเข้าเยอะพอสมควร-ฮึ..แต่เราไม่ง้อและไม่ยอมเสียสตางค์ให้คนฉวยโอกาส เลยเปิดใหม่เป็น.org ) ต่อมาอาจารย์ก็เปิดเว็บไซต์อาจารย์แหววดอทเน็ตและอีกหลายเว็บไซต์ให้อาจารย์ของอาจารย์ที่เคารพรักและลูกศิษย์ลูกหาเข้าไปแขวนงาน 

 

แต่ลูกศิษย์ลูกหาอาจารย์อยู่ป่าอยู่ดอยซะมาก แล้วก็พวกที่ทำวิจัยด้านไอทีหรืองานการค้าระหว่างประเทศก็งานหนักพอตัว ไม่มีใครมาเป็นแสดงตัวเจ้าของเจ้าของงานตัวเอง แต่อาจารย์แหววก็ยังไม่วายเอางานขึ้นให้ลูกศิษย์และอาจารย์ท่านอื่นๆ เองเป็นประจำด้วยความยินดี ทั้งๆ ที่อาจารย์งานหนักและเยอะมากกว่าพวกเราอีก (โอ๊ย...ละอายใจอีกแล้ว-ดูตัวอย่างใน www.archanwell.net)

 

ตอนนี้พอมีโกทูโน งานเรื่องการจัดการระบบซึ่งเรายังกระท่อนกระแท่นมาตลอด ( จริงๆ ชลก็ไม่ค่อยทราบเรื่องเพราะให้ความสนใจน้อย แต่รู้ว่าอาจารย์คงคุยกันไปได้ไกลแล้วกับทีมงานของกระจกเงา ) ก็มาได้ gotoknowจัดการให้ อาจารย์แหววก็ชื่นชมใหญ่เลย และไล่พวกเราทุกคนให้มาเขียนงานในอินเตอร์เน็ตและเจอสังคมอื่นๆ ใน gotoknow บ้าง

 

วันนี้ก็เลยจะบอกอาจารย์ว่าพยายามใช้ go to know ให้มากขึ้น และ กำลังพยายาม เปิดกะลา กับ go to know อยู่ค่ะ

  ขอบคุณอาจารย์แหววนะคะที่ทำให้เรามีวันดีๆ วันนี้ 
หมายเลขบันทึก: 42142เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2006 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอยืนยันว่า ชลฤทัยดื้อมาก

และหลายหนที่ความดื้อของชลฤทัย ทำให้เสียโอกาสดีๆ ในชีวิต

ครั้งนี้ เป็นการลืมตาที่ยิ่งใหญ่ เพราะโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้มาถึงพอดี ซึ่งชลฤทัยเป็นคนสร้างโอกาสนั้น

ห้องทดลองทางสังคมของเราทำสำเร็จหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณี อ.อายุ ที่ชลจะต้องทำอะไรอีกหลายอย่าง

การแปลงสัญชาติให้แก่คนที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่คนที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย เป็นงานที่ไม่เคยสำเร็จมาในอดีต อย่าทิ้งมันลง มันต้องกลายเป็นต้นแบบของความรู้ให้ได้จริง

ยังมีอุปสรรคในการทำงานอีกมากค่ะ แต่อุปรรคที่เราจัดการได้ ก็คือ ตัวเราค่ะ อย่าปล่อยให้ตัวเราตกอยู่ในความไม่รู้ และไม่มีปัญญา

ตามมาจากบันทึก...ของท่านอาจารย์หมอสมศักดิ์..คะ

ไปพบความเห็น"คุณชล"...และชอบอย่างจัง...

เพราะได้เจอคนที่...แสวงหาการเรียนรู้..ด้วยหัวใจ"รัก" เข้าอีกคน...และโดยเฉพาะมีความสนใจการทำ R2R...วันหลังมา ลปรร. กันนะคะ

 

 

เห็นบันทึกของชลเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้พี่ต้องพยายามมากขึ้น เพื่อสร้างนิสัย R2R ให้ติดตัวไป

 

archanwell ท่านน่ารักและใจดีมากเลยนะครับ ไม่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ท่านก็มาขอสมัครเอาใน Blog นี่หละครับ

ผมติดตามอ่านบันทึกของคุณชลตลอดครับ ไม่ค่อยได้ให้ข้อคิดเห็น ประมาณเก็บๆ tacit K  ทั่วๆไปเป็นเสบียงไว้เลี้ยงตัวครับ 

ใช่ค่ะ archanwell   ท่านน่ารักค่ะ สอนให้แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ โดยผ่านGotoknow  เหมือนเป็นสร้างสังคมใหม่ๆ ขึ้นมา

เพิ่งมาปรากฏตัวบน Gotoknow เมื่อวาน สดๆร้อนครับ ก็เลยลองอ่านงานของพี่ๆดู น่าสนใจมากครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท